สาธารณรัฐกาตาลุญญา (พ.ศ. 2560)

สาธารณรัฐกาตาลุญญา (กาตาลาและสเปน: República Catalana) หรือ สาธารณรัฐกาตาลุญญอ (อารัน: Republica Catalana) หรือที่รู้จักกันในชื่อ กาตาลุญญา (กาตาลา: Catalunya; สเปน: Cataluña) เป็นรัฐที่ประกาศเอกราชฝ่ายเดียวและไม่ได้รับการรับรองในคาบสมุทรไอบีเรีย สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาลงมติประกาศเอกราชจากสเปนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560[1] ท่ามกลางวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญว่าด้วยการลงประชามติเอกราชกาตาลุญญา พ.ศ. 2560[2]

สาธารณรัฐกาตาลุญญา

República Catalana (กาตาลา) (สเปน)
Republica Catalana (อารัน)
2560–2560
ธงชาติกาตาลุญญา
ธงชาติ
ตราของกาตาลุญญา
ตรา
เพลงชาติอัลส์ซากาโดส
("เหล่าผู้เก็บเกี่ยว")
ที่ตั้งของกาตาลุญญาในทวีปยุโรป
ที่ตั้งของกาตาลุญญาในทวีปยุโรป
สถานะรัฐที่ไม่ได้รับการรับรอง
เมืองหลวงบาร์เซโลนา
ภาษาทั่วไป
การปกครองสาธารณรัฐชั่วคราว
ประธานฌานาราลิตัต 
• 2560
การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา
ประวัติศาสตร์ 
1 ตุลาคม 2560
• การประกาศเอกราช
27 ตุลาคม 2560
28–30 ตุลาคม 2560
• การประกาศเอกราชถูกยับยั้ง
31 ตุลาคม 2560
สกุลเงินยูโร (โดยพฤตินัย)
  1. เป็นการตกลงใช้ฝ่ายเดียว เนื่องจากสาธารณรัฐกาตาลุญญามิใช่สมาชิกทางการของยูโรโซน
  2. ตามกฎหมายการเปลี่ยนผ่านทางกฎหมายและการเปลี่ยนผ่านพื้นฐานแห่งสาธารณรัฐ ข้อบังคับต่าง ๆ ของท้องถิ่น ของแคว้นปกครองตนเอง และของรัฐที่มีผลบังคับใช้อยู่ขณะที่กฎหมายฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้ ให้มีผลบังคับใช้ต่อเนื่องไป (นอกจากขัดหรือแย้งกับกฎหมายฉบับนี้) นี่ครอบคลุมถึงการใช้สัญลักษณ์ทางการต่าง ๆ ของกาตาลุญญาที่ธรรมนูญการปกครองตนเองกาตาลุญญาและกฎหมายอื่น ๆ ได้กำหนดไว้ด้วย
  3. ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ศาลรัฐธรรมนูญสเปนมีมติยับยั้งการประกาศเอกราชของสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา

ภายในเวลาไม่ถึงชั่วโมงหลังจากที่สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาประกาศเอกราช วุฒิสภาสเปนก็มีมติสนับสนุนให้ใช้มาตรา 155 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2521[3] ซึ่งอนุญาตให้รัฐบาลสเปนใช้มาตรการใด ๆ ก็ตามที่จำเป็นกับแคว้นหนึ่ง ๆ เพื่อคุ้มครองประโยชน์โดยรวมของสเปน มาเรียโน ราฆอย นายกรัฐมนตรีสเปนประกาศยุบสภานิติบัญญัติกาตาลุญญา ปลดฝ่ายบริหารกาตาลุญญาออกจากตำแหน่ง และกำหนดจัดการเลือกตั้งในกาตาลุญญาแบบกะทันหันในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2560[4] การ์ลัส ปุดจ์ดาโมน ประธานฝ่ายบริหารกาตาลุญญาแถลงว่า ในสังคมประชาธิปไตย มีเพียงสภานิติบัญญัติเท่านั้นที่สามารถแต่งตั้งหรือถอดถอนฝ่ายบริหารได้ และขอให้ชาวกาตาลุญญา "ต่อต้าน" การบังคับใช้มาตรา 155 "ตามวิถีประชาธิปไตย" แต่เขาไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าจะตอบสนองอย่างไรต่อคำสั่งต่าง ๆ ของรัฐบาลสเปน[5][6]

ในวันที่ 30 ตุลาคม การ์มา ฟูร์กาเด็ลย์ ประธานสภานิติบัญญัติกาตาลุญญาประกาศยกเลิกการประชุมสภาที่กำหนดไว้ในวันรุ่งขึ้นเนื่องจากสภา "ได้ถูกยุบ" จึงเท่ากับว่าเธอยอมรับคำสั่งของราฆอยไปโดยปริยาย[7] ภายหลังในวันเดียวกันปรากฏว่า ปุดจ์ดาโมนและคณะผู้บริหารแคว้นบางส่วนที่ถูกปลดจากตำแหน่งได้ลี้ภัยไปยังเบลเยียมเพื่อหลบเลี่ยงการถูกดำเนินคดีจากฝ่ายตุลาการของสเปน[8] เนื่องจากโฆเซ มานูเอล มาซา อัยการสูงสุดของสเปนได้สั่งฟ้องดำเนินคดีอาญากับพวกเขาในข้อหาการกบฏ การปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง และการใช้งบประมาณรัฐในทางมิชอบ[9][10] ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ในกาตาลุญญาก็กลับคืนสู่สภาพปกติโดยปราศจากความไม่สงบหรือการนัดหยุดงานทั่วไป เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า อำนาจบริหารโดยตรงจากทางมาดริดสามารถตั้งมั่นอยู่ได้โดยมีการต่อต้านเพียงเล็กน้อย[11] จากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญสเปนก็มีมติยับยั้งการประกาศเอกราชในวันถัดมา[12]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง