ภาษาแอลเบเนีย

ภาษาแอลเบเนีย (แอลเบเนีย: shqip, ออกเสียง [ʃcip] ( ฟังเสียง); หรือ gjuha shqipe, ออกเสียง [ˈɟuha ˈʃcipɛ]) เป็นภาษาและสาขาในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งอยู่ในกลุ่มพาเลโอ-บอลข่าน[9] ภาษาแอลเบเนียมาตรฐานเป็นภาษาราชการในประเทศแอลเบเนียกับคอซอวอ และภาษาราชการร่วมในประเทศมาซิโดเนียเหนือกับมอนเตเนโกร เช่นเดียวกันสถานะภาษาชนกลุ่มน้อยในอิตาลี, โครเอเชีย, โรมาเนีย และเซอร์เบีย และยังมีผู้พูดในประเทศกรีซและชาวแอลเบเนียพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกา, ยุโรป และโอเชียเนีย[2][10] ทั้งหมดอาจมีผู้พูดมากถึง 7.5 ล้านคน[2] ภาษานี้ประกอบด้วยสาขาต่างหากภายในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน และไม่มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาสมัยใหม่อื่น ๆ[11]

ภาษาแอลเบเนีย
  • shqip
  • gjuha shqipe
ออกเสียง[ʃcip] ( ฟังเสียง)
[ˈɟuha ˈʃcipɛ]
ประเทศที่มีการพูด
ชาติพันธุ์ชาวแอลเบเนีย
จำนวนผู้พูด7.5 ล้านคน  (2017)[1][2]
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
  • ภาษาแอลเบเนีย
รูปแบบก่อนหน้า
แอลเบเนียดั้งเดิม
  • ภาษาแอลเบเนีย
ภาษาถิ่น
เกก
ตอสก์
Arbëresh
อาร์วานิติกา
เรกาตอนบน
อาร์บานาซี
อิสเตรียน
ระบบการเขียน
  • อักษรละติน (ชึดตัวอักษรแอลเบเนีย)
  • อักษรเบรลล์แอลเบเนีย
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบ
  • Academy of Sciences of Albania
  • Academy of Sciences and Arts of Kosovo
รหัสภาษา
ISO 639-1sq
ISO 639-2alb (B)
sqi (T)
ISO 639-3sqi – รหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
aae – Arbëresh
aat – Arvanitika
aln – Gheg
als – Tosk
Linguasphere55-AAA-aaa to 55-AAA-ahe (25 วิธภาษา)
ภาษาย่อยของภาษาแอลเบเนียในยุโรปใต้[8](แผนที่นี้ไม่ได้ระบุว่าภาษาใดเป้นภาษาชนกลุ่มใหญ่หรือชนกลุ่มน้อย)
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

การกระจายตามเขตภูมิศาสตร์

ภาษาแอลเบเนียมีผู้พูดประมาณหกล้านคนในภูมิภาคบอลข่าน ส่วนมากในประเทศแอลเบเนีย คอซอวอ มาซิโดเนียเหนือ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร และกรีซ[1] อย่างไรก็ตาม การที่มีชุมชนเก่าแก่ในอิตาลีและชาวชาวแอลเบเนียพลัดถิ่นเลยทำให้จำนวนผู้พูดภาษาแอลเบเนียทั่วโลกมากกว่าที่มีอยู่ในยุโรปตอนใต้และจำนวนผู้พูดคิดเป็นประมาณ 7.5 ล้านคน[1][2]

ในทวีปยุโรป

แผนที่ประเทศที่ภาษาแอลเบเนียมีสถานะทางการ:
  ภาษาราชการ
  ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการรับรอง

ภาษาแอลเบเนียเป็นภาษาราชการในประเทศแอลเบเนียกับคอซอวอ และเป็นภาษาราชการร่วมในประเทศมาซิโดเนียเหนือกับมอนเตเนโกร[12][13] ภาษาแอลเบเนียเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการรับรองในประเทศโครเอเชีย, อิตาลี, โรมาเนีย และเซอร์เบีย นอกจากนี้ยังมีผู้พูดภาษานี้โดยชนกลุ่มน้อยในประเทศกรีซ โดยเฉพาะในหน่วยภูมิภาค Thesprotia กับ Preveza และในบางหมู่บ้านในหน่วยภูมิภาค Ioannina กับ Florina[14]

ภาษาแอลเบเนียยังเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดแพร่หลายมากเป็นอันดับสองจากบรรดาพลเมืองต่างชาติในประเทศอิตาลี[15] เนื่องด้วยการอพยพเข้าอิตาลีของชาวแอลเบเนีย

ภาษาแอลเบเนียกลายเป็ยภาษาราชการในประเทศาซิโดเนียเหนือในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2019[16]

ในทวีปอเมริกา

ในทวีปโอเชียเนีย

ภาษาย่อย

ภาษาย่อยในภาษาแอลเบเนีย

ภาษาแอลเบเนียมีภาษาย่อยที่ชัดเจน 2 ภาษา คือ ตอสก์ที่พูดในภาคใต้ กับเกกที่พูดในภาคเหนือ[17] ภาษาแอลเบเนียมาตรฐานอิงจากภาษาย่อยตอสก์ โดยมีแม่น้ำชกุมบินเป็นเส้นแบ่งหยาบ ๆ ระหว่าง 2 ภาษาย่อย[18]

อักขรวิธี

รูปแบบแป้นพิมพ์ภาษาแอลเบเนีย

ภาษาแอลเบเนียใช้ชุดตัวอักษรหลายแบบตั้งแต่มีบันทึกการเขียนแรกสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ประวัติอักขรวิธีภาษาแอลเบเนียมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการมุ่งเน้นด้านวัฒนธรรมและความรู้ภาษาต่างประเทศบางภาษาในหมู่นักเขียนชาวแอลเบเนีย[19] ชุดตัวอักษรแอลเบเนียเป็นชุดตัวอักษรละตินที่มีการเพิ่มอักษร <ë>, <ç> และทวิอักษร 10 ตัว คือ: dh, th, xh, gj, nj, ng, ll, rr, zh และ sh

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง