อุมัร

อุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ (อาหรับ: عمر بن الخطاب; ป. ค.ศ. 583/584 – 644) เป็นเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนองค์ที่ 2 ที่ครองราชย์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 634 จนกระทั่งถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 644 เขาเป็นผู้ติดตามอาวุโสกับพ่อตาของศาสดามุฮัมมัด และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านกฎหมายมุสลิมที่เคร่งศาสนาและเที่ยงธรรม จนได้รับฉายา อัลฟารูก ("ผู้แยกแยะ (ระหว่างความจริงกับความเท็จ)")

อุมัร
عمر
  • อัลฟารูก
  • อะมีรุลมุอ์มินีน
เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 2 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
ครองราชย์23 สิงหาคม ค.ศ. 634 – 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 644
ก่อนหน้าอะบูบักร์
ถัดไปอุษมาน อิบน์ อัฟฟาน
ประสูติป. ค.ศ. 583 หรือ 584
มักกะฮ์ ฮิญาซ คาบสมุทรอาหรับ
สวรรคตพฤศจิกายน ค.ศ. 644 (ษุลฮิจญ์ญะฮ์ ฮ.ศ. 23/มุฮัรร็อม ฮ.ศ. 24) (60–61 พรรษา)
มะดีนะฮ์ ฮิญาซ รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน
ฝังพระศพมัสยิดอันนะบะวี มะดีนะฮ์
คู่อภิเษก
  • ซัยนับ บินต์ มัซอูน
  • อุมม์ กัลษูม บินต์ ญัรวัล
  • กุร็อยบะฮ์ บินต์ อะบีอุมัยยะฮ์
  • ญะมีละฮ์ บินต์ ษาบิต
  • อาติกะฮ์ บินต์ ซัยด์
  • อุมม์ ฮะกัม บินต์ อัลฮาริษ อิบน์ ฮิชาม
  • อุมม์ กัลษูม บินต์ อะลี[1][2]
พระราชบุตร
(กับคนอื่น ๆ)
  • ฮัฟเศาะฮ์
  • อับดุลลอฮ์
  • อุบัยดุลลอฮ์
  • อาศิม
  • ซัยด์
ราชวงศ์กุร็อยช์ (บะนูอะดี)
พระราชบิดาอัลค็อฏฏอบ อิบน์ นุฟัยล์
พระราชมารดาฮันตะมะฮ์ บินต์ ฮิชาม
ศาสนาอิสลาม
ลายพระอภิไธย

เดิมทีอุมัรเคยต่อต้านมุฮัมมัด ผู้เป็นญาติห่าง ๆ และภายหลังเป็นลูกเขยจากเผ่ากุร็อยช์ หลังเข้ารับอิสลามใน ค.ศ. 616 เขากลายเป็นมุสลิมคนแรกที่ละหมาดอย่างเปิดเผยที่กะอ์บะฮ์ อุมัรเข้าร่วมสงครามและการเดินทางเกือบทั้งหมดของมุฮัมมัด ผู้ให้ตำแหน่ง อัลฟารูก ('ผู้แยกแยะ') แก่อุมัรจากการตัดสินของเขา หลังมุฮัมมัดเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 632 อุมัรให้สัตยาบันต่ออะบูบักร์ (ค. 632 – 634) เป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรก และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาใกล้ชิด จนกระทั่งเดือนสิงหาคม ค.ศ. 634 เมื่ออะบูบักร์ตอนใกล้สวรรคตเสนอให้อุมัรเป็นผู้สืบทอดต่อ

ในรัชสมัยของอุมัร รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้ขยายในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยพิชิตจักรวรรดิซาเซเนียนและพื้นที่มากกว่าสองในสามของจักรวรรดิไบแซนไทน์[3] การโจมตีของพระองค์ต่อจักรวรรดิซาเซเนียนก่อให้เกิดการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียภายในเวลาไม่เกินสองปี (642–644) ตามข้อมูลจากธรรมเนียมยิว อุมัรหยุดการห้ามชาวยิวของชาวคริสต์ และอนุญาตให้พวกเขาเดินทางไปเยรูซาเลมเพื่อทำพิธีตามศาสนาของตนเองได้[4] อุมัรถูกลอบสังหารจากทาสชาวเปอร์เซียนามอะบูลุอ์ลุอะฮ์ ฟีรูซใน ค.ศ. 644

นักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปมองอุมัรเป็นหนึ่งในเคาะลีฟะฮ์มุสลิมที่มีอำนาจและอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์[5] โดยฝ่ายซุนนียกย่องเขาเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่และมีคุณธรรมของอิสลาม[6] และบางฮะดีษระบุเขาเป็นเศาะอาบะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนที่สอง (รองจากอะบูบักร์)[7][8] ส่วนฝั่งชีอะฮ์สิบสองอิมามมองเขาในแง่ลบ[9]

ชีวิตช่วงต้น

อุมัรเกิดในที่มักกะฮ์ จากตระกูลอะดี ซึ่งรับผิดชอบในอนุญาโตตุลาการระหว่างชนเผ่า[10] ในวัยเด็ก เขาเคยเลี้ยงอูฐของพ่อในพื้นที่ราบใกล้มักกะฮ์ พ่อผู้มีอาชีพพ่อค้ามีชื่อเสียงในด้านความเฉลียวฉลาดในชนเผ่าของเขา[11] อุมัรเคยกล่าวว่า: "อัลค็อฏฏอบ พ่อของผม เป็นผู้ชายที่โหดเหี้ยม เขาเคยใช้ให้ผมทำงานหนัก ถ้าผมไม่ทำงาน เขาก็จะตีผม และเขาใช้งานผมจนเหนื่อย"[12]

อุมัรเรียนรู้การอ่านและเขียนในวัยเด็ก แม้ว่าการรู้หนังสือไม่เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในอาระเบียก่อนอิสลาม ตอนโตขึ้น เขารักบทกวีและวรรณกรรม แม้จะไม่ใช่นักกวีก็ตาม[13] รายงานจากธรรมเนียมของกุร็อยช์ ตอนอยู่ในช่วงวัยรุ่น อุมัรเรียนรู้ในด้านศิลปะการต่อสู้, การขี่ม้า และมวยปล้ำ เขามีรูปร่างสูงใหญ่ แข็งแรง และเป็นนักมวยปล้ำที่มีชื่อเสียง[13][14] เขายังเป็นนักพูดที่มีพรสวรรค์ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาดระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ ต่อจากพ่อ[15]

อุมัรกลายเป็นพ่อค้าและเดินทางไปยังโรมและเปอร์เซีย โดยได้พบนักวิชาการหลายคน และวิเคราะห์สังคมในโรมันกับเปอร์เซีย แต่ตอนเป็นพ่อค้ากลับไม่ประสบความสำเร็จ[13][16] เขาชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เหมือนกับคนอื่น ๆ ในช่วงก่อนเข้ารับอิสลาม[17]

อาชีพการทหารช่วงต้น

ต่อต้านอิสลาม

ใน ค.ศ. 610 มุฮัมมัดเริ่มเผยแผ่หลักคำสอนของอิสลาม อย่างไรก็ตาม อุมัรต่อต้านอิสลามเหมือนกันคนอื่น ๆ ในมักกะฮ์และถึงกับขู่ว่าจะฆ่ามุฮัมมัด เขาตัดสินใจที่จะปกป้องศาสนาพหถเทวนิยมแบบดั้งเดิมของอาระเบีย เขายืนหยัดและต่อต้านมุฮัมมัดอย่างโหดร้าย และมีชื่อเสียงอย่างมากในการกดขี่มุสลิม[18] เขาแนะนำให้ฆ่ามุฮัมมัด[19] เขาเชื่อมั่นในความเป็นเอกภาพของเผ่ากุร็อยช์อย่างมั่นคง และมองความเชื่อใหม่ของอิสลามเป็นสาเหตุในความแตกแยกและความร้าวฉาน[18]

ในช่วงที่มีการกดขี่ มุฮัมมัดสั่งให้ผู้ติดตามบางส่วนอพยพไปยังอะบิสซิเนีย เมื่องมุสลิมกลุ่มเล็กอพยพออกไปแล้ว อุมัรเริ่มกังวลต่อความเป็นเอกภาพของกุร็อยช์ในอนาคต และตัดสินใจลงมือลอบสังหารมุฮัมมัด[20]

เข้ารับอิสลามและรับใช้มุฮัมมัด

อุมัรเข้ารับอิสามใน ค.ศ. 616 หนึ่งปีหลังการอพยพไปยังอะบิสซีเนียเรื่องราวนี้พบใน Sīrah ของอิบน์ อิสฮาก ว่า ขณะที่เขากำลังเดินทางไปฆ่ามุฮัมมัด อุมัรพบกับนัอัยม์ อิบน์ อับดุลลอฮ์ เพื่อนใกล้ชิดของอุมัรผู้เข้ารับอิสลามอย่างลับ ๆ เมื่ออุมัรบอกเขาว่าตนจะไปฆ่ามุฮัมมัด นุอัยม์จึงบอกว่า “...โอ้ อุมัร! เจ้าคิดว่าบะนูอับดุลมะนาฟจะปล่อยให้เจ้าวิ่งหนีทั้งเป็นเมื่อเจ้าได้สังหารมุฮัมมัด ลูกชายของพวกเขาหรือ? ทำไมเจ้าไม่กลับบ้านและจัดการให้เสร็จก่อนเล่า?"[21]

นุอัยม์บอกอุมัรให้ไปสอบปากคำคนในบ้านของเขา เนื่องจากน้องสาวกับสามีของเธอแอบเข้ารับอิสลาม ก่อนเข้าบ้าน อุมัรพบน้องสาวกับน้องเขย ซะอีด อิบน์ ซัยด์ (ลูกพี่ลูกน้องของอุมัร) อ่านโองการในซูเราะฮ์ฏอฮอจากกุรอาน[22] เขาเริ่มทะเลาะกับน้องเขย เมื่อน้องสาวพยายามช่วยสามี เขาก็เริ่มทะเลาะกับเธอ แต่ทั้งคู่ยังคงตอบว่า "เจาอาจฆ่าเรา แต่เราจะไม่ยอมละทิ้งอิสลาม" หลังได้ยินประโยคนี้ อุมัรตบหน้าน้องสาวอย่างแรงจนเลือดไหลออกทางปาก จากนั้นเขาจึงรู้สึกผิดแล้วใจเย็นลง และถามให้น้องสาวเอาสิ่งที่เธออ่านให้เขาดู เธอจึงตอบว่า "เจ้ายังไม่สะอาด และคนที่ไม่สะอาดไม่สมควรแตะต้องคัมภีร์" เขายื่นกราน แต่น้องสาวไม่อนุญาตให้เขาแตะจนกว่าจะชำระล้างร่างกายก่อน อุมัรจึงไปชำระร่างกายแล้วเริ่มอ่านโองการในอัลกุรอาน ซูเราะห์ฏอฮา อายะห์ที่1-6 (กุรอาน 20:1-6) เขาร่ำไห้และประกาศว่า "แน่แท้ นี่คือพระดำรัสจากอัลลอฮ์ ข้อขอปฏิญาณว่ามุฮัมมัดคือศาสทูตของอัลลอฮ์" หลังได้ยินสิ่งนี้ ค็อบบาบจึงออกจากที่ซ่อนและบอกเขาว่า: "โอ้ อุมัร! ขอแสดงความยินดีด้วย เมื่อวานมุฮัมมัดได้ขอต่ออัลลอฮ์ว่า 'โอ้ อัลลอฮ์! ขอทรงโปรดทำให้อิสลามมั่นคงด้วยอุมัรหรืออะบูญะฮัล'..."[23]

อุมัรเดินทางไปหามุฮัมมัดด้วยดาบเล่มเดียวกันที่เขาเคยตั้งใจฆ่า จากนั้นจึงหันมาเข้ารับอิสลามต่อหน้าท่านกับผู้ติดตาม ตอนเข้ารับอิสลาม เขามีอายุ 39 ปี.[24]

รายงานหนึ่งบันทึกว่า หลังเข้ารับอิสลาม อุมัรละหมาดอย่างเปิดเผยที่กะอ์บะฮ์ โดยที่อะบูญะฮัลกับอะบูซุฟยานมองดูด้วยความโกรธ[25]

อพยพไปมะดีนะฮ์

ใน ค.ศ. 622 หลังชาวยัษริบ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นมะดีนะตุนนะบี หรือสั้น ๆ ว่า มะดีนะฮ์) เสนอให้ความปลอดภัยแก่ท่าน มุฮัมมัดจึงสั่งให้ผู้ติดตามอพยพไปยังมะดีนะฮ์ มุสลิมส่วนใหญ่อพยพในเวลากลางคืนเนื่องจากกลัวการต่อต้านของพวกกุร็อยช์ แต่มีรายงานว่าอุมัรอพยพอย่างเปิดเผยในเวลากลางวัน โดยกล่าวว่า: "ใครก็ตามที่ต้องการให้ภรรยาของเขาเป็นหม้าย และลูกของเขาเป็นเด็กกำพร้า ควรมาพบข้าที่หลังผานั้น"[26][27] อุมัรอพยพไปยังมะดีนะฮ์ร่วมกับลูกพี่ลูกน้อง และน้องเขย ซะอีด อิบน์ ซัยด์[24]

ชีวิตในมะดีนะฮ์

มุฮัมมัดเสียชีวิต

เมื่อมุฮัมมัดเสียชีวิตในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 632 เดิมทีอุมัรไม่เชื่อว่าท่านตายแล้ว[28] กล่าวกันว่าอุมัรสัญญาที่จะทำร้ายใครก็ตามที่บอกว่ามุฮัมมัดตายแล้ว ภายหลังอะบูบักร์ประกาศต่อสาธารณชนในมัสยิดว่า:

"ใครก็ตามที่สักการะมุฮัมมัด จงรู้เถิดว่าท่านเสียชีวิตแล้ว และใครสักการะอัลลอฮ์ จงรู้เถิดว่าพระองค์ทรงมีชีวิตและไม่มีวันตาย"

[29] แล้วยกโองการจากอัลกุรอานความว่า:

"และมุฮัมมัดนั้นหาใช่อื่นใดไม่นอกจากเป็นร่อซูลผู้หนึ่งเท่านั้น ซึ่งบรรดาร่อซูลก่อนจากเขาก็ได้ล่วงลับไปแล้ว แล้วหากเขาตายไปหรือเขาถูกฆ่าก็ตาม พวกเจ้าก็หันสันเท้าของพวกเจ้ากลับกระนั้นหรือ?..."

[29] หลังได้ยินสิ่งนี้ อุมัรคุกเข่าเสียใจและยอมรับความจริง มุสลิมซุนนีรายงานว่าการปฏิเสธการเสียชีวิตของท่านมาจากความรักอย่างลึกซึ้งของเขา[28]

ลอบสังหาร

ภาพวาดในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงภาพของอับดุรเราะห์มาน (อิบน์ เอาฟ์หรืออิบน์ อะบีบักร์) พบเห็นการสมรู้ร่วมคิดโดยเจตนาของอะบูลุอ์ลุอะฮ์, โฮร์มูซอน และ Jufayna (ในภาพวาดผิดเป็นผู้หญิง และภาพอาวุธลอบสังหารน่าจะผิดด้วย)[30]
สุสานของเคาะลีฟะฮ์อุมัรใต้โดมเขียวในมัสยิดอันนะบะวี มะดีนะฮ์ หน้าต่างบานแรกนับจากด้านขวามองเห็นหลุมฝังศพของอุมัร

ใน ค.ศ. 644 อุมัรถูกลอบสังหารจากทาสชาวเปอร์เซียนามอะบูลุอ์ลุอะฮ์ ฟีรูซ แรงจูงใจในการลอบสังหารของเขาไม่ชัดเจน แต่ข้อมูลสมัยกลางหลายแห่งระบุว่าเป็นข้อพิพาททางภาษีกับเจ้านายชาวอาหรับ อัลมุฆีเราะฮ์ อิบน์ ชัวะอ์อ์บะฮ์[31]

รายงานจากบันทึกประวัติศาสตร์ อะบูลุอ์ลุอะฮ์เป็นชาวโซโรอัสเตอร์จากแนฮอแวนด์ (อิหร่าน) ในขณะที่บางรายงานระบุเขาเป็นชาวคริสต์[32] เขาเป็นช่างไม้และช่างตีเหล็กที่มีทักษะสูง[33] และน่าจะถูกเจ้านาย อัลมุฆีเราะฮ์ จับเป็นเชลยในยุทธการที่แนฮอแวนด์ (ค.ศ. 642) และภายหลังนำเขาไปที่อาระเบีย ซึ่งเขาอาจเข้ารับอิสลาม[34] ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าเขาถูกอัลมุฆีเราะฮ์จับเป็นเชลยในยุทธการที่อัลกอดิซียะฮ์ (ค.ศ. 636) หรือเขาถูกโฮร์มูซอน อดีตนายทหารซาเซเนียนที่ทำงานเป็นที่ปรึกษาแก่อุมัรหลังตนเองถูกมุสลิมจับกุม ขายให้กับอัลมุฆีเราะฮ์[35] แม้ว่าในรัชสมัยอุมัรจะห้ามพวกอะญัม (ผู้ไม่ใช่อาหรับ) เข้าข้างในมะดีนะฮ์ อะบูลุอ์ลุอะฮ์ได้รับข้อยกเว้น เนื่องจากอัลมุฆีเราะฮ์ส่งเขาไปรับใช้เคาะลีฟะฮ์[36]

เมื่ออัลมุฆีเราะฮ์บังคับให้อะบูลุอ์ลุอะฮ์จ่ายภาษีเคาะรอจญ์ 2 ดิรฮัมต่อวัน[37] อะบูลุอ์ลุอะฮ์หันไปหาอุมัรเพื่อประท้วงต่อภาษีนี้ แต่อุมัรปฏิเสธที่จะยกเลิกภาษีนี้ ทำให้อะบูลุอ์ลุอะฮ์เกิดความแค้น[38] ถึงแม้ว่านี่จะเป็นเหตุผลที่ปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ในเรื่องการลอบสังหารอุมัรของอะบูลุอ์ลุอะฮ์[39] นโยบายอันเป็นอคติของอุมัรต่อเชลยที่ไม่ใช่ชาวอาหรับอาจมีส่วนสำคัญด้วย[40] วันหนึ่ง เมืองอุมัรกำลังนำละหมาดหมู่ในมัสยิดอันนะบะวี อะบูลุอ์ลุอะฮ์แทงพระองค์ด้วยดาบสั้นสองใบมีด[41] มีรายงานเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลายฉบับ: ในฉบับหนึ่ง เขาฆ่า Kulayb ibn al-Bukayr al-Laythi ที่ละหมาดหลังอุมัร[42] ในขณะที่อีกข้อมูลหนึ่งระบุว่า เขาแทงคนที่เข้ามาขัดขวาง 13 คน[43] บางรายงานระบุว่า เคาะลีฟะฮ์สวรรคตในวันเดียวกัน ในขณะที่บางรายงานระบุว่าพระองค์สวรรคตในสามวันถัดมา[33] ในกรณีใดก็ตาม อุมัรสวรรคตจากบาดแผลในวันพุธที่ 26 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ ฮ.ศ. 23 (6 พฤศจิกายน ค.ศ. 644 ตามปฏิทินกริกอเรียน)[44]

อุมัรถูกฝังใต้โดมเขียวที่มัสยิดอันนะบะวีร่วมกับมุฮัมมัดกับเคาะลีฟะฮ์ อะบูบักร์ โดยได้รับอนุญาตจากอาอิชะฮ์ที่ให้แก่โอรสของพระองค์ อับดุลลอฮ์ อิบน์ อุมัร ตามคำขอของอุมัร[45]

ผลที่ตามมา

หลักฐานทางโบราณคดี

ข้อความบนศิลาจารึกที่เชื่อว่าเป็นลายเซ็นของอุมัร

ใน ค.ศ. 2012 มีผู้พบศิลาจารึกที่ al-Murakkab (ซาอุดีอาระเบีย) ซึ่งมีลายเซ็นที่เชื่อว่าเป็นของอุมัร[46]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง