ภาษาทมิฬ

ภาษาทมิฬ (ทมิฬ: தமிழ், Tamiḻ, [t̪amiɻ], ) เป็นภาษาดราวิเดียนคลาสสิกที่พูดโดยชาวทมิฬในอนุทวีปอินเดีย และชาวมัวร์ศรีลังกา ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการในรัฐทมิฬนาฑูของประเทศอินเดีย ศรีลังกา และสิงคโปร์[10][6] และในดินแดนสหภาพปุฑุเจรี ภาษานี้ยังเป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในรัฐอินเดียตอนใต้ 4 รัฐ คือ รัฐเกรละ, รัฐกรณาฏกะ, รัฐอานธรประเทศ และรัฐเตลังคานา กับดินแดนสหภาพหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ นอกจากนี้ ยังมีผู้พูดเป็นชาวทมิฬพลัดถิ่นในหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย, พม่า, แอฟริกาใต้, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ, แคนาดา, ออสเตรเลีย และมอริเชียส ภาษานี้ได้รับการบรรจุลงในหนึ่ง 22 ภาษาในกำหนดของรัฐธรรมนูญอินเดีย ภาษาทมิฬเป็นภาษาแรกที่ได้รับการจัดประเภทเป็นภาษาคลาสสิกของอินเดีย

ภาษาทมิฬ
Tamiḻ
தமிழ்
ศัพท์ "ทมิฬ" ในอักษรทมิฬ
ออกเสียง[t̪amiɻ];
ประเทศที่มีการพูดอินเดียและศรีลังกา
ภูมิภาครัฐทมิฬนาฑู[a] (อินเดีย)
จังหวัดตอนเหนือและตะวันออก (ศรีลังกา)
ชาติพันธุ์ชาวทมิฬ
จำนวนผู้พูด75 ล้านคน  (2011–2019)[1][2]
ผู้พูดภาษาที่สอง: 8 ล้านคน (2011)[1]
ตระกูลภาษา
ดราวิเดียน
รูปแบบก่อนหน้า
ทมิฬเก่า
  • ทมิฬกลาง
    • ภาษาทมิฬ
ระบบการเขียนทมิฬ (อักษรพราหมี)
ทมิฬ-พราหมี (อดีต)
ครันถะ (อดีต)
วัตเตลุตตุ (อดีต)
ปัลลวะ (อดีต)
Kolezhuthu (อดีต)
อาร์วี (อักษรไร้สระ)
อักษรเบรลล์ทมิฬ (Bharati)
ละติน (ไม่ทางการ)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย

 ศรีลังกา[5]
 สิงคโปร์[6]

องค์กร
 อาเซียน[7]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน มาเลเซีย[8]
 แอฟริกาใต้[b][9]
รหัสภาษา
ISO 639-1ta
ISO 639-2tam
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
tam – Modern Tamil
oty – Old Tamil
นักภาษาศาสตร์oty Old Tamil
Linguasphere49-EBE-a
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาทมิฬเป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกที่คงอยู่นานที่สุดในโลก[11][12][13] A. K. Ramanujan กล่าวถึงภาษานี้เป็น "ภาษาเดียวในอินเดียสมัยใหม่ที่สืบต่ออย่างต่อเนื่องจากอดีต"[14] รูปแบบและคุณภาพของวรรณกรรมทมิฬคลาสสิกทำให้มีการกล่าวถึงเป็น "หนึ่งในธรรมเนียมและวรรณกรรมคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก"[15] โดยมีการบันทึกวรรณกรรมทมิฬมากกว่า 2000 ปี[16] Sangam literature วรรณกรรมภาษาทมิฬยุคแรกสุด มีอายุ ป. 300 ปีก่อนคริสตศักราชถึง ค.ศ. 300[17][18] มีวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน[12] บันทึกคำจารึกแรกสุดที่พบบนศิลาจารึกและศิลาวีรบุรุษ สืบต้นตอประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช[19][20] กรมสำรวจโบราณคดีแห่งอินเดียระบุว่าจากจารึกที่พบ 100,000 อัน มี 6,000 อันอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู และในจำนวนนั้นส่วนใหญเขียนด้วยภาษาทมิฬ โดยมีภาษาอื่น ๆ เพียงประมาณ 5%[21] นอกจากนี้ ยังมีผู้พบจารึกภาษาทมิฬที่เขียนด้วยอักษรพราหมีในประเทศศรีลังกา และในสินค้าที่ประเทศไทยและอียิปต์[22][23] เอกสารตัวเขียนแรกสุดสองอันจากอินเดีย[24][25] ที่ทางความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโกให้การยอมรับและบรรจุใน ค.ศ. 1997 และ 2005 เขียนด้วยภาษาทมิฬ[26]

ใน ค.ศ. 1578 มิชชันนารีชาวโปรตุเกสตีพิมพ์ Thambiran Vanakkam หนังสือสวดมนต์ภาษาทมิฬในอักษรทมิฬเก่า ทำให้ภาษาทมิฬเป็นภาษาอินเดียภาษาแรกที่มีการพิมพ์และตีพิมพ์[27] Tamil Lexicon ที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยมัทราส เป็นหนึ่งในพจนานุกรมรุ่นแรกในบรรดาภาษาอินเดีย[28] ตามรายงานจากการสำราจใน ค.ศ. 2001 มีหนังสือพิมพ์ 1,863 ฉบับที่ตีพิมพ์ในภาษาทมิฬ ในจำนวนนี้มี 353 ฉบับที่ตีพิมพ์ทุกวัน[29]

การจัดอันดับ

ภาษาทมิฬอยู่ในสาขาทางใต้ของตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นตระกูลที่มีภาษาประมาณ 26 ภาษาในอนุทวีปอินเดีย[30] และยังจัดเป็นส่วนหนึ่งของภาษากลุ่มทมิฬ เนื่องจากเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์-ภาษาประมาณ 35 กลุ่ม[31] เช่น Irula และ Yerukula (ดู SIL Ethnologue)

ญาติหลักที่ใกล้ชิดที่สุดของภาษาทมิฬคือภาษามลยาฬัม โดยสองภาษานี้เริ่มแยกจากกันประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 9[32] ถึงแม้ว่าความแตกต่างหลายอย่างระหว่างภาษาทมิฬและมลยาฬัมแสดงให้เห็นถึงการแยกในอดีตของภาษาย่อยตะวันตก[33] ภาษามลยาฬัมยังไม่เป็นภาษาของตนเองจนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือ 14[34]

ประวัติ

วัตถุจาก Adichanallur ในพิพิธภัณฑ์รัฐบาล เจนไน
พื้นที่ขุดค้น Keezhadi

Bhadriraju Krishnamurti รายงานว่า ภาษาทมิฬสืบทอดจากภาษาดราวิเดียนดั้งเดิม จากการฟื้นฟูทางภาษาศาสตร์ (Linguistic reconstruction) กล่าวแนะว่าภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมมีผู้พูดประมาณสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชในภูมิภาครอบ ๆ ลุ่มแม่น้ำโคทาวรีตอนล่างในคาบสมุทรอินเดีย พยานวัตถุในบริเวณนั้นกล่าวแนะว่าผู้พูดภาษาดราวิเดียนดั้งเดิมมีวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับยุคหินใหม่ในอินเดียตอนใต้[35] บันทึกแรกสุดในภาษาทมิฬเก่าคือจารึกสั้นใน 905 ถึง 696 ปีก่อนคริสต์ศักราชที่ Adichanallur[36][37]

ในบรรดาภาษาอินเดีย ภาษาทมิฬมีวรรณคดีอินเดียที่ไม่ใช่ภาษาสันสกฤตที่เก่าแก่ที่สุด[38] นักวิชาการแบ่งประวัติภาษานี้ออกเป็นสามช่วง: ทมิฬเก่า (600 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 700), ทมิฬกลาง (ค.ศ. 700 – 1600) และทมิฬใหม่ (ค.ศ. 1600 – ปัจจุบัน)[39] ใยเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 จากการขุดค้นที่ Quseir-al-Qadim เผยให้เห็นเครื่องปั้นดินเผาอียิปต์ที่มีจารึกภาษาทมิฬพราหมีที่สืบต้นกำเนิดถึงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช[22] มีจำนวนคำยืมภาษาทมิฬในภาษาฮีบรูไบเบิลปรากฎอย่างชัดเจนที่สืบถึงก่อน 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นการรับรองภาษาที่เก่าแก่ที่สุด[40] จอห์น กายกล่าวว่า ภาษาทมิฬเคยเป็นภาษากลางของนักเดินเรือจากอินเดียช่วงแรก[41]

ในช่วง ค.ศ. 2017 ถึง 2018 มีการพบโบราณวัตถุ 5,820 ชิ่นที่ Keezhadi โดยมีการส่งโบราณวัตถุไปยัง Beta Analytic ที่ไมแอมี รัฐฟลอริดา เพื่อหาปีที่ผลิตด้วย Accelerator Mass Spectrometry (AMS) ตัวอย่างหนึ่งมีจารึกภาษาทมิฬ-พราหมีที่อ้างว่าสร้างขึ้นประมาณ 580 ปีก่อนคริสต์ศักราช[42][43]

ตำนาน

คำอธิบายจารึกภาษาทมิฬพราหมีที่ Mangulam อำเภอ Madurai รัฐทมิฬนาฑู สืบถึงทมิฬยุคสันคัม (ประมาณ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราชถึงประมาณ ค.ศ. 200)

รายงานจากตำนานฮินดู พระศิวะทรงสร้างชาวทมิฬ หรือในบุคลาธิษฐานของ Tamil Thāi (มารดาทมิฬ) พระมุรุกันได้รับการยกย่องเป็นเทพของชาวทมิฬ กับฤๅษี Agastya นำภาษานี้ให้กับประชาชน[44]

ภาษาทมิฬโบราณ

จารึกภาษาทมิฬที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 243 เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมีที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี[45] ไวยากรณ์ที่เก่าที่สุดคือ โตลกาปปิยัม (Tolkāppiyam) ซึ่งบรรยายเกี่ยวกับกวีและไวยากรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคคลาสสิกของภาษานี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 243 – 1043 วรรณคดีในยุคสันคัม พบบทกวีกว่า 50,000 บรรทัด เขียนโดยกวี 473 คน รวมทั้งกวีที่เป็นสตรีด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการขับร้อง

ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่

ภาษาทมิฬยุคกลาง

จารึกภาษาทมิฬในวิหารพริหเทสวระ ในทันชวุร

ยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือรามายณะภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19–21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็นสันสกฤตมากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา

ภาษาทมิฬยุคใหม่

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดขบวนการทมิฬบริสุทธิ์เรียกร้องให้นำส่วนที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ออกไปจากภาษาทมิฬ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคดราวิเดียนและนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชของทมิฬ มีการแทนที่คำยืมจากภาษาสันสกฤตด้วยคำจากภาษาทมิฬที่มีความหมายเหมือนกัน

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

การแพร่กระจายของผู้พูดภาษาทมิฬในอินเดียใต้และศรีลังกา (พ.ศ. 2504)

ภาษาทมิฬเป็นภาษาหลักในรัฐทมิฬนาฑูของอินเดียและจังหวัดตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา และใช้พูดโดยชนกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่อื่น ๆ ของทั้งสองประเทศนี้ เช่น รัฐกรณาฏกะ รัฐเกรละ รัฐอานธรประเทศ และรัฐมหาราษฏระของอินเดีย รวมทั้งโคลอมโบและทางตะวันออกของศรีลังกา

จากการอพยพของสมัยอาณานิคมทำให้ปัจจุบันมีผู้พูดภาษาทมิฬกระจายไปในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย[46] ไทย[47] มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า เวียดนาม แอฟริกาใต้ และมอริเชียส นอกจากนั้นยังพบบ้างในกายอานา ฟีจี ซูรินาม ตรินิแดดและโตเบโก คนเหล่านี้เป็นคนที่พูดภาษาทมิฬมาก่อน[48] แต่ปัจจุบันเริ่มหันไปพูดภาษาอื่น และยังมีผู้อพยพจากอินเดียและศรีลังกาไปอยู่ที่แคนาดา สหรัฐ ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง และยุโรปตะวันตก

สถานะทางกฎหมาย

ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑู และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาในกำหนดรายการที่แปดของรัฐธรรมนูญอินเดีย[49] ภาษานี้เป็นภาษาราชการร่วมในดินแดนสหภาพปุฑุเจรีและหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์[50][51] ภาษาทมิฬยังเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศศรีลังการ่วมกับภาษาสิงหล[10] ภาษาทมิฬเคยมีสถานะทางการในรัฐหรยาณา ถึงแม้ว่าจะไม่มีผู้พูดภาษาทมิฬในรัฐนี้ ภายหลังเปลี่ยนไปใช้ภาษาปัญจาบใน ค.ศ. 2010[52] ในประเทศมาเลเซีย มีโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล 543 แห่งสอนเป็นภาษาทมิฬ[53]

นอกจากนี้ หลังการจัดตั้งสถานะทางกฎหมายสำหรับภาษาคลาสสิกโดยรัฐบาลอินเดียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 และหลังการรณรงค์ทางการเมืองที่สมาคมทมิฬบางส่วนสนับสนุน[54][55] ภาษาทมิฬกลายเป็นภาษาแรกที่ได้รับการยอมรับเป็นภาษาคลาสสิกตามกฎหมายของอินเดีย ซึ่งประกาศโดยอับดุล กลาม ประธานาธิบดีอินเดียที่มีชาวทมิฬเอง ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2004[56][57][58]

สำเนียง

ความแปรผันของคำยืม

สำเนียงของภาษาทมิฬในรัฐเกรละมีคำยืมจากภาษามลยาฬัมมาก และได้รับอิทธิพลจากการเรียงประโยคของภาษามลยาฬัม สำเนียงของกลุ่มผู้นับถือนิกายไวษณพ ซึ่งอพยพไปอยู่รัฐกรณาฏกะได้พัฒนาสำเนียงเป็นของตนเอง ภาษาทมิฬในศรีลังกามีคำยืมจากภาษาอังกฤษ ภาษาโปรตุเกสและภาษาดัตช์ด้วย

ความผันแปรของท้องถิ่น

ความแตกต่างของภาษาทมิฬขึ้นกับการเปลี่ยยนแปลงการออกเสียงที่ต่างไปจากภาษาทมิฬโบราณ เช่นคำว่า ที่นี่ (iṅku) ในสำเนียงคลาสสิกกลายเป็น iṅkū ในสำเนียงโกนคู inga ในสำเนียงธันชวูร์ และ iṅkai ในบางสำเนียงของศรีลังกา คำว่า iṅkaṇ ในภาษาทมิฬโบราณเป็นแหล่งที่มาของ iṅkane ในสำเนียงติรูเนลเวลี ภาษาทมิฬโบราณ iṅkaṭṭu เป็นที่มาของ iṅkuṭṭu ในสำเนียงมาดูไร และ iṅkaṭe ในสำเนียงทางเหนืออื่น ๆ แม้ว่าปัจจุบันในโจอิมบาตอเรจะเป็นปกติที่จะได้ยิน akkaṭṭa ซึ่งหมายถึงสถานที่นี้ สำเนียงของภาษาทมิฬไม่ได้ต่างกันทางด้านคำศัพท์มากนัก สำเนียงในศรีลังกายังคงรักษาคำศัพท์และรูปแบบไวยากรณ์ที่ไม่พบในการพูดในชีวิตประจำวันในอินเดียและใช้คำบางคำต่างไปบ้าง

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษาทมิฬมีรูปแบบที่แตกต่างกันหลายแบบ เช่น รูปแบบวรรณคดีคลาสสิกที่มาจากภาษายุคโบราณ (สันกัตตามิฬ) รูปแบบการเขียนสมัยใหม่และเป็นทางการ (เจนตามิฬ) และรูปแบบสมัยใหม่สำหรับการพูด (โกฎูนตามิฬ) แต่ละรูปแบบอาจมีลักษณะร่วมกัน เช่น เป็นไปได้ที่จะเขียนแบบเจนตามิฬโดยใช้รูปศัพท์ที่ต่ำกว่า เรียกเจญกัตตามิฬ หรือใช้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งกับโกฎูนตามิฬ[59]

ในปัจจุบัน เจนตามิฬเป็นรูปแบบที่ใช้ทั่วไปในการเขียนและพูดอย่างเป็นทางการและเป็นภาษาในตำรา โกฎูนตามิฬเป็นภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และเริ่มนำมาใช้ในภาพยนตร์และการหาเสียงของนักการเมืองทำให้เกิดการพูดแบบมาตรฐานที่ไม่เป็นทางการขึ้น ในอินเดีย มาตรฐานของโกฎูนตามิฬขึ้นกับการพูดของผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์และระดับการศึกษา[60] แต่ได้รับอิทธิพลจากสำเนียงธันชวูร์และมาดูไร ส่วนในศรีลังกามาตรฐานขึ้นกับสำเนียงจาฟนา

ระบบการเขียน

อักษรทมิฬมีสระ 12 ตัว พยัญชนะ 18 ตัวและเครื่องหมายพิเศษคืออายตัม สระและพยัญชนะประสมกันได้รูปแบบผสม 216 แบบ ทำให้มีทั้งหมด 247 แบบ พยัญชนะทุกตัวมีพื้นเสียงเป็น /อะ/ ซึ่งเอาออกได้โดยเติมปุลลิซึ่งเป็นจุดอยู่ใต้พยัญชนะ ไม่มีการแยกเสียงโฆษะและอโฆษะนอกจากอักษรมาตรฐานแล้ว ยังมีอักษรอีก 6 ตัวมาจากอักษรครันถ์ซึ่งเคยใช้เขียนภาษาสันสกฤตในหมู่ชาวทมิฬ และใช้แสดงเสียงที่ไม่ใช่เสียงพื้นฐานของภาษาทมิฬ ซึ่งเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต ภาษาปรากฤต และภาษาอื่น ๆ

สระ

สระในภาษาทมิฬเรียกอูยิเรฬุตตุ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น (กุริล) 5 เสียง เสียงยาว 5 เสียงและสระประสม (/ไอ/และ/เอา/) และสระที่ถูกทำให้สั้น (กุรริยัล) 3 เสียง สระเสียงยาว (เนฏิล) มีเสียงยาวเป็นสองเท่าของสระเสียงสั้น สระประสมออกเสียงเป็น 1.5 เท่าของสระเสียงสั้น แต่ในตำราไวยากรณ์มักเอาไปรวมกับสระเสียงยาว

ShortLong
FrontCentralBackFrontCentralBack
Closeiu
Mideo
Opena(ai)(aw)
ஒள

พยัญชนะ

พยัญชนะในภาษาทมิฬเรียกว่าเมยเยฬุตตุ แบ่งเป็นสามหมวดคือ เสียงหนัก (วาลิณัม) เสียงเบาหรือเสียงนาสิก (เมลลิณัม) และเสียงกลาง (อิฏายิณัม) ภาษาทมิฬต่างจากภาษาอื่นๆในอินเดียที่ไม่แยกเสียงมีลมและไม่มีลม เสียงนาสิกส่วนมากเป็นเสียงโฆษะ ภาษาทมิฬมีเสียงม้วนลิ้น (ฬ) ซึ่งในตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วยกันพบในภาษามลยาฬัม หายไปจากการออกเสียงภาษากันนาดาเมื่อราว พ.ศ. 1543 แต่ยังมีอักษรใช้อยู่ และไม่พบในภาษาเตลูกู[61]

LabialDentalAlveolarRetroflexPalatalVelar
Plosivesp (b)t̪ (d̪)ʈ (ɖ)tʃ (dʒ)k (ɡ)
Nasalsmnɳɲŋ
Tapɾ̪
Trillr
Central approximantsʋɻj
Lateral approximantsɭ

อายตัม

ในภาษาทมิฬคลาสสิก มีหน่วยเสียงอายตัม เขียนเป็น ‘ஃ' ซึ่งไวยากรณ์ในยุคนั้นแยกเป็นหน่วยเสียงหนึ่ง[62] แต่พบน้อยในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ในตำราไวยากรณ์ยุคคลาสสิกกล่าวว่าอายตัมเปลี่ยนเสียงที่เข้ารวมด้วยให้เป็นเสียงจากเส้นเสียงหรือใช้เปลี่ยนเสียงพยัญชนะ ส่วนในภาษาทมิฬสมัยใหม่ ใช้เปลี่ยน pa เป็น fa เมื่อเขียนภาษาอังกฤษด้วยอักษรทมิฬ

ตัวเลขและเครื่องหมายอื่น ๆ

0123456789101001000
วันเดือนปีdebitcreditเหมือนข้างบนรูปีnumeral

ไวยากรณ์

บทความหลัก:ไวยากรณ์ภาษาทมิฬ

ไวยากรณ์ภาษาทมิฬส่วนใหญ่ได้บรรยายไว้ในตำราไวยากรณ์เก่าสุด "โตลกาปปิยัม" การเขียนภาษาทมิฬสมัยใหม่ใช้ตามตำราไวยากรณ์ เมื่อราว พ.ศ. 1800 Nannūl ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากโตลกาปปิยัมบ้าง ภาษาทมิฬโบราณแบ่งเป็น5ส่วนคือ eluttu, col, porul, yāppu และ ani สองส่วนหลังมักใช้ในวรรณคดี

ภาษาทมิฬเป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับตระกูลภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ คำภาษาทมิฬประกอบด้วยรากศัพท์ ซึ่งจะต่อท้ายด้วยปัจจัย 1 ตัวหรือมากกว่า ปัจจัยเหล่านี้มีทั้งที่เปลี่ยนความหมายหรือชนิดของคำ และปัจจัยที่แสดงการผันตามบุคคล จำนวน มาลาและกาล ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความยาวของการเติมปัจจัย ทำให้มีการสร้างคำขนาดยาว ประกอบด้วยปัจจัยหลายตัวได้

คำศัพท์

คำศัพท์ภาษาทมิฬสมัยใหม่ ส่วนมากมาจากภาษาทมิฬโบราณ คำยืมจากภาษาสันสกฤตพบได้ทั่วไป นอกจากนั้นมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นผลจากการติดต่อค้าขายในอดีต ตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 25 เริ่มมีคำยืมจากภาษาอังกฤษโดยเฉพาะศัพท์เทคนิค มีการกำหนดศัพท์เทคนิคที่มาจากภาษาทมิฬเช่นกันโดยรัฐบาลศรีลังกาหรือมหาวิทยาลัยทมิฬวิชัล

ตัวอย่าง

นี่คือตัวอย่างข้อความภาษาทมิฬแบบเขียนในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อที่ 1:

ภาษาทมิฬในอักษรทมิฬ:

உறுப்புரை 1: மனிதப் பிறவியினர் சகலரும் சுதந்திரமாகவே பிறக்கின்றனர்; அவர்கள் மதிப்பிலும், உரிமைகளிலும் சமமானவர்கள், அவர்கள் நியாயத்தையும் மனச்சாட்சியையும் இயற்பண்பாகப் பெற்றவர்கள். அவர்கள் ஒருவருடனொருவர் சகோதர உணர்வுப் பாங்கில் நடந்துகொள்ளல் வேண்டும்.।

ถอดเป็นอักษรโรมัน:

Uṟuppurai 1: Maṉitap piṟaviyiṉar cakalarum cutantiramākavē piṟakkiṉṟaṉar; avarkaḷ matippilum, urimaikaḷilum camamāṉavarkaḷ, avarkaḷ niyāyattaiyum maṉaccāṭciyaiyum iyaṟpaṇpākap peṟṟavarkaḷ. Avarkaḷ oruvaruṭaṉoruvar cakōtara uṇarvup pāṅkil naṭantukoḷḷal vēṇṭum.

สัทอักษรสากล:

urupːurai ond̺rʉ | mənid̪ə piriʋijinər səgələrum sud̪ən̪d̪irəmaːgəʋeː pirəkːin̺d̺ranər | əvərgəɭ məd̪ipːilum uriməigəɭilum səməmaːnəʋərgəɭ | əvərgəɭ nijaːjatːəijum mənətt͡ʃaːʈt͡ʃijəijum ijərpəɳbaːgə pet̺rəʋərgəɭ | əvərgəɭ oruʋəruɖənoruʋər sagoːdəɾə uɳərʋɨ paːŋgil nəɖən̪d̪ʉkoɭɭəl veːɳɖum |

แปล:

ข้อ 1: มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

อ้างอิง

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

  • Fabricius, Johann Philip (1933 and 1972), Tamil and English Dictionary. based on J.P. Fabricius Malabar-English Dictionary, 3rd and 4th Edition Revised and Enlarged by David Bexell. Evangelical Lutheran Mission Publishing House, Tranquebar; called Tranquebar Dictionary.
  • Freeman, Rich (February 1998), "Rubies and Coral: The Lapidary Crafting of Language in Kerala", The Journal of Asian Studies, 57 (1): 38–65, doi:10.2307/2659023, JSTOR 2659023, S2CID 162294036
  • Keane, Elinor (2004), "Tamil", Journal of the International Phonetic Association, 34 (1): 111–116, doi:10.1017/S0025100304001549

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง