เราะมะฎอน

เดือนที่เก้าในปฏิทินอิสลาม และเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดของชาวมุสลิม

เราะมะฎอน (อาหรับ: رَمَضَان, อักษรโรมัน: Ramaḍān, [ra.ma.dˤaːn];[note 1] บางครั้งสะกดเป็น Ramzan, Ramadhan หรือ Ramathan) เป็นเดือนที่เก้าของปฏิทินอิสลาม[4] ที่ถือปฏิบัติโดยมุสลิมทั่วโลกในฐานะ เดือนแห่งการถือศีลอด, ละหมาด, การครุ่นคิดใคร่ครวญ และการร่วมในประชุมชน[5] เป็นเดือนระลึกถึงโองการแรกของศาสดามุฮัมมัด,[6] การรับนับถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนทุกปีถือเป็นหนึ่งในห้าหลักการอิสลาม[7] โดยเดือนเราะมะฎอนจะมีระยะเวลา 29 หรือ 30 วัน นับจากการเห็นดวงจันทร์เสี้ยวครั้งหนึ่งไปยังครั้งต่อไป[8][9]

เราะมะฎอน
رَمَضَان
ดวงจันทร์เสี้ยวเหนือต้นปาล์มที่มานามา ในวันเริ่มต้นเดือนเราะมะฎอนของศาสนาอิสลามที่ประเทศบาห์เรน
ชื่ออื่น
จัดขึ้นโดยมุสลิม
ประเภทศาสนา
การเฉลิมฉลองการละศีลอดและละหมาดร่วม
การถือปฏิบัติ
เริ่มคืนสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน[1]
สิ้นสุดคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน[1]
วันที่เราะมะฎอน
ความถี่ทุกปี (ปฏิทินจันทรคติ)[2][3]
ส่วนเกี่ยวข้องอีดิลฟิฏร์, ลัยละตุลก็อดร์

การถือศีลอดตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงพระอาทิตย์ตกเป็น วาญิบ (จำเป็น) ต่อมุสลิมวัยผู้ใหญ่ทุกคนที่ไม่ป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง, เดินทาง, ชรา, เลี้ยงลูกด้วยนมแม่, เบาหวาน และมีประจำเดือน[10] การรับประทานอาหารก่อนย่ำรุ่งคือ ซะฮูร และการกินเพื่อละศีลอดในช่วงค่ำคือ อิฟฏอร[11][12] ถึงแม้จะมี ฟัตวา ว่ามุสลิมที่อาศัยในแถบขั้วโลกที่มีดวงอาทิตย์เที่ยงคืนหรือกลางคืนแถบขั้วโลกควรตามตารางเวลาของมักกะฮ์[13] แต่ส่วนใหญ่จะตามตารางเวลาของประเทศใกล้ที่สุดที่มีกลางวันหรือกลางคืน[14][15][16]

ผลตอบแทนทางจิตวิญญาณ (ษะวาบ) ของการถือศีลอดเชื่อว่าจะทวีคูณในเดือนเราะมะฎอน[17] ตามรายงานแล้ว มุสลิมไม่ได้ห้ามแค่อาหารกับน้ำ แต่รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบ, เพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมที่เป็นบาป[18][19] โดยทุ่มเทไปกับ การละหมาด และอ่านอัลกุรอานแทน[20][21]

ศัพทมูลวิทยา

คำว่า เราะมะฎอน มาจากรากภาษาอาหรับว่า R-M-Ḍ (ر-م-ض‎) "ร้อนจัด"[22] โดยเราะมะฎอนเป็นหนึ่งในพระนามของพระเจ้าในศาสนาอิสลาม และมีรายงานในหลายฮะดีษว่า ห้ามพูดแค่ "เราะมะฎอน" ในการเรียกชื่อเดือน และจำเป็นต้องเรียกว่า "เดือนแห่งเราะมะฎอน" ตามรายงานของซุนนี,[23][24][25][26][27][28][29] ชีอะฮ์[30][31][32][33][34][35] และซัยดี[36]

ในภาษาเปอร์เซีย อักษร ض (ฎ๊อด) ออกเสียงเป็น /z/ ประเทศมุสลิมบางประเทศที่มีอิทธิพลของเปอร์เซีย เช่น อาเซอร์ไบจาน, อิหร่าน, อินเดีย, ปากีสถาน และตุรกี ใช้คำว่า Ramazan หรือ Ramzan คำว่า Romjan ถูกใช้ในบังกลาเทศ[37]

ประวัติ

ซูเราะฮ์ที่ 2 อายะฮ์ที่ 185 ในภาษาอาหรับ

มุสลิมถือว่าคัมภีร์ทั้งหมดถูกประทานในเดือนเราะมะฎอน ทั้งม้วนกระดาษของอิบรอฮีม, เตารอต, ซะบูร, อินญีล และอัลกุรอานถูกประทานในวันที่ 1, 6, 12, 13 (บางรายงานคือวันที่ 18)[38] และ 24 เราะมะฎอนตามลำดับ[39] ศาสนทูตมุฮัมมัดกล่าวว่า ท่านได้รับโองการแรกของอัลกุรอานในคืน ลัยละตุลก็อดร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าคืนคี่ในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน[40]

ถึงแม้ว่ามุสลิมถูกสั่งให้ถือศีลอดในปีที่ 2 ของ ฮิจเราะฮ์ (ค.ศ. 624)[41] แต่พวกเขาก็เชื่อว่าการถือศีลอดไม่ได้เป็นนวัตกรรมของเอกเทวนิยม[42]แต่อย่างใด แต่อาจเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้ศรัทธาเพื่อ ตักวา (ความกลัวต่อพระเจ้า)[43][อัลกุรอาน 2:183] พวกเขาเห็นว่าพวกลัทธินอกศาสนาก่อนการมาของอิสลามในมักกะฮ์ก็ถือศีลอดมาก่อนแล้ว ในวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม เพื่อชะล้างบาปและเลี่ยงภัยแล้ง[44] ฟิลิป เจนกินส์โต้แย้งว่าการยึดถือปฏิบัติศีลอดเดือนเราะมะฎอน เติบโตอย่างรวดเร็วจาก "กฎระเบียบการบวชอย่างเคร่งครัดของคริสตจักรซีเรีย" สัจพจน์นี้เป็นที่ยืนยันโดยนักวิชาการท่านอื่น เช่น Paul-Gordon Chandler นักเทววิทยา[45][46] แต่ยังเป็นที่โต้แย้งโดยนักวิชาการมุสลิมบางท่าน[47]

วันสำคัญ

วันแรกและวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนถูกกำหนดโดยปฏิทินอิสลามแบบจันทรคติ[3]

เริ่มต้น

ช่วงเริ่มต้นของเราะมะฎอนในช่วงปีเกรกอเรียนที่ 1938 ถึง 2038

เนื่องจาก ฮิลาล หรือดวงจันทร์เสี้ยว มักเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากจันทร์ดับ มุสลิมมักคาดการณ์จุดเริ่มต้นของเดือนเราะมะฎอนได้;[48] อย่างไรก็ตาม การเริ่มเดือนเราะมะฎอนอาจประกาศโดยการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวโดยตรง[49]

คืนแห่งพลัง

ลัยละตุลก็อดร์ ถือเป็นคืนที่ศักดิ์สิทธิ์ของปี[50][51] โดยทั่วไปเชื่อว่า เป็นคืนที่เกิดขึ้นในคืนคี่ของช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน ดะวูลี โบะฮ์ราเชื่อว่า คืนลัยละตุลก็อดร์ อยู่ในคืนที่ 23 ของเดือนเราะมะฎอน[52][53]

อีด

วันหยุด อีดิลฟิฎร์ (عيد الفطر) ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเดือนเราะมะฎอน และเป็นจุดเริ่มต้นของ เชาวาล เดือนต่อไปทางจันทรคติ โดยการประกาศเห็นเสี้ยวหนึ่งของจันทร์ดับ หรือถ้าไม่เห็นดวงจันทร์ ก็ต้องถือศีลอดเป็นวันที่ 30 การฉลอง อีด คือการกลับมาของนิสัย (ฟิฏเราะฮ์) การกิน, ดื่ม และความสัมพันธ์ทางเพศตามธรรมชาติ[54]

วัตรปฏิบัติทางศาสนา

เราะมะฎอนของคนยากจน วาดโดยอาซิม อาซิมซาดะ ค.ศ. 1938

การปฏิบัติศาสนกิจโดยทั่วไปคือถือศีลอดตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงพระอาทิตย์ตก โดยมื้ออาหารก่อนย่ำรุ่งคือ ซะฮูร ในขณะที่มื้อในช่วงพระอาทิตย์ตกเพื่อละศีลอดคือ อิฟฏอร[55]

มุสลิมอุทิศเวลาในเดือนนี้ต่อการละหมาดและการบริจาค โดยทนหิวเพื่อพัฒนาระเบียบวินัยของตัวเอง ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากฮะดีษ:[56][57] "เมื่อเราะมะฎอนมาถึง ประตูสวรรค์จะถูกเปิด และประตูนรกจะถูกปิด และชัยฏอนจะถูกล่ามโซ่"[58]

การถือศีลอด

เราะมะฎอนเป็นช่วงเวลาแห่งการใคร่ครวญทางจิตวิญญาณ, การพัฒนาตนเอง ความจงรักภักดีและการสักการะที่สูงส่งยิ่งกว่าเดิม มุสลิมจะพยายามทำตามหลักคำสอนของศาสนาอิสลามให้มากกว่าเดิม การถือศีลอดเริ่มตั้งแต่ย่ำรุ่งจนสิ้นสุดที่พระอาทิตย์ตกดิน นอกจากหยุดกินและดื่มแล้ว มุสลิมจะเลี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์[3] aและพฤติกรรมกับคำพูดที่เป็นบาปในช่วงเดือนเราะมะฎอน การถือศีลอดเป็นการทำให้หัวใจออกห่างจากกิจกรรมทางโลก ซึ่งมีจุดประสงค์ให้ทำจิตวิญญาณให้ความสะอาดโดยการปลดปล่อยจากสิ่งสกปรกที่เป็นอันตราย มุสลิมเชื่อว่าเราะมะฎอนสอนให้พวกเขาบังคับตนเอง, ควบคุมตนเอง,[59] เสียสละ และร่วมรู้สึกแก่ผู้ที่ไม่ค่อยโชคดี จึงทำให้มีความเอื้ออาทรและเป็นการกุศลภาคบังคับ (ซะกาต)[60]

มุสลิมเชื่อว่าคนจนที่ไม่มีอะไรกินควรถือศีลอด ซึ่งทำให้พวกเขามีอาหารเพียงพอที่จะกิน โดยทำให้พวกเขารู้ว่าคนจนรู้สึกอย่างไรในตอนที่กำลังหิว จุดประสงค์หลักของการถือศีลอดให้มีความเห็นอกเห็นใจแก่คนยากจน[61]

ข้อยกเว้นสำหรับผู้ถือศีลอดคือคนที่เดินทาง, มีประจำเดือน, เจ็บไข้ได้ป่วย, ตั้งท้อง และให้นมเด็ก คนที่ถือศีลอดไม่ได้จะต้องถือชดในภายหลัง[62]

ซะฮูร

อิฟฏอรที่มัสยิดสุลต่านอาเหม็ดในอิสตันบูล, ประเทศตุรกี

แต่ละวันก่อนรุ่งอรุณ มุสลิมจะกินมื้อก่อนศีลอดที่เรียกว่า ซะฮูร หลังหยุดกินเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนรุ่งอรุณ มุสลิมจะเริ่มละหมาด ซุบฮี[63][64]

การละศีลอด

อิฟฏอรแก่ผู้ละศีลอดที่เทวสถานอิหม่ามเรซา

ตอนพระอาทิตย์ตก ครอบครัวจะละศีลอดด้วย อิฟฎอร ตามธรรมเนียมจะเปิดด้วยอินทผลัมซึ่งเป็นแบบอย่างของศาสดามุฮัมมัดโดยการกินไปสามลูก[65][66] แล้วเตรียมละหมาด มัฆริบ[67]

มื้อละศีลอดส่วนใหญ่จะเป็นสไตล์บุฟเฟตซึ่งมีทั้งของหวานที่ทำในช่วงเราะมะฎอน เช่น น้ำเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่น้ำผลไม้กับนมก็มีขาย เช่นเดียวกันกับน้ำอัดลมกับเครื่องดื่มคาเฟอีน[68]

ในตะวันออกกลาง มื้อ อิฟฏอร จะมีน้ำ น้ำผลไม้ สลัด และอาหารกินเล่น; เมนูหลัก 1 จานหรือมากกว่านั้น และของหวาน โดยถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด[69] ในเมนูหลักได้แก่สตูแกะที่มีเบอร์รี่ข้าวสาลี กะบาบแกะกับผักย่าง และไก่ย่างที่เสริฟด้วย chickpea-studded rice pilaf. ของหวานได้แก่ ลุก็อยมัต, บาคลาวา หรือ คานาเฟ[70]

ตลอดเวลานั้น การละศีลอดอาจรวมคนไปถึงร้อยหรือแม้แต่พันคน[71] ที่มัสยิดเชคซาเยดในอาบูดาบี มัสยิดที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ให้อาหารคนถึง 30,000 คนทุกคืน[72] ส่วนที่เทวสถานอิหม่ามเรซาในแมชแฮด จุคนถึง 12,000 คน[73]

การกุศล

ละหมาดกลางคืน

ตะรอเวียะฮ์ (อาหรับ: تراويح) เป็นเวลาละหมาดพิเศษในเดือนเราะมะฎอน ตามความเชื่อส่วนใหญ่ ไม่ถือภาคบังคับ[74]

อ่านอัลกุรอาน

มุสลิมตั้งใจที่จะอ่านกุรอานทั้งเล่ม ซึ่งมีถึง 30 ยุซ (ส่วน) ใน 30 วันของเดือนเราะมะฎอนโดยอ่านที่ละ ยุซ ต่อวันในเดือนนี้[75]

ธรรมเนียมปฏิบัติทางวัฒนธรรม

ในประเทศอิสลามบางประเทศ จะมีการแขวนไฟทั่วจัตุรัสและถนน[76][77][78] โดยเชื่อว่าสืบมาตั้งแต่รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ ในรัชสมัยของเคาะลีฟะฮ์อัลมุอิซซ์ ลิดีนัลลอฮ์[79]

บนเกาะชวา มีคนหลายคนอาบน้ำในน้ำซับศักดิ์สิทธิ์ในพิธีที่รู้จักในชื่อ ปาดูซัน[80] ที่เมืองเซอมารังเป็นจุดเริ่มต้นของเราะมะฎอน โดยมีขบวนแห่ดุกเดอรัน และวารักเงินดก สิ่งมีชีวิตผสมระหว่างม้ากับมังกรที่ได้แรงบันดาลใจจากบุร็อก[81] ในจาการ์ตา มีการจุดประทัดในบริเวณที่มีอิทธิพลของจีนอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย[82] ตอนสิ้นสุดเราะมะฎอน คนงานส่วนใหญ่ได้โบนัสหนึ่งเดือนที่เรียกว่า ตุนจางันฮารีรายา[83] อาหารบางชนิดได้รับความนิยมในเดือนนี้ เช่น เนื้อโคหรือควายขนาดใหญ่ในอาเจะฮ์และหอยทากในจังหวัดชวากลาง[84] ในช่วงมื้ออิฟฎอรทุกเย็นจะมีการตีเบอดุก กลองใหญ่ที่มัสยิด[85]

การทักทายหลักในช่วงเราะมะฎอนคือ เราะมะฎอนมุบาร็อก และ เราะมะฎอนกะรีม[86]

คนตีเบอดุกในประเทศอินโดนีเซีย
คนตีเบอดุกในประเทศอินโดนีเซีย 
ดวงจันทร์เสี้ยวที่ถูกประดับอย่างสวยงามในช่วงเราะมะฎอนในประเทศจอร์แดน
ดวงจันทร์เสี้ยวที่ถูกประดับอย่างสวยงามในช่วงเราะมะฎอนในประเทศจอร์แดน 
เราะมะฎอนในเมืองเก่าแห่งเยรูซาเลม
เราะมะฎอนในเมืองเก่าแห่งเยรูซาเลม 
การตกแต่งฟานูสที่ไคโร, ประเทศอียิปต์
การตกแต่งฟานูสที่ไคโร, ประเทศอียิปต์ 

กฎหมาย

ในประเทศมุสลิมบางประเทศ การกินตอนกลางวันต่อสาธารณะในช่วงเดือนเราะมะฎอนเป็นอาชญากรรม[87][88][89] การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเดือนเราะมะฎอน เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศอียิปต์[90] บทลงโทษของการกิน ดื่ม หรือสูบบุหรี่ในที่สาธารณะจะต้องจ่ายค่าปรับ และ/หรือจำคุกในประเทศคูเวต,[91][92] ซาอุดีอาระเบีย,[93][94][95] แอลจีเรีย[96] และมาเลเซีย[97] ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บทลงโทษคือทำงานบริการชุมชน[98]

ในบางประเทศ การสังเกตเดือนเราะมะฎอนเป็นสิ่งที่ต้องห้าม ในสหภาพโซเวียต การฝึกฝนในเราะมะฎอนถูกยกเลิกโดยข้าราชการ[99][100] ในประเทศแอลเบเนีย การฉลองเราะมะฎอนถูกแบนในช่วงสมัยโซเวียต[101] อย่างไรก็ตาม ชาวแอลเบเนียหลายคนแอบถือศีลอดอย่างลับ ๆ ในช่วงนั้น[102] มีการรายงานในจีนว่าได้แบนการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนตั้งแต่ปีค.ศ. 2012 ที่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์[103][104] คนที่จับได้ว่าถือศีลอดจะถูกส่งไปยัง "ค่ายปรับทัศนคติ"[105]

บางประเทศได้จัดเวลาทำงานใหม่ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ลูกจ้างทำงานไม่มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และ 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ประเทศกาตาร์, โอมาน, บาห์เรน และคูเวตก็มีกฎหมายที่คล้าย ๆ กัน[106]

ผลต่อสุขภาพ

มีการรายงานถึงสุขภาพของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนอยู่หลายแบบ โดยรายงานหนึ่งกล่าวว่าการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนเป็นเรืองที่ปลอดภัยแก่คนที่มีสุขภาพดี นักวิชาการอิสลามส่วนใหญ่ถือว่าคนป่วยไม่จำเป็นต้องถือศีลอด ที่มากไปกว่านั้น คนชราและเด็กก่อนบรรลุนิติภาวะได้รับข้อยกเว้นเช่นกัน[107] เจ้าหน้าที่บางคนรายงานว่าหญิงที่ตั้งท้องหรือให้นมไม่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน[108] ในขณะที่เจ้าหน้าที่อีกกลุ่มกล่าวว่า จะได้รับข้อยกเว้น ถ้าพวกเธอกลัวว่าการถือศีลอดอาจทำอันตรายต่อพวกเธอหรือเด็กทารก[107][109][110]

มีผลทางสุขภาพในช่วงเราะมะฎอน ได้แก่ มีความไวต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น และภาวะดื้อต่ออินซูลินลดลง[111] และมีรายงานว่ามีการพัฒนาของความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในเวลา 10 ปี และปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ ได้แก่ การตรวจไขมัน (lipids profile), ความดันโลหิตซิสโตลิก, น้ำหนัก, ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว ในการตรวจสอบประวัติผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในอดีต[112] ช่วงการถือศีลอดมักมีความสัมพันธ์กับการลดน้ำหนักเล็กน้อย แต่หลังจากนั้นอาจจะกลับมาเป็นน้ำหนักเดิม[113]

การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน มีส่วนในการเปลื่ยนพฤติกรรมการกินแทนแบบเดิม อาจมีผลต่อสุขภาพทั้งด้านการนอนและสุขภาพโดยทั่วไป

การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการนอน[114] และมีความสัมพันธ์กับการผลิตฮอร์โมน

ในศาสนาอิสลาม หญิงที่ตั้งท้องและคนที่ให้นมเด็กทารกถูกยกเว้นจากการถือศีลอด[107] การถือศีลอดอาจเป็นเรื่องอันตรายต่อหญิงที่ตั้งครรภ์เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์และก่อให้เกิดเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏว่ามีผลต่อน้ำหนักของเด็ก แต่เป็นที่แนะนำว่าไม่ควรถือศีลอดถ้ามันทำลายชีวิตของผู้หญิงหรือเด็ก[115][116][117][118][119] ถ้าแม่ถือศีลอดในช่วงที่ตั้งท้อง อาจมีผลให้ลูกมีสติปัญญาน้อยลง, ความสามารถทางการรู้คิดต่ำกว่าเดิม และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2[120] นักวิชาการอิสลามหลายคนโต้แย้งว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่หญิงตั้งท้อง ไม่ควร ถือศีลอดถ้าหมอแนะนำว่าไม่ควรถือศีลอด[121]

การถือศีลอดในเราะมะฎอนที่เรื่องที่ปลอดภัยของคนที่มีสุขภาพดีโดยมีน้ำและอาหารเพียงพอ แต่ผู้ที่ต้องกินยาควรปรึกษาทางการแพทย์ว่าอาจมีปัญหาสุขภาพก่อนหรือระหว่างถือศีลอดหรือไม่[122]

บางศึกษาได้เชื่อมการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนกับการมีปัญหาด้านการนอน ซึ่งทำให้หลับในเวลากลางวันมากขึ้น และลดประสิทธิภาพในการทำงานลง[123] ทางกระทรวงศึกษาธิการเบอร์ลินกับสหราชอาณาจักรพยายามไม่ให้นักศึกษาถือศีลอดในช่วงเราะมะฎอน โดยอ้างว่าการไม่กินหรือดื่มอาจนำมาสู่ปัญหาด้านสมาธิและได้เกรดแย่[124][125]

นักวิจารณ์วรรณกรรมโดยกลุ่มชาวอิหร่านแนะนำว่า การถือศีลอดในช่วงเราะมะฎอนอาจก่อให้เกิดไตวายต่อผู้ป่วยระดับปานกลาง (การทำหน้าที่ของไต น้อยกว่า 60 มิลลิลิตร/นาที) หรือเป็นโรคไต แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นปลูกถ่ายไต สำหรับผู้ป่วยที่มีไตที่ทำงานปกติหรือเป็นโรคนิ่วไตส่วนใหญ่[126]

อัตราการก่อเหตุ

ความสัมพันธ์ระหว่างเดือนเราะมะฎอนกับอัตราการก่อเหตุผสมกัน: สถิติบางอันแสดงว่าอัตราการก่อเหตุลดลงในช่วงเราะมะฎอน ในขณะที่อีกอันแสดงว่าเพิ่มขึ้น การลดลงของอัตราการก่อเหตุถูกรายงานโดยตำรวจในบางเมืองของประเทศตุรกี (อิสตันบูล[127] กับคอนยา[128]) และจังหวัดตะวันออกของประเทศซาอุดีอาระเบีย[129] จากการศึกษาปี 2005 พบว่า การก่อเหตุอาชญากรรมประเภททำร้าย, โจรกรรม และอาชญากรรมที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงในช่วงเดือนเราะมะฎอนของประเทศซาอุดีอาระเบีย แต่ความสำคัญของอาชญากรรมที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลงทางสถิติอย่างเห็นได้ชัด[130] มีรายงานอัตราการก่อเหตุในเดือนเราะมะฎอนเพิ่มขึ้นในประเทศตุรกี,[131] จาการ์ตา,[132][133][134] ส่วนหนึ่งของประเทศแอลจีเรีย,[135] เยเมน[136] และอียิปต์[137]

กลไกการเสนอเกี่ยวกับผลของเราะมะฎอนต่อการก่อเหตุอาชญากรรมมีหลายแบบ:

  • หมอสอนศาสนาในอิหร่านโต้แย้งว่าการถือศีลอดในช่วงเราะมะฎอนทำให้คนก่อเหตุอาชญากรรมน้อยลงด้วยเหตุผลทางจิตวิญญาณ[138] กะมาล อัลบันนา โต้แย้งว่าการถือศีลอดทำให้คนเครียด ซึ่งอาจทำให้พวกเขาก่อเหตุมากขึ้น เขาวิจารณ์มุสลิมที่ก่อเหตุอาชญากรรมในขณะที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนว่า "ปลอมและทำแค่ภายนอก"[137]
  • ตำรวจในประเทศซาอุดีอาระเบีย เชื่อว่าการก่อเหตุอาชญากรรมลดลงเพราะ "ความรู้สึกด้านจิตวิญญาณเป็นที่แพร่หลายในประเทศ"[129]
  • ในจาการ์ตา, ประเทศอินโดนีเซีย, ตำรวจกล่าวว่าจราจรหนาแน่เพราะมีคนออกจากเมืองถึง 7 ล้านคนเพื่อไปฉลองอีดิลฟิฏร์ ทำให้มีการก่อเหตุบนถนนมากขึ้น และทำให้ตำรวจต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมเพิ่มอีก 7,500 นาย[134]
  • ในช่วงเดือนเราะมะฎอน มีผู้แสวงบุญกว่าล้านคนมาที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย เพื่อมาเยี่ยมมักกะฮ์ รานงานจาก เยเมนไทม์ ผู้แสวงบุญมักใจบุญ และ ผลที่ตามมาคือการลักลอบค้าเด็กจากเยเมน เพื่อไปเป็นขอทานที่ถนนในซาอุดีอาระเบีย[136]

เราะมะฎอนในแถบขั้วโลก

ในช่วงที่มีการเจรจาระหว่างตะวันออกกลางกับสหรัฐในค.ศ. 2010 ฮุสนี มุบาร็อกกับเบนจามิน เนทันยาฮูตรวจดูนาฬิกาว่าดวงอาทิตย์ตกหรือยัง

ระยะเวลาระหว่างย่ำรุ่งถึงพระอาทิตย์ตกนั้นมีเวลาหลากหลายทั่วโลกตามครีษมายันกับเหมายันของดวงอาทิตย์ มุสลิมส่วนใหญ่ถือศีลอดเป็นเวลา 11 ถึง 16 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในแถบขั้วโลก ระยะเวลาระหว่างย่ำรุ่งถึงพระอาทิตย์ตกอาจยืดถึง 22 ชั่วโมงในฤดูร้อน เช่น ในปีค.ศ. 2014 มุสลิมในเรคยาวิก, ประเทศไอซ์แลนด์ และทร็อนไฮม์, ประเทศนอร์เวย์ ถือศีลอดไปเกือบ 22 ชั่วโมง ในขณะที่มุสลิมในซิดนีย์, ประเทศออสเตรเลีย ถือศีลอดไปประมาณ 11 ชั่วโมง ในบริเวณที่มีกลางคืนหรือกลางวันยาวนาน มุสลิมบางคนถือศีลอดตามเมืองที่ใกล้ที่สุดที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตก ในขณะที่บางส่วนตามเวลาของมักกะฮ์[14][15][16]

เราะมะฎอนบนวงโคจรโลก

นักบินอวกาศมุสลิมในอวกาศทำพิธีทางศาสนาตามเขตเวลาสุดท้ายบนโลก นั่นหมายความว่า นักบินอวกาศจากประเทศมาเลเซีย ถูกปล่อยจากศูนย์อวกาศเคนเนดีในรัฐฟลอริดา จะตั้งเวลาถือศีลอดตามเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตกตามเขตเวลาตะวันออก ซึ่งรวมไปถึงเวลาละหมาดประจำวัน และช่วงดวงอาทิตย์ขึ้นและตกสำหรับเดือนเราะมะฎอน[139][140]

การทำงานในเดือนเราะมะฎอน

มุสลิมยังคงทำงานในเดือนเราะมะฎอนต่อ;[141][142] อย่างไรก็ตาม ในประเทศอิสลามบางประเทศ เช่นโอมานกับเลบานอน ได้มีการลดเวลาทำงานลง[143][144] โดยมีการแนะนำว่ามุสลิมควรแจ้งนายจ้างว่าตนถือศีลอด[145]แต่บทความจากอาหรับนิวส์รายงานว่า นักธุรกิจชาวซาอุดีอาระเบียไม่ค่อยมีความสุขในการทำงานที่สั้นกว่าเดิมในเดือนเราะมะฎอน มีบางคนรายงานว่าได้มีการยกเลิกการผลิตตั้งแต่ 35 ถึง 50%.[146] นักธุรกิจชาวซาอุจะได้เงินเดือนพิเศษถ้าทำงานนานกว่าเดิม[147] ถึงแม้ว่าการผลิตจะลดลง พ่อค้ายังคงได้กำไรสูงในช่วงเราะมะฎอนเพราะความต้องการสูงขึ้น[148]

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Category:Ramadan
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง