พนมเปญ

เมืองหลวงของประเทศกัมพูชา

พนมเปญ[5] หรือ พนุมปึญ[5] (เขมร: ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ, ออกเสียง: [pʰnum pɨɲ]; อังกฤษ: Phnom Penh) อีกชื่อหนึ่งที่เป็นทางการคือ ราชธานีพนมเปญ เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) นับเป็นเมืองที่เป็นเป้าการท่องเที่ยวทั้งจากผู้คนในประเทศและจากต่างประเทศ พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิมและแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส

พนมเปญ

ភ្នំពេញ
  • ราชธานีพนมเปญ
  • រាជធានីភ្នំពេញ
จากบน ซ้ายไปขวา: พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล, วัดโบสถรตนาราม, ถนนที่เกาะพิช, ท่าเรือศรีสวัสดิ์, สวนริมแม่น้ำ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, วัดพนม, สถูปหลวง, Hotel Le Royal, อาคารศาลฎีกา
จากบน ซ้ายไปขวา: พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล, วัดโบสถรตนาราม, ถนนที่เกาะพิช, ท่าเรือศรีสวัสดิ์, สวนริมแม่น้ำ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, วัดพนม, สถูปหลวง, Hotel Le Royal, อาคารศาลฎีกา
ตราอย่างเป็นทางการของพนมเปญ
ตรา
สมญา: 
  • ไข่มุกแห่งเอเชีย (ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1960)
  • เมืองที่มีเสน่ห์
พนมเปญตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
พนมเปญ
ที่ตั้งในประเทศกัมพูชา
พิกัด: 11°34′10″N 104°55′16″E / 11.56944°N 104.92111°E / 11.56944; 104.92111
ประเทศ กัมพูชา
ตั้งรกรากคริสต์ศตวรรษที่ 5[1]
ก่อตั้ง1372
สถานะเมืองหลวง1434–1497
เป็นเมืองหลวงอีกครั้ง1865
ตั้งชื่อจากวัดพนมและยายเพ็ญ
การแบ่งเขตการปกครอง14 เขต (ខណ្ឌ ขณฺฑ)[2]
การปกครอง
 • ประเภทสภาเทศบาล
 • ผู้ว่าราชการยูง เสรง (ซีพีพี)
 • รัฐสภา
12 / 125
พื้นที่
 • ทั้งหมด679 ตร.กม. (262 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 24
ความสูง11.89 เมตร (39.01 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน 2019)[3]
 • ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 2,281,951 คน
 • อันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น3,361 คน/ตร.กม. (8,700 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 1
เขตเวลาUTC+07:00 (เวลาในประเทศกัมพูชา)
รหัสพื้นที่+855 (023)
เอชดีไอ (2019)
  • 0.731[4]
  • สูง · ที่ 1
เว็บไซต์phnompenh.gov.kh

กรุงพนมเปญเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน เทียบเท่าประชากรร้อยละ 14 ของประเทศ[3]

ประวัติศาสตร์

วัดพนม เป็นที่มาของชื่อพนมเปญ

พนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก

ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติ กษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรทรงย้ายราชธานีจากเมืองนครธมซึ่งถูกทำลายและยึดครองโดยกองทัพสยาม มาตั้งอยู่ที่ ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบันและทรงก่อร่างสร้างนครหลวงใหม่สร้างพระราชวัง ทรงตั้งนามเมืองหลวงแห่งนี้ว่า จตุมุข (ចតុមុខ) มีความหมายแปลว่า "เมืองที่มีสี่ใบหน้า" สื่อถึง พระพรหมผู้มีพระพักตร์ 4 หน้า กรุงจตุมุขมีชื่อเต็มว่า จตุรมุข มงคลสกลกัมพูชาธิบดี ศรีโสธรบวรอินทปัตถ์ บุรีรัฏฐราชสีมามหานคร (ក្រុងចតុមុខមង្គលសកលកម្ពុជាធិបតី សិរីធរបវរ ឥន្ទបត្តបុរី រដ្ឋរាជសីមាមហានគរ) มีความหมายว่า "สถานที่แห่งแม่น้ำสี่สายที่ให้ความสุขและความสำเร็จของอาณาจักรเขมรผู้นำสูงสุดและเมืองที่ไม่อาจทำลายได้ของพระอินทร์แห่งอาณาจักรอันยิ่งใหญ่" เป็นชื่อเรียกกรุงพนมเปญสมัยนั้น[6] และยุคสมัยนี้จึงเรียกว่ายุคสมัยจตุมุขทำให้กรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

กรุงพนมเปญยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ 73 ปีจากปี ค.ศ. 1432 - 1505 และถูกทอดทิ้งเป็นเวลา 360 ปี (จากปี ค.ศ. 1505 ถึง 1865) โดยกษัตริย์ที่ตามมาเนื่องจากการต่อสู้ภายในราชวงศ์ระหว่างผู้อ้างสิทธิชิงบัลลังก์ หลังจากนั้นกษัตริย์ก็ย้ายเมืองหลวงหลายต่อหลายครั้งและสร้างเมืองหลวงขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ศรีสันธร, ละแวกและกรุงอุดงมีชัย

ในระหว่างอานามสยามยุทธในสมัยพระอุทัยราชา (นักองค์จัน) ได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังกรุงพนมเปญอีกครั้งเพื่อเข้ากับญวนจนจบศึกพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) ครองราชย์จึงได้ย้ายกลับมาอยู่ ณ อุดงมีชัย

จนกระทั่งเมื่อกัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ ได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงอุดงมีชัยกลับมาที่พนมเปญทรงแต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศอย่างเป็นทางการนับแต่บัดนั้น หลังจากการมีการทำสัญญากับฝรั่งเศสแล้วต่อมากัมพูชาก็ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส

แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่

เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ความตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ

ภูมิศาสตร์

แม่น้ำจากโตนเลสาบ

พนมเปญตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางค่อนใต้ของกัมพูชา และล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล ตัวนครตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง โตนเลสาบ และแม่น้ำบาสัก

ตัวนครตั้งอยู่ในพิกัดภูมิศาสตร์ 11°33′00″N 104°55′00″E / 11.55°N 104.91667°E / 11.55; 104.91667 (11°33' เหนือ, 104°55' ตะวันออก)[7] ครอบคลุมพื้นที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร (262 ตารางไมล์) แบ่งเป็นตัวเทศบาล 11,401 เฮกตาร์ (28,172 เอเคอร์) และถนน 26,106 ha (64,509 เอเคอร์) ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเขตเทศบาลมีจำนวน 34.685 km2 (13 sq mi) โดยอยู่ในเขตชลประทาน 1.476 km2 (365 เอเคอร์)

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของพนมเปญ (อุณหภูมิ: ค.ศ. 1988–2013, สูงสุด: ค.ศ. 1906–2013)
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)36.1
(97)
38.1
(100.6)
40.0
(104)
40.5
(104.9)
40.0
(104)
39.2
(102.6)
37.2
(99)
37.8
(100)
35.5
(95.9)
36.1
(97)
34.4
(93.9)
37.2
(99)
40.5
(104.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)31.6
(88.9)
33.2
(91.8)
34.6
(94.3)
35.3
(95.5)
34.8
(94.6)
33.8
(92.8)
32.9
(91.2)
32.7
(90.9)
32.2
(90)
31.4
(88.5)
31.1
(88)
30.8
(87.4)
32.9
(91.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)26.6
(79.9)
28.0
(82.4)
29.4
(84.9)
30.2
(86.4)
30.0
(86)
29.2
(84.6)
28.7
(83.7)
28.5
(83.3)
28.2
(82.8)
27.2
(81)
27.1
(80.8)
26.3
(79.3)
28.3
(82.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)21.8
(71.2)
22.8
(73)
24.3
(75.7)
25.5
(77.9)
25.6
(78.1)
24.9
(76.8)
24.8
(76.6)
24.6
(76.3)
24.4
(75.9)
24.2
(75.6)
23.2
(73.8)
21.9
(71.4)
24.0
(75.2)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)12.8
(55)
15.2
(59.4)
19.0
(66.2)
17.8
(64)
20.6
(69.1)
21.2
(70.2)
20.1
(68.2)
20.0
(68)
21.1
(70)
17.2
(63)
16.7
(62.1)
14.4
(57.9)
12.8
(55)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)12.1
(0.476)
6.6
(0.26)
34.8
(1.37)
78.8
(3.102)
118.2
(4.654)
145.0
(5.709)
162.1
(6.382)
182.7
(7.193)
270.9
(10.665)
248.1
(9.768)
120.5
(4.744)
32.1
(1.264)
1,411.9
(55.587)
ความชื้นร้อยละ73717173777880818484787377
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm)1.21.13.46.815.917.018.118.321.519.310.24.5137.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด2602262672402021921431741292022132422,490
แหล่งที่มา 1: Deutscher Wetterdienst[8]
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun, 1931–1960)[9]

เขตการปกครอง

ศาลากลางพนมเปญ
เขตของพนมเปญ

พนมเปญเป็นเขตการปกครองพิเศษที่มีพื้นที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร (261.95 ตารางไมล์) ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับจังหวัด มีทั้งหมด 14 เขต (ខណ្ឌ ขณฺฑ) 105 แขวง (សង្កាត់ สงฺกาต่) และ 953 หมู่บ้าน (ភូមិ ภูมิ)[10] เขตทั้งหมดอยู่ภายใต้การบริหารของพนมเปญ ส่วนเขตดังเกา, เมียนเจ็ย, ปอร์แซนเจ็ย, แซนซก และรุสเซ็ยแกวถือเป็นเขตนอกนคร

เขตการปกครองของพนมเปญ
รหัส ISOชื่อภาษาเขมรเขตหมู่บ้านประชากร
1201จ็อมการ์มนឌចំការមន54070,772
1202โฎนปึญឌដូនពេញ11134155,069
1203ปรัมปีร์เมียะเกอะราឌប្រាំពីរមករា86671,092
1204ตวลกอร์ก (ตวล โกก)ឌទួលគោក10143145,570
1205ดังเกาឌដង្កោ1281159,772
1206เมียนเจ็ย (มีชัย)ឌមានជ័យ759248,464
1207รุสเซ็ยแกวឌឫស្សីកែវ730274,861
1208แซนซก (แสนสุข)ឌសែនសុខ647182,903
1209ปอร์แซนเจ็ย (ปอร์แสนชัย)ឌពោធិ៍សែនជ័យ775226,971
1210จโรย จองวา (จโรย จ่อง วา)ឌជ្រោយចង្វារ522159,233
1211แปรก พโนว (แปรก พโนว)ឌព្រែកព្នៅ559188,190
1212จบา ออมโปว (จบาอ๊อม โปว)ឌច្បារអំពៅ849164,379
1213Boeng Keng Kangឌបឹងកេងកង75566,658
1214Kamboulឌកំបូល79375,526

สถานที่สำคัญทางราชการ

พระบรมราชวัง
ไฟล์:Cambodian National Assembly 2016-7.jpg
รัฐสภา
ศาลฎีกา

ประชากร

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
1950334,000—    
1960398,000+1.77%
1970457,000+1.39%
1975370,000−4.14%
197832,000−55.78%
1980189,000+143.03%
1985351,000+13.18%
1990634,000+12.55%
1995925,000+7.85%
20001,284,000+6.78%
20051,677,000+5.49%
20102,101,725+4.62%
20192,129,371[3]+0.15%

ข้อมูลเมื่อ 2019 พนมเปญมีประชากร 2,129,371 คน โดยมีความหนาแน่นประชากรที่ 3,136 คนต่อตารางกิโลเมตรในพื้นที่นครที่มีขนาด 679 ตารางกิโลเมตร (262 ตารางไมล์)[3] อัตราการเติบโตอยู่ที่ 3.92% เขตนครมีประชากรเพิ่มขึ้น 4 เท่านับตั้งแต่ ค.ศ. 1979

การสำรวจโดยสถาบันสถิติแห่งชาติใน ค.ศ. 2017 เปิดเผยว่าประชากรในพนมเปญ 95.3% เป็นชาวเขมร, 4% เป็นชาวจาม และอื่น ๆ อีก 0.7% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน เวียดนาม และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ได้แก่ ชาวไทย, บูดง, มนง, กูย และ Chong[11]

ภาษาทางการคือภาษาเขมร ส่วนภาษาอื่นที่ใช้กันทั่วไปคือภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส

ศาสนา

ศาสนาในพนมเปญ (สำมะโน 2019)[12]

  พุทธ (97.8%)
  อิสลาม (1.6%)
  คริสต์ (0.5%)
  วิญญาณนิยมและศาสนาอื่น ๆ (0.1%)

ศาสนาประจำชาติคือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ประชากรในพนมเปญมากกว่า 97.8% นับถือศาสนาพุทธ ชาวจามนับถือศาสนาอิสลามมาหลายร้อยปี ส่วนศาสนาคริสต์มีผู้นับถือจำนวนน้อย

เศรษฐกิจ

ศูนย์การค้าซอร์ยา

พนมเปญเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา มีอัตราการเติบโตมากขึ้นในแต่ละปี เป็นศูนย์รวมของโรงแรม ภัตตาคาร บาร์ และสิ่งก่อสร้างมากมาย

การเติบโตทางเศรษฐกิจ เริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ได้มีการเปิดศูนย์การค้าแบบตะวันตกชื่อว่า ศูนย์การค้าโสรยา และ ศูนย์การค้าสุวรรณา รวมทั้งกิจการภัตตาคารและแฟรนไชส์ตะวันตกอื่น ๆ ได้แก่

ตึกที่สูงที่สุดในพนมเปญ คือ ตึกวัฒนะ (Vattanac Capital Phnom Penh)[16] สูง 200 เมตร (656 ฟุต) สร้างถึงยอดเมื่อ พฤษภาคม ค.ศ. 2012 สามารถมองเห็นตัวเมืองได้ทั่ว

สายการบิน กัมพูชานครแอร์ มีที่ทำการใน พนมเปญ

การศึกษา

มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ

หนังสือพิมพ์

ภาพถ่ายทางอากาศของกรุงพนมเปญ
อาคารสภารัฐมนตรี

รายวัน

เขมร

  • Sralagn' Khmer
  • จักรวาลเดลี่
  • กัมพูชาเดลี่
  • แคมโบเดียทูเดย์
  • Kanychok Sangkhum
  • ไอส์แลนด์ออฟพีซ
  • เขมรคอมเชนส์
  • ไลท์ออฟกัมพูชา
  • วอยซ์ออฟเขมรเยาท์
  • เขมรไอเดียล
  • วัดพนมเดลี่

อังกฤษ

  • พนมเปญโพสต์
  • เดอะแคมโบเดียเดลี่

จีน

  • 《柬華日報》(Jianhua Daily)
  • 《星洲日報》(Sinchew Daily)
  • 《華商日報》(Huashang Daily)
  • 《新柬埔寨》(นิวแคมโบเดีย)

นิตรสาร

กีฬา

สนามกีฬาที่สำคัญในพนมเปญ ได้แก่ สนามกีฬาโอลิมปิกพนมเปญ จุคนได้ 50,000 คน อย่างไรก็ตาม สนามนี้ไม่เคยถูกใช้ในกีฬาโอลิมปิกเลย สนามนี้สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1964 เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา

การคมนาคม

การเดินทางในพนมเปญใช้รถตุ๊กตุ๊กและรถจักรยานยนต์ เมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2007 เริ่มมี บริษัท มายลิง โอเพ่นทัวร์ (Mai Linh Open Tou) จากเวียดนามมาบริการแท๊กซี่มิเตอร์หลังคาสีเขียว จะคิดค่าบริการเริ่มต้นที่ 1.50 ดอลลาร์ [17]

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา ห่างจากตัวเมืองพนมเปญ 7 กิโลเมตร (4.3 ไมล์)

ทางหลวงแผ่นดิน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลขยาวเริ่มต้นสิ้นสุด
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 110001167.10 km103.83 miพนมเปญชายแดนเวียดนาม
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210002120.60 km74.94 miพนมเปญชายแดนเวียดนาม
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 310003202.00 km125.52 miพนมเปญวีล รินห์
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410004226.00 km140.43 miพนมเปญเมืองพระสีหนุ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 510005407.45 km253.18 miพนมเปญชายแดนไทย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 610006416.00 km258.49 miพนมเปญจังหวัดบันทายมีชัย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 710007509.17 km316.38 miพนมเปญชายแดนลาว

เมืองพี่น้อง

พนมเปญมีเมืองพี่น้องดังต่อไปนี้:

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง