ขนุน

สปีชีส์ของพืช
ขนุน
ผลของขนุน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:พืช
หมวด:พืชดอก
ชั้น:พืชใบเลี้ยงคู่
อันดับ:กุหลาบ
วงศ์:ขนุน
สกุล:ขนุน
สปีชีส์:A.  heterophyllus
ชื่อทวินาม
Artocarpus heterophyllus
Lam.

ขนุน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus heterophyllus หรือ A. heterophylla)[1] ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึงในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามลายู chakka [2] หรือภาษามลยาฬัม chakka (ചക്ക) [3] ในขณะที่ยูกันดาในทวีปแอฟริกาเรียกว่า ไข่ช้าง เนื่องจากขนุนมีผลขนาดใหญ่[4] ขนุนเป็นผลไม้ที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[5] นาน ๆ ครั้งถึงจะมีผลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 25 ซม.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ผลขนุนผ่าครึ่ง
เมล็ดพันธุ์ขนุน.

ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์เดียวกับสาเก สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนา ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่น แยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ เป็นแท่งยาว ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาว ออกตามลำต้นหรือกิ่งใหญ่ เมื่อติดผล ดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกกลายเป็น 1 ยวง ในผล ผลดิบเปลือกสีเขียว หนามทู่ ถ้ากรีดเปลือกจะมียางเหนียว เมื่อแก่ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง หนามจะป้านขึ้น ภายในผลมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดอยู่ในยวง [6][2]

พันธุ์

ขนุนมีหลายพันธุ์ สีของเนื้อจะต่างไปตามพันธุ์ บางพันธุ์ซังมีรสหวานรับประทานได้ บางพันธุ์ซังรสจืดไม่ใช้รับประทาน พันธุ์ขนุนที่ปลูกในประเทศไทย ได้แก่[2]

พันธุ์นิยมปลูกเพื่อส่งออก

  • พันธุ์ทองประเสริฐ
  • พันธุ์ทวายปีเดียว

พันธุ์นิยมปลูกเทานผลสด

  • พันธุ์เพชรราชา
  • พันธุ์แดงสุริยา
  • พันธุ์เพชรดำรง

การใช้ประโยชน์

ขนุนอบกรอบ

ขนุนเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [7]เนื้อขนุนสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตร กินกับข้าวเหนียวมูน หรือนำไปอบแห้ง ใช้กินเป็นของว่าง ขนุนอ่อนนำมาปรุงอาหารใช้เป็นผัก เช่นใส่ในแกง ยำ ส้มตำ[2]เมล็ดนำมาต้ม รับประทานได้ แก่นไม้ใช้ย้อมสีจีวรของพระภิกษุ เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Artocarpus heterophyllus ที่วิกิสปีชีส์

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง