การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ

การติดตามและสังเกตการณ์กระบวนการสันติภาพในพื้นที่หลังความขัดแย้ง

การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[2] (อังกฤษ: United Nations peacekeeping หรือ Peacekeeping by the United Nations) เป็นบทบาทของทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติในฐานะ "เครื่องมือที่องค์การพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นหนทางช่วยเหลือประเทศที่แตกแยกจากความขัดแย้ง เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน"[3] ซึ่งแตกต่างจากการสร้างสันติภาพ (Peacebuilding)[4] การทำให้เกิดสันติภาพ (Peacemaking)[5] และการบังคับใช้สันติภาพ (Peace enforcement)[5] ที่แม้ว่าองค์การสหประชาชาติจะรับรู้ว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้เป็นการ "ส่งเสริมซึ่งกันและกัน" และการทับซ้อนกันของกิจกรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นบ่อยในทางปฏิบัติ[6]

การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ
ก่อตั้งพ.ศ. 2488; 79 ปีที่แล้ว (2488)
เว็บไซต์peacekeeping.un.org
ผู้บังคับบัญชา
รองเลขาธิการฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพJean-Pierre Lacroix
กำลังพล
ยอดประจำการ81,820 นาย[1]
รายจ่าย
งบประมาณ6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ (Peacekeeping) จะคอยติดตามและสังเกตกระบวนการสันติภาพในพื้นที่หลังจากเกิดความขัดแย้ง และช่วยเหลืออดีตผู้ที่เคยเป็นคู่ขัดแย้งกันในการดำเนินการตามข้อตกลงสันติภาพที่พวกเขาอาจจะเป็นผู้ลงนาม ซึ่งความช่วยเหลือดังกล่าวอาจมาในหลายรูปแบบ เช่น การแยกอดีตคู่ขัดแย้ง (กองกำลังหรือนักรบ) ออกจากกัน, มาตรฐานสร้างความเชื่อมั่น ข้อตกลงการแบ่งสรรปันอำนาจหรือใช้อำนาจร่วม ความช่วยเหลือด้านการเลือกตั้ง การเสริมสร้างหลักนิติธรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ หมวกเบเร่ต์สีฟ้า หรือ หมวกสีฟ้า เนื่องจากพวกเขาสวมใส่หมวกสีฟ้าทั้งในรูปแบบของหมวกเบเร่ต์และหมวกเหล็กกันกระสุน)[7] มักจะรวมไปถึงทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่พลเรือน

กฎบัตรสหประชาชาติ หมวดที่ 7 ได้ให้อำนาจและความรับผิดชอบแก่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการดำเนินการร่วมกันเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ[8] โดยปฏิบัติการส่วนใหญ่ได้รับการจัดตั้งโดยสหประชาชาติเอง โดยมีกองทหารปฏิบัติการตามการควบคุมสั่งการของสหประชาชาติ ซึ่งในกรณีเหล่านี้ เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพที่มาปฏิบัติการจะยังคงเป็นสมาชิกของกองกำลังเดิมในสังกัดของตนอยู่ ไม่ได้มีการประกอบกำลังเป็นเป็น "กองทัพสหประชาชาติ" ที่ตั้งแยกออกมาเป็นอิสระ เนื่องจากสหประชาชาติไม่มีกองกำลังดังกล่าวอยู่ ในกรณีที่การแทรกแซงของสหประชาติไม่ได้รับการพิจารณาว่าเหมาะสมหรือเป็นไปได้ สภาจะอนุญาตให้องค์การระดับภูมิภาค เช่น เนโท[8], ประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก หรือประเทศแนวร่วมที่เต็มใจเข้าไปปฏิบัติการรักษาสันติภาพหรือบังคับใช้สันติภาพ

Jean-Pierre Lacroix คือหัวหน้าของฝ่ายปฏิบัติการรักษาสันติภาพในตำแหน่ง รองเลขาธิการฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพ โดยรับช่วงต่อจาก Hervé Ladsous เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560 ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา หัวหน้าฝ่ายทั้งหมดเป็นชาวฝรั่งเศส โดยเอกสารหลักระดับสูงสุดของทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติมีชื่อว่า "United Nations Peacekeeping Operations: Principles and Guidelines" (ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ: หลักการและแนวปฏิบัติ) ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อปื พ.ศ. 2551[9]

รูปแบบ

กองกำลังทหารช่างไทยในปฏิบัติการ UNMISS ซูดานใต้
แผนกอุบัติเหตุและกู้ภัยฉุกเฉินของบังกลาเทศ ของกองกำลัง MONUSCO ในเมืองบูเนีย รัฐอิตูรี
กองพันนานาชาติของสหประชาชาติในพิธีสวนสนามวันบาสตีย์ปี 2551

เมื่อเกิดการเจรจาสันติภาพกันแล้ว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจจะขอให้องค์การสหประชาชาติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้ามาควบคุมดูแลองค์ประกอบต่าง ๆ ตามแผนที่ได้ตกลงกันไว้ โดยสิ่งนี้มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงในสหประชาชาติมักจะเลือกไม่สนับสนุนผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อันเนื่องจากกลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงนั้นมาจากหลายกลุ่ม ได้แก่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่มีสมาชิกอยู่ 15 คน และสำนักเลขาธิการสหประชาชาติที่ออกแบบมาให้มีความหลากหลายโดยเจตนา

หากคณะมนตรีความมั่นคงอนุมัติภารกิจ ทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติจะเริ่มวางแผนสำหรับองค์ประกอบที่จำเป็นต่อคณะผู้แทน โดยเมื่อได้เลือกผู้บังคับบัญชาอาวุโสแล้ว[10] ทบวงจะขอเงินสนับสนุนจากชาติสมาชิก เนื่องจากองค์การสหประชาชาติไม่มีกองกำลังหรือเสบียงของตนเองที่เพียงพอ ทำให้สหประชาชาติต้องจัดกำลังในรูปแบบของกองกำลังเฉพาะกิจทุกครั้งที่จัดตั้งคณะผู้แทน ซึ่งส่งผลให้เกิดความล้มเหลวในการจัดกองกำลังที่เหมาะสมและเกิดความล้าช้าในการจัดซื้อจัดจ้างเมื่อกองกำลังลงไปปฏิบัติการในพื้นที่ความขัดแย้ง

Roméo Dallaire ผู้บัญชาการกองกำลังในรวันดาระหว่างที่เกิดเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของกองกำลังรักษาสันติภาพเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กองกำลังทหารแบบปกติคือ:

เขาบอกผมว่าระบบของสหประชาชาติเป็นรูปแบบของการ "ดึง" ไม่ระบบของการ "ผลักดัน" เหมือนกับที่ผมเคยทำกับเนโท เพราะสหประชาชาติไม่มีแหล่งทรัพยากรที่จะนำมาใช้งานอย่างมั่นคงและแน่นอน คุณจะต้องร้องขอทุกสิ่งที่คุณต้องการ จักนั้นคุณต้องรอในขณะที่พวกเขาพิจารณาคำของนั้น... ตัวอย่างเช่น ทหารทุกที่ต้องกินและดื่ม ในระบบแบบผลักดัน อาหารและน้ำดื่มตามจำนวนของทหารจะถูกจัดส่งกำลังบำรุงให้โดยอัตโนมัติ ขณะที่ระบบแบบดึง คุณต้องขอปันส่วนสิ่งเหล่านั้น มันดูขัดกับสามัญสำนึกมากเลย

— (Shake Hands With the Devil, Dallaire, pp. 99–100)

แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดกำลังดำเนินการจัดกำลังด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน[11] ในขณะที่กำลังรวบรวมกองกำลังรักษาสันติภาพ เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติก็ดำเนินกิจกรรมทางการทูตหลาย ๆ อย่างไปพร้อมกัน โดยขนาดและยุทโธปกรณ์ของกองกำลังที่จะจัดลงในคณะผู้แทนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลของประเทศที่มีพรมแดนติดกับพื้นที่ที่มีความขัดแย้งอยู่ ส่วนของกฎการปะทะจะต้องได้รับการมีส่วนร่วมและเห็นชอบโดยทั้งฝ่ายที่เกี่ยวข้องและฝ่ายคณะมนตรีความมั่นคง โดยอาจให้อำนาจเฉพาะตามที่กำหนดและอยู่ในขอบเขตของภารกิจ (เช่น เวลาใดที่เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพจะใช้กำลัง อาจจะหากมีอาวุธ และสถานที่ที่กองกำลังอาจจะเข้าไปได้ในประเทศนั้น ๆ ในภารกิจ) ซึ่งบ่อยครั้งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพจะได้รับคำสั่งให้มีผู้ดูแลของรัฐบาลเจ้าของพื้นที่ติดตามไปด้วยทุกครั้งที่ต้องออกไปปฏิบัติการนอกฐาน ซึ่งความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดปัญหาตามมาในการปฏิบัติการในพื้นที่ เมื่อตกลงข้อกำหนดทั้งหมดจนเสร็จสิ้นแล้ว บุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่จำเป็นจะถูกเรียกระดมพล และเมื่อได้รับการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากคณะมนตรีความมั่นคงแล้ว เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพก็จะถูกส่งไปประจำการยังภูมิภาคที่เกิดปัญหา

การจัดหาเงินทุน

ทรัพยากรทางการเงินของการปฏิบัติการรักษาสันติภาพขอสหประชาชาติเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดตั้ง การบำรุงรักษา หรือการขยายปฏิบัติการรักษาสันติภาพจะต้องดำเนินการโดยคณะมนตรีความมั่นคง ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ทุกประเทศสมาชิกมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องร่วมจ่ายเงินในการรักษาสันติภาพ โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาสันติภาพจะถูกจัดส่วนแบ่งโดยสมัชชาใหญ่ตามการคำนวณที่กำหนดโดยรัฐสมาชิก โดยคิดตามความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกนั้น ๆ[12]

ในปี พ.ศ. 2560 สหประชาชาติตกลงที่จะลดงบประมาณการรักษาสันติภาพลง 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่สหรัฐเสนอให้ลดงบประมาณลงมากกว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนหน้านี้[13]

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวออสเตรเลียในติมอร์ตะวันออก
ปีแหล่งเงินทุนแยกตามประเทศ/แหล่งที่มาคำอธิบายจำนวนเงินทั้งหมด
2558–25598.3 พันล้านดอลลาร์[14]
2559–2560  สหรัฐ 28.57%

 จีน 10.29%
 ญี่ปุ่น 9.68%
 เยอรมนี 6.39%
 ฝรั่งเศส 6.31%
 สหราชอาณาจักร 5.80%
 รัสเซีย 4.01%
 อิตาลี 3.75%
 แคนาดา 2.92%
 สเปน 2.44%

น้อยกว่า 0.5% ของรายจ่ายทางการทหารทั่วโลก (ประมาณ 1,747 พันล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2556) ทรัพยากรดังกล่าวเป็นเงินทุนสนับสนุนคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติคิดเป็น 14 จาก 16 คณะผู้แทน โดยอีก 2 คณะผู้แทนที่เหลือได้รับเงินทุนผ่านงบประมาณปกติของสหประชาชาติ

นอกจากนี้ หลายประเทศยังสมัครใจที่จะจัดเตรียมทรัพยากรเพิ่มเติมในการสนับสนุนการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ เช่น การขนส่ง เสบียงสิ่งของ บุคลากร และเงินบริจาค ซึ่งอยู่นอกเหนือจากเงินทุนการรักษาสันติภาพที่ได้ประเมินไว้[12]

7.87 พันล้านดอลลาร์[12]
2560–2561ในขณะที่หลายคนชื่นชมปฏิบัติการสหประชาชาติในโกตดิวัวร์ ปฏิบัติการดังกล่าวก็ส่งผลต่อความมีเสถียรภาพของประเทศ โดยคณะผู้แทนดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560[15]7.3 พันล้านดอลลาร์[13]

สมัชชาใหญ่อนุมัติค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรสำหรับการปฏิบัติการรักษาสันติภาพเป็นประจำทุกปี โดยการจัดหาเงินทุนครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 มิถุนายนของทุกปี[16]

ปฏิบัติการ-ระดับงบประมาณ (ดอลลาร์สหรัฐ)[17][18]
รัสพจน์ปฏิบัติการ2560–25612561–2562
UNMISSคณะผู้แทนในซูดานใต้$1,071,000,000$1,124,960,400
MONUSCOคณะผู้แทนสร้างเสถียรภาพในคองโก$1,141,848,100$1,114,619,500
MINUSMAคณะผู้แทนบูรณาการหลายมิติในมาลี$1,048,000,000$1,074,718,900
MINUSCAคณะผู้แทนบูรณาการหลายมิติในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง$882,800,000$930,211,900
UNSOSสำนักงานสนับสนุนในโซมาเลีย$582,000,000$558,152,300
UNIFILกองกำลังเฉพาะกาลประจำเลบานอน$483,000,000$474,406,700
UNAMIDปฏิบัติการผสมในดาร์ฟูร์$486,000,000$385,678,500
UNISFAกองกำลังชั่วคราวรักษาความมั่นคงในอับยี$266,700,000$263,858,100
UNMILคณะผู้แทนในไลบีเรีย$110,000,000-
MINUJUSTHคณะผู้แทนสนับสนุนความยุติธรรมในเฮติ$90,000,000$121,455,900
UNDOFกองกำลังสังเกตการณ์แยกกำลังทหาร$57,653,700$60,295,100
UNFICYPกองกำลังรักษาสันติภาพในไซปรัส$54,000,000$52,938,900
MINURSOคณะผู้แทนว่าด้วยการออกเสียงประชามติในซาฮาราตะวันตก$52,000,000$52,350,800
UNMIKองค์การบริหารชั่วคราวในคอซอวอ$37,898,200$37,192,700
รวมทั้งปี$6,362,900,000$6,250,839,700

โครงสร้าง

คณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีโครงสร้างการบังคับบัญชาหลัก 3 ตำแหน่ง ตำแหน่งแรกคือ ผู้แทนพิเศษเลขาธิการสหประชาชาติ[19] (Special Representative of the Secretary-General) เป็นผู้นำของคณะผู้แทนอย่างเป็นทางการ[19] มีหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมทางการเมืองและการทูตทั้งหมด ดูแลความสัมพันธ์กับทั้งสองฝ่ายในสนธิสัญญาสันติภาพในการสงศึกและรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ โดยทั่วไปจะเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของสำนักเลขาธิการ ตำแหน่งที่สองคือผู้บัญชาการกองทัพ[20] (Force Commander) ซึ่งรับผิดชอบกองกำลังทหารประจำการ และเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของกองทัพระดับชาติ และมักมาจากชาติที่ส่งกำลังทหารเข้าร่วมในโครงการมากที่สุด ตำแหน่งสุดท้าย หัวหน้าฝ่ายบริหาร (Chief Administrative Officer) จะดูแลด้านการจัดหาเสบียงสิ่งของ การส่งกำลังบำรุง และการประสานงานในการจัดหาสิ่งของที่จำเป็น[21]

สถิติ

ขนาดรวมของกองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2490 ถึง 2557[22]

ในปี พ.ศ. 2550 อาสาสมัครรักษาสันติภาพจะต้องมีอายุมากกว่า 25 ปี โดยไม่ได้จำกัดอายุสูงสุด[23] ซึ่งกองกำลังรักษาสันติภาพจะได้รับการสนับสนุนโดยรัฐสมาชิกตามความสมัครใจ ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 มีผู้ปฏิบัติงาน 100,411 คนที่ปฏิบัติงานในการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (เป็นทหาร 86,145 นาย พลเรือน 12,932 คน และอาสาสมัคร 1,334 คน)[24]

ประเทศในยุโรปบริจาคเงินให้เท่ากับเกือบ 6,000 คนในยอดทั้งหมดนี้ ในขณะที่ปากีสถาน อินเดีย และบังคลาเทศเป็นหนึ่งในประเทศที่มีส่วนร่วมในผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด ประเทศละประมาณ 8,000 คน ส่วนประเทศในแอฟริกามีส่วนร่วมในผู้ปฏิบัติงานเกือบครึ่งหนึ่ง คือ 44,000 คน[25]

ประวัติ

การรักษาสันติภาพในช่วงสงครามเย็น

รถหุ้มเกราะ Panhard ของผู้รักษาสันติภาพใน Musée des Blindés, Saumur ประเทศฝรั่งเศส ยานพาหนะเหล่านี้ให้เข้าประจำการในสหประชาชาตินับตั้งแต่ก่อตั้ง UNFICYP
ขบวนรถติดอาวุธ UNOSOM ของปากีสถาน เคลื่อนขบวนในกรุงโมกาดิชู

การรักษาสันติภาพของสหประชาชาติถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามเย็นเพื่อเป็นวิธีในการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างรัฐต่าง ๆ โดยการส่งกำลังทางทหารที่ไม่มีอาวุธหรือติดอาวุธเบาจากชาติต่าง ๆ หลากหลายชาติ ซึ่งได้รับคำสั่งจากสหประชาชาติ ไปยังพื้นที่ที่ฝ่ายที่เข้าร่วมสงครามต้องการฝ่ายที่เป็นกลางในการสังเกตการณ์กระบวนการสันติภาพ เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพสามารถปฏิบัติการได้เมื่อชาติมหาอำนาจหลักระหว่างประเทศ (สมาชิกถาวรทั้งห้าของคณะมนตรีความมั่นคง) ได้มอบหมายให้สหประชาติเข้าไปช่วยยุติความขัดแย้งที่คุกคามเสถียรภาพ สันติภาพในภูมิภาคและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านีถูกเรียกว่า "สงครามตัวแทน" ที่จำนวนหนึ่งเกิดขึ้นโดยรัฐบริวารของชาติมหาอำนาจ โดยเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจำนวน 72 ครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ซึ่งยังมีปฏิบัติการที่ยังดำเนินการอยู่อีก 17 ปฏิบัติการ และมีการยื่นข้อเสนอสำหรับปฏิบัตการของคณะผู้แทนฯ เข้ามาใหม่ในทุก ๆ ปี

ปฏิบัติการของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2491 โดยคณะผู้แทนนั้นคือ องค์การดูแลการสงบศึกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Truce Supervision Organization: UNTSO) ถูกส่งไปยังรัฐอิสราเอลที่พึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งพึ่งประกาศหยุดยิงหลังจากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและชาติอาหรับเกี่ยวกับการก่อตั้งรัฐอิสราเอล UNTSO ยังคงปฏิบัติงานมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์จะไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนคลายลงก็ตาม หนึ่งปีต่อมา คณะผู้แทนสังเกตการณ์ทางทหารของสหประชาชาติในอินเดียและปากีสถาน (United Nations Military Observer Group in India and Pakistan: UNMOGIP) ได้รับอนุญาตให้คอยติดตามความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งถูกแยกออกมาหลังจากการปลดปล่อยอาณานิคมของสหราชอาณาจักรในอนุทวีปอินเดีย

ในขณะที่สงครามเกาหลียุติลงตามความตกลงการสงบศึกเกาหลีในปี พ.ศ. 2496[26] กองกำลังของสหประชาชาติยังคงอยู่ตามแนวทางใต้ของเขตปลอดทหารจนถึงปี พ.ศ. 2510 ประเทศส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมได้ถอนกำลังออกมาคงเหลือแค่กำลังของกองทัพสหรัฐ กองทัพเกาหลีใต้ และกองทัพไทย[27]

สหประชาชาติตอบสนองต่อวิกฤตการณ์คลองสุเอซในปี พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างพันธมิตรของสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และอิสราเอล กับประเทศอียิปต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติอาหรับอื่น ๆ โดยมีคู่ขัดแย้งหลักคืออิสราเอลและประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นชาติอาหรับ หลังจากการประกาศหยุดยิงในปี พ.ศ. 2500 เลสเตอร์ โบว์ลส์ เพียร์สัน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแคนาดา[28] (ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา) เสนอให้สหประชาชาติก่อตั้งกองกำลังรักษาสันติภาพในซุเอซเพื่อให้แน่ใจว่าการหยุดยิงจะได้รับการเคารพจากทั้งสองฝ่าย ซึ่งครั้งแรกเพียร์สันเสนอว่ากองกำลังดังกล่าวให้ประกอบไปด้วยกองกำลังของแคนาดาเป็นส่วนใหญ่ แต่เกิดคำถามจากชาวอียิปต์ว่าจะให้ประเทศจากเครือจักรภพมาปกป้องพวกเขาจากสหราชอาณาจักรและชาติพันธมิตรหรืออย่างไร ในท้ายที่สุด กองกำลังระดับชาติจากหลากหลายประเทศก็ถูกดึงมาประจำการเพื่อรับประกันความหลากหลายของชาติที่มาปฏิบัติหน้าที่

ในปี พ.ศ. 2531 กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติได้รับมองรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยตามข่าวแจกระบุเอาไว้ว่า กองกำลัง "เป็นตัวแทนของเจตจำนงอันชัดเจนของประชาคมประเทศต่าง ๆ" และได้ "มีส่วนสนับสนุนที่เด็ดขาด" ในการแก้ไปข้อขัดแย้งทั่วโลก

ในปี 1988 กองกำลังรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ข่าวประชาสัมพันธ์ระบุว่ากองกำลัง "เป็นตัวแทนของเจตจำนงอันชัดแจ้งของประชาคมของประเทศต่างๆ" และได้ "มีส่วนสนับสนุนอย่างเด็ดขาด" ในการแก้ไขข้อขัดแย้งทั่วโลก

ตั้งแต่ พ.ศ. 2534

กองกำลังบังกลาเทศภายใต้ภารกิจ MINUSMA ประเทศมาลี
เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวนอร์เวย์ระหว่างการล้อมเมืองซาราเยโว 2535–2536
Indian Army patrol under UN mission in Congo, Africa
Indian Army doctors attend to a child in Congo

การสิ้นสุดของสงครามเย็นก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในสหประชาชาติและการรักษาสันติภาพในรูปแบบพหุภาคี ด้วยเจตนารมณ์ใหม่ในความร่วมมือ คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดตั้งคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่มีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งมักจะมีส่วนร่วมในการดำเนินข้อตกลงสันติภาพที่ให้ความครอบคลุมระหว่างคู่สงครามในความขัดแย้งภายในรัฐและสถานการณ์สงครามกลางเมือง นอกจากนี้ การรักษาสันติภาพยังมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่ไม่ใช่ทางทหารมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะช่วยรับประกันกลไกการทำงานของหน้าที่พลเมือง เช่น การเลือกตั้ง ทำให้มีการก่อตั้งทบวงการรักษาสันติภาพขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อรองรับขนาดของภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น

ในภาพรวมแล้ว การปฏิบัติการที่ได้รับการปฏิรูปใหม่ประสบความสำเร็จ เช่น ในเอลซัลวาดอร์และโมซัมบิก ซึ่งการรักษาสันติภาพนำไปสู่การบรรลุสันติภาพด้วยตัวเองได้ของทั้งสองฝ่าย ในขณะที่บางความพยายามในการปฏิบัติการก็ประสบความล้มเหลว อาจเกิดมาจากการประเมินศักยภาพของตัวเองสูงเกินไปไปว่าการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจะสามารถทำได้ โดยในขณะที่การปฏิบัติการของคณะผู้แทนในกัมพูชาและโมซัมบิกยังปฏิบัติการอยู่ซึ่งทั้งคู่มีความซับซ้อนสูง คณะมนตรีความมั่นคงก็ยังคงส่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพไปยังพื้นที่ขัดแย้งอื่นอีก เช่น โซมาเลีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการหยุดยิงหรือได้รับการยินยอมจากทุกฝ่ายในความขัดแย้ง รวมถึงปฏิบัตการโดยขาดกำลังคนที่เพียงพอและไม่ได้รับการสนับสนุนในทางการเมืองที่จำเป็นมากเพียงพอในการปฏิบัติการตามอาณัติ

ความล้มเหลวครั้งใหญ่ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาในปี พ.ศ. 2537 และการสังหารหมู่สเรเบรนีตซาและในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาในปี พ.ศ. 2538 ส่งผลให้ต้องมีการลดจำนวนการปฏิบัติการรักษาสันติภาพและพิจารณาตัวเองในบทบาทนี้ของสหประชาชาติ ทำให้องค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านในสโลเวเนียตะวันออก บารันยา และซิริเมียมตะวันตก (UNTAES) ซึ่งมีขนาดองค์กรค่อนข้างไม่ใหญ่มากในสโลวาเนียตะวันออก ที่เป็นการปฏิบัติการที่ได้รับการทุ่มเทเป็นพิเศษ และกลายเป็น "พื้นที่พิสูจน์แนวคิด วิธีการ และขั้นตอนปฏิบัติ" ซึ่งภารกิจดังกล่าวได้รับการพิจารณาว่าเป็นคณะผู้แทนสหประชาชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และตามมาด้วยคณะบริหารในช่วงเปลี่ยนผ่านอื่น ๆ ที่มีความยากมากยิ่งขึ้นในคอซอวอ (องค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในคอซอวอ: UNMIK) และในติมอร์ตะวันออก (องค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก: UNTAET)

ส่วนหนึ่งส่งผลให้คณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพแห่งสหประชาชาติ ซึ่งดำเนินการเพื่อสร้างสันติภาพที่มั่นคงผ่านกลไกตามหน้าที่พลเมืองแบบเดียวกับที่เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพทำอยู่ เช่น การเลือกตั้ง ปัจจุบันคณะกรรมาธิการทำงานร่วมมือกับหกชาติซึ่งทั้งหมดอยู่ในแอฟริกา[29]

การมีส่วนร่วม

กฎบัตรสหประชาชาติกำหนดว่า เพื่อช่วยในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงทั่วโลก รัฐสมาชิกของสหประชาชาติทั้งหมดควรจัดให้มีกองกำลังและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นที่พร้อมต่อการร้องขอของคณะมนตรีความมั่นคง โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 เป็นต้นมา เกือบ 130 ประเทศได้ส่งกำลังทหารและตำรวจพลเรือนเข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ แม้ว่าจะไม่มีบันทึกโดยละเอียดของบุคลากรทุกคนที่เข้ารวมในคณะผู้แทนรักษาสันติภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 แต่คาดว่ามีทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพลเรือนมากถึงหนึ่งล้านนายในการทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติในตลอดช่วงที่ผ่านมา

เฮลิคอปเตอร์อัลไพน์ทำสัญญาให้ใช้เบลล์ 212 ในการใช้ปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติในกัวเตมาลา ปี 2541
ค่ายซานมาร์ตินในประเทศไซปรัสของกองกำลังอาร์เจนตินา ที่ประกอบไปด้วยกองกำลังจากประเทศอื่นๆ ในละตินอเมริกาด้วย
รถถัง ที-72 ของกองทัพบกอินเดีย ที่มีเครื่องหมาย UN ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการ CONTINUE HOPE

ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 มีจำนวน 114 ประเทศที่ส่งผู้สังเกตการณ์ทางทหาร ตำรวจ และกองกำลังเข้ารร่วมกับปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 มีประเทศส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมทั้งหมด 74,892 คนในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ โดยบังกลาเทศมีจำนวนมากที่สุด (6,700 คน) อินเดีย (5,832 คน) เนปาล (5,794 คน) รวันดา (5,283 คน) และปากีสถาน (4,399 คน)[30] นอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจที่เข้าร่วมแล้ว ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ยังมีเจ้าหน้าที่พลเรือนจากชาติต่าง ๆ กว่า 5,187 คน อาสาสมัครสหประชาชาติ 2,031 คน และเจ้าหน้าที่พลเรือนในพื้นที่ 12,036 คนทำงานในคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[31]

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพชาวโปแลนด์ในซีเรีย

ข้อมูลจนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 มีผู้เสียชีวิต 3,767 รายจากกว่า 100 ประเทศขณะปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ[32] จำนวนมากที่สุดมาจากอินเดีย (163 คน) ไนจีเรีย (153 คน) ปากีสถาน (150 คน) บังคลาเทศ (146 คน) และกานา (138 คน)[33] โดยสามสิบเปอร์เซ็นของการเสียชีวิตเกิดขึ้นในช่วง 55 ปีแรกของการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2536–2538 ซึ่งประมาณ 4.5% ของทหารและตำรวจพลเรือนที่ประจำการในคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมาจากสหภาพยุโรป และน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นมาจากสหรัฐ[34]

อัตราการจ่ายเงินชดเชยโดยสหประชาชาติ สำหรับประเทศที่ส่งทหารเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพต่อเดือน ได้แก่: 1,028 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับค่าจ้างและเบี้ยเลี้ยง; ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 303 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับผู้เชี่ยวชาญ; 68 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเสื้อผ้า อุปกรณ์ทางทหาร และอุปกรณ์อื่น ๆ และ 5 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับอาวุธประจำกาย[35]

สหรัฐ

ในสหรัฐ รัฐบาลของของบิล คลินตัน และจอร์จ ดับเบิลยู บุช เริ่มต้นด้วยปรัชญาที่แตกต่างกัน แต่ได้ปฏิบัตินโยบายที่มีความคล้ายคลึงกันในการปรับใช้ในการปฏฺบัติการสันติภาพในการช่วยเหลือนโยบายการต่างประเทศของสหรัฐ ความกังวลด้านอุดมการในช่วงแรกถูกแทนที่ด้วยการตัดสินใจปฏิบัติการช่วยเหลือปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติ โดยรัฐบาลของทั้งสองรัฐบาลไม่เต็มใจที่จะสนับสนุนกองทหารภาคพื้นดินจำนวนมากในการปฏิบัติการภายใต้คำสั่งของสหประชาชาติ แม้ว่ารัฐบาลทั้งสองรัฐบาลจะสนับสนุนการเพิ่มจำนวนและขนาดของคณะผู้แทนสหประชาชาติก็ตาม[36]

รัฐบาลของคลินตันมีอีกความท้าทายในการปฏิบัติการที่สำคัญ แทนที่จะเป็นความรับผิดชอบ แต่กลับเป็นราคาทางยุทธวิธีที่มาจากความสำเร็จเชิงกลยุทธ์ ปฏิบัติการสันติภาพของอเมริกาช่วยเปลี่ยนแปลงพันธมิตรของเนโท ในขณะที่รัฐบาลของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช เริ่มต้นจากทัศนคติเชิงอุดมการในเชิงลบต่อปฏิบัติการสันติภาพ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลในยุโรปและละตินอเมริกาเน้นย้ำว่าการปฏิบัติการสันติภาพส่งผลบวกในเชิงกลยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการใช้กำลังของยุโรปในอัพกานิสถานและเลบานอน[37]

ผลลัพธ์

จากการศึกษาของเพจ ฟอร์ทนา นักวิชาการ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าการมีเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพช่วยลดความเสี่ยงของการก่อสงครามครั้งใหม่ได้อย่างมาก จำนวนกองกำลังรักษาสันติภาพที่มีจำนวนมากขึ้นส่งผลให้มีการเสียชีวิตในการปะทะของทหารและผลเรือนลดลง[38] นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าการตอบรับที่จะส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปในพื้นที่ความขัดแย้งจะช่วยให้ดึงคู่ขัดแย้งเข้ามาสู่เวทีเจรจาโดยองค์การระหว่างประเทศได้ง่ายขึ้น และเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะประกาศตกลงหยุดยิง[39]

อย่างไรก็ตาม มีรายงานหลายฉบับในระหว่างภารกิจของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยทหารของสหประชาชาติ โดยเฉพาะในสาธารณรัฐอัฟริกากลางในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งค่าใช้จ่ายของภารกิจนี้ก็สูงอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS) มีค่าใช้จ่าย 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีสำหรับทหารของสหประชาชาติจำนวน 12,500 นายที่ไม่สามารถป้องกันสงครามกลางเมืองของประเทศนี้ได้ ซึ่งบ่อยครั้งที่ภารกิจต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลท้องถิ่นก่อนที่จะส่งกำลังทหารเข้าไป ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการทำงานของคณะผู้แทนสหประชาชาติได้เช่นกัน[40]

นิโคลัส ซัมบานิส ยืนยันว่าการมีอยู่ของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการบรรลุสันติภาพโดยเฉพาะในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เขาตั้งข้อสังเกตว่าผลกระทบนี้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น ยิ่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพอยู่ในประเทศนั้นนาาเท่าไหร่ โอกาสที่จะสร้างสันติภาพก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น โดยความสำเร็จที่เป็นที่รับรู้ในการปฏิบัติการของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้นด้วย ซึ่งซัมบานิสอ้างว่าการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้นก็มีส่วนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาสันติภาพต่อไปด้วยเช่นกัน[41]

การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า การเพิ่มงบประมาณในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพเป็นสองเท่า อาณัติการปฏิบัติการที่เข้มงวดมากขึ้น และการเพิ่มงบประมาณการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเป็นสองเท่าจะช่วยลดความขัดแย้งทางอาวุธได้มากขึ้นถึงสองในสามเมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่ไม่มีการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[42] จากการวิเคราะห์การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ 47 ครั้ง โดย เวอร์จิเนีย เพจ ฟอร์ทนา แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พบว่าการมีส่วนร่วมของบุคลากรของสหประชาชาติโดยทั่วไปจะส่งผลให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน[43] ในขณะที่ฮานเนอ ฟเจลเด, ลิซา ฮัลท์แมน และเดซิรี นิลส์สัน นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอุปซอลา ศึกษาข้อมูลยิ่สิบปีย้อนหลังเกี่ยวกับคณะผู้แทนรักษาสันติภาพ ซึ่งรวมถึงในเลบานอน สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และสาธารณรัฐอัฟริกากลาง และได้ข้อสรุปว่าการปฏิบัติการเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการลดการสูญเสียและบาดเจ็บของพลเรือนมากกว่าการปฏิบัติการต่อต้านการก่อกการร้ายที่ปฏิบัติการโดยรัฐชาติ[44]

จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2564 ใน American Political Science Review พบว่าการมีอยู่ของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีความสัมพันธ์ที่อ่อนแอในหลักนิติธรรมในขณะที่ความขัดแย้งยังคงดำเนินการอยู่ แต่เกิดความสัมพันธ์ที่แข็งแรงในช่วงระยะเวลาสันติภาพ การศึกษายังพบว่า "ความสัมพันธ์นี้แข็งแรงมากขึ้นกับบุคลากรพลเรือนมากกว่าบุคลากรในเครื่องแบบ และจะแข็งแรงที่สุดเมื่อคณะผู้แทนของสหประชาชาติได้มีส่วนร่วมกับรัฐเจ้าภาพในกระบวนการปฏิรูป"[45] ในทำนองเดียวกัน ลิซ ฮาวเวอร์ด ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ได้โต้แย้งว่าการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีประสิทธิผลมากกว่าด้วยวิธีการที่ไม่ใช้การบังคับ แต่ใช้วิธีที่หลีกเลี่ยงความรุนแรง เช่น "การโน้มน้าวด้วยคำพูด การจูงใจทางการเงิน และการบีบบังคับไม่ให้ใช้กำลังทหารที่รุนแรง รวมไปถึงการสอดส่องสอดแนมและการจับกุม" ซึ่งมีแนวโน้มที่จะทำให้สงครามสงบลงได้[46]

และจากอีกการศึกษาปีเดียวกันใน American Journal of Political Science พบว่าการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในซูดานใต้ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่น[47]

จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2554 ภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุด หากได้รับความช่วยเหลือและยินยอมจากผู้มีบทบาทภายในประเทศในรัฐเจ้าบ้าน[48]

การรักษาสันติภาพและมรดกทางวัฒนธรรม

ความมุ่งมั่งของสหประชาชาติในการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดการกวาดล้างครั้งใหญ่ในประเทศมาลี ซึ่งในกรณีนี้ การคุ้มครองทางมรดกและวัฒนธรรมของประเทศจะถูกรวมอยู่ในอาณัติของคณะผู้แทนสหประชาชาติ (มติที่ 2100) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นอกเหนือจากความก้าวหน้ามากมายที่สำเร็จก่อนหน้านี้ โดยอิตาลีได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับยูเนสโกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เพื่อสร้างกองกำลังเฉพาะกิจฉุกเฉินด้านวัฒนธรรมแห่งแรกของโลก ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญภาคพลเรือนและกองกำลังตำรวจคาราบิเนียร์ของอิตาลี ซึ่งในอีกด้านหนึ่ง หน่วยงานรักษาสันติภาพของสหประชาชาติก็ได้ดำเนินการฝึกอบรมบุคลากรของตนให้มีความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม และในทางกลับกัน ก็ได้มีการติดต่ออย่างเหนียวแน่นสำหรับเรื่องนี้เช่นกัน ซึ่ง "ฟอรัมหมวกสีฟ้า ในปี พ.ศ. 2562" (Blue Helmet Forum 2019) เป็นหนึ่งในหลายกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้แลกเปลี่ยนกันและกระชับความร่วมมือกัน ซึ่งภารกิจที่โดนเด่นคือการนำไปปรับใช้ในภารกิจของกองกำลังเฉพาะกาลของสหประชาชาติประจำเลบานอน (UNIFIL) ร่วมกันกับบลูชิลด์อินเตอร์เนชั่นแนล (Blue Shield International) เมื่อปี พ.ศ. 2562 เพื่อปกป้องแหล่งมรดกโลกในเลบานอน ซึ่งนี่แสดงให้เห็นถึงการคุ้มครองปกป้องทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (ซึ่งดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญพลเรือนและทหาร) เป็นพื้นฐานในการพัฒนาอย่างสันติและส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจในอนาคตของเมือง ภูมิภาค หรือประเทศในพื้นที่ขัดแย้ง ซึ่งความจำเป็นในการฝึกและการประสานงานทางการทหารและพลเรือนในด้านนี้ รวมถึงการเปิดให้ประชากรในท้องถิ่นมีส่วนร่วมก็เด่นชัดขึ้นมา หลักจากเหตุระเบิดในเบรุตเมื่อปี พ.ศ. 2563 กองกำลังรักษาสันติภาพสามารถเข้าปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ร่วมกันกับบลูชิลด์อินเตอร์เนชั่นแนล และกองทัพเลบานอน[55]

อาชญากรรมโดยเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ

การรักษาสันติภาพ การค้ามนุษย์ และการบังคับค้าประเวณี

ผู้สื่อข่าวพบเห็นอัตราการค้าประเวณีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในกัมพูชาและโมซัมบิกหลังจากกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเคลื่อนกำลังเข้ามา ในปี พ.ศ. 2539 สหประชาชาติได้ศึกษา "ผลกระทบของความขัดแย้งทางอาวุธต่อเด็ก" (The Impact of Armed Conflict on Children) ซึ่งอดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของโมซัมบิก Graça Machel ได้บันทึกเอาไว้ว่า: "ใน 6 จาก 12 ประเทศที่มีการศึกษาประเด็นการหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งด้วยอาวุธที่ศึกษาเพื่อประกอบในรายงานเล่มนี้ระบุว่า การมาถึงของกองกำลังรักษาสันติภาพมีส่วนเชื่อมโยงกับอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการค้าประเวณีในเด็ก"[56]

Gita Sahgal ได้กล่าวในปี พ.ศ. 2547 เกี่ยวกับความจริงที่ว่าการค้าประเวณีและการล่วงละเมิดทางเพศนั้น เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ที่มีการแทรกแซงด้านมนุษยธรรม โดยเธอตั้งข้อสังเกตว่า: "ปัญหาของสหประชาชาติคือ น่าเสียดายที่ปฏิบัติการักษาสันติภาพที่เกิดขึ้นไม่ได้มีความแตกต่างจากสิ่งที่กองทัพอื่น ๆ ได้ทำ ซึ่งการเป็นผู้พิทักษ์เสียเองนั้นยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวังยิ่งขึ้นไปอีก"[57]

การละเมิดสิทธิมนุษยชนในคณะผู้แทนของสหประชาชาติ

ตารางต่อไปนี้แสดงรายการที่ได้รับการยืนยันเกี่ยวกับอาชญากรรมและการล่วงละเมิดทางเพศที่กระทำโดยทหาร เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ และพนักงานของสหประชาชาติ[68]

ทหารกองทัพบกบราซิลเข้าร่วมในคณะผู้แทนสร้างเสถียรภาพของสหประชาชาติในเฮติ (MINUSTAH)
การเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ กองทหาร และพนักงานของสหประชาชาติ
ความขัดแย้งคณะผู้แทนสหประชาชาติการล่วงละเมิดทางเพศฆาตกรรมการขู่กรรโชก/โจรกรรม
สงครามคองโกครั้งที่สองคณะผู้แทนสหประชาชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (MONUSCO)150344
สงครามกลางเมืองโซมาเลียปฏิบัติการสหประชาชาติในโซมาเลียชุดที่ 2 (UNOSOM II)5245
สงครามกลางเมืองเซียร์ราลีโอนคณะผู้แทนสหประชาชาติในเซียร์ราลีโอน (UNAMSIL)50715
สงครามเอริเทรีย-เอธิโอเปียคณะผู้แทนสหประชาชาติในเอธิโอเปียและเอริเทรีย (UNMEE)70150
สงครามกลางเมืองบุรุนดีปฏิบัติการสหประชาชาติในบุรุนดี (ONUB)8050
สงครามกลางเมืองรวันดาคณะผู้แทนสังเกตการณ์ของสหประชาชาติประจำชายแดนยูกันดา–รวันดา (UNOMUR)65150
สงครามกลางเมืองไลบีเรียครั้งที่สองคณะผู้แทนสหประชาชาติในไลบีเรีย (UNMIL)3041
สงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สองคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดาน (UNMIS)40050
สงครามกลางเมืองไอวอรีครั้งแรกปฏิบัติการสหประชาชาติในโกตดิวัวร์ (UNOCI)50020
รัฐประหารในเฮติ พ.ศ. 2547คณะผู้แทนสร้างเสถียรภาพของสหประชาชาติในเฮติ (MINUSTAH)110570
สงครามคอซอวอองค์การบริหารชั่วคราวในคอซอวอของสหประชาชาติ (UNMIK)80070100
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล–เลบานอนกองกำลังเฉพาะกาลแห่งสหประชาชาติประจำเลบานอน (UNIFIL)060

ข้อเสนอในการปฏิรูป

รายงานบราฮิมี

เพื่อตอบสนองต่อการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะกรณีการล่วงละเมิดทางเพศโดยเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ สหประชาชาติได้ดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิรูปการปฏิบัติงานของตน รายงานบราฮิมี (Brahimi Report) เป็นขั้นตอนแรกจากหลายขั้นตอนในการสรุปภารกิจคณะผู้แทนรักษาสันติภาพในอดีต มีการถอดบทเรียนความผิดพลาดออกมา และดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติการภารกิจรักษาสันติภาพในอนาคต กระบวนการปฏิรูปในมุมของเทคโนโลยีได้รับการดำเนินการต่อ และได้รับการรับช่วงต่อโดยทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติในวาระของการปฏิรูปที่ชื่อว่า "ปฏิบัติการสันติภาพ 2010" (Peace Operations 2010) ซึ่งรวมไปถึงการเพิ่มบุคลากร การประสานงานระหว่างการทำงานของเจ้าหน้าที่ในภาคสนามและสำนักงานใหญ่ การพัฒนาแนวปฏิบัติและขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน การปรับปรุงการบริหารจัดการระหว่างทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติ (DPKO) และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) สหภาพแอฟริกา และสหภาพยุโรป ซึ่งหลักนิยมในระดับบนสุด (Capstone Doctrine) ในปี พ.ศ. 2551 มีชื่อว่า "ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ: หลักการและแนวปฏิบัติ"[9] ซึ่งได้รวบรวมและสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์รายงานบราฮิมี

หน่วยปฏิกิริยาตอบสนองรวดเร็ว

ข้อเสนอแนะหนึ่งที่เกิดมาจากความล่าช้าของกองกำลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรวันดา คือการมีหน่วยปฏิกิริยาตอบสนองรวดเร็ว (rapid reaction force) ที่เป็นกองกำลังรักษาสันติภาพที่มีลักษณะคล้ายกับกองทัพประจำการที่สามารถจัดกำลังได้อย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยหน่วยจะถูกบริหารจัดการโดยสหประชาชาติและถูกส่งกำลังไปในพื้นที่โดยคณะมนตรีความมั่นคง หน่วยปฏิกิริยาตอบสนองรวดเร็วแห่งสหประชาชาติจะประกอบไปด้วยบุคลากรทางทหารจากสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงหรือรัฐสมาชิกของสหประชาชาติที่ประจำการอยู่ในประเทศของตน แต่จะได้รับการฝึกอบรม ได้รับอุปกรณ์ และรูปแบบการปฏิบัติการแบบเดียวกัน และมีการฝึกซ้อมร่วมกันกับกองกำลังอื่น ๆ[69][70]

การปรับโครงสร้างสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ

ความสามารถในการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพในปี พ.ศ. 2550 ด้วยการเพิ่มทบวงการสนับสนุนภาคสนาม (Department of Field Support: DFS) เพื่อเข้ามาสนับสนุนทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติ ในขณะที่หน่วยงานใหม่ที่เพิ่มเข้ามามีหน้าที่ในการขับเคลื่อนด้านการประสานงาน การบริหารจัดการ และการส่งกำลังบำรุงในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยที่ทบวงปฏิบัติการสันติภาพแห่งสหประชาชาติมุ่งเน้นไปที่การวางแผนในระดับนโยบายและการจัดทำทิศทางของกลยุทธ์[71]

ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการรักษาสันติภาพ

โครงการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการรักษาสันติภาพ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 โดยกองเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology Division) ของอดีตทบวงการสนับสนุนภาคสนาม (DFS) โดยมีวัตถุประสงค์ในการมีส่วนร่วมมากขึ้นในการรักษาสันติภาพผ่านแนวทางในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการของสหประชาชาติทั่วโลก[72]

มีการจัดการประชุมสัมมนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการรักษาสันติภาพประจำปี โดยการประชุมนานาชาติว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการรักษาสันติภาพ ครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่เมืองอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ระหว่างวันที่ 28 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศในเอเชียกลางจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพ ซึ่งมี Jean-Pierre Lacroix รองเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพ และ Atul Khare องเลขาธิการสหประชาชาติฝ่ายสนับสนุนภาคสนาม เข้าร่วมการประชุมสัมมนาในครั้งนี้[73]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง