ความตลกขบขัน

ความตลกขบขัน[1](อังกฤษ: humour, humor)เป็นประสบการณ์ทางการรู้คิดที่มักทำให้หัวเราะและสร้างความบันเทิงสนุกสนานคำจากภาษาอังกฤษมาจากศัพท์ทางการแพทย์ของชาวกรีกโบราณ ซึ่งสอนว่า ความสมดุลของธาตุน้ำต่าง ๆ ในร่างกายที่เรียกในภาษาละติน ว่า humor (แปลว่า ของเหลวในร่างกาย) เป็นตัวควบคุมสุขภาพและอารมณ์ของมนุษย์มนุษย์ทุกยุคสมัยและทุกวัฒนธรรมตอบสนองต่อเรื่องขบขันมนุษย์โดยมากประสบความขำขัน คือรู้สึกบันเทิงใจ ยิ้ม หรือหัวเราะต่ออะไรที่ขำ ๆ และดังนั้น จึงเรียกได้ว่าเป็นคนมีอารมณ์ขำ (คือมี sense of humour)คนสมมุติที่ไม่มีอารมณ์ขำน่าจะพบเหตุการณ์ที่ทำให้ขำว่า อธิบายไม่ได้ แปลก หรือว่าไม่สมเหตุผลแม้ว่าปกติความขำขันจะขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว ขอบเขตที่บุคคลพบว่าอะไรน่าขำจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง รวมทั้งอยู่ในภูมิประเทศไหน ในวัฒนธรรมอะไร อายุ ระดับการศึกษา ความเฉลียวฉลาด และพื้นเพหรือบริบทยกตัวอย่างเช่น เด็กเล็ก ๆ อาจชอบเรื่องตลกที่มีการตีกัน (ภาษาอังกฤษเรียกว่า slapstick) ดังที่พบในการ์ตูน เช่นรายการ ทอมกับเจอร์รี่ ที่การกระทบกระทั่งทางกายทำให้เด็กเข้าใจได้เทียบกับเรื่องตลกที่ซับซ้อนกว่า เช่น แบบที่ใช้การล้อเลียนเสียดสี (satire) ซึ่งจำเป็นต้องเข้าใจสถานะทางสังคมและดังนั้น ผู้ใหญ่จะชอบใจมากกว่า

การยิ้มอาจจะแสดงอารมณ์ขำ ดังที่เห็นในจิตรกรรมตัวละคร Falstaff ของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดย Eduard von Grützner

ทฤษฎี

วันเมษาหน้าโง่ในประเทศเดนมาร์ก ล้อเรื่องรถไฟใต้ดินในกรุงโคเปนเฮเกน
มีบางคนที่ยืนยันว่า ความตลกขบขันไม่ต้องหรือไม่ควรอธิบาย
ไปรษณียบัตรของประเทศฝรั่งเศสต้นคริสต์ทศวรรษที่ 20 ภาพโดย Henry Gerbault
หน้าตลก ๆ ทำด้วยเปลือกหอย จิตรกรรมวาดโดย Jan van Kessel the Elder (พ.ศ. 2169-2222)
เรื่องขำ ๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจ (ลูกศรบอกให้ไปขวา ตัวหนังสือบอกให้ไปซ้าย)

มีทฤษฎีหลายอย่างว่า อะไรคือความตลกขบขันและหน้าที่ทางสังคมของมันคืออะไรทฤษฎีที่แพร่หลายมองความตลกขบขันในแนวจิตวิทยา โดยมากมองพฤติกรรมที่เกิดจากความขำขันว่าเป็นเรื่องดีมากต่อสุขภาพหรือมองในแนวจิตวิญญาณ ซึ่งอาจจะมองความตลกขบขันว่าเป็น "ของขวัญจากพระเจ้า"หรือมองความตลกขบขันว่าเป็นเรื่องอธิบายไม่ได้ เหมือนกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณบางอย่าง[2]

ทฤษฎีทางจิตวิทยา คือ benign-violation theory (ไม่เป็นไร-มีการล่วงละเมิด) อธิบายความตลกขบขันว่า"ความตลกขบขันจะเกิดขึ้นเมื่อมีอะไรดูผิดปกติ น่ากังวล หรืออันตราย แต่ก็ยังโอเค ยอมรับได้ และปลอดภัยไปด้วยพร้อม ๆ กัน"[3]อารมณ์ขันสามารถช่วยให้เริ่มคุยกับคนอื่นโดยกำจัดความรู้สึกเคอะเขิน ไม่สบาย หรือกระวนกระวายที่มาจากปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส่วนคนอื่น ๆ เชื่อว่า "การใช้ความตลกขบขันที่สมควรสามารถช่วยอำนวยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม"[4]

มุมมอง

บางคนยืนยันว่า ความตลกขบขันไม่สามารถและไม่ควรจะอธิบายนักเขียนนายอี.บี. ไวท์ ได้กล่าวไว้ว่า "ความตลกขบขันสามารถผ่าดูได้เหมือนผ่ากบ แต่มันก็จะตาย และเครื่องในของมันจะไม่น่าชมนอกจากสำหรับพวกนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น"[5]แต่ว่าโดยคัดค้านข้ออ้างนี้ ก็มีบุคคลหรือกลุ่มชนผู้ไม่ชอบการ์ตูนน่ารังเกียจ ที่ชวนให้พิจารณาความตลกขบขันหรือความไร้ความตลกของมันกระบวนการผ่าดูความตลกขบขันเช่นนี้ไม่ได้กำจัดอารมณ์ขำแต่แนะให้ใส่ใจในเรื่องการเมือง และว่ามันอาจไม่ตลกสำหรับทุกกลุ่มชน[6]

นักปรัชญาชาวเยอรมันอาเทอร์ โชเพนเฮาเออร์ บ่นถึงการใช้คำว่า "humour" (ซึ่งเป็นคำที่ยืมใช้ในภาษาเยอรมันจากอังกฤษ) เพื่อหมายถึงสุขนาฏกรรม (comedy) อะไรก็ได้แม้คำภาษาอังกฤษว่า humour และ comic จะใช้ด้วยกันเมื่อกล่าวถึงเรื่องตลกแต่ว่าก็มีบางคนที่แยก humour ว่าเป็นการตอบสนอง เปรียบเทียบกับ comic ซึ่งเป็นสิ่งเร้าให้ตอบสนองนอกจากนั้นแล้ว คำว่า humour ยังเชื่อว่ารวมทั้งความน่าหัวเราะและไหวพริบของบุคคลชาวฝรั่งเศสล่าช้าในการรับคำว่า humour ที่หมายถึงเรื่องตลกมาใช้คือในภาษาฝรั่งเศส ยังมีทั้งคำว่า humeur และ humour โดยคำแรกหมายถึงอารมณ์หรือหมายถึงแนวคิดล้าสมัยเกี่ยวกับพื้นอารมณ์แต่กำเนิด 4 อย่าง (temperaments) [ต้องการอ้างอิง]สุขนาฏกรรมที่ไม่ใช่เป็นแบบเสียดสี (non-satirical) สามารถเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงในภาษาอังกฤษว่า droll humour หรือ recreational drollery[7][8]

ในที่ทำงาน

ในประสบการณ์มนุษย์ ความตลกขบขันเป็นสิ่งที่มีทั่วไป เป็นธรรมชาติ และมีความหมาย และดังนั้น จึงมีความสำคัญสำหรับองค์กรต่าง ๆ เช่นในที่ทำงาน[9]

บทบาทสำคัญของการหัวเราะและความสนุกสนานในที่ทำงานพิจารณาว่าเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม และปรากฏเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ว่า ช่วยผู้ทำงานให้รู้สึกมีส่วนร่วม[10]อารมณ์ขันในที่ทำงานไม่เพียงช่วยบรรเทาความเบื่อเท่านั้นแต่สามารถสร้างความสัมพันธ์ เสริมความเป็นมิตรระหว่างเพื่อนร่วมงานและทำให้รู้สึกดีในที่ทำงาน[9]

อารมณ์ขันในที่ทำงานยังสามารถลดความเครียดและใช้เป็นกลยุทธ์รับมือความเครียด[9]จริง ๆ แล้วที่นักวิชาการมีมติร่วมกันมากที่สุดถึงประโยชน์ของอารมณ์ขันก็คือผลต่อความอยู่เป็นสุข (well being) โดยใช้มุกตลกเป็นกลยุทธ์รับมือความเครียดในชีวิตประจำวัน อุปสรรค และความยากลำบากต่าง ๆ[9]การแชร์เรื่องตลกกับผู้ร่วมงานอาจช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น ทำให้มีความสุข ซึ่งช่วยให้รู้สึกว่าสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ดีขึ้น[9]ความสนุกและความเพลิดเพลินเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ในชีวิต และการที่ผู้ร่วมงานหัวเราะในช่วงการทำงานไม่ว่าจะโดยการพูดเย้าแหย่หรือวิธีการอื่น ๆ จะช่วยเสริมความกลมกลืนสามัคคีและความเป็นกลุ่มก้อน[9]

มุกตลกยังสามารถใช้ลดความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับงานที่ต้องทำและช่วยลดการใช้ถ้อยคำหยาบคาย หรือกลยุทธ์การรับมืออื่น ๆ ที่อาจรับไม่ได้ทางสังคม[9]ความตลกขบขันไม่เพียงแค่ช่วยลดอารมณ์เชิงลบ แต่ยังสามารถใช้เป็นวิธีการระบายประสบการณ์ที่ทำให้เจ็บใจ โดยพูดแบบเบา ๆ กว่า ซึ่งในที่สุดช่วยลดความวิตกกังวลและช่วยให้อารมณ์สุข เป็นบวก เกิดขึ้นได้บ่อยกว่า[9]

นอกจากนั้นแล้ว มุกตลกยังสามารถใช้ลดความเจ้ากี้เจ้าการของเจ้านายเมื่อสั่งลูกน้องเจ้านายยังสามารถพูดถึงตนเองแบบขำ ๆ เพื่อให้ลูกน้องรู้สึกว่าเจ้านายเหมือนคนอื่น ๆ มากขึ้น[9]ยิ่งไปกว่านั้น งานศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณนา (ethnography) ในที่ทำงาน ยืนยันว่า ความสนุกสนานสำคัญในที่ทำงาน[10]

เพราะบริษัทนำสมัยเริ่มให้ความสำคัญกับความสนุกสนาน จึงเปลี่ยนการบริหารผู้ทำงานโดยมองว่าความสนุกสนานในที่ทำงานจะมีผลบวก และไม่จำเป็นต้องตัดทอนประสิทธิภาพการทำงานของลูกจ้าง[10]การหัวเราะและการเล่นสามารถทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และช่วยเพิ่มขวัญและกำลังใจดังนั้นเพื่อที่จะให้ลูกจ้างยอมรับความเร่งรีบในการทำงาน นักบริหารบ่อยครั้งจะไม่สนใจ ยอมทน หรือแม้แต่สนับสนุนให้มีการเล่น เพื่อประโยชน์ต่อจุดมุ่งหมายขององค์กร[10]คือ โดยทั่วไปแล้ว ความสนุกสนานในที่ทำงานปัจจุบันไม่พิจารณาว่าเป็นเรื่องเหลวไหล[10]

วิธีการล่าสุดในเรื่องนี้มากจากทวีปอเมริกาเหนือที่ศาสตร์รุ่งเรืองถึงกับว่ามีผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเพิ่มความสนุกสนานในที่ทำงาน และบางรัฐถึงกับมีวัน "สนุกในที่ทำงาน" เป็นทางการ[10]ผลที่ได้มีผู้อ้างว่ามีประโยชน์ต่อความอยู่เป็นสุขของผู้ทำงาน ช่วยให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน[10]

ส่วนนักวิชาการอื่น ๆ พิจารณาขบวนการนี้จากมุมมองของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสุขซึ่งพุ่งความสนใจไปในเรื่องสุขภาพจิต แรงจูงใจ การพัฒนาชุมชน และความอยู่เป็นสุขของประชากรทั้งประเทศ รวมทั้งสมรรถภาพในการสร้าง flow (คือการมีสมาธิทำงานอย่างรู้สึกมีกำลัง มีส่วนร่วม และความสุขในการกระทำนั้น ๆ) ผ่านการเล่น และช่วยกระตุ้นให้คิดสร้างสรรค์นอกแบบ[10]

ศาสตร์ขนานกับกระบวนการนี้ ก็คือ จิตวิทยาเชิงบวก ซึ่งมุ่งพัฒนาศักยภาพของมนุษย์โดยใช้ทฤษฎีที่รับรองโดยหลักฐาน[10]และเสนอว่า การลงทุนในที่ทำงานโดยให้มีการหัวเราะและการเล่นไม่เพียงแต่สร้างความเพลิดเพลินและความรู้สึกเป็นอยู่ที่ดี แต่ยังจะช่วยเพิ่มพลัง ประสิทธิภาพ และความมุ่งมั่นในการทำงาน[10]

ปัจจัยทางสังคม

เหมือนกับรูปแบบศิลปะอื่น ๆ ความขำขันในสไตล์หรือเหตุการณ์ตลกขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสังคม และจะต่างกันในแต่ละคนตลอดประวัติศาสตร์มนุษย์ สุขนาฏกรรมใช้เป็นการบันเทิงรูปแบบหนึ่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในมหาราชวังหรือในหมู่บ้านทั้งมารยาททางสังคมและเชาวน์ปัญญาบางอย่างสามารถแสดงออกเป็นไหวพริบและการพูดตลกแบบถากถางมีนักวิทยาศาสตร์และนักเขียนชาวเยอรมัน (Georg Lichtenberg) ผู้ถึงกับกล่าวว่า "คุณยิ่งรู้จักมุกตลกเท่าไร คุณก็จะเป็นคนที่ละเอียดลออมากยิ่งขึ้นเท่านั้น"[ต้องการอ้างอิง]

กรีกโบราณ

ทฤษฎีความตลกขบขันของชาวตะวันตกมีจุดกำเนิดที่นักปราชญ์เพลโต ผู้ให้เครดิตกับโสกราตีส โดยเป็นตัวละครเชิงประวัติศาสตร์ในบทสนทนาเรื่อง Philebus (หน้า 49b) ซึ่งมองว่าหัวใจของเรื่องน่าหัวเราะก็คือความเขลาของคนอ่อนแอ ที่ไม่สามารถโต้ตอบได้เมื่อถูกหัวเราะเยาะต่อมาในปรัชญากรีกโบราณ ในหนังสือทฤษฎีวรรณกรรม Poetics (1449a, หน้า 34-35) อาริสโตเติลได้เสนอว่า ความไม่น่าชมแต่ไม่ถึงกับขยะแขยงเป็นหัวใจของความน่าขำ

อินเดีย

ในละครสันสกฤตโบราณ นาฏยศาสตร์ ภารตะมุนีได้นิยามความตลกขบขัน (hāsyam) ว่าเป็นรสหนึ่งในเก้ารส (nava rasas) ซึ่งเป็นการตอบสนองทางอารมณ์โดยกระตุ้นให้ผู้ชมมีสภาวะเลียนอารมณ์ของผู้แสดง"รส" แต่ละรสจะสัมพันธ์กับ "ภาวะ" ที่แสดง

ในอาหรับและเปอร์เซีย

หะดีษโดย Muhammad al-Baqir เกี่ยวกับความตลกขบขัน

ส่วนคำว่าสุขนาฏกรรม (comedy) และละครเสียดสี (satire) กลายเป็นไวพจน์ของกันและกันเมื่อหนังสือทฤษฎีวรรณกรรม Poetics ของอาริสโตเติล ได้แปลเป็นภาษาอาหรับในยุค Islamic Golden Age (ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 8-13) แล้วขยายเพิ่มเติมโดยนักเขียนชาวอาหรับและนักปรัชญาชาวมุสลิมต่าง ๆ รวมทั้ง Abu Bishr Matta ibn Yunus, Al-Farabi, แอวิเซนนา และอิบนุ รุชด์เนื่องจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม พวกเขาได้เปลี่ยนสุขนาฏกรรมจากสิ่งที่ชาวกรีกได้ระบุ โดยรวมมันกับกวีนิพนธ์อาหรับเช่น hija ซึ่งเป็น กวีนิพนธ์เชิงเสียดสีพวกเขามองสุขนาฏกรรมว่าเป็นเพียง "ศิลปะในการตำหนิ" และจะไม่พูดถึงเหตุการณ์ที่รื่นเริงเบา ๆ หรือเป็นปัญหาในตอนต้น และความสุขตอนอวสาน เหมือนกับสุขนาฏกรรมกรีกแบบคลาสสิกดังนั้น หลังจากการแปลหนังสืออาหรับเป็นภาษาละตินในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 12 คำว่า comedy จึงได้เปลี่ยนความหมายไปในวรรณกรรมชาวตะวันตกยุคกลาง[11]

เขตแคริบเบียน

นักดนตรีชาวจาเมกาชื่อดังคนหนึ่ง (Lord Flea) กล่าวว่า "ชาวเวสต์อินเดียนเป็นคนที่มีอารมณ์ขันที่สุดในโลก"แม้แต่ในเพลงที่ขึงขังจริงจังที่สุดของพวกเขา เช่นเพลง Las Kean Fine (หายและไม่สามารถหาคืนได้) ซึ่งเล่าเรื่องการระเบิดของหม้อน้ำในไร่อ้อยที่ทำให้คนงานเสียชีวิตหลายคน แต่ว่าทั้งไหวพริบและมุกตลกก็ยังส่องแสงออกให้เห็นได้"[12]

จีน

ความเชื่อดั้งเดิมของลัทธิขงจื๊อใหม่ (Neo-Confucian) ที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมและมารยาท ตามประวัติแล้วดูถูกมุกตลกว่า เป็นอะไรที่หักล้างหรือไม่เหมาะสมส่วนคัมภีร์หลุน-อฺวี่ที่รวบรวมขึ้นหลังการเสียชีวิตของขงจื๊อเอง แสดงว่าขงจื๊อชอบใจมุกตลกที่ถ่อมตัวเอง เช่น เคยเทียบการท่องเที่ยวของตนเหมือนกับชีวิตสุนัขจรจัด[13]ส่วนคัมภีร์ลัทธิเต๋าต้น ๆ รวมทั้งของจวงจื่อหัวเราะเยาะความเคร่งขรึมของลัทธิขงจื๊อโดยเฉพาะเจาะจง แล้วกล่าวถึงขงจื๊อโดยเป็นตัวตลกมีไหวพริบช้า[14]และหนังสือตลกที่เล่นคำ คำสองแง่สองง่าม เหตุการณ์ตลก หรือเรื่องต้องห้ามเช่นเรื่องเพศและเรื่องหยาบคาย ก็เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นศตวรรษ ๆศิลปะการแสดง การเล่านิทาน นิยายท้องถิ่น และกวีนิพนธ์ต่าง ๆ ก็มีมุกและรูปแบบตลกมากมายมีนักตลกจีนทั้งในโบราณ (Chunyu Kun, Dongfang Shuo, Feng Menglong, Li Yu[15], Wu Jingzi) และในปัจจุบัน (Lu Xun, Lin Yutang, Lao She, Qian Zhongshu, Wang Xiaobo, Wang Shuo, Ge You, Guo Degang, Zhou Libo)

มุกตลกจีนปัจจุบันได้รับอิทธิพลไม่ใช่จากวัฒนธรรมดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังได้จากชาวต่างชาติ ผ่านวรรณกรรม ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต[16]ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ "humor" เป็นคำจีน ก็กลายเป็นศัพท์ใหม่สำหรับความหมายนี้ ทำให้เกิดแฟชั่นสมัยนิยมในวรรณกรรมตลก และข้อขัดแย้งที่เผ็ดร้อนว่า รูปแบบตลกเช่นไรเหมาะกับประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่จน อ่อนแอ ที่อยู่ใต้การปกครองของประเทศอื่นเป็นบางส่วน[17][18]แม้ว่าจะมีสุขนาฏกรรมที่อนุญาตในสมัยของนายเหมา เจ๋อตง แต่เรื่องขำขันในหลาย ๆ เรื่องก็ยังเป็นของต้องห้าม[19]แต่ว่า การผ่อนคลายนโยบายทางสังคมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980, การค้าขายที่มีผลต่อวัฒนธรรมในช่วงทศวรรษ 1990, และการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต ช่วยให้เกิดรูปแบบตลกใหม่ ๆ ในประเทศจีนในทศวรรษหลัง ๆ แม้ว่ารัฐยังตรวจพิจารณาสื่ออย่างเข้มงวด[20]

แบบจำลองการเปลี่ยนสภาพทางสังคม

แบบจำลองการเปลี่ยนสภาพทางสังคม (social transformation model) พยากรณ์ว่า ลักษณะโดยเฉพาะ ๆ บางอย่าง เช่น รูปหล่อหรืองาม จะมีปฏิสัมพันธ์กับความตลก[21]แบบจำลองนี้เชื่อมคนพูดตลก คนฟัง และประเด็นของเรื่องตลก[21]มีการเปลี่ยนสภาพที่เกิดขึ้นสองอย่างเนื่องกับเรื่องตลก คือเปลี่ยนความรู้สึกของคนฟังต่อคนพูด และดังนั้น จะช่วยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนพูดกับคนฟัง[21]

แบบจำลองนี้มองความตลกว่าเป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) เพราะมันสื่อความต้องการให้ขำในขณะนี้ และความมุ่งหมายจะทำให้ขำในอนาคต[21]แบบจำลองนี้ใช้กับความตลกที่ถ่อมตัวเองเมื่อบุคคลสื่อสารเพื่อต้องการให้คนอื่นยอมรับเข้ากลุ่มสังคมโดยเฉพาะ[21]แม้ว่าเรื่องตลกถ่อมตัวเองจะสื่อความอ่อนแอและความผิดพลาดได้ของบุคคลเพื่อเรียกความเห็นใจจากผู้อื่น แต่ก็สามารถสรุปได้จากแบบจำลองนี้ว่า เรื่องตลกเช่นนี้สามารถสนับสนุนความรู้สึกรักแบบโรแมนติกต่อคนพูดเมื่อตัวแปรอื่น ๆ ก็สนับสนุนด้วย[21]

แบบจำลองนี้สามารถตามดูในการเรียนการสอนที่ใช้เรื่องตลกเพื่อปรับปรุงสถานภาพการรู้คิดของนักเรียนนักศึกษาความตลกอาจช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนในเชิงบวกและไม่ให้เคร่งเครียด ซึ่งอาจจุดชนวนความกระตือรือร้นและความสนใจของนักเรียน[22]

ความรูปงาม

ชาร์ลี แชปลิน

นักศึกษามหาวิทยาลัยชาย 90% และหญิง 81% รายงานว่าเมื่อหาคู่ ความมีอารมณ์ขำเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่ง[23]ความมีอารมณ์ขำและความซื่อสัตย์จัดเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในคู่รัก[24]มีหลักฐานว่า ความมีอารมณ์ขำจะปรากฏยิ่งขึ้นและสำคัญมากขึ้น เมื่อความใกล้ชิดแบบโรแมนติดเพิ่มมากขึ้น[25]

งานศึกษาปี 2541 แสดงว่า อารมณ์ขำที่สัมพันธ์กับรูปงามเป็นปัจจัยสำคัญสองอย่างเพื่อดำรงความสัมพันธ์ให้คงยืน[21]แต่ว่า หญิงจะสนใจความรูปงามน้อยกว่าชายเมื่อออกเดต มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง และมีเพศสัมพันธ์[21]หญิงยังเห็นชายที่มีอารมณ์ขำว่าน่าสนใจกว่าคนที่ไม่มีสำหรับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งหรือเมื่อแต่งงาน แต่ก็ต่อเมื่อชายมีรูปงาม[21]นอกจากนั้นแล้ว คนยังมองคนมีอารมณ์ขำว่าร่าเริงกว่าแต่ฉลาดน้อยกว่าอารมณ์ขำแบบถ่อมตัวเองมีหลักฐานว่าเพิ่มความน่าต้องการสำหรับคนมีรูปงามอื่น ๆ เพื่อความสัมพันธ์แบบผูกขาด[21]

งานศึกษาหนึ่งพบว่า อารมณ์ขันอาจมีผลต่อความน่าต้องการของบุคคลในความสัมพันธ์กับคนโดยเฉพาะ ๆ แต่จะมีโอกาสต่อเมื่อเป็นฝ่ายชายที่มีอารมณ์ขันเมื่อประเมินโดยฝ่ายหญิง[26]ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าชายชอบหญิงที่มีอารมณ์ขันเพื่อเป็นคู่ และหญิงก็ไม่ได้ชอบหญิงอื่นที่มีอารมณ์ขันเพื่อเป็นคู่[26]เมื่อใช้วิธีการศึกษาแบบบังคับให้เลือก (forced-choice) หญิงจะเลือกชายที่มีอารมณ์ขันเพื่อจะคบเป็นคู่แม้ว่าอาจจะคิดว่าชายซื่อตรงและฉลาดน้อยกว่า[26]และการวิเคราะห์แบบไม่ได้กำหนดก่อนการทดลอง (Post-Hoc) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของอารมณ์ขันกับการได้รับการประเมินที่ดี[26]

ความอยู่เป็นสุขทางจิตใจ

กลุ่มพี่น้องมากซ์ปี 2474

เป็นเรื่องที่ชัดเจนดีว่า อารมณ์ขันช่วยให้อยู่เป็นสุขทั้งทางกายและใจดีกว่า (โดยรายงานเอง)[27]งานวิจัยก่อน ๆ เกี่ยวกับอารมณ์ขันกับความอยู่เป็นสุขทางจิตพบว่า อารมณ์ขันจริง ๆ เป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงและธำรงความอยู่เป็นสุขทางจิตใจที่ดีกว่า[27][28]สมมติฐานนี้เรียกว่า general facilitative hypothesis for humour (สมมติฐานอำนวยแบบทั่วไป)[27]คือ อารมณ์ขันเชิงบวกนำไปสู่สุขภาพที่ดี

แต่ว่างานวิจัยในปัจจุบันไม่ได้สนับสนุนสมมติฐานนี้ทุกงาน[29]ข้อจำกัดของงานศึกษาก่อน ๆ ก็คือ มักจะเป็นวิธีการวัดในมิติเดียวเพราะอนุมานว่า อารมณ์ขันดีอย่างเดียวโดยไม่ได้พิจารณารูปแบบหรือสไตล์ของความขำขันยกตัวอย่างเช่น อารมณ์ขันที่หักล้างตัวเองหรือก้าวร้าว[30]

งานวิจัยต่อ ๆ มาเสนอรูปแบบอารมณ์ขัน 2 ชนิด แต่ละชนิดมี 2 สไตล์ รวมทั้งหมดเป็น 4 สไตล์2 ชนิดรวมทั้งแบบปรับตัวดี (adaptive) เทียบกับปรับตัวผิด (maladaptive)[30]แบบปรับตัวดีเป็นตัวอำนวยความสัมพันธ์หรือเสริมตัวเอง และแบบปรับตัวผิดเป็นการหักล้างตัวเองหรือเป็นการก้าวร้าวสไตล์แต่ละอย่างเหล่านี้สามารถมีผลต่อสภาพจิตใจและความอยู่เป็นสุขของบุคคลต่าง ๆ กัน[30]

  1. แบบอำนวยความผูกพัน (Affiliative) โดยใช้เรื่องตลกเป็นตัวอำนวยความสัมพันธ์กับคนอื่น ทำให้คนอื่นรู้สึกสนุก หรือช่วยลดความตึงเครียด[30]
  2. แบบเสริมตัวเอง (Self-enhancing) โดยมองชีวิตในแง่ตลก บุคคลที่มีมุกตลกแบบนี้มักใช้มันเพื่อรับมือกับความเครียด[30]
  3. แบบก้าวร้าว (Aggressive) โดยใช้มุกตลกที่เป็นเรื่องชาติผิวพรรณ การเหน็บแหนม และการดูถูกดูหมิ่นคนอื่นเพื่อความบันเทิง ผู้ใช้อารมณ์ขันเช่นนี้อาจไม่พิจารณาถึงผลที่ตามมาของมุกตลก แต่สนใจเพียงเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง[30]
  4. แบบหักล้างตัวเอง (Self-defeating) คือใช้อารมณ์ขันให้ความบันเทิงต่อผู้อื่นโดยหักล้างตัวเอง แล้วมักจะหัวเราะไปพร้อม ๆ กับคนอื่นเมื่อถูกล้อ มีสมมติฐานว่า คนที่ใช้มุกตลกเช่นนี้ทำเพื่อที่จะได้ความยอมรับ และอาจรู้สึกไม่ดีต่อตัวเองใต้จิตสำนึก และดังนั้นจึงใช้สไตล์ตลกเช่นนี้เพื่อซ่อนความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตน[30]

ในงานศึกษาเกี่ยวกับอารมณ์ขันกับความเป็นสุขทางจิตใจ งานวิจัยได้สรุปว่า อารมณ์ขันที่เป็นการปรับตัวดีในระดับสูง (คือแบบอำนวยความสัมพันธ์หรือเสริมตนเอง) สัมพันธ์กับความภูมิใจในตน อารมณ์เชิงบวก สมรรถภาพในบุคคล การควบคุมความวิตกกังวล และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีกว่า[31]ซึ่งล้วนแต่เป็นส่วนของความรู้สึกเป็นสุขที่ดีนอกจากนั้นแล้ว สไตล์ตลกที่เป็นการปรับตัวที่ดีอาจช่วยรักษาความรู้สึกเป็นสุขแม้เมื่อมีปัญหาทางจิตใจ[28]เปรียบเทียบกันแล้ว สไตล์ตลกแบบปรับตัวผิด (คือก้าวร้าวหรือหักล้างตัวเอง) สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นสุขทางจิตใจที่แย่กว่า[31]โดยเฉพาะก็คือมีระดับความวิตกกังวลและความซึมเศร้ามากกว่าและดังนั้น มุกตลกอาจมีผลลบต่อความเป็นสุขทางจิตใจ ทางมุกนั้นมีลักษณะเชิงลบ[31]

ผลทางสรีรภาพ

ประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน แห่งประเทศรัสเซีย และบิล คลินตัน แห่งสหรัฐอเมริกา กำลังขำอะไรบางอย่าง แม้ว่าภาษาจะต่างกัน

มุกตลกบ่อยครั้งใช้เพื่อทำให้สถานการณ์ที่เครียดหรือลำบากเบาลง และช่วยปรับสถานการณ์ทางสังคมโดยทั่วไปเพราะว่าคนจำนวนมากพบว่ามันเป็นประสบการณ์เชิงบวกที่สนุก ดังนั้น มันน่าจะสมเหตุผลว่า มุกตลกอาจจะมีผลที่ดีทางสรีรภาพ

งานศึกษาปี 2537 (ทำโดย Karen Zwyer, Barbara Velker, และ Willibald Ruch) ที่ตรวจสอบผลบวกทางสรีรภาพของมุกตลก คือว่าตรวจดูความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ขำกับความอดทนต่อความไม่สบายกายโดยเฉพาะโดยเปิดคลิปวิดีโอตลกสั้น ๆ ให้ผู้ร่วมการทดลองดูแล้วให้จุ่มมือลงในน้ำเย็น (Cold pressor test)เพื่อระบุลักษณะของความขำขันที่อาจช่วยเพิ่มความอดทนต่อความไม่สบายกาย งานศึกษาแบ่งกลุ่มผู้ร่วมการทดลองหญิง 56 คน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มร่าเริง (cheerfulness) กลุ่มตื่นเต้นดีใจ (exhilaration) และกลุ่มสร้างความขำ (humour production)แต่ละกลุ่มยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม คือ บุคลิกร่าเริง (high Trait-Cheerfulness) และบุคลิกเคร่งขรึม (high Trait-Seriousness) ซึ่งวัดด้วยแบบวัด State-Trait-Cheerfulness-Inventoryแล้วบอกกลุ่ม 3 กลุ่มแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้ กลุ่มร่าเริงบอกให้ตื่นตัวชอบใจในคลิปวิดีโอโดยไม่ถึงกับหัวเราะหรือยิ้ม กลุ่มตื่นเต้นดีใจให้หัวเราะและยิ้มเกินความรู้สึกที่มีจริง ๆ ของตน และกลุ่มสร้างความขำให้พูดอะไร ๆ ขำ ๆ เกี่ยวกับคลิปวิดีโอเมื่อกำลังชมเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ร่วมการทดลองคิดว่าคลิปวิดีโอน่าขำจริง ๆ และวิดีโอมีผลตามที่ต้องการ จึงได้สำรวจผู้ร่วมการทดลองในเรื่องนั้นโดยได้คะแนนมัชฌิม 3.64 จาก 5การทดสอบโดยจุ่มมือในน้ำเย็นแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองทั้ง 3 กลุ่มมีขีดที่เริ่มรู้สึกไม่สบายที่สูงกว่าและอดทนต่อความรู้สึกไม่สบายได้นานกว่า เทียบกับก่อนดูคลิปวิดีโอโดยผลไม่ต่างกันระหว่างกลุ่มทั้ง 3[32]อารมณ์ขำยังมีโอกาสสัมพันธ์กับระบบภูมิคุ้มกันที่ดีอีกด้วยเช่น SIgA เป็นสารภูมิต้านทาน (antibody) ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อโดยใช้วิธีที่คล้ายกับการทดลองก่อน ผู้ร่วมการทดลองชมคลิปวิดีโอสั้น ๆ ที่ตลกแล้ววัดระดับ SIgAซึ่งปรากฏกว่าเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญ[33]

มีการอ้างว่า การหัวเราะสามารถช่วยเพิ่มผลการออกกำลังกายคือให้ประโยชน์ทางด้านหัวใจและหลอดเลือด และสามารถทำให้กล้ามเนื้อสมบูรณ์ขึ้น[34]แต่ว่างานหนึ่งแสดงว่า การหัวเราะอาจจะลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อโครงกระดูก (skeletal muscle) เพราะว่า การหัวเราะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวแบบสั้น ๆ แต่ก็ทำให้คลายตัวเป็นระยะเวลาที่นานกว่าด้วยประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดก็ดูจะเป็นเรื่องแค่คิดขึ้นเท่านั้น เพราะว่า งานศึกษาที่ตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนแสดงว่า แม้ว่าการหัวเราะจะทำให้หายใจลึก ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ว่ากลับไม่มีผลต่อระดับความอิ่มตัวของออกซิเจน[35]

เนื่องจากมุกตลกมักใช้เพื่อคลายความตึงเครียด ดังนั้น ก็น่าจะมีผลอย่างเดียวกันต่อความวิตกกังวลด้วยงานศึกษาปี 2533 ออกแบบเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนี้โดยบอกผู้ร่วมการทดลองว่า เดี๋ยวจะช็อคด้วยไฟฟ้าแล้วให้กลุ่มหนึ่งรับเรื่องตลก ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับระดับความวิตกกังวลวัดทั้งโดยการแจ้งเอง และการวัดอัตราหัวใจเต้นผู้ร่วมการทดลองที่มีอารมณ์ขันสูงรายงานความวิตกกังวลที่น้อยกว่าในทั้งสองกลุ่ม ในขณะที่ผู้ร่วมการทดลองที่มีอารมณ์ขันต่ำในกลุ่มที่รับเรื่องตลกรายงานความวิตกกังวลที่น้อยกว่าแต่ว่า อัตราการเต้นหัวใจไม่แตกต่างกันอย่างสำคัญระหว่างผู้ร่วมการทดลองกลุ่มต่าง ๆ[36]

งานศึกษา

การหัวเราะ

ประเด็นหลักอย่างหนึ่งของงานวิจัยและทฤษฎีความตลกขบขันทางจิตวิทยา ก็เพื่อค้นหาและทำให้ชัดเจนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความตลกกับการหัวเราะสิ่งที่พบหลักโดยหลักฐานอย่างหนึ่งก็คือ การหัวเราะและความตลกขบขันไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งแม้ว่าทฤษฎีก่อน ๆ จะสมมุติความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งสองจนกระทั่งกับเหมือนเป็นสิ่งเดียวกัน นักวิชาการทางจิตวิทยาก็ได้แยกศึกษาโดยหลักวิทยาศาสตร์และโดยหลักฐานถึงความสัมพันธ์ที่อาจจะมี ผลติดตาม และความสำคัญของมัน

งานปี 2552 ตรวจสอบว่า การหัวเราะสามารถสื่ออารมณ์ต่าง ๆ ให้ผู้ฟังรับทราบได้หรือไม่พวกเขาได้จ้างนักแสดงให้หัวเราะอัดเสียงโดยใช้อารมณ์ 4 อย่างที่ทำให้เกิดเอง โดยนักแสดงจะสนใจแต่อารมณ์ของตนอย่างเดียว ไม่สนใจว่าจะต้องแสดงออกอย่างไรแล้วพบว่า ในงานทดลองแรก ผู้ร่วมการทดลองสามารถระบุอารมณ์ที่ถูกต้องจากเสียงหัวเราะที่อัตรา 44% โดยความเบิกบานใจ (joy) ที่ 44% จั๊กจี้ (tickle) ที่ 45% ตลกเพราะคนอื่นลำบาก (schadenfreude) ที่ 37% และคำพูดเสียดสี (taunt) ที่ 50%[37]: 399 งานทดลองที่สองตรวจสอบการระบุมิติต่าง ๆ (ความตื่นตัว, dominance, receiver valence, sender valence) ของเสียงหัวเราะเดียวกันแล้วพบว่า ผู้ร่วมการทดลองระบุมิติ 4 อย่างของเสียงหัวเราะ 4 อย่าง ในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งแสดงว่าผู้ฟังสามารถกำหนดความแตกต่างของการหัวเราะได้แม้จะไม่ได้รับอิทธิพลจากการเลือกประเภทเสียงหัวเราะจาก 4 อย่างที่กำหนดล่วงหน้า[37]: 401–402 

งานศึกษานี้แสดงว่า การหัวเราะสามารถสัมพันธ์กับทั้งอารมณ์เชิงบวก (ความเบิกบานใจและความจั๊กจี้) และอารมณ์เชิงลบ (ตลกเพราะคนอื่นลำบากและคำพูดเสียดสี) โดยมีระดับความตื่นตัวในระดับต่าง ๆจึงนำมาสู่ประเด็นว่าความตลกขบขันมีนิยามว่าอย่างไรกันแน่ซึ่งก็คือเป็นกระบวนการทางการรู้คิดที่ประกอบด้วยการหัวเราะ และดังนั้น ความตลกขบขันจะรวมทั้งอารมณ์ทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่าง ๆแต่ว่า ถ้าจะจำกัดความตลกขบขันว่าเป็นแค่อารมณ์เชิงบวกและสิ่งที่ให้ผลบวกเท่านั้น ก็จะจำเป็นที่จะต้องจำแนกจากการหัวเราะ และความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลก็ควรจะให้นิยามด้วย

สุขภาพ

ความตลกขบขันมีหลักฐานว่าช่วยให้ฟื้นสภาพจากความทุกข์และช่วยแก้อารมณ์เชิงลบงานวิจัยปี 2552 พบว่ามันช่วยให้สนใจไปในเรื่องอื่นสำหรับบุคคลที่กำลังเป็นทุกข์[38]: 574–578 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองดูรูปและประโยคเชิงลบต่าง ๆ หลายอย่างแล้วพบว่า การบำบัดด้วยความตลก (humorous therapy) ช่วยลดอารมณ์เชิงลบที่เกิดหลังจากดูรูปและประโยคเชิงลบนอกจากนั้นแล้ว การบำบัดด้วยความตลกยังมีประสิทธิภาพในการลดอารมณ์เชิงลบ เมื่ออารมณ์แรงขึ้น[38]: 575–576 

มุกตลกช่วยรับมือกับความทุกข์ได้ทันทีการเป็นกลไกรับมือแบบหลบแสดงว่า มันจะมีประโยชน์ที่สุดสำหรับความเครียดแบบชั่วขณะและดังนั้น สิ่งเร้าเชิงลบที่มีกำลังยิ่งกว่านั้นจำเป็นต้องใช้วิธีการบำบัดอย่างอื่น[ต้องการอ้างอิง]

อารมณ์ขันเป็นลักษณะนิสัย (character trait) พื้นฐานอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับอารมณ์เชิงบวกในทฤษฎีพัฒนาการรู้คิด broaden-and-build ที่แนะให้มีพฤติกรรมและความคิดรูปแบบใหม่ ๆ ซึ่งในระยะเวลายาวจะพัฒนาเป็นทักษะความสามารถและทรัพยากรในชีวิตงานศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งที่ทดสอบสมมติฐาน undoing ของ นพ. ซิกมุนด์ ฟรอยด์ และลูกสาวของเขา[39]: 313 แสดงผลบวกของอารมณ์ขันโดยปรากฏเป็นลักษณะนิสัยเช่น ความช่างสนุก (amusement) และความช่างเล่น (playfulness)

งานศึกษาอีกหลายงานแสดงว่า อารมณ์เชิงบวกสามารถทำให้คืนสภาพสู่ความสงบอัตโนวัติ (autonomic quiescence) หลังจากเผชิญกับเหตุการณ์เชิงลบยกตัวอย่างอย่างเช่น งานศึกษางานหนึ่งพบว่า บุคคลที่ยิ้มโดยใช้ทั้งกล้ามเนื้อที่มุมปากและมุมตา (Duchenne smile) เมื่อเกิดตื่นตัวในเชิงลบเพราะเหตุการณ์ที่น่าเศร้าหรือเป็นปัญหา จะฟื้นสภาพจากอารมณ์เชิงลบ 20% เร็วกว่าบุคคลที่ไม่ยิ้ม[39]: 314 

อารมณ์ขันสามารถใช้เป็นกลไกลแยกตัวออกห่าง/ลดการยึดติดเมื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ทุกข์ลำบากงานศึกษาปี 2540 พบว่า การหัวเราะที่ใช้กล้ามเนื้อทั้งที่มุมปากและมุมตา (Duchenne laughter) สัมพันธ์กับความรู้สึกเป็นทุกข์ที่ลดลง[40]

อารมณ์เชิงบวกช่วยลดการยึดติดกับอารมณ์เชิงลบในความคิดการลดความยึดติดจะช่วยลดการตอบสนองฝ่ายเดียวหรืออย่างเดียวที่บุคคลมักจะมีเมื่ออารมณ์ไม่ดีในฐานะที่การไม่ยึดติดช่วยรับมือกับความเครียด มันก็สนับสนุนทฤษฎี broaden and build ด้วยว่า อารมณ์เชิงบวกช่วยเพิ่มทางเลือกในการตอบสนองทางการรู้คิดและช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางสังคม

อายุ

อารมณ์ขันช่วยให้รับมือกับการมีอายุมากขึ้นในด้าน 3 ด้านคือ สุขภาพกาย การสื่อสารทางสังคม และความพอใจในชีวิตงานศึกษาแสดงว่า อารมณ์ขันที่สม่ำเสมอเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นมีประโยชน์ทางสุขภาพต่อบุคคลเช่น มีความภูมิใจในตนที่ดีว่า มีความซึมเศร้าน้อยกว่า มีความวิตกกังวลน้อยกว่า และรู้สึกเครียดน้อยกว่า[41][42]แม้แต่คนที่มีโรคก็ยังปรับตัวกับการสูงอายุได้ดีขึ้นถ้ามีอารมณ์ขัน[43]

โดยทั่วไปแล้ว อารมณ์ขันเมื่อมีอายุมากขึ้นมีสหสัมพันธ์ที่มีกำลังกับสุขภาพที่ดีขึ้นในบุคคลงานวิจัยยังแสดงอีกด้วยว่า อารมณ์ขันช่วยสร้างและดำรงความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีเมื่อชีวิตกำลังเปลี่ยนไป[43]เช่น เมื่อผู้มีอายุย้ายไปอยู่ในสถานพยาบาลหรือสถานดูแลผู้สูงอายุอื่น ๆในความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวอาจจำกัดลงทำให้ต้องหาเพื่อนใหม่อารมณ์ขันมีหลักฐานว่าทำให้ปรับตัวได้ดีกว่า เพราะว่า อารมณ์ขันช่วยลดความเครียด อำนวยการสังคมและช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น[44]

อารมณ์ขันอาจช่วยรักษาความรู้สึกที่ดีต่อบุคคลที่บังคับให้เปลี่ยนวิถีชีวิตปฏิสัมพันธ์ทางสังคมใหม่ ๆ เหล่านี้อาจเป็นเรื่องจำเป็นเมื่อชีวิตเปลี่ยนไป และอารมณ์ขันจะช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์และปรับตัวเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น

อารมณ์ขันยังช่วยรักษาความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตไว้ได้การมีอายุสูงขึ้นอาจเปลี่ยนสมรรถภาพการดำเนินชีวิต เช่น ไม่สามารถขับรถได้อีกต่อไปซึ่งอาจลดความพึงพอใจในชีวิตของบุคคลอารมณ์ขันช่วยชะลอการลดระดับความพึงพอใจในชีวิตเพราะช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลง[43]การหัวเราะและอารมณ์ขันอาจเป็นตัวทดแทนการลดลงของความพอใจในชีวิตโดยช่วยให้รู้สึกดีกับสถานการณ์และลดความเครียด[41]ซึ่งอาจช่วยรักษาความรู้สึกพึงพอใจในชีวิตกับวิถีชีวิตใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม

องค์ประกอบต่าง ๆ

ความแปลกใจเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความตลก
เทคนิค Forced perspective (ทัศนมิติบังคับ) ที่ใช้เพื่อให้หอเอนเมืองปิซาดู "ตลก"

ความตลกสามารถเป็นคำพูด สิ่งที่เห็น หรือการถูกต้องสัมผัสการสื่อสารที่ไม่ได้ใช้คำพูด เช่น ดนตรีหรือภาพศิลป์ก็สามารถสร้างความขำขันได้

องค์ประกอบมูลฐาน

  • เรื่องตลกที่วิจารณ์หรือเลียนแบบความจริง
  • ความแปลกใจ / การหลอกไปอีกทาง, ความขัดแย้ง / ปฏิทรรศน์, ความคลุมเครือ

วิธีการ/กระบวนการ

  • Farce (ละครตลก) ซึ่งเป็นการแสดงตลกโดยใช้สถานการณ์ที่ทำเกินจริง ฟู่ฟ่า และดังนั้น จึงไม่สมจริง
  • อติพจน์ เป็นโวหารภาพพจน์อย่างหนึ่งที่กล่าวเกินจริงเพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึก พบบ่อยในงานวรรณกรรมและงานศิลป์หลายรูปแบบ
  • อุปลักษณ์ เป็นการแสดงภาพพจน์ของสิ่งหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจถึงอีกสิ่งหนึ่ง เป็นการวาดภาพทางภาษาซึ่งเปรียบเทียบของสองสิ่งหรือแนวคิดสองอย่าง
  • Pun เป็นการเล่นคำเพื่อสื่อความหมายหลายอย่าง
  • Reframing เป็นการเปลี่ยน/แนะแนวคิดและมโนคติว่า บุคคล กลุ่ม หรือสังคม จัดระเบียบ รับรู้ และสื่อสารเกี่ยวกับความจริงอย่างไร
  • Comic timing เป็นการใช้จังหวะ ความเร็ว และการพักเพื่อเพิ่มความตลก

พฤติกรรม สถานที่ และขนาด

นักตลกชาวอังกฤษคนหนึ่ง (Rowan Atkinson) เล็กเช่อร์ในภาพยนตร์สารคดี Funny Business[45]ว่า วัตถุหรือบุคคลสามารถกลายเป็นของตลกได้โดย 3 วิธีคือ

  • โดยทำอะไรที่แปลก
  • โดยอยู่ในสถานที่ที่แปลก
  • โดยมีขนาดที่ไม่สมจริง

การแสดงภาพตลกมักจะตกอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งสามอย่างนี้

การแสดงเกินจริง

นักทฤษฎีตลกบางท่านพิจารณาว่าการแสดงเกินจริงเป็นวิธีการเล่นตลกที่ทั่วไปอย่างหนึ่ง[46]ซึ่งอาจแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ แต่ทั้งหมดล้วนแต่อาศัยความจริงว่า วิธีง่ายที่สุดที่จะทำตลกก็คือทำสิ่งที่ชัดเจนในเรื่องนั้นให้เกินจริงจนกระทั่งดูเหลวไหล[47]

วัฒนธรรมต่าง ๆ

วัฒนธรรมต่าง ๆ มองว่าอะไรตลกต่างกัน และดังนั้น รายการตลกจากวัฒนธรรมหนึ่งอาจจะไม่ตลกในอีกวัฒนธรรมหนึ่งยกตัวอย่างเช่น ข่าวของบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษปี 2547 กล่าวถึงทัศนคติทั่วไปของนักตลกชาวอังกฤษอย่างหนึ่งก็คือว่า ชาวอเมริกันและชาวเยอรมันไม่เข้าใจเรื่อง irony (เป็นการแสดงออกเพื่อสื่อความหมายตรงข้ามกับที่สื่อตรง ๆ) และดังนั้น ชนเหล่านั้นก็จะไม่ชอบซิตคอมของชาวอังกฤษ[48]

ดูเพิ่ม

  • รูปแบบความตลก

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Alexander, Richard (1984), Verbal humor and variation in English: Sociolinguistic notes on a variety of jokes
  • Alexander, Richard (1997), Aspects of verbal humour in English
  • Basu, S (December 1999), "Dialogic ethics and the virtue of humor", Journal of Political Philosophy, 7 (4): 378–403, doi:10.1111/1467-9760.00082, สืบค้นเมื่อ 2007-07-06 (Abstract)
  • Billig, M. (2005). Laughter and ridicule: Towards a social critique of humour. London: Sage. ISBN 1-4129-1143-5
  • Bricker, Victoria Reifler (Winter, 1980) The Function of Humor in Zinacantan Journal of Anthropological Research, Vol. 36, No. 4, pp. 411–418
  • Buijzen, Moniek; Valkenburg, Patti M. (2004). "Developing a Typology of Humor in Audiovisual Media". Media Psychology. 6 (2): 147–167. doi:10.1207/s1532785xmep0602_2. S2CID 96438940.(Abstract)
  • Carrell, Amy (2000), Historical views of humour, University of Central Oklahoma. Retrieved on 2007-07-06.
  • García-Barriocanal, Elena; Sicilia, Miguel-Angel; Palomar, David (2005), A Graphical Humor Ontology for Contemporary Cultural Heritage Access (PDF), Madrid: University of Alcalá, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-05-23, สืบค้นเมื่อ 2007-07-06
  • Goldstein, Jeffrey H., et al. (1976) "Humour, Laughter, and Comedy: A Bibliography of Empirical and Nonempirical Analyses in the English Language." It's a Funny Thing, Humour. Ed. Antony J. Chapman and Hugh C. Foot. Oxford and New York: Pergamon Press, 1976. 469–504.
  • Hurley, Matthew M., Dennett, Daniel C., and Adams, Reginald B. Jr. (2011), Inside Jokes: Using Humor to Reverse-Engineer the Mind. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press. ISBN 978-0-262-01582-0
  • Holland, Norman. (1982) "Bibliography of Theories of Humor." Laughing; A Psychology of Humor. Ithaca: Cornell UP, 209–223.
  • Martin, Rod A. (2007). The Psychology Of Humour: An Integrative Approach. London, UK: Elsevier Academic Press. ISBN 978-0-12-372564-6
  • McGhee, Paul E. (1984) "Current American Psychological Research on Humor." Jahrbuche fur Internationale Germanistik 16.2: 37–57.
  • Mintz, Lawrence E., ed. (1988) Humor in America: A Research Guide to Genres and Topics. Westport, CT: Greenwood, 1988. ISBN 0-313-24551-7; OCLC 16085479.
  • Mobbs, D.; Greicius, M. D.; Abdel-Azim, E.; Menon, V.; Reiss, A. L. (2003). "Humor modulates the mesolimbic reward centres". Neuron. 40 (5): 1041–1048. doi:10.1016/S0896-6273(03)00751-7. PMID 14659102.{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  • Nilsen, Don L. F. (1992) "Satire in American Literature." Humor in American Literature: A Selected Annotated Bibliography. New York: Garland, 1992. 543–48.
  • Pogel, Nancy; and Paul P. Somers Jr. (1988) "Literary Humor." Humor in America: A Research Guide to Genres and Topics. Ed. Lawrence E. Mintz. London: Greenwood, 1988. 1–34.
  • Roth, G.; Yap, R.; Short, D. (2006). "Examining humour in HRD from theoretical and practical perspectives". Human Resource Development International. 9 (1): 121–127. doi:10.1080/13678860600563424. S2CID 143854518.
  • Smuts, Aaron. "Humor". Internet Encyclopedia of Philosophy
  • Wogan, Peter (Spring 2006). "Laughing At First Contact". Visual Anthropology Review (ตีพิมพ์ 12 December 2006). 22 (1): 14–34. doi:10.1525/var.2006.22.1.14. (Abstract)

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง