ประเทศสกอตแลนด์

ประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร

สกอตแลนด์ (อังกฤษ: Scotland; สกอต: Scotland; แกลิกสกอต: Alba, [ˈal̪ˠapə]( ฟังเสียง), อัลวะเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสกอต และเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่[2][3][4] มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ[5]

สกอตแลนด์
แกลิกสกอต: Alba
คำขวัญ"In My Defens God Me Defend" (ภาษาสกอต)
เพลงชาติหลากหลาย
ที่สำคัญคือ "ฟลาวเวอร์ออฟสกอตแลนด์"
"ดอกไม้แห่งสกอตแลนด์"
ที่ตั้งของ สกอตแลนด์  (สีเขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป  (สีเขียว & สีเทาเข้ม) – ในสหราชอาณาจักร  (สีเขียว)
ที่ตั้งของ สกอตแลนด์  (สีเขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (สีเขียว & สีเทาเข้ม)
– ในสหราชอาณาจักร  (สีเขียว)

เมืองหลวงเอดินบะระ
เมืองใหญ่สุดกลาสโกว์
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ ภาษาแกลิกแบบสกอต และภาษาสกอต
เดมะนิม
การปกครองสภานิติบัญญัติภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญตามหลักการกระจายอำนาจ
ชาลส์ที่ 3
ฮัมซา ยูซาฟ
การก่อตั้ง
พื้นที่
• รวม
78,772 ตารางกิโลเมตร (30,414 ตารางไมล์) (n/a)
1.9
ประชากร
• 2560 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 5,424,800 (n/a)
• สำมะโนประชากร 2544
5,062,011
95 ต่อตารางกิโลเมตร (246.0 ต่อตารางไมล์) (n/a)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2545 (ประมาณ)
• รวม
$130 billion (n/a)
$25,546 (n/a)
เอชดีไอ (2562)0.925[a][1]
สูงมาก · อันดับที่ 4
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง (£) (GBP)
เขตเวลาUTC+0 (GMT)
รหัสโทรศัพท์44
โดเมนบนสุด.uk
  1. ^ เป็นอันดับที่ 4 ของสหราชอาณาจักร

เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป. ส่วนกลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์[6] เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ[7] ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป[8]

เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง ค.ศ. 1603 เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ครองบัลลังก์อังกฤษโดยทรงใช้พระนามว่า พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ จึงมีผลให้ทั้งสองประเทศมีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกัน เรียกว่า การรวมราชบัลลังก์ (Union of the Crowns) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของทั้งสองยังคงแยกจากกันอยู่จนกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 ในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีแอนน์ อังกฤษและสกอตแลนด์ได้รวมตัวกันด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 มีผลให้รวมเข้ากับราชอาณาจักรอังกฤษ และกลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[9]

ระบบกฎหมายของสกอตแลนด์ยังแยกจากระบบกฎหมายของอังกฤษ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ และสกอตแลนด์อยู่ในเขตอำนาจศาลต่างหาก ทั้งในทางกฎหมายมหาชนและเอกชน[10] การคงไว้ซึ่งสถาบันกฎหมาย, การศึกษา, และศาสนาของตน อย่างเป็นอิสระจากสถาบันของสหราชอาณาจักร ล้วนส่งผลให้วัฒนธรรมสกอตแลนด์ และอัตลักษณ์ของชาติสามารถคงความต่อเนื่องไว้ได้ แม้ว่าสกอตแลนด์จะถูกรวมเข้าเป็นสหภาพมาตั้งแต่ ค.ศ. 1707[11] ใน ค.ศ. 1999 รัฐสภาสกอตแลนด์ สภานิติบัญญัติแบบระบบสภาเดี่ยวที่จัดตั้งขึ้น(ใหม่)ตามกระบวนการถ่ายโอนอำนาจ และการลงประชามติ ค.ศ. 1997 เปิดประชุมใหม่โดยมีอำนาจเหนือกิจการภายในหลายด้าน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 พรรคชาติสกอตแลนด์ชนะการเลือกตั้งโดยมีเสียงข้างมากในรัฐสภาสกอตแลนด์ ทำให้นำไปสู่การลงประชามติเอกราชสกอตแลนด์ ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 2014 ซึ่งผลในครั้งนั้นประชากรสกอตแลนด์ข้างมากลงเสียงปฏิเสธ[12][13]

สกอตแลนด์มีผู้แทนในรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร 59 ที่นั่ง และมีผู้แทนในรัฐสภายุโรป 6 ที่นั่ง[14] เป็นชาติสมาชิกสภาบริเตน–ไอร์แลนด์[15] และสมัชชารัฐสภาบริเตน–ไอร์แลนด์

ประวัติศาสตร์สังเขป

ศัพทมูลวิทยาของชื่อ

"สกอตแลนด์" มาจากคำว่า Scoti ชื่อภาษาละตินสำหรับใช้เรียกพวกแกล ว่า Scotia ("ดินแดนของชาวแกล") เป็นภาษาละตินที่ใช้เรียกไอร์แลนด์มาก่อน[16] เมื่อถึงศตวรรษที่ 11 Scotia เริ่มถูกใช้เพื่ออ้างถึงสกอตแลนด์ (ส่วนที่พูดภาษาแกล) ทางตอนเหนือของแม่น้ำฟอร์ธ ใกล้กับ อัลเบเนีย หรือ อัลบานี ซึ่งทั้งสองมาจากคำภาษาแกลว่า Alba (อัลบา)[17] การใช้คำว่า สกอต และ สกอตแลนด์ เพื่อรวมทุกสิ่งที่กลายมาเป็นสกอตแลนด์ กลายมาเป็นปกตินิยมในช่วงปลายยุคกลาง[18]

การแบ่งเขตการปกครอง

  1. อินเวอร์ไคลด์
  2. เรนฟรูว์เชอร์
  3. เวสต์ดันบาร์ตันเชอร์
  4. อีสต์ดันบาร์ตันเชอร์
  5. นครกลาสโกว์
  6. อีสต์เรนฟรูว์เชอร์
  7. นอร์ทแลนาร์กเชอร์
  8. ฟอลเคิร์ก
  9. เวสต์โลเทียน
  10. นครเอดินบะระ
  11. มิดโลเทียน
  12. อีสต์โลเทียน
  13. แคล็กแมนนันเชอร์
  14. ไฟฟ์
  15. นครดันดี
  16. แองกัส
  1. แอเบอร์ดีนเชอร์
  2. นครแอเบอร์ดีน
  3. มะรีย์
  4. ไฮแลนด์
  5. เอาเตอร์เฮบริดีส (นาเฮลานันเชียร์)
  6. อาร์ไกล์และบิวต์
  7. เพิร์ทและคินรอสส์
  8. สเตอร์ลิง
  9. นอร์ทแอร์เชอร์
  10. อีสต์แอร์เชอร์
  11. เซาท์แอร์เชอร์
  12. ดัมฟรีสและแกลโลเวย์
  13. เซาท์แลนาร์กเชอร์
  14. สกอตติชบอร์เดอส์
  15. ออร์กนีย์
  16. เชตแลนด์


ประชากรศาสตร์


ประชากร

จำนวนประชากรในสกอตแลนด์จากการสำรวจสำมะโนประชากร พ.ศ. 2544 มีจำนวน 5,062,011 คน เพิ่มขึ้นในการสำรวจสำมะโนประชากร พ.ศ. 2554 เป็น 5,295,400 คนซึ่งสูงที่สุดเท่าที่ทำการสำรวจมา[19] ประมาณการของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดสำหรับช่วงกลางปี พ.ศ. 2560 คือ 5,424,800 คน[20]

 
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในสกอตแลนด์
อันดับชื่อเทศมณฑล ประชากรอันดับชื่อเทศมณฑล ประชากร

กลาสโกว์

เอดินบะระ
1กลาสโกว์นครกลาสโกว์590,50711ดันเฟิร์มลินไฟฟ์49,706
แอเบอร์ดีน

ดันดี
2เอดินบะระนครเอดินบะระ459,36612อินเวอร์เนสส์ไฮแลนด์48,201
3แอเบอร์ดีนนครแอเบอร์ดีน195,02113เพิร์ทเพิร์ท และ คินรอส46,970
4ดันดีนครดันดี147,28514แอร์เซาท์แอร์เชอร์46,849
5เพสลีย์เรนฟรูว์เชอร์76,83415กิลมาร์นอคอีสต์แอร์เชอร์46,159
6อีสต์กิลไบรด์เซาท์แลนาร์กเชอร์74,39516กรีนอคอินเวอร์ไคลด์44,248
7ลิฟวิงสตันเวสต์โลเทียน56,26917โคทบริดจ์นอร์ทแลนาร์กเชอร์43,841
8แฮมิลตันเซาท์แลนาร์กเชอร์53,18818เกลนรอเทสไฟฟ์39,277
9คัมเบอร์นอลด์นอร์ทแลนาร์กเชอร์52,27019แอร์ดรีนอร์ทแลนาร์กเชอร์37,132
10เกิร์กคาลดีไฟฟ์49,70920สเตอร์ลิงสเตอร์ลิง36,142

ภาษา

ศาสนา

กีฬา

ฟุตบอล

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Devine, T. M. [1999] (2000). The Scottish Nation 1700–2000 (New Ed. edition). London:Penguin. ISBN 0-14-023004-1
  • Donnachie, Ian and George Hewitt. Dictionary of Scottish History. (2001). 384 pp.
  • Keay, John; Keay, Julia (2001). Collins Encyclopedia of Scotland (2nd ed.). Harper Collins. p. 1101.
  • Koch, J. T. Celtic Culture: a Historical Encyclopedia (ABC-CLIO, 2006), ISBN 1-85109-440-7, 999pp
  • Tabraham, Chris, and Colin Baxter. The Illustrated History of Scotland (2004) excerpt and text search
  • Trevor-Roper, Hugh, The Invention of Scotland: Myth and History, Yale, 2008, ISBN 0-300-13686-2
  • Watson, Fiona, Scotland; From Prehistory to the Present. Tempus, 2003. 286 pp.
  • Wilson, Neil; Symington, Andy (2013). Discover Scotland. Lonely Planet. ISBN 9781742205724.
  • Wormald, Jenny, The New History of Scotland (2005) excerpt and text search

ตำราข้อมูลเฉพาะเรื่อง

  • Brown, Dauvit (1999) Anglo-French acculturation and the Irish element in Scottish Identity in Smith, Brendan (ed.), Insular Responses to Medieval European Change, Cambridge University Press, pp. 135–53
  • Brown, Michael (2004) The Wars of Scotland, 1214–1371, Edinburgh University Press., pp. 157–254
  • Dumville, David N. (2001). "St Cathróe of Metz and the Hagiography of Exoticism". Irish Hagiography: Saints and Scholars. Dublin: Four Courts Press. pp. 172–176. ISBN 978-1-85182-486-1.
  • Flom, George Tobias. Scandinavian influence on Southern Lowland Scotch. A Contribution to the Study of the Linguistic Relations of English and Scandinavian (Columbia University Press, New York. 1900)
  • Herbert, Maire (2000). "Rí Érenn, Rí Alban, kingship and identity in the ninth and tenth centuries". ใน Simon Taylor (บ.ก.). Kings, Clerics and Chronicles in Scotland, 500–1297. Dublin: Four Courts Press. pp. 63–72. ISBN 1-85182-516-9.
  • MacLeod, Wilson (2004) Divided Gaels: Gaelic Cultural Identities in Scotland and Ireland: c.1200–1650. Oxford University Press.
  • Pope, Robert (ed.), Religion and National Identity: Wales and Scotland, c.1700–2000 (University of Wales Press, 2001)
  • Sharp, L. W. The Expansion of the English Language in Scotland, (Cambridge University PhD thesis, 1927), pp. 102–325.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง