ปลาแซลมอน

ปลาแซลมอน (อังกฤษ: Salmon อ่านว่า /ˈsæmən/ )เป็นชื่อสามัญของปลาที่มีก้านครีบหลายสปีชีส์ในวงศ์ Salmonidae (วงศ์ปลาแซลมอน)ปลาอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกันรวมทั้งปลาเทราต์ (trout), ปลาชาร์, ปลาสกุล Thymallus และปลาในวงศ์ย่อย Coregoninae คือ freshwater whitefishเป็นปลาที่กระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกเหนือ คือ อเมริกาเหนือ, อะแลสกา, ไซบีเรีย, ยุโรปเหนือ, เอเชียเหนือ และเอเชียตะวันออก[1]ปลาแซลมอนเป็นปลาท้องถิ่นของแม่น้ำต่าง ๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ (สกุล Salmo) และในมหาสมุทรแปซิฟิก (สกุล Oncorhynchus)ปลาหลายสปีชีส์ได้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำซึ่งไม่ใช่ที่อยู่เดิมต่าง ๆ รวมทั้งเกรตเลกส์ในอเมริกาเหนือและปาตาโกเนียในอเมริกาใต้ปลาเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในฟารม์ทั่วโลก

ปลาแซลมอน
(Salmon)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์Edit this classification
โดเมน:ยูแคริโอตา
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ:Salmoniformes
วงศ์:วงศ์ปลาแซลมอน
วงศ์ย่อย:วงศ์ปลาแซลมอน
กลุ่มที่รวมอยู่ด้วย
หน่วยที่รวมโดยแคลดิสติกส์แต่ไม่รวมโดยดั้งเดิม

สปีชีส์ Oncorhynchus และ Salmo อื่น ๆ ทั้งหมด

ปลาผสมพันธุ์ในน้ำจืดแต่ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มีปลาเพียงส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ[1]ปกติแล้วปลาจะว่ายจากทะเลสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ (anadromous) คือลูกปลาจะออกจากไข่ในน้ำจืด อพยพไปอยู่ในมหาสมุทร แล้วกลับไปยังน้ำจืดเพื่อสืบพันธุ์แต่ก็มีกลุ่มประชากรของปลาหลายสปีชีส์ที่อยู่ในน้ำจืดตลอดชีวิตนิทานพื้นบ้านเล่าว่าปลาจะกลับไปสู่จุดที่มันออกจากไข่เพื่อวางไข่และงานศึกษาติดตามปลาก็พบว่านี้จริงโดยมากปลาส่วนหนึ่งในช่วงวางไข่ (salmon run) อาจหลงไปยังย่านน้ำจืดอื่นเพื่อวางไข่เปอร์เซ็นต์ที่หลงขึ้นอยู่กับพันธุ์แซลมอน[2] พฤติกรรมว่ายกลับบ้านปรากฏว่าอาศัยความจำเกี่ยวกับกลิ่น[3][4] (ซึ่งอาจเป็นกลิ่นเฉพาะของแม่น้ำที่เกิด[1]) ปลามีมาตั้งแต่ยุคนีโอจีน[ต้องการอ้างอิง]

คำว่า "แซลมอน" มาจากคำภาษาละตินว่า salmo ซึ่งก็อาจมาจากคำว่า salire ซึ่งแปลว่า "กระโดด"[5]

ลักษณะ

ส่วนมากลำตัวมีสีเงินวาว มีจุดสีดำที่บริเวณด้านบนของลำตัวเหนือเส้นข้างลำตัว ลักษณะอย่างอื่นคล้ายปลาทั่วไปไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายนอกหรือลักษณะภายใน

สปีชีส์

สปีชีส์สำคัญทางเศรษฐกิจ 9 สปีชีส์อยู่ในสองสกุลสกุล Salmo รวมปลาแซลมอนแอตแลนติก ซึ่งพบในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ โดยมีปลาหลายพันธุ์ที่มีชื่อสามัญว่า ปลาเทราต์ส่วนสกุล Oncorhynchus มีสปีชีส์ 8 สปีชีส์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเท่านั้นโดยรวมเรียกว่าปลาแซลมอนแปซิฟิกส่วนปลาแซลมอนชินูกซึ่งเป็นปลาท้องถิ่นแปซิฟิกตอนเหนือได้นำไปปล่อยในทั้งประเทศนิวซีแลนด์และปาตาโกเนียในซีกโลกใต้อนึ่ง ปลาแซลมอนโคโฮ (Oncorhynchus kisutch) ปลาแซลมอนซ็อกอายซึ่งเป็นปลาน้ำจืด และปลาแซลมอนแอตแลนติกก็นำไปปล่อยที่ปาตาโกเนียเช่นกัน[6]

ปลาแซลมอนแอตแลนติกและแปซิฟิก
สกุลภาพชื่อสามัญชื่อวิทยาศาสตร์ยาวสุด
(ซม.)
ยาวปกติ
(ซม.)
หนักสุด
(กก.)
อายุมากสุด (ปี)ระดับ
ในโซ่อาหาร
Fish
Base
FAOITISสถานะ IUCN
Salmo
(ปลาแซลมอนแอตแลนติก)
ปลาแซลมอนแอตแลนติกSalmo salar (Linnaeus, 1758)15012046.8134.4[7][8][9] Least concern[10]
Oncorhynchus
(ปลาแซลมอนแปซิฟิก)
ปลาแซลมอนชินูกOncorhynchus tshawytscha (Walbaum, 1792)1507061.494.4[11][12][13]Not assessed
ปลาแซลมอนชัม (Chum salmon)Oncorhynchus keta (Walbaum, 1792)1005815.973.5[14][15][16]Not assessed
ปลาแซลมอนโคโฮ (Coho salmon)Oncorhynchus kisutch (Walbaum, 1792)1087115.254.2[17][18][19]Not assessed
ปลาแซลมอนมาซู (Masu salmon)Oncorhynchus masou (Brevoort, 1856)7910.033.6[20][21]Not assessed
ปลาแซลมอนชมพู (Pink salmon)Oncorhynchus gorbuscha (Walbaum, 1792)76506.834.2[22][23][24]Not assessed
ปลาแซลมอนซ็อกอายOncorhynchus nerka (Walbaum, 1792)84587.783.7[25][26][27] Least concern[28]

   ทั้งสกุล Salmo และ Oncorhynchus ต่างก็มีสปีชีส์จำนวนหนึ่งที่เรียกว่าปลาเทราต์ในสกุล Salmo ยังมีสปีชีส์มีประชากรน้อยอื่น ๆ ที่เรียกว่าแซลมอนในภาษาอังกฤษ คือ Adriatic salmon (Salmo obtusirostris) และ Black Sea salmon (Salmo labrax)มีปลาสตีลเฮด (ปลาเรนโบว์เทราต์ สกุล Oncorhynchus) ที่ว่ายจากทะเลสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่แล้วอพยพไปสู่ทะเล แต่ก็ไม่เรียกว่าแซลมอน

ยังมีสปีชีส์อื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่ปลาแซลมอนพันธุ์แท้เหมือนกับในรายการที่ผ่านมา แต่ก็มีชื่อสามัญเป็นแซลมอนเหมือนกันในบรรดารายการต่อไปนี้ มีแต่ปลาแซลมอนดานูบหรือ huchen (Hucho hucho) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาแซลมอนเท่านั้นที่เป็นเครือญาติ แต่ปลาทะเลอื่น ๆ อยู่ในอันดับปลากะพงซึ่งไม่เกี่ยวกัน

ปลาอื่น ๆ ที่เรียกว่าแซลมอน
ชื่อสามัญชื่อวิทยาศาสตร์ยาวสุด
(ซม.)
ยาวปกติ
(ซม.)
หนักสุด
(กก.)
อายุมากสุด (ปี)ระดับ
ในโซ่อาหาร
Fish
Base
FAOITISสถานะ IUCN
ปลาแซลมอนออสเตรเลีย (Australian salmon)Arripis trutta (Forster, 1801)89479.4264.1[29][30]Not assessed
ปลาแซลมอนดานูบ (Danube salmon)Hucho hucho (Linnaeus, 1758)1507052154.2[31][32] Endangered[33]
ปลาแซลมอนฮาวาย (Hawaiian salmon)Elagatis bipinnulata (Quoy & Gaimard, 1825)1809046.23.6[34][35][36]Not assessed
ปลากุเราสี่หนวด (Indian salmon)Eleutheronema tetradactylum (Shaw, 1804)200501454.4[37][38]Not assessed

Eosalmo driftwoodensis เป็นปลาแซลมอนเก่าแก่ที่สุดตามหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ และช่วยนักวิทยาศาสตร์ให้รู้ว่า ปลาแซลมอนสปีชีส์ต่าง ๆ วิวัฒนาการแยกออกจากบรรพบุรุษเดียวกันอย่างไรซากดึกดำบรรพ์แซลมอนในรัฐบริติชโคลัมเบียได้ให้หลักฐานว่า ปลาแซลมอนแปซิฟิกและแอตแลนติกยังไม่ได้แยกสายพันธุ์ออกจากกันเมื่อ 40 ล้านปีก่อนทั้งหลักฐานทางซากดึกดำบรรรพ์และทางดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียบ่งว่า การแยกสายพันธุ์เกิดเมื่อ 10-20 ล้านปีก่อนซึ่งแสดงว่า การแยกสายพันธุ์เกิดก่อนธารน้ำแข็งจะเริ่มขยายและหดถอยในสมัย Quaternary glaciation[39]

การกระจายตัว

ปลาแซลมอนแปซิฟิกกระโดดขึ้นแถวน้ำตกในรัฐออริกอน
การจับปลา/เลี้ยงปลาแซลมอนเพื่อการพาณิชย์เป็นล้านตันระหว่างปี 1950-2010[40]
ปลาแซลมอนแอตแลนติก Salmo salar
  • ปลาแซลมอนแอตแลนติก (Salmo salar) สืบพันธุ์ในแม่น้ำของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือทั้งสองชายฝั่ง
    • ปลาแซลมอน Salmo salar m. sebago ซึ่งอยู่ในแหล่งน้ำที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในทะเลสาบจำนวนหนึ่งในอเมริกาเหนือตะวันออกและยุโรปเหนือ เช่นทะเลสาบ Sebago, โอเนกา, โดกา, Saimaa, แวแนร์น และ Winnipesaukee เป็นปลาไม่ต่างพันธุ์กับปลาแซลมอนแอตแลนติก แต่ก็มีวงจรชีวิตต่างหากที่ไม่มีการย้ายถิ่น ซึ่งก็ยังคงเป็นเช่นนั้นแม้เมื่อสามารถเข้าไปในมหาสมุทรได้
  • ปลาแซลมอนชินูก (Oncorhynchus tshawytscha) ซึ่งเรียกในสหรัฐว่า king salmon หรือ blackmouth salmon และเรียกในรัฐบริติชโคลัมเบียว่า spring salmon เป็นปลาแซลมอนแปซิฟิกที่ใหญ่สุด บ่อยครั้งหนักกว่า 13.6 กก..[41] ชื่อว่า tyee จะใช้หมายถึงปลาที่หนักกว่า 13.6 กก. ในบริติชโคลัมเบียและในบริเวณลุ่มน้ำของแม่น้ำโคลัมเบีย โดยปลาที่ใหญ่มากเคยเรียกว่า June hogs ปลาอาจไปไกลทางทิศเหนือจนถึงแม่น้ำแมกเคนซี (ในนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์) และหมู่บ้าน Kugluktuk ที่ปากแม่น้ำ Coppermine ในนูนาวุตซึ่งอยู่ในเขตอาร์กติก[42] และทางทิศใต้จนถึงชายฝั่งแคลิฟอร์เนียส่วนกลาง[43]
  • ปลาแซลมอนชัม (Chum salmon, Oncorhynchus keta) หรือในสหรัฐบางแห่งอาจเรียกว่า dog salmon, keta salmon หรือ calico salmon สปีชีส์นี้อยู่ในเขตภูมิภาคกว้างขวางที่สุดในบรรดาปลาแซลมอนแปซิฟิก[44] คือ ทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่ทิศเหนือของแม่น้ำแมกเคนซีในแคนาดา (เหนือ) จนถึงทิศใต้ของแม่น้ำแซคราเมนโตในแคลิฟอร์เนีย (ใต้) และทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่แม่น้ำลีนาในไซบีเรีย (เหนือ) จนถึงเกาะคีวชูในทะเลญี่ปุ่น (ใต้)
  • ปลาแซลมอนโคโฮ (Coho salmon, Oncorhynchus kisutch) หรือเรียกในสหรัฐว่า silver salmon สปีชีส์นี้พบในตอนเหนือทั่วชายฝั่งของรัฐอะแลสกา (สหรัฐ) และรัฐบริติชโคลัมเบีย (แคนาดา) จนถึงในตอนใต้คืออ่าวมอนเตอเรย์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย (สหรัฐ) ตอนกลาง[45] แต่ก็พบเป็นบางครั้งบางคราวในแม่น้ำแมกเคนซีด้วย[42]
  • ปลาแซลมอนมาซู (Masu salmon) หรือปลาแซลมอนเชอร์รี่ (cherry salmon, Oncorhynchus masou) พบแต่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในญี่ปุ่น เกาหลี และรัสเซีย ส่วนสปีชีส์ย่อยที่อยู่ในน้ำซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเลที่เรียกว่า ปลาแซลมอนไต้หวัน (Taiwanese salmon) หรือปลาแซลมอนฟอร์โมซา (Formosan salmon, Oncorhynchus masou formosanus) จะพบในไต้หวันตอนกลางในย่านน้ำ Chi Chia Wan Stream[46]
  • ปลาแซลมอนชมพู (Pink salmon, Oncorhynchus gorbuscha) หรือเรียกว่า humpies ในรัฐอะแลสกาภาคใต้ พบในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตั้งแต่แม่น้ำลีนาในไซบีเรียจนถึงเกาหลี พบทั่วไปในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ และพบในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกตั้งแต่แม่น้ำแมกเคนซีในแคนาดา[42] จนถึงแคลิฟอร์เนียภาคเหนือ โดยปกติพบในสายน้ำลงไปถึงฝั่งทะเลโดยเป็นสายที่สั้น ๆ กว่า เป็นปลาเล็กที่สุดในบรรดาสปีชีส์แปซิฟิก โดยหนักเฉลี่ยที่ 1.6-1.8 กก.[47]
  • ปลาแซลมอนซ็อกอาย (Oncorhynchus nerka) โดยเรียกในสหรัฐว่า red salmon[48] สปีชีส์ที่โตขึ้นในทะเลเสาบนี้ พบในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกตั้งแต่ Bathurst Inlet ในแคนาดาเหนือจนถึงแม่น้ำคลาแมท (Klamath River) ในแคลิฟอร์เนีย และในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตั้งแต่ Anadyr River ในไซบีเรียจนถึงเกาะฮกไกโดในญี่ปุ่น แม้ปลาแซลมอนแปซิฟิกที่โตแล้วโดยมากจะกินปลา กุ้ง และหมึกเล็ก ๆ แต่ปลาแซลมอนซ็อกอายก็กินแพลงก์ตอนที่กรองด้วยเหงือก (ที่เรียกว่า gill raker)[49] ปลาแซลมอนโคคานี (Kokanee salmon) เป็นรูปแบบปลาแซลมอนซ็อกอายซึ่งอยู่ในน้ำซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล
  • ปลาแซลมอนดานูบ (Danube salmon) หรือ huchen (Hucho hucho) เป็นปลาแซลมอนน้ำจืดที่ใหญ่สุด

วงจรชีวิต

วงจรชีวิตของปลาแซลมอนแปซิฟิก
ไข่ในพัฒนาการระยะต่าง ๆ - ในปลาบางพวก มีเซลล์ไม่กี่เซลล์ที่โตขึ้นบนไข่แดง ในภาพล่างขวา เส้นเลือดได้ล้อมไข่แดง ในภาพบนซ้าย ตาสีดำมองเห็นได้พร้อมกับเลนส์เล็ก ๆ
ลูกปลาแซลมอนซึ่งจะโตอาศัยไข่แดงที่เหลือ ที่เห็นก็คือเส้นเลือดที่ล้อมไข่แดงและหยดไขมันเล็ก ๆ ไส้ปลา กระดูกสันหลัง เส้นเลือดหลักที่หาง กระเพาะปลา และ gill arches

ปลาวางไข่ในน้ำจืดปกติที่เส้นละติจูดค่อนข้างสูงลูกปลา (alevin, sac fry) จะออกมาจากไข่ซึ่งจะพัฒนาอย่างรวดเร็วเป็น parr ซึ่งประกอบด้วยลายแนวตั้งเพื่อพรางตัวโดยอยู่ในน้ำที่เกิดเป็นเวลา 6 เดือนถึง 3 ปี ก่อนจะกลายเป็น smolt ซึ่งต่างโดยสีเงินเลื่อมพรายและเกล็ดที่หลุดออกง่ายจากไข่จนถึงระยะนี้ ประเมินว่ามีปลาเพียงแค่ 10% ที่รอดมาได้[50]ระบบเคมีในร่างกายของ smolt จะเปลี่ยนไปทำให้ปลาสามารถอยู่ในน้ำเค็มได้แม้จะมีสปีชีส์ปลาแซลมอนบ้างที่อยู่ในน้ำจืดตลอดชีวิต แต่ส่วนมากก็ออกสู่ทะเลในสปีชีส์ส่วนมากนี้ smolt จะใช้เวลาอยู่กับน้ำกร่อยในที่ที่ระบบเคมีในร่างกายจะปรับตัวให้เข้ากับระบบปรับความดันออสโมซิส (osmoregulation) ที่จะใช้ในทะเล

เมื่อออกจากไข่ลูกปลาแซลมอนก็จะอพยพไปสู่มหาสมุทรซึ่งเป็นแหล่งอาหารและเจริญเติบโต[1]ปลาจะใช้เวลา 1-5 ปี ขึ้นอยู่กับสปีชีส์ในทะเล โดยจะพัฒนาทางเพศอย่างสมบูรณ์ปลาที่โตแล้วจะกลับไปยังย่านน้ำที่เกิดโดยหลักเพื่อวางไข่ปลาแซลมอนแอตแลนติกใช้เวลา 1-4 ปีในทะเลถ้าปลากลับไปยังย่านน้ำที่เกิดหลังจากอยู่ในทะเลแค่ปีเดียว มันจะเรียกว่า grilse ในแคนาดา บริเตน และไอร์แลนด์grilse อาจมีอยู่ในช่วงการวางไข่ แต่ปลาตัวผู้ตัวใหญ่อาจจะไม่สนใจ แม้ก็จะปล่อยตัวอสุจิที่ไข่เหมือนกัน[51][ต้องการเลขหน้า]

ก่อนจะไปวางไข่ ปลาแซลมอนอาจจะเปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับสปีชีส์ปลาจอาจจะเกิดโหนก เกิดฟันคล้ายของสุนัข หรือเกิด kype คือขากรรไกของตัวผู้จะเกิดแนวโค้งอย่างเห็นได้ชัดทั้งหมดจะเปลี่ยนจากสีเงินออกน้ำเงิน ๆ กลายเป็นสีที่เข้มกว่า

ปลาแซลมอนวางไข่ในทะเลสาบน้ำจืดหรือแม่น้ำที่มีปริมาณออกซิเจนสูงสิ่งที่นำทางปลาแซลมอนให้กลับมาวางไข่ได้ถูกต้อง อาจเป็นกลิ่นเฉพาะแม่น้ำที่เกิด ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ากลิ่นมีคุณสมบัติทางเคมีเช่นไร และก็ยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าปลาแซลมอนหาทางมายังปากน้ำได้อย่างไรโดยไม่มีเครื่องหมายใด ๆ เพื่อนำทางมาจากทะเล การทดลองให้ข้อคิดว่า ปลาโตเต็มวัยอาจได้เครื่องนำทางเป็นปรากฏการณ์บนท้องฟ้าเช่น ดวงดาว ทิศทางและตำแหน่งของพระอาทิตย์เป็นต้น ในกรณีนี้ปลาแซลมอนอาจสามารถจับเวลาเสมือนหนึ่งเป็นนาฬิกาชีวภาพดังที่พบในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ[1][ลิงก์เสีย]

ปลาอาจจะต้องผ่านการเดินทางที่น่าอัศจรรย์ บางครั้งเดินทางเป็นร้อย ๆ กิโลเมตรทวนกระแสน้ำเชี่ยวเพื่อจะได้ผสมพันธุ์เช่น ปลาแซลมอนชินูกและแซลมอนซ็อกอายจากรัฐไอดาโฮจะต้องเดินทางถึง 1,400 กม. และว่ายขึ้นสูง 2.1 กม.จากมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อกลับไปสู่บ้านเกิดเพื่อวางไข่

ปลายิ่งอยู่ในน้ำจืดนานเท่าไร สภาพของปลาก็มักจะแย่ลงมากเท่านั้น และจะแย่ลงอีกหลังวางไข่ ซึ่งตอนนี้จะเรียกว่า keltปลาแซลมอนแปซิฟิกทุกสปีชีส์จะตายภายในไม่กี่วันหลังวางไข่ เป็นการสืบพันธุ์ครั้งเดียวในชีวิต (semelparity)ส่วน kelt ของปลาแซลมอนแอตแลนติกประมาณ 2-4% จะรอดชีวิตไปวางไข่อีกโดยทั้งหมดเป็นตัวเมียถึงกระนั้น แม้ในสปีชีส์ที่รอดชีวิตไปวางไข่เกินกว่าครั้ง โดยเป็นวิธีการสืบพันธุ์ที่เรียกว่า iteroparity อัตราการตายหลังวางไข่ก็สูงมากโดยอาจถึง 40-50%

เพื่อจะวางไข่ ปลาแซลมอนตัวเมียจะใช้ครีบหางสร้างโซนที่มีแรงดันต่ำ คุ้ยก้อนกรวดให้กระจายไหลไปตามน้ำ โดยขุดเป็นแอ่งตื้น ๆ ที่เรียกว่า redd (รังวางไข่)ซึ่งบางครั้งมีไข่ถึง 5,000 ฟองในพื้นที่ 2.8 ตร.ม.[52]ไข่มักจะมีสีตั้งแต่ส้มจนถึงแดงตัวผู้หนึ่งตัวหรือมากกว่านั้นจะเข้ามาหาตัวเมียแล้วปล่อยตัวอสุจิ (sperm, milt) มาปฏิสนธิกับไข่[49]ตัวเมียก็จะกลบไข่โดยคุ้ยกรวดทรายเหนือน้ำ (เพื่อไม่ให้ไข่ถูกกระแสน้ำพัดพาไป[1]) แล้วก็จะไปทำรังวางไข่อีกที่หนึ่งซึ่งอาจทำมากถึง 7 แห่งก่อนจะหมดไข่[49]

ในแต่ละปี ปลาจะโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะหนึ่งบ่อยครั้งในฤดูร้อน และโตอย่างช้า ๆ อีกช่วงระยะหนึ่งปกติในฤดูหนาวซึ่งก่อวงรอบ ๆ กระดูกหูซึ่งเรียกว่า otolith (annuli) คล้ายกับวงที่พบในเนื้อไม้ การเติบโตในน้ำจืดจะเป็นวงที่ต่อ ๆ กันอย่างแน่น การเติบโตในทะเลจะเป็นวงที่ห่าง ๆ กันช่วงวางไข่จะเห็นเป็นเส้นที่แปลกไปจากเส้นรอบ ๆ อย่างมากเพราะมวลร่างกายต้องแปลงเป็นไข่และตัวอสุจิ

ธารน้ำจืดและบริเวณน้ำกร่อย/ชะวากทะเล (estuaries) เป็นแหล่งที่อยู่สำคัญของแซลมอนหลายสปีชีส์โดยกินแมลงบก, แมลงน้ำ, amphipod และสัตว์พวกกุ้งกั้งปูเมื่อยังเล็ก และกินปลาอื่น ๆ โดยหลักเมื่อโตขึ้นไข่จะวางในน้ำที่ลึกกว่าที่มีกรวดใหญ่กว่า ต้องได้น้ำเย็นและกระแสน้ำที่ดี (เพื่อให้ออกซิเจน) สำหรับตัวอ่อนที่กำลังพัฒนาอัตราการตายของปลาในต้น ๆ ชีวิตปกติสูงเพราะสัตว์ล่าเยื่อและการเปลี่ยนแปลงที่อยู่เนื่องกับกิจกรรมมนุษย์ เช่น การทับถมของดินและตะกอน อุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้น ความเข้มข้นออกซิเจนน้อย ย่านน้ำลดลง และกระแสน้ำลดลงบริเวณน้ำกร่อย/ชะวากทะเล (estuaries) และพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งเติบโตที่ขาดไม่ได้สำหรับปลาก่อนออกสู่ทะเลพื้นที่ชุ่มน้ำไม่เพียงแต่ช่วยกันชะวากทะเลจากดินตะกอนและมลพิษ แต่ยังเป็นบริเวณหากินและซ่อนตัวของปลาด้วย

ปลาที่ไม่ได้ตายเพราะเหตุอื่น ๆ จะโทรมลงอย่างรวดเร็ว (เป็นปรากฏการณ์ phenoptosis หรือ "programmed aging") เมื่อถึงบั้นปลายชีวิตร่างกายจะเสื่อมอย่างรวดเร็วหลังวางไข่เพราะหลั่งคอร์ติโคสตีรอยด์ (corticosteroid) ออกอย่างมหาศาล

ไข่

ไข่ (Eggs) เริ่มต้นที่ปลาแซลมอนตัวเมีย ไปวางไข่ไว้ที่ก้อนกรวดในแหล่งน้ำจืด โดยมันจะใช้หางขุดก้อนกรวดเป็นหลุมเพื่อวางไข่ ส่วนปลาแซลมอนตัวผู้จะคอยอยู่ข้าง ๆ ตัวเมียเสมอ เพื่อคอยระวังอันตรายและปล่อยตัวอสุจิให้ปฏิสนธิกับไข่ พวกมันจะทำรังสำหรับวางไข่เป็นจำนวนมาก ปลาแซลมอนตัวเมียจะวางไข่ทีละ 2,000 ถึง 10,000 ฟอง แล้วแต่สายพันธุ์ ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายหลังวางไข่เป็นเวลาประมาณ 3-4 เดือน[53]

ตัวอ่อน

ตัวอ่อน (Alevin) ปลาที่เพิ่งฟักออกจากไข่จะเรียกว่า “ตัวอ่อน” ตัวอ่อนของแซลมอนไม่สามารถว่ายน้ำได้ ทำได้แค่เพียงใช้หางสะบัดเพื่อเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ลูกรังที่มันอยู่เท่านั้น ตัวอ่อนที่เพิ่งฟักออกมานั้นยาวเพียงแค่นิ้วครึ่ง นอกจากนั้นแต่ละตัวยังจะมีถุงไข่ติดอยู่ด้วย[53]

ลูกอ่อน

ลูกอ่อน (Fry) เมื่อตัวอ่อนได้รับอาหารจากถุงไข่ทำให้มันมองดูคล้ายปลาแซลมอนตัวเล็ก ๆ ระยะนี้จะเรียกว่า “ลูกอ่อน” ระยะเวลาของการเป็นลูกอ่อนนี้จะแตกต่างกันไปแล้วแต่สายพันธุ์ ชีนุค เริ่มว่ายน้ำกลับสู่ทะเลแล้ว ในขณะที่ สายพันธ์ โคโฮ จะใช้เวลาอยู่ในแหล่งน้ำจืดนานเป็นปีก่อนว่ายสู่ทะเล มีปลาแซลมอนบางตัวใช้ชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำจืดที่มันเกิดเป็นเวลานานกว่า 3 ปี จึงว่ายลงไปสู่ทะเล[53]

ลูกปลาแซลมอน

ลูกปลาแซลมอน (Smolt) ปลาแซลมอนที่อยู่ในระยะนี้จะออกจากแหล่งน้ำจืดและมุ่งสู่ทะเล โดยมากแล้วจะเป็นปลาที่มีอายุประมาณ 2 ปี ความยาวมากกว่า 5 นิ้ว ปลาแซลมอนในระยะนี้จะมีลำตัวออกสีเงิน ปลาแซลมอนในระยะนี้จะใช้เวลาส่วนมากอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่น้ำจืดและน้ำเค็มต่อกัน ในขณะที่มันกำลังปรับตัวเข้าสู่น้ำเค็ม บริเวณปากแม่น้ำนี้สำคัญต่อปลาแซลมอนมากเนื่องจากเป็นแหล่งอาหารสำคัญเพื่อการเจริญเติบโต[1]

ตัวเต็มวัย

ตัวเต็มวัย (Adult salmon) ปลาจะถือว่าเต็มวัยก็ต่อเมื่อมันกลับสู่ท้องทะเลเรียบร้อยแล้ว พวกมันจะใช้เวลาอยู่ในท้องทะเลตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี อาหารของปลาแซลมอนก็ได้แก่ กุ้ง ปลาหมึก และปลาตัวเล็ก ๆ ปลาแซลมอนจะอยู่ในท้องทะเลห่างจากแหล่งน้ำจืดที่มันเกิดเป็นระยะทางกว่า 2,000 ไมล์ และเมื่อมันโตเต็มที่มันก็จะว่ายกลับไปสู่แหล่งน้ำจืดอีกครั้งเพื่อวางไข่[53]

วางไข่

วางไข่ (Spawning) เมื่อปลาแซลมอนว่ายไปสู่แหล่งน้ำจืดเพื่อวางไข่ มันจะหยุดกินอาหาร และมันจะตายภายใน 1 สัปดาห์หลังจากที่วางไข่เรียบร้อยแล้ว ปลาแซลมอนที่ตายไปก็จะกลายเป็นสารอาหารอยู่ในแหล่งน้ำจืดต่อไป[53]

นิเวศวิทยา

ลูกหมีกับปลาแซลมอน

หมีกริซลี

ในสหรัฐเขตแปซิฟิกนอร์ทเวสต์ (Pacific Northwest) และรัฐอะแลสกา ปลาแซลมอนเป็นสปีชีส์สำคัญ (keystone species) ที่เป็นอาหารแก่สัตว์ป่า เช่น นก หมี และนาก[54]ตัวปลาแซลมอนเป็นสื่อส่งสารอาหารจากทะเลที่มีไนโตรเจน กำมะถัน คาร์บอน และฟอสฟอรัสมากไปสู่ระบบนิเวศในป่า

หมีกริซลีมีชีวิตเป็น ecosystem engineer[A]เพราะจับปลาแซลมอนแล้วนำไปสู่ป่าที่อยู่ใกล้ ๆ และทิ้งปัสสาวะ อุจจาระ และซากปลาที่กินไม่หมด ซึ่งล้วนค่อนข้างมีสารอาหารมากประเมินว่า หมีทิ้งปลาแซลมอนเกือบครึ่งที่จับได้ไว้ในป่า[55][56]ซึ่งอาจมากจนถึง 4,000 กก./เฮกตาร์ (0.4 กก./ตร.ม.)[57]ซึ่งให้ไนโตรเจนถึง 24% แก่ป่าที่อยู่ริมน้ำใบไม้ของต้นสนที่ไกลถึง500 เมตรจากลำน้ำที่หมีจับปลาแซลมอนพบว่า มีไนโตรเจนที่มาจากแซลมอน[58]

บีเวอร์

ปลาแซลมอนซ็อกอายกระโดดข้ามเขื่อนบีเวอร์

บีเวอร์ก็มีชีวิตเป็น ecosystem engineer[A] เหมือนกันเพราะมันถางป่าทำเขื่อน จึงเปลี่ยนระบบนิเวศเป็นอย่างมากสระน้ำของบีเวอร์เป็นแหล่งที่อยู่ของลูกปลาที่สำคัญ

ตัวอย่างหนึ่งพบที่ลุ่มน้ำแม่น้ำโคลัมเบียในปีต่อ ๆ มาหลัง ค.ศ. 1818คือในปีนั้น รัฐบาลอังกฤษได้ตกลงกับรัฐบาลสหรัฐอนุญาตให้คนสหรัฐเข้าไปใช้แหล่งน้ำซึ่งอยู่ในแคนาดาที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษได้แต่บริษัทฮัดสันเบย์ (Hudson's Bay Company) กลับส่งข่าวไปยังนายพรานให้จับสัตว์ที่มีขนให้หมดในพื้นที่ เพื่อกันคนค้าขายขนสัตว์จากสหรัฐไม่ให้เข้าไปทำกินผลที่ได้จากการกำจัดบีเวอร์จากแม่น้ำต่าง ๆ เช่นนี้ก็คือจำนวนปลาที่กลับมาวางไข่ได่ลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ที่ปกติสัมพันธ์กับปัญหาปลาขาดแคลนปลาอาจน้อยลงเนื่องกับเขื่อนบีเวอร์ เพราะเขื่อนอาจจะ[59][60][61]

  • ชะลออัตราที่สารอาหารไหลออกจากระบบ คือสารอาหารจากปลาแซลมอนที่ตายตลอดฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวก็ยังเหลือมาถึงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อลูกปลาที่ออกจากไข่
  • ทำให้น้ำไหลช้าลง ลูกปลาจึงสามารถใช้พลังงานเพื่อเติบโตแทนที่จะใช้ว่ายต้านกระแสน้ำ
  • เพิ่มความซับซ้อนในแหล่งที่อยู่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้ลูกปลาสามารถหลีกเลี่ยงสัตว์ล่าเหยื่อได้

เขื่อนบีเวอร์ทำให้ลูกปลาอยู่ได้ในที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึง (tidal marsh) อันเป็นชะวากทะเล (estuaries) ที่มีเกลือน้อยกว่า 10 ppmบีเวอร์สร้างเขื่อนปกติเตี้ยกว่า 60 ซม.แม้น้ำจะสามารถไหลข้ามเขื่อนนี้ได้เมื่อน้ำขึ้นแต่เขื่อนก็เก็บน้ำไว้ได้เมื่อน้ำลงซึ่งให้ที่หลบภัยกับลูกปลาเพราะไม่ต้องว่ายน้ำในกระแสที่ใหญ่กว่าซึ่งตกเป็นเหยื่อได้ง่าย[62]

ปลาแลมป์เพรย์

ปลาแลมป์เพรย์เป็นปลาที่ออกจากไข่ในแม่น้ำแล้วว่ายออกสู่ทะเลอีกประเภทหนึ่ง พบว่า แม่น้ำที่ปลาแลมป์เพรย์ลดจำนวนหรือหายไป ก็จะพบปัญหาเดียวกันกับปลาแซลมอนด้วยเหมือนกับปลาแซลมอน ปลาแลมป์เพรย์จะหยุดกินแล้วตายหลังวางไข่ และตัวที่เน่าจะปล่อยสารอาหารลงในกระแสน้ำอนึ่ง เหมือนกับปลาเรนโบว์เทราต์และ Sacramento sucker (Catostomus occidentalis) ปลาแลมป์เพรย์จะทำความสะอาดกรวดในแม่น้ำเมื่อวางไข่[63]ตัวอ่อนของปลา ซึ่งเรียกว่า ammocoetes เป็นสัตว์ที่กินอาหารแบบกรองน้ำ (filter feeder) ซึ่งทำให้น้ำดีขึ้นและยังเป็นอาหารของลูกปลาแซลมอน อนึ่ง ปลายังอ้วนกว่าและมีไขมันมากกว่า จึงสมมุติว่าสัตว์ล่าเหยื่อจะชอบมันมากกว่าปลาแซลมอน ทำให้ลูกปลาแซลมอนแบบ smolt รอดชีวิตได้มากขึ้น[64]

ปลาแลมป์เพรย์ที่โตแล้วยังเป็นเหยื่อที่ชื่นชอบของแมวน้ำและสิงโตทะเล ซึ่งสามารถกินปลาแลมป์เพรย์ 30 ตัวแทนปลาแซลมอน 1 ตัว ทำให้มีปลาแซลมอนที่โตแล้วจำนวนมากขึ้นกลับคืนเข้าแม่น้ำเพื่อวางไข่โดยไม่ถูกกินก่อน[65][66]

ปรสิต

ตามนักชีววิทยาชาวแคนาดาท่านหนึ่ง (Dorothy Kieser) ปรสิตในชั้น myxozoa คือ Henneguya salminicola จะมีอยู่ในเนื้อปลาแซลมอนอย่างสามัญดังที่พบในตัวอย่างที่ได้จากปลาแซลมอนที่กลับมายังหมู่เกาะไฮดาไกว รัฐบริติชโคลัมเบียปลามีปฏิกิริยาโดยล้อมปรสิตในถุงหุ้ม (cyst) ที่มีน้ำขาว ๆ น้ำนี้แสดงการสะสมปรสิตเป็นจำนวนมาก

Henneguya salminicola เป็นปรสิตชั้น myxozoa ที่มักพบในเนื้อปลาแซลมอนจากแคนาดาฝั่งตะวันตก ภาพนี้แสดงเนื้อปลาแซลมอนโคโฮ

Henneguya และปรสิตอื่น ๆ ในชั้นย่อย myxosporea มีวงจรชีวิตที่ซับซ้อน และแซลมอนเป็นเพียงสัตว์ถูกเบียนอย่างหนึ่งในสองอย่างปลาจะปล่อยสปอร์ของปรสิตออกเมื่อวางไข่ในกรณี Henneguya สปอร์จะเข้าไปในสัตว์ถูกเบียนอย่างที่สองในย่านน้ำที่ปลาวางไข่ โดยมีโอกาสเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมากที่สุดเมื่อปลากำลังอพยพไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก สัตว์ถูกเบียนที่สองก็จะปล่อยปรสิตในรูปแบบที่ปลาติดได้แล้วปลาก็จะเป็นพาหะนำพาปรสิตไปจนกระทั่งถึงเวลาวางไข่ปรสิตชั้นย่อย myxosporea ที่ทำให้เกิดโรค whirling disease (โรคหมุน) ในปลาเทราต์ก็มีวงจรชีวิตคล้าย ๆ กัน[67]โดยเป็นโรคที่ทำให้กระดูกผิดปกติ เกิดปัญหาทางประสาท ทำให้ปลาหมุนตัวรอบ ๆ ไปทางด้านหน้าแทนการว่ายน้ำตามปกติ ทำให้หากินได้ยาก และเสี่ยงต่อสัตว์ล่าเหยื่อยิ่งขึ้น[68]แต่ Henneguya กลับไม่ก่อโรคอาการเดียวกันในปลาแซลมอน เพราะปลาที่มีปรสิตมากก็ยังกลับไปวางไข่ได้

รายงานปี 1985[69]ระบุว่า ลูกปลาที่อยู่ในน้ำจืดนานที่สุดมีปัญหาปรสิตมากที่สุดดังนั้น ตามลำดับความชุกของโรค ปลาแซลมอนโคโฮมีปรสิตมากที่สุดตามด้วยปลาแซลมอนซ็อกอาย ปลาแซลมอนชัม และปลาแซลมอนชมพูรายงานยังระบุด้วยว่า ในช่วงงานศึกษา ปลาที่ได้จากแม่น้ำตอนต้นและตอนกลางในรัฐบริติชโคลัมเบีย เช่น แม่น้ำเฟรเซอร์, สกีนา (Skeena) แนสส์ (Nass) และจากสายน้ำชายฝั่งของแผ่นดินใหญ่ในตอนใต้ของรัฐ มีความชุกโรคน้อยกว่ารายงานเน้นว่า ปรสิต Henneguya แม้จะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจดังที่ว่า ก็จัดว่าไม่เป็นอันตรายทางสาธารณสุขเพราะเป็นปรสิตเฉพาะของปลา ไม่สามารถมีชีวิตภายในหรือมีผลต่อสัตว์เลือดอุ่นรวมทั้งมนุษย์

ตามผู้ชำนาญการของสำนักงานตรวจอาหารแคนาดา (Food Inspection Agency) ปรสิต Henneguya salminicola พบในรัฐบริติชโคลัมเบียภาคใต้ด้วยและพบในปลาแซลมอนทุกสปีชีส์เขาเองได้ตรวจเห็นปลาแซลมอนชัมรมควันมีถุงน้ำ (cyst) จำนวนมาก และปลาแซลมอนซ็อกอายที่ว่ายกลับแหล่งเกิดใน Barkley Sound (รัฐบริติชโคลัมเบียภาคใต้ ชายฝั่งตะวันตกของเกาะแวนคูเวอร์) ก็ชุกโรค

sea lice (ในไฟลัมย่อย Crustacea) โดยเฉพาะสปีชีส์ Lepeophtheirus salmonis และหลายพันธุ์ในสกุล Caligus รวมทั้ง C. clemensi และ C. rogercresseyi อาจก่อโรคถึงตายทั้งในปลาแซลมอนเลี้ยงและปลาธรรมชาติ[70][71]sea lice เป็นปรสิตภายนอก (ectoparasite) ที่เกินหนอง เลือด และหนัง และมาเกาะผิวหนังของปลาแซลมอนธรรมชาติในระยะพัฒนาการต่าง ๆ คือ free-swimming planktonic nauplii และ copepodid larval โดยอาจคงอยู่หลายวัน[72][73][74]

ฟาร์มปลาแซลมอนที่เลี้ยงในกรงตาข่ายภายในทะเลเปิด (open-net salmon farm[B])อาจเป็นจุดรวม sea lice อย่างมหาศาลถ้าลูกปลาธรรมชาติผ่านมาในบริเวณน้ำกร่อยที่มีฟาร์มเช่นนี้มาก ลูกปลาก็จะติดปรสิตแล้วไม่สามารถรอดชีวิตได้[76][77]ปลาที่โตแล้วอาจรอดชีวิตจากปรสิตที่มีมากเช่นนี้ แต่ลูกปลาที่ยังเล็ก ผิวบาง ซึ่งกำลังอพยพไปสู่ทะเลก็จะเสี่ยงตายมากทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของแคนาดา อัตราการตายของปลาแซลมอนชมพูเนื่องกับ sea lice ในที่บางแห่งอาจสูงเป็นปกติถึง 80%[78]

ผลของการตอกเสาเข็ม

เสียงเช่นการตอกเสาเข็มเพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหรือการใช้เสียงสำรวจพื้นที่ใต้ทะเลอาจมีผลลบต่อปลางานศึกษาปี 2012 กับปลาแซลมอนชินูกพบว่า เมื่อปลาได้รับเสียงดังแบบสะสมเกินขีดเริ่มเปลี่ยน (cumulative sound exposure level เกิน 210 dB relative to 1 μPa2 s) ก็จะเป็นอันตรายต่อปลา[79]

การประมงปลาธรรมชาติ (ไม่ได้เลี้ยง)

การประมงปลาธรรมชาติ การจับปลาเพื่อการพาณิชย์เป็นตันสำหรับปลาแซลมอนพันธุ์แท้ตามธรรมชาติระหว่างปี 1950-2010 ตามรายงานของ FAO[40]

พาณิชย์

ดังที่เห็นในกราฟการประมงปลาทางด้านซ้าย การจับปลาแซลมอนธรรมชาติเพื่อการพาณิชย์ทั่วโลกที่รายงานให้ FAO ทราบค่อนข้างจะสม่ำเสมอตั้งแต่ปี 1990 ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปีซึ่งต่างกับปลาเลี้ยง (ดูต่อไป) ซึ่งเพิ่มขึ้นภายในช่วงเวลาเดียวกันจาก 6 แสนตันเป็นมากกว่า 2 ล้านตันต่อปี[40]ปลาที่จับได้เกือบทั้งหมดเป็นปลาแซลมอนแปซิฟิกปลาแซลมอนแอตแลนติกที่จับได้ค่อนข้างน้อย และได้ลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 1990ในปี 2011 ก็จับได้เพียง 2,500 ตันเท่านั้น[8]เทียบกับปลาแซลมอนเลี้ยงซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นปลาแซลมอนแอตแลนติก

คนตกปลาด้วยเบ็ดกับผู้ช่วยและปลาแซลมอนที่จับได้ในประเทศสกอตแลนด์

นันทนาการ

การตกปลาแซลมอนเพื่อนันทนาการเป็นกีฬาที่ยากทางเทคนิก จึงอาจไม่เหมาะกับผู้เริ่มตกปลาใหม่ ๆ[80]คนประมงเพื่อการพาณิชย์และคนตกปลาเพื่อนันทนาการต้องแข่งขันแย่งปลากันแต่การประมงเพื่อการพาณิชย์ภายในบริเวณน้ำกร่อย (estuaries) และตามชายฝั่งบ่อยครั้งจำกัดเพื่อให้ปลาสามารถกลับไปยังแหล่งน้ำเกิดจำนวนมากพอเพื่อวางไข่และเพื่อตกเป็นกีฬาในบางเขตของชายฝั่งตะวันตกในอเมริกาเหนือ การตกปลาเป็นกีฬาได้ทดแทนการประมงเพื่อการพาณิชย์โดยสิ้นเชิง[81]ในกรณีโดยมาก มูลค่าทางพาณิชย์ของปลาแซลมอนตัวหนึ่งอาจน้อยกว่าคุณค่าที่คนตกปลาให้กับปลาเดียวกันที่จับได้เป็นหลายเท่านี่จึงเป็นข้ออ้างทางเศรษฐกิจเพื่อให้โอกาสคนตกปลาสำหรับการกีฬามากกว่า[81]

ปลาแซลมอนเลี้ยง

ผลผลิตปลาแซลมอนพันธุ์แท้เลี้ยงเป็นตันระหว่างปี 1950-2010 ตามรายงานของ FAO[40]

ฟาร์มปลาแซลมอนเป็นแหล่งผลิตสำคัญของปลาเลี้ยงทั่วโลก โดยมีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 300,000 ล้านบาท)ปลาที่เลี้ยงอย่างสามัญอื่น ๆ รวมทั้งปลาทิลาเพีย ปลาคาร์ป ปลาหนัง และปลาบรีม (เป็นปลาทั้งน้ำจืดน้ำเค็มในสกุลหลายสกุล)ฟาร์มปลาแซลมอนเป็นส่วนสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศชิลี นอร์เวย์ สกอตแลนด์ แคนาดา และหมู่เกาะแฟโรเป็นปลาแซลมอนโดยมากที่บริโภคในสหรัฐและยุโรปปลาแซลมอนแอตแลนติกยังเลี้ยงเป็นจำนวนน้อย ๆ ในประเทศรัสเซียและรัฐแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย

ปลาแซลมอนเป็นสัตว์กินเนื้อจึงเลี้ยงด้วยปลาธรรมชาติที่จับได้และสัตว์ทะเลอื่น ๆทำให้มีความต้องการปลาที่เป็นเหยื่อสูงปลาจำเป็นต้องได้โปรตีนมากโดยต้องกินปลามากกว่าที่ตนเป็นผลผลิตคือ ถ้าเทียบน้ำหนักเมื่อแห้ง ปลาแซลมอน 1 กก. จะต้องกินปลาธรรมชาติที่จับได้ 2-4 กก.[82]เมื่อการเลี้ยงปลาแซลมอนขยายใหญ่ขึ้น ก็จำเป็นต้องได้ปลาเหยื่อที่เป็นอาหารเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปลาประมงที่เฝ้าสอดส่อง 75% ในโลกได้จับเกินปริมาณมากสุดที่จับได้อย่างคงยืนแล้ว (maximum sustainable yield)[83]การตกปลาที่เป็นเหยื่อในระดับอุตสาหกรรมเพื่อเลี้ยงปลาแซลมอนเช่นนี้ มีผลต่อการรอดชีวิตของปลาล่าสัตว์ธรรมชาติซึ่งกินปลาเหยื่อเป็นอาหาร

มีความพยายามเปลี่ยนโปรตีนที่เป็นอาหารปลาให้เป็นโปรตีนจากพืชอย่างต่อเนื่องแต่การทดแทนเช่นนี้ก็ลดระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ผู้บริโภคให้คุณค่ามากในปลาเลี้ยง

การเลี้ยงปลาแซลมอนมักใช้กรงตาข่ายที่ทำในทะเล เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยแต่ก็มีข้อเสียเพราะทำให้โรคและ sea lice กระจายไปหาปลาธรรมชาติได้[84]

ปลาแซลมอนชัมที่ฟักในที่เลี้ยง
ฟารม์ปลาเรนโบว์เทราต์ในหมู่เกาะของประเทศฟินแลนด์

รูปแบบการผลิตปลาแซลมอนอีกอย่างซึ่งปลอดภัยกว่าแต่ควบคุมได้ยากกว่า ก็คือการเลี้ยงปลาในที่ฟักไข่ (hatchery) จนกระทั่งโตพอเลี้ยงตัวเองได้แล้วปล่อยลงในแม่น้ำเพื่อพยายามเพิ่มจำนวนประชากรปลาแซลมอนซึ่งเป็นวิธีที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ranchingและสามัญในประเทศต่าง ๆ เช่นสวีเดน ก่อนที่ชาวนอร์เวย์ได้พัฒนาระบบฟาร์มแซลมอน แต่บริษัทเอกชนจะไม่ค่อยทำเช่นนี้เพราะใคร ๆ (หรือสัตว์ใด ๆ) ก็สามารถจับปลาเมื่อกลับมาวางไข่ได้ บริษัทก็จะได้ผลประโยชน์จำกัดจากการลงทุนเพราะเหตุนี้ ผู้ใช้วิธีนี้จึงเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรแซลมอนที่ลดลงเนื่องจากการประมงเกิน, การสร้างเขื่อน และการทำลายหรือรบกวนแหล่งที่อยู่ ผลลบก็มีบ้างเหมือนกัน เพราะยีนของปลาธรรมชาติจะลดน้อยถอยลง (เหตุ genetic dilution)ดังนั้น รัฐบาลระดับต่าง ๆ จึงเริ่มไม่ให้ปล่อยปลาเช่นนี้ แต่ให้ควบคุมการประมง ปรับปรุงแหล่งที่อยู่ของปลา และดูแลป้องกัน

ocean ranching เป็นการเพิ่มจำนวนปลาอีกวิธีหนึ่งและกำลังพัฒนาอยู่ที่รัฐอะแลสกาคือจะปล่อยลูกปลาลงในทะเลห่างจากสายน้ำของแซลมอนธรรมชาติอื่น ๆ เมื่อถึงเวลาจะวางไข่ ปลาก็จะกลับมาสู่ที่ที่ปล่อย ซึ่งชาวประมงสามารถจับมันได้

อีกวิธีหนึ่งก็คือใช้ช่องน้ำวางไข่คือเป็นช่องน้ำที่ทำขึ้น ปกติจะอยู่ใกล้ ๆ กับทางน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ ผนังด้านข้างจะทำเป็นคอนกรีตหรือหินดาดโดยพื้นเจะป็นก้อนกรวดน้ำจากทางน้ำข้าง ๆ จะปัมพ์เข้าไปที่ต้นช่องน้ำโดยบางครั้งมีสระพักน้ำให้ตกตะกอนการวางไข่จะได้ผลในช่องน้ำนี้ดีกว่าทางน้ำธรรมชาติที่ติดกันเพราะควบคุมน้ำท่วมได้ดีกว่า เพราะบางปีน้ำอาจพัดเอารังวางไข่ (redd) ของปลาไปแต่เพราะไม่มีน้ำท่วม ช่องเช่นนี้บางครั้งต้องลอกเอาสิ่งตกตะกอนออกจริง ๆ น้ำท่วมที่พัดพาเอารังปลาไปก็ทำความสะอาดทางน้ำธรรมชาติไปด้วยแต่การเปิดให้ปลารับปรสิตและจุลชีพก่อโรคที่มีอยู่ตามธรรมชาติจากน้ำที่ไม่ได้ควบคุม บวกกับค่าใช้จ่ายสูงเพื่อทำช่องน้ำวางไข่ ทำให้เทคโนโลยีนี้ไม่เหมาะแก่ธุรกิจเลี้ยงเแซลมอนดังนั้น โปรแกรมเพิ่มจำนวนปลาที่ไม่หวังผลกำไร (ของรัฐ หรือของเอกชน) เท่านั้นที่ใช้ประโยชน์ได้

ปลาแซลมอนเลี้ยงมักให้กินสารรงควัตถุพวกแคโรทีนอยด์ (carotenoid) คือแอสตาแซนทิน (astaxanthin) และแคนทาแซนทิน (canthaxanthin) เพื่อให้เนื้อมีสีเหมือนปลาธรรมชาติ[85] และขายปลาได้ดีกว่า[86]

ทางเลือกอาหารปลาแทนปลาธรรมชาติซึ่งจับได้ที่เสนออย่างหนึ่งก็คือผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองซึ่งอาจดีต่อสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ฟาร์มเลี้ยงปลา แต่การผลิตถั่วเหลืองก็มีผลต่อสิ่งแวดล้อมของแหล่งผลิตสูงอนึ่ง กรดไขมันโอเมกา-3 ของปลาก็จะลดลงเทียบกับปลาแซลมอนที่เลี้ยงด้วยปลา

ทางเลือกอีกทางหนึ่งก็คือการใช้ผลิตภัณฑ์ยีสต์ซึ่งเป็นผลพลอยได้ในการผลิตไบโอเอทานอล (bioethanol) เป็นมวลชีวภาพหมักที่เป็นโปรตีนการใช้ผลิตภัณฑ์เช่นนี้ในอาหารเลี้ยงปลาที่ทำขึ้น อาจทำให้ปลาโตได้ในอัตราเดียวกันหรือยิ่งกว่า[87]เมื่อมีผลิตภัณฑ์เช่นนี้มากขึ้น ก็จะแก้ปัญหาค่าอาหารปลาสูงขึ้นด้วย

ทางเลือกอาหารปลาที่น่าสนใจอีกทางหนึ่งก็คือสาหร่ายทะเลสาหร่ายมีแร่ธาตุและวิตามินสำคัญสำหรับปลากำลังโตข้อได้เปรียบก็คือมีใยอาหารที่ปลาปกติได้ตามธรรมชาติและก่อ glycemic load[C]น้อยกว่าอาหารที่ทำจากธัญพืช[87]ในกรณีดีสุด การใช้สาหร่ายทะเลอย่างกว้างขวางจะทำให้เลี้ยงปลาได้โดยไม่ต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งที่ดิน น้ำจืด หรือปุ๋ย[88][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]

การบริหารควบคุมจำนวนปลา

ปลาแซลมอนซ็อกอายกำลังวางไข่ในรัฐอะแลสกา (Becharof Wilderness)

จำนวนปลาแซลมอนเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกบางส่วน จำนวนปลาแซลมอนธรรมชาติได้ลดลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่าน ๆ มาโดยเฉพาะปลาแซลมอนแอตแลนติกเหนือซึ่งวางไข่ในน้ำของยุโรปตะวันตกและแคนาดาตะวันออก และโดยเฉพาะปลาแซลมอนธรรมชาติในแม่น้ำโคลัมเบียและแม่น้ำสเนก (Snake river) ในสหรัฐภาคตะวันตกเฉียงเหนือ

ส่วนจำนวนปลาในรัฐอะแลสกายังมากอยู่ และก็จับปลาได้มากขึ้นในทศวรรษที่ผ่าน ๆ มาหลังจากรัฐเริ่มจำกัดการตกปลาตั้งแต่ปี 1972[89][90][ต้องการอ้างอิง]การประมงปลาแซลมอนธรรมชาติที่ยั่งยืนและสำคัญในอะแลสกาอยู่ใกล้แม่น้ำเคไน (Kenai River) แม่น้ำคูเปอร์ (Copper River) และอ่าวบริสตอล (Bristol Bay)การเลี้ยงปลาแซลมอนแปซิฟิกนั้นผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของสหรัฐ[ต้องการอ้างอิง]แต่ก็มีบ่อเลี้ยงปลาที่รัฐเป็นผู้สนับสนุน[91]และการบริหารการประมงของรัฐอะแลสกาก็จัดเป็นแนวหน้าในการบริหารจำนวนประชากรปลาธรรมชาติ

ในแคนาดา ปลาธรรมชาติที่กลับมาสู่แดนเกิดคือแม่น้ำสกีนา (Skeena River) ทำให้สามารถทำการประมงเพื่อการพาณิชย์ เพื่อตกปลากิน และเพื่อตกปลาเป็นกีฬา ช่วยเป็นอาหารแก่สัตว์ป่ามากมายทั้งตามชายฝั่งและในบริเวณต่าง ๆ เป็นร้อย ๆ ไมล์เข้าไปในแผ่นดินถัดจากลุ่มน้ำของแม่น้ำส่วนสถานะของปลาแซลมอนธรรมชาติในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ไม่ค่อยแน่นอนในบรรดากลุ่มประชากรธรรมชาติของปลาแซลมอนและปลาเรนโบว์เทราต์ที่อพยพไปสู่ทะเล 435 กลุ่ม 187 กลุ่มเท่านั้นจัดได้ว่ามีสถานะดี113 กลุ่มมีสถานะไม่ชัดเจน กลุ่มหนึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว 12 กลุ่มอยู่ในสถานะวิกฤติ และ 122 กลุ่มมีจำนวนประชากรน้อยลง[92]

ส่วนการประมงปลาแซลมอนเพื่อการพาณิชย์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้จำกัดลงอย่างยิ่งหรือยุติไปเลยในปีที่ผ่าน ๆ มา เพราะมีปลากลับมายังแม่น้ำคลาแมท (Klamath River) และแม่น้ำแซคราเมนโตน้อยมาก ทำให้ชาวประมงเสียรายได้เป็นล้าน ๆ เหรียญสหรัฐ[93]ทั้งปลาแซลมอนแอตแลนติกและแปซิฟิกก็เป็นปลายอดนิยมที่ตกเพื่อการกีฬา

ปลาแซลมอนได้นำไปปล่อยในเกรตเลกส์คือปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 รัฐมิชิแกนได้ปล่อยปลาแซลมอนโคโฮในทะเลสาบเพื่อควบคุมปลาเอลไวฟ์ (alewife, เป็นปลาเฮร์ริงที่อพยพสู่ทะเล) ที่ไม่ใช่ปลาพื้นที่ปัจจุบัน รัฐที่อยู่ติดกับเกรตเลกส์จะปล่อยปลาแซลมอนชินูก ปลาแซลมอนแอตแลนติก และปลาแซลมอนโคโฮลงในเกรตเลกส์ทุกปีกลุ่มประชากรแซลมอนเหล่านี้ไม่สามารถคงอยู่ด้วยตนเองได้ ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์ต่อการประมงเพื่อการพาณิชย์ แต่ก็มีการตกปลาเพื่อกีฬา

เป็นอาหาร

ซาชิมิแซลมอน

ปลาแซลมอนเป็นอาหารที่นิยม เนื้อปลาแซลมอนมีคุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมนำไปแปรรูปต่าง ๆ ทั้ง ปลากระป๋อง หรือเนื้อปลาสด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญและมีการประมงทั่วโลก รวมถึงการตกเป็นเกมกีฬาด้วย การศึกษาพบว่าเนื้อปลาแซลมอนมีโปรตีนสูง มีกรดอะมิโนที่มีคุณค่า จัดว่าเป็นปลามีไขมันสูงรวมทั้งกรดไขมันโอเมกา-3 ซึ่งผู้บริโภคให้ความนิยม[94] มีวิตามิน A, D, B6, B12 รวมทั้งไนอาซินและไรโบเฟลวิน, ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, สังกะสี, แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส นับเป็นอาหารที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง จัดเป็นอาหารสุขภาพ[95] เหมาะสำหรับเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพราะเป็นเนื้อปลาที่ย่อยง่าย มีประโยชน์ต่อร่างกายสูง นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็งบางชนิดได้ด้วย[96][ลิงก์เสีย]อนึ่ง ปลาแซลมอนที่พบในประเทศญี่ปุ่นอาจมีปริมาณไขมันน้อยกว่าปลาแซลมอนที่อื่นด้วย[97]

แต่ปลาก็เป็นแหล่งคอเลสเตอรอลด้วยโดยมี 23-485 ม.ก. ต่อปลา 100 ก. ขึ้นอยู่กับสปีชีส์[98]อนึ่ง ตามรายงานในวารสาร Science ปลาแซลมอนเลี้ยงอาจมีระดับสารมลพิษ dioxin (Polychlorinated dibenzodioxins) สูงเช่น ระดับ PCB (Polychlorinated biphenyl) อาจสูงเป็นแปดเท่าของปลาธรรมชาติ[99] แต่ก็ยังต่ำกว่าขีดอันตรายมาก[100][101]อย่างไรก็ดี ตามงานศึกษาปี 2006 ที่พิมพ์ในวารสารการแพทย์ คือ JAMA ประโยชน์ของการทานแม้ปลาแซลมอนเลี้ยงก็ยังมากกว่าความเสี่ยงที่อาจมีเพราะสิ่งปนเปื้อน[102]

ปลาแซลมอนเลี้ยงมีกรดไขมันโอเมกา-3 เทียบเท่ากับปลาธรรมชาติ[103]

เนื้อแซลมอนปกติจะมีสีส้มจนถึงแดง แม้เนื้อปลาธรรมชาติเป็นสีขาวที่มีหนังเป็นสีขาวดำก็มีด้วยสีเนื้อธรรมชาติเกิดจากสารรงควัตถุแคโรทีนอยด์ (carotenoid pigment) โดยหลักคือแอสตาแซนทิน (astaxanthin) แต่ก็มีแคนทาแซนทิน (canthaxanthin) บ้าง[104]ปลาแซลมอนธรรมชาติได้สารเหล่านี้จากการกินเคยและหอยเล็ก ๆ

ปลาแซลมอนแอตแลนติกโดยมากที่ขายทั่วโลกเป็นปลาเลี้ยง (เกือบ 99%)[105]เทียบกับปลาแซลมอนแปซิฟิกที่โดยมาก (มากกว่า 80%) เป็นปลาธรรมชาติ

แซลมอนกระป๋องในสหรัฐปกติจะเป็นปลาแซลมอนแปซิฟิกธรรมชาติ แต่ก็มีปลาเลี้ยงเช่นกันปลาอัดกระป๋องปกติจะมีหนังปลา (ซึ่งไม่เป็นอัตราย) และกระดูก (ซึ่งให้แคลเซียม) รวมอยู่ด้วยแต่ปลากระป๋องไม่มีหนังไร้กระดูกก็มีด้วยเหมือนกัน

การรมควันเป็นวิธีการถนอมปลาที่นิยมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะรมควันร้อนหรือเย็นล็อกซ์อาจหมายถึงแซลมอนที่รมควันเย็น หรือแซลมอนที่แช่น้ำเกลือจนเค็ม ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า gravlax

เนื้อปลาดิบอาจมีนีมาโทดาสกุล Anisakis ซึ่งเป็นพยาธิทะเล (ก่อโรคพยาธิ anisakiasis ในมนุษย์)ก่อนจะมีการแช่เย็น คนญี่ปุ่นไม่ได้บริโภคปลาแซลมอนดิบและทั้งเนื้อปลาและไข่ปลาก็พึ่งมาใช้ทำซาชิมิและซูชิเมื่อเริ่มมีปลาแซมอนจากนอร์เวย์ที่ไร้พยาธิในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980[106]

สำหรับคนพื้นเมืองทางชายฝั่งส่วนแปซิฟิกนอร์ทเวสต์ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) ของสหรัฐ ปลาแซลมอนเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้โดยเฉพาะก็คือ คนพื้นเมืองของหมู่เกาะไฮดาไกวในรัฐบริติชโคลัมเบียมีแซลมอนเป็นอาหารหลัก และคนเหล่าอื่น ๆ ก็ตกปลาในมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นศตวรรษ ๆ แล้ว[107]ปลาแซลมอนมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นของพิเศษ มันสำคัญก็เพราะเป็นส่วนของวัฒนธรรม ศิลปะ และพิธีกรรมต่าง ๆ ปลามาวางไข่ในหมู่เกาะทุก ๆ ปี[107]คนพื้นเมืองเรียกปลานี้ว่า "tsiin"[107]และอาจปรุงอาหารได้หลายวิธีรวมทั้งรมควัน อบ ทอด และทำเป็นซุป

ประวัติ

การจับปาแซลมอนด้วยอวน ภาพโดย Wenzel Hollar (1607-1677)

ปลาแซลมอนเป็นหัวใจของวัฒนธรรมและการหาเลี้ยงชีพของผู้อยู่ตามชายฝั่ง ซึ่งมีประวัติกลับไปยาวนานถึง 5,000 ปีตามซากโบราณคดีของคนเผ่านิสควอลี (Nisqually)[108]ปลาสกุล Oncorhynchus ดั้งเดิมกระจายไปทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก[109]ประวัติแสดงว่า ปลาแซลมอนใช้แม่น้ำสายย่อย แม่น้ำ และแหล่งน้ำกร่อยโดยไม่จำกัดเป็นเวลานานถึง 18-22 ล้านปีแต่ข้อมูลพื้นฐานก็กำหนดไม่ได้ดีเพราะมีข้อมูลประวัตศาสตร์ไม่สมบูรณ์ แต่ก็ยังบอกได้ว่าปลาได้ลดจำนวนไปอย่างมหาศาลเริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1900

สหรัฐส่วนแปซิฟิกนอร์ทเวสต์ (ชายฝั่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ) เคยมีคนพื้นเมืองผู้อยู่กระจายไปทั่วที่มีวิธีจัดการปลาทางนิเวศวิทยาเพื่อไม่ให้ปลาหมดไปเพราะกิจกรรมชีวิตของพวกเขาพวกเขาเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติมีจิตวิญญาณ (animist) ปลาแซลมอนจึงไม่เพียงเป็นแต่อาหาร แต่เป็นผู้แนะแนวทางทางจิตวิญญาณด้วยความนับถือเช่นนี้จึงทำให้คำนึงถึงระบบนิเวศ เช่น แม่น้ำและแม่น้ำย่อยที่ปลาแซลมอนใช้วางไข่ทำให้บ่อยครั้งใช้ปลาทั้งตัวโดยไม่ทิ้งขว้างเพื่อทำวัสดุต่าง ๆ เช่น ทำกาวจากกระเพาะปลา ทำของเล่นจากระดูก ทำเสื้อผ้าและรองเท้าจากหนัง

มีพิธีกรรมเกี่ยวกับปลาของชาวพื้นเมืองชายฝั่งแปซิฟิก (first salmon ceremony) ซึ่งประกอบด้วยองค์ 3 องค์อย่างแรก เป็นการฉลองการจับปลาได้เป็นคราวแรก ตามด้วยการจัดทำปลา และสุดท้ายเป็นการคืนกระดูกให้แก่ทะเลเพื่อแสดงไมตรีจิตและเพื่อให้ปลาอื่นยอมสละชีวิตแก่คนในหมู่บ้าน[110]มีเผ่าหลายเผ่า (เช่น Yurok) ที่มีข้อต้องห้ามไม่ให้ตกปลาแรก ๆ ที่ว่ายน้ำขึ้นกระแสน้ำในฤดูร้อน แต่เมื่อยืนยันแล้วว่ามีปลาแซลมอนมากจึงจะล่ามันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน[111]ข้อปฏิบัติของชนพื้นเมืองเช่นนี้แสดงความชาญฉลาดทางนิเวศวิทยา แต่ก็หายไปหมดเมื่อคนยุโรป-อเมริกันมาตั้งถิ่นฐาน[112]

ปลาแซลมอนมีประวัติที่น่าทึ่งใจยิ่งกว่าที่ปรากฏในทุกวันนี้ปลาที่เคยมีทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกปัจจุบันเหลือเป็นแค่บางส่วนจำนวนแซลมอนที่เหลือในปัจจุบันประเมินว่าเป็นเพียงแค่ 1-3% ของปี 1804 (สมัยที่ลิวอิสและคลาก์มาสำรวจออริกอน)[113]ในคำปราศรัยต่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐปี 1908 ประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ ให้ข้อสังเกตว่า การประมงปลาแซลมอนได้ลดลงอย่างสำคัญ คือ[114][115]

การประมงปลาแซลมอนของแม่น้ำโคลัมเบียปัจจุบันเป็นเพียงแค่เศษเหลือของสิ่งที่มีเมื่อ 25 ปีก่อน มันคงจะดีกว่านี้ถ้ารัฐบาลกลางสหรัฐได้เข้าไปควบคุมโดยจัดการปัญหาระหว่างรัฐออริกอนกับวอชิงตันใน 25 ปีที่ผ่านมา ชาวประมงของแต่ละรัฐได้พยายามตกปลาให้มากที่สุดเท่าที่ตนจะหาได้ และรัฐสภาของสองรัฐต่างก็ไม่สามารถตกลงทำกิจร่วมกันเพียงพอเพื่อป้องกันการประมงได้ตอนนี้ การประมงในรัฐออเรกอนเท่ากับยุติไปแล้วแต่ในรัฐวอชิงตันกลับยังไม่มีข้อจำกัดอะไร ๆ โดยประการทั้งปวง ... ในขณะเดียวกัน มีปลาแซลมอนน้อยมากที่กลับไปถึงที่วางไข่ของตน และอีก 4 ปี การประมงก็คงจะไม่เหลืออะไรนี่เป็นความขัดแย้งกันระหว่างชาวประมงที่ใช้อวนเป็นฝ่ายหนึ่ง กับเจ้าของกังหันจับปลาเหนือน้ำ (อีกฝ่ายหนึ่ง)

ในแม่น้ำโคลัมเบีย เขื่อนชิฟโจเซฟ (Chief Joseph Dam) ที่สร้างเสร็จในปี 1955 ทำให้ปลาแซลมอนไม่สามารถอพยพไปยังเหนือน้ำได้ในแม่น้ำเฟรเซอร์ หินที่ไถลตกลงในแม่น้ำเนื่องกับการสร้างทางรถไฟของบริษัททางรถไฟ Canadian Pacific Railway ที่เฮลล์เกต (Hells Gate) รัฐบริติชโคลัมเบีย มีผลลบต่อจำนวนประชากรแซลอนคือในปี 1917 จำนวนปลาที่จับได้เหลือแค่ 1/4 ของปี 1913[116]

ตำนาน

ในไอร์แลนด์เหนือ เกล็ดปลาของรูปประติมากรรม The Big Fish หรือ Salmon of Knowledge เป็นการฉลองการกลับคืนมาของปลาแซลมอนแม่น้ำริเวอร์ละแกน (River Lagan)
ภาพวาดปลาแซลมอนชนิดต่าง ๆ

ปลาเป็นสัตว์สำคัญในตำนานและกวีนิพนธ์เซลติก (Celtic) โดยมักเกี่ยวกับปัญญาและความน่านับถือในตำนานไอริช มีปลาที่เรียกว่า Salmon of Knowledge[117]ซึ่งมีบทบาทสำคัญในนิทานสมัยกลางคือ The Boyhood Deeds of Fionnในนิทานนี้ ปลาจะให้พลังแห่งปัญญาแก่บุคคลที่กินมัน ดังนั้น นักกวี Finn Eces จึงสืบหามันเป็นเวลาถึง 7 ปีในที่สุดเขาก็จับปลาได้แล้วมอบแก่ลูกศิษย์วัยเยาว์ของเขาคือฟิน แม็กคูล (Fionn mac Cumhaill) เพื่อให้เอาปลาไปทำแต่ฟินลวกนิ้วหัวแม่มือด้วยน้ำแซลมอน จึงอมนิ้วเพื่อคลายร้อนเขาจึงได้ปัญญาของแซลมอนโดยไม่ได้ตั้งใจในตำนานไอริชอื่น ๆ ปลาแซลมอนเป็นการกลับชาติมาเกิดของบุคคลในตำนานทั้ง Tuan mac Cairill[118] และ Fintan mac Bóchra[119]

ปลาแซลมอนก็อยู่ในตำนานของชาวเวลส์ด้วยในนิทานร้อยแก้ว Culhwch and Olwen แซลมอนแห่ง Llyn Llyw เป็นสัตว์อาวุโสที่สุดในบริเตน เป็นสัตว์เดียวที่รู้ที่อยู่ของพระเอกคนหนึ่งในนิทานคือมาบอน แอ็ป มอดรอน (Mabon ap Modron)หลังจากได้คุยกับสัตว์อาวุโสอื่น ๆ จำนวนหนึ่งที่ไม่รู้ที่อยู่ของเขา ข้าราชบริพารของกษัตริย์อาเธอร์คือ เซอร์เคย์และเบดิเวียร์ก็ได้ไปหาปลาแซลมอน ผู้ได้ให้บุคคลทั้งสองนั่งไปบนหลังเดินทางกลับไปยังกำแพงคุกเมืองกลอสเตอร์ที่มอดรอนติดอยู่[120]

ในเรื่องปรัมปรานอร์ส หลังจากโลกิได้ลวงเทพตาบอด Höðr ให้ฆ่าน้องชายตัวเองคือ คือ Baldr โลกิก็กระโดดลงไปในแม่น้ำแล้วแปลงเป็นแซลมอนเพื่อหนีการถูกลงโทษจากเทพอื่น ๆเมื่อพวกเทพเอาอวนมาจับ เขาก็พยายามกระโดดข้ามมันแต่ก็ถูกทอร์จับที่หางซึ่งเป็นเหตุให้หางปลาเรียว[121]

ปลาแซลมอนเป็นส่วนสำคัญทางจิตวิญญาณและทางวัฒนธรรมในเรื่องปรัมปราของคนพื้นเมืองอเมริกันทางชายฝั่งแปซิฟิก เริ่มตั้งแต่คนไฮดาและคน Coast Salish จนถึงคนนูชานูท (Nuu-chah-nulth) ในรัฐบริติชโคลัมเบีย[122]

เชิงอรรถ

อ้างอิง

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง