บรินด์ซา

บรินด์ซา (สโลวัก: bryndza; จากโรมาเนีย: brânză ว่า "เนยแข็ง") เป็นเนยแข็งนมแกะที่มีผลิตทั่วไปในภูมิภาคยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง โดยเฉพาะในแถบเทือกเขาคาร์เพเทียนของประเทศสโลวาเกีย, ยูเครน, โรมาเนีย และทางใต้ของโปแลนด์[1] บรินด์ซาเป็นเนยแข็งลักษณะครีมสีขาว มีลักษณะเด่นอยู่ที่กลิ่นและรสที่แรง ลักษณะของเนยแข็งมีความชุ่มเล็กน้อย แตกง่าย และมีรสเข้มข้น กลิ่นและรสของเนยแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ส่วนใหญ่มาจากกรดบิวทีริก รสโดยรวมของเนยแข็งเริ่มต้นที่รสอ่อน ๆ แล้วแรงขึ้น และจบลงที่รสเค็มปลาย ๆ สูตรการทำแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศและพื้นที่

บรินด์ซา
เขตยุโรปกลางและตะวันออก[1]
นมแกะ
พาสเจอไรส์ไม่
เนื้อสัมผัสแล้วแต่ชนิด
ไขมันแล้วแต่ชนิด
การรับรองบรินด์ซาปอตฮาแล: การตั้งชื่อจากแหล่งกำเนิดที่ได้รับการคุ้มครอง[2]
บรินด์ซาสโลวัก: สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการคุ้มครอง[3]
สื่อที่เกี่ยวข้องที่คอมมอนส์

ศัพทมูลวิทยา

bryndza หรือ brynza ซึ่งยืมมาจากคำในภาษาโรมาเนียว่า brânză [ˈbrɨnzə] ("เนยแข็ง") นั้นเป็นคำที่มีใช้ในหลายประเทศในยุโรป[4] เนื่องจากชาววลากได้อพยพไปทั่วยุโรปและนำคำนี้เข้าไปเผยแพร่ ถึงแม้คำว่า brânză จะเป็นคำเรียกเนยแข็งในภาษาโรมาเนีย[5] แต่ก็ไม่ได้หมายถึงเนยแข็งชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง สันนิษฐานกันว่าภาษาโรมาเนียน่าจะรับคำนี้สืบทอดมาจากภาษาเดเชีย[6][7] ซึ่งเป็นภาษาของประชากรยุคก่อนโรมันในบริเวณที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศโรมาเนีย นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าคำนี้ยืมมาจากคำในภาษาแอลเบเนียว่า brëndës ("กระเพาะ") เดิมทีคำนี้หมายถึงเนยแข็งที่บ่มในกระเพาะของแกะโดยการทำปฏิกิริยากับเรนนิตในกระเพาะของแกะ[8] นอกจากนี้เนยแข็งนี้ยังเป็นที่นิยมในประเทศเช็กเกียในชื่อ brynza พจนานุกรมอรรถาธิบายภาษาโรมาเนีย (Dicționar explicativ al limbii române) ระบุรากศัพท์ของคำ brânză ไว้ว่า "ไม่ทราบที่มา"[9]

ชื่อท้องถิ่นชื่ออื่น ๆ ที่พบยังรวมถึง brenca ในภาษาเซอร์เบีย; ברינזע ในภาษายิดดิช;[10] бринза และ бринзя ในภาษายูเครน; Brimsen ในภาษาเยอรมัน; брынза ในภาษารัสเซีย; และ juhtúró ในภาษาฮังการี

ประวัติศาสตร์

คำนี้ได้รับการบันทึกไว้เป็นครั้งแรกในเมืองดูบรอฟนีกของโครเอเชียใน ค.ศ. 1370 ในรูปสะกด brençe ซึ่งมีคำบรรยายไว้ว่าหมายถึง "เนยแข็งวลาก" ส่วนรูปสะกด bryndza ปรากฏบันทึกครั้งแรกในราชอาณาจักรฮังการีใน ค.ศ. 1470 และในภูมิภาคปอตคาแลของโปแลนด์ที่อยู่ติดกันใน ค.ศ. 1527[11]ในสโลวาเกียถือว่า bryndza เป็นผลิตภัณฑ์ของสโลวาเกีย และเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำหรับอาหารประจำชาติอย่างบรินด์ซอเวฮาลุชกี ส่วนบรินด์ซาแบบทาที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบันนั้นเข้าใจว่าพัฒนาขึ้นโดยนักธุรกิจจากสตาราตูราในสโลวาเกียตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 18[12]

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

  • บรินด์ซาสโลวัก จากสโลวาเกียได้รับการขึ้น ทะเบียนการตั้งชื่อจากแหล่งกำเนิดที่ได้รับการคุ้มครองและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการคุ้มครอง ของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2008[3] ในฐานะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการคุ้มครอง (Protected Geographical Indication) หลังจากที่ได้ขอขึ้นทะเบียนในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2007[13] บรินด์ซาสโลวักต้องมีส่วนประกอบเป็นนมแกะอย่างน้อยร้อยละ 50
  • บรินด์ซาปอตฮาแล จากโปแลนด์ได้รับการขึ้น ทะเบียนการตั้งชื่อจากแหล่งกำเนิดที่ได้รับการคุ้มครองและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการคุ้มครอง ของสหภาพยุโรปเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2007[2] ในฐานะการตั้งชื่อจากแหล่งกำเนิดที่ได้รับการคุ้มครอง (Protected Designation of Origin)[14]

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง