ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ

ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ (อังกฤษ: Five Races Under One Union) เป็นหนึ่งในหลักใหญ่ของการสถาปนาสาธารณรัฐจีน ใน ค.ศ. 1911 ระหว่างการปฏิวัติซินไฮ่[1][2][3][4] เสาหลักของสิ่งนี้คือการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขภายใต้ชาติเดียวที่ประกอบด้วย 5 กลุ่มชาติพันธุ์หลักในจีน: ฮั่น, แมนจู, มองโกล, หุย (รวมชาวอุยกูร์) และทิเบต[5]

ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ
ภาพธงของสาธารณรัฐจีน 3 ผืน ประกอบด้วยธงห้าสี (กลาง) ธงกองทัพ (ซ้าย) และ ธงของซุนยัดเซ็น (ขวา) อันเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีนในปัจจุบัน ด้านล่างของภาพ มีข้อความว่า "สหภาพจงเจริญ" (共和萬歲)
ภาษาจีน五族共和
ความหมายตามตัวอักษรห้ากลุ่มชาติพันธุ์อยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง (กิจสาธารณะ)

ธงชาติสาธารณรัฐจีน
ชื่ออื่นธงห้าสี (จีน: 五色旗; พินอิน: Wǔsèqí)
การใช้ธงพลเรือนและธงราชการ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง5:8
ประกาศใช้10 มกราคม ค.ศ. 1912
ลักษณะแถบแนวนอน 5 สี เรียงเป็นสีแดง เหลือง น้ำเงิน ขาว และดำ

รายละเอียด

หลักคิดความเสมอภาคของชนชาติต่างๆ 5 ชนชาติใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์จีน กล่าวคือ แถบธงห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ โดย สีแดง หมายถึง ชาวฮั่น สีเหลือง หมายถึง ชาวแมนจู สีน้ำเงิน หมายถึง ชาวมองโกล สีขาว หมายถึง ชาวฮุยหุย (จีนมุสลิม) และสีดำหมายถึงชาวทิเบต[6]

นิยาม "หุย" (, huí) ในบริบทนี้ส่วนใหญ่อ้างถึงชาวมุสลิมโดยรวม[7] และศัพท์นี้ยังสื่อถึงชาวอุยกูร์ในจีนตะวันตกในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ก่อนการปฏิวัติซินไฮ่) เนื่องจากคำว่า "ดินแดนมุสลิม" (回疆; Huíjiāng, หุยเจียง) เป็นชื่อเดิมของซินเจียงในยุคราชวงศ์ชิง[8] ภายหลังความหมายของ "ชาวหุย" เริ่มเปลี่ยนไปเป็นความหมายในปัจจุบันคือ กลุ่มที่แยกจากชาวจีนฮั่นด้วยการเป็นมุสลิมและมีบรรพบุรุษจากต่างชาติ (ประมาณ ค.ศ. 1911–49 ในสาธารณรัฐจีน)


ลำดับสี
แดงเหลืองน้ำเงินขาวดำ
แพนโทน2347 C7548 C307 CWhite ColorBlack Color
CMYK0-88-92-130-22-100-099-37-0-380-0-0-00-0-0-100
HEX#DF1B12#FFC600#02639D#FFFFFF#000000
RGB223-27-18255-198-02-99-157255-255-2550-0-0

ประวัติ

ภายหลังจากเหตุการณ์การลุกฮือหวูชาง ราชวงศ์ชิงได้ล่มสลาย และถ่ายโอนอำนาจสู่รัฐบาลเป่ย์หยาง ระหว่างนั้นได้มีการประกวดออกแบบธงซึ่งจัดโดยสมาพันธ์ความร่วมมือเพื่อการปฏิวัติประชาธิปไตย กองทหารในหวูชางจึงเลือกธงดาว 9 แฉกกับ Taijitu[6] ซุน ยัตเซ็น จึงได้เลือกธง ตะวันฉาย ฟ้าใส ออกแบบโดย ลู่เฮาตุง.[6]

เป้าหมายหลักของการลุกฮือเพื่อต่อต้านการปกครองของชนกลุ่มน้อยแมนจู, ซุน ยัตเซ็น Song Jiaoren และ Huang Xing ซึ่งมีความคิดในเชิงต่อต้านการแบ่งเชื้อชาติ จึงเลือกธงที่ใช้สีซึ่งมีความแตกต่างกัน[9] ในความคิดดังกล่าวไม่รวมถึงชาวจีนฮั่นสืบเนื่องจากชาวจีนฮั่นซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ต่อชนกลุ่มน้อยแมนจูที่เป็นชนชั้นปกครอง.[10]

ธง"ห้าเชื้อชาติใต้หนึ่งสหภาพ" ใช้แค่ช่วงเวลาสั้นๆภายหลังจากการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ

ธงดังกล่าวได้มีการใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น จักรวรรดิจีน (หยวน ซื่อไข่) และ แมนจูกัว ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่น (ธงชาติแมนจูกัว). ในแมนจูกัว, ตามนัยความหมาย (五族協和) ได้สื่อออกมา, แต่นิยามในเรื่องชนชาติได้เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ชาวญี่ปุ่น (สีแดง), ชาวจีนฮั่น (สีน้ำเงิน), ชาวมองโกล (สีขาว), ชาวเกาหลี (สีดำ) และชาวแมนจู (สีเหลือง)

ภาพธง

รัฐบาลเป่ย์หยาง:
ธงราชการ:
ธงทหาร:
รัฐบาลปฏิรูปสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1938–1940):
จักรวรรดิจีนของหยวน ซื่อไข่

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง