สงครามจีน–เวียดนาม

สงครามจีน–เวียดนาม (เวียดนาม: Chiến tranh biên giới Việt-Trung; จีน: 中越战争; พินอิน: Zhōng-Yuè Zhànzhēng) หรือรู้จักกันในชื่อ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม เป็นสงครามชายแดนสั้น ๆ สู้รบกันระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามในต้นปี 2522 ประเทศจีนเปิดฉากการรุกเพื่อตอบโต้การบุกครองและยึดครองกัมพูชาของเวียดนามในต้นปี 2521 (ซึ่งยุติการปกครองของเขมรแดงที่จีนหนุนหลัง) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เฮนรี คิสซินเจอร์ เขียนว่า ผู้นำจีน เติ้ง เสี่ยวผิง มองเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นความพยายามของโซเวียตที่จะ "เหยียดหนวดชั่วร้ายของมันมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ ... ดำเนินการขยายอาณาเขตที่นั่น" ซึ่งสะท้อนความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตที่มีมานาน คิสซินเจอร์ยังสังเกตว่า "แม้ว่าการดำเนินการจะมีจุดอ่อน แต่การทัพของจีนสะท้อนการวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์ระยะยาวที่จริงจัง"

สงครามจีน–เวียดนาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม, สงครามเย็น และความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต

แผนที่เมืองในเวียดนามที่จีนโจมตี
วันที่17 กุมภาพันธ์ – 16 มีนาคม ค.ศ. 1979
(3 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่
ชายแดนจีน–เวียดนาม
ผล

ทั้งสองฝ่ายอ้างชัยชนะ

  • จีนถอนกำลังจากเวียดนาม
  • กองทัพประชาชนเวียดนามเข้าควบคุมกัมพูชาจนถึง ค.ศ. 1989[1]
  • การปะทะบริเวณชายแดนจีน–เวียดนามจนถึง พ.ศ. 2533
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
จีนยึดครองดินแดนเวียดนามชั่วคราวในจังหวัดกาวบั่งและจังหวัดหลั่งเซิน[2][3][4]
คู่สงคราม
 จีน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
PLA 200,000 นายกับรถถัง 400–550 คัน[5][6]
  • ทหารประจำการ 70,000–100,000 นาย
  • กองกำลังท้องถิ่นและกองกำลังติดอาวุธ 150,000 นาย[7]
ความสูญเสีย
  • ประมาณการของจีน:
  • ถูกฆ่า 6,954 นาย
  • บาดเจ็บ 14,800–21,000 นาย
  • ถูกจับกุม 238 นาย[6][8][9]
  • ประมาณการของเวียดนาม:
  • บาดเจ็บ 62,000 นาย รวมผู้เสียชีวิต 48,000 นาย[10][11][12][13]
  • รถถังถูกทำลาย 420 คัน[14]
    ปืนครกและปืนหนักถูกทำลาย 66 อัน[14]
  • ประมาณการของตะวันตก:
  • ถูกฆ่า 26,000 นาย
  • บาดเจ็บ 37,000 นาย[15]
  • ประมาณการของจีน:
  • ถูกฆ่า 42,000[11]–57,000 นาย
  • ทหารกองหนุนถูกฆ่า 70,000 นาย[8][16]
  • ถูกจับ 1,636 นาย[12][13]
  • รถถังถูกทำลาย 185 คัน[14]
  • ปืนครกและปืนหนักถูกทำลาย 200 อัน[14]
  • เครื่องยิงจรวดถูกทำลาย 6 คัน[14]
  • ประมาณการของตะวันตก:
  • ถูกฆ่า 30,000 นาย
  • บาดเจ็บ 32,000 นาย[15]
สงครามจีน–เวียดนาม
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ对越自卫反击战
อักษรจีนตัวเต็ม對越自衛反擊戰
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามChiến tranh biên giới Việt Nam-Trung Quốc

กำลังจีนเข้าสู่เวียดนามตอนเหนือและยึดหลายนครใกล้ชายแดน วันที่ 6 มีนาคม 2522 ประเทศจีนประกาศว่าประตูสู่กรุงฮานอยได้เปิดออกและว่าภารกิจลงโทษลุล่วงแล้ว ก่อนถอนทหารออกจากประเทศเวียดนาม ทั้งประเทศจีนและเวียดนามต่างอ้างชัยในสงครามอินโดจีนนี้ โดยกำลังเวียดนามประจำอยู่ในกัมพูชาจนถึงปี 2532 อาจกล่าวได้ว่าประเทศจีนไม่บรรลุเป้าหมายในการห้ามมิให้เวียดนามเลิกเข้าไปข้องเกี่ยวในประเทศกัมพูชา ให้หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต จึงได้มีการสะสางชายแดนจีน-เวียดนาม

แม้ว่าไม่สามารถขัดขวางเวียดนามจากกัมพูชาได้ แต่จีนสามารถแสดงให้เห็นว่าคู่แข่งคอมมิวนิสต์สมัยสงครามเย็น คือสหภาพโซเวียตนั้น ไม่สามารถคุ้มครองพันธมิตรเวียดนามได้ หลังความสัมพันธ์ที่เสื่อมลงระหว่างสหภาพโซเวียตและจีน มีการประจำทหารจีน 1.5 ล้านนายตามชายแดนจีน-โซเวียตเพื่อเตรียมสงครามเต็มขั้นกับโซเวียต

ภูมิหลัง

เช่นเดียวกับสงครามอินโดจีนครั้งแรก ซึ่งเกิดขึ้นจากสถานการณ์ซับซ้อนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามเวียดนามต่างปะทุจากผลพวงที่ไม่ได้ข้อยุติของความสัมพันธ์ทางการเมือง สงครามอินโดจีนครั้งที่สามเกิดขึ้นจากปัญหาคาราคาซังจากสงครามครั้งก่อน ๆ[17]

ผู้ชนะฝ่ายสัมพันธมิตรหลักในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ต่างตกลงว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของฝรั่งเศส เมื่อฝรั่งเศสไม่มีวิธียึดอินโดจีนคืนทันที มหาอำนาจตกลงว่าบริเตนจะเข้าควบคุมและทหารจะยึดครองภาคใต้ ขณะที่กำลังจีนคณะชาติจะเคลื่อนเข้ามาจากทิศเหนือ กำลังจีนคณะชาติเข้าสู่ประเทศเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นเหนือเส้นขนานที่ 16 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2488 เส้นขนานดังกล่าวแบ่งอินโดจีนออกเป็นเขตควบคุมจีนและบริเตน บริเตนขึ้นบกในภาคใต้ปลดอาวุธกำลังฝรั่งเศสที่ถูกกักตัวขนาดย่อม ตลอดจนบางส่วนของกำลังญี่ปุ่นที่ยอมจำนนเพื่อช่วยในการยึดเวียดนามภาคใต้คืน เนื่องจากไม่มีกำลังบริเตนเพียงพอในทันที

สงครามอินโดจีนครั้งแรก

ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต

สงครามเวียดนาม

กัมพูชา

แม้ว่าคอมมิวนิสต์เวียดนามและเขมรแดงจะเคยร่วมมือกันมาก่อน แต่ความสัมพันธ์นั้นเสื่อมลงเมื่อพล พต ผู้นำเขมรแดง เถลิงอำนาจและสถาปนากัมพูชาประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2518 หลังการปะทะหลายครั้งตามชายแดนระหว่างประเทศเวียดนามและกัมพูชา และด้วยการส่งเสริมจากผู้แปรพักตร์เขมรแดงที่หนีการกวาดล้างของเขตตะวันออก ประเทศเวียดนามจึงบุกครองกัมพูชาเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2521 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2522 กำลังเวียดนามเข้าสู่กรุงพนมเปญและผู้นำเขมรแดงหนีไปกัมพูชาตะวันตก

กำลังทหาร

อ้างอิง

  • Kurlantzick, Joshua. China-Vietnam Military Clash (Washington: Council on Foreign Relations, 2015). online
  • Liegl, Markus B. China’s use of military force in foreign affairs: The dragon strikes (Taylor & Francis, 2017). excerpt
  • Neale, Jonathan (2001). The American War: Vietnam 1960–1975 (ภาษาอังกฤษ). Bookmarks. ISBN 978-1-898876-67-0.
  • Path, Kosal. "China's Economic Sanctions against Vietnam, 1975–1978." China Quarterly (2012) Vol. 212, pp 1040–1058.
  • Path, Kosal. "The economic factor in the Sino-Vietnamese split, 1972–75: an analysis of Vietnamese archival sources." Cold War History 11.4 (2011): 519–555.
  • Path, Kosal. "The Sino-Vietnamese Dispute over Territorial Claims, 1974–1978: Vietnamese Nationalism and its Consequences." International Journal of Asian Studies 8.2 (2011): 189–220. online
  • Willbanks, James H. (2009). Vietnam War almanac. Facts On File. ISBN 9781438126883.
  • Zhang, Xiaoming. Deng Xiaoping's Long War: The Military Conflict Between China and Vietnam, 1979–1991 (U of North Carolina Press 2015) excerpt
  • Zhang, Xiaoming. "Deng Xiaoping and China's Decision to go to War with Vietnam." Journal of Cold War Studies 12.3 (2010): 3–29 online
  • Zhang, Xiaoming. "China's 1979 war with Vietnam: a reassessment." China Quarterly (2005): 851–874. online เก็บถาวร 2020-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

แหล่งที่มาเพิ่มเติม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง