พระกฤษณะ

เทพเจ้าตามความเชื่อฮินดู

พระกฤษณะ (/ˈkrɪʃnə/,[12] ออกเสียง [ˈkr̩ʂɳɐ] ( ฟังเสียง); สันสกฤต: कृष्ण, IAST: Kṛṣṇa) เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู หนึ่งในแปดอวตารของพระวิษณุ และในบางธรรมเนียมบูชาในฐานะสวยัมภควัน หรือพระเจ้าสูงสุด[13] พระกฤษณะเป็นเทพเจ้าแห่งการปกป้องดูแล, ความเมตตา, ความอ่อนโยน และความรัก[14][1] รวมถึงเป็นหนึ่งในเทพเจ้าฮินดูที่ได้รับการบูชาแพร่หลายที่สุด[15] ชาวฮินดูเฉลิมฉลองวันประสูติของพระกฤษณะทุกปีในเทศกาลกฤษณชันมาษฏมีตามปฏิทินฮินดู ซึ่งตรงกับเดือนสิงหาคมถึงกันยายนตามปฏิทินเกรกอเรียน[16][17]

พระกฤษณะ
เทพเจ้าแห่งการปกป้อง, เมตตา, ความอ่อนโยน และความรัก;[1] โยเคศวร – เทพเจ้าแห่งโยคะและโยคี;[2][3] ปรพรหมัน, สวยัมภควัน (กฤษณ-ไวษณวะ)
ส่วนหนึ่งของ ทศาวตาร
ชื่อในอักษรเทวนาครีकृष्ण
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตKṛṣṇa
ส่วนเกี่ยวข้อง
ที่ประทับ
มนตร์
อาวุธ
ศึกสำคัญสงครามทุ่งกุรุเกษตร
พาหนะครุฑ
คัมภีร์
เทศกาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มถุรา สุรเสนา (ปัจจุบันคือรัฐอุตตรประเทศ อินเดีย)[6]
เสียชีวิต
ภัลกะ เสาราษฏระ (ปัจจุบันคือเวรวัล รัฐคุชราต อินเดีย)[7]
คู่ครอง
  • พระแม่ราธา
  • พระแม่รุกขมินี
  • สัตยภัม
  • กลินทิ
  • ชัมพวตี
  • นัคนชิตี
  • มิตรวินท์
  • ภัทรา
  • ลักษมณะ และอีก 16,000 – 16,100 องค์[10]
[note 2]
บุตร - ธิดา
  • ปราทยุมนะ
  • สัมพะ
  • ภานุ ฯลฯ[8]
[note 1]
บิดา-มารดา
  • เทวกี (มารดา)
  • วสุเทพ (บิดา)
  • ยโศทา (แม่นม)
  • นันทะ (พ่อนม)
พี่น้อง
  • พระพลราม (พี่/น้องชาย)
  • สุภัทรา (พี่/น้องสาว)
  • โยคมายา (พี่/น้องสาว)
ราชวงศ์ยทุวงศ์-จันทรวงศ์

เรื่องราวในพระชนม์ชีพของพระกฤษณะเรียกว่า "กฤษณลีลา" พระกฤษณะทรงเป็นตัวละครสำคัญในมหาภารตะ, ภควตาปุราณะ, พรหมไววรรตปุราณะ และ ภควัตคีตา นอกจากนี้ยังปรากฏการกล่าวถึงพระองค์ในเอกสารเชิงปรัชญา, เทววิทยา และ ปรัมปราวิทยาฮินดูอีกหลายชิ้นงาน[18] ในวรรณกรรมต่าง ๆ มีเขียนถึงพระกฤษณะในรูปปางต่าง ๆ กัน ทั้งในรูปเทพเจ้าองค์น้อย, เทพเจ้าที่ขี้เล่น, วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ไปจนถึงพระเป็นเจ้าผู้สูงสุดแห่งจักรวาล[19] ประติมานวิทยาของพระกฤษณะจึงเป็นการสะท้อนตำนานต่าง ๆ เหล่านี้ ผ่านการแสดงรูปปางพระองค์ในแต่ละช่วงวัย เช่นในรูปของทารกกำลังกินเนย, เด็กชายกำลังบรรเลงปี่ขลุ่ยหรือคู่กับพระราธา และในรูปของผู้ทรงราชรถกำลังสนทนาอย่างน่าเกรงขามกับอรชุน[20]

พระนามหรือพระนามคล้ายกันของพระกฤษณะปรากฏในเอกสารและวัฒนธรรมที่อายุเก่าแก่ถึง 1000 ปีก่อนคริสต์กาล[21] ในบางธรรมเนียมย่อย มีการบูชาพระกฤษณะในฐานะ สวยัมภควัน (พระเจ้าสูงสุด) ในธรรมเนียมเช่นกฤษณลัทธิ ธรรมเนียมย่อยเหล่านี้เติบโตขึ้นในยุคขบวนการภักติในยุคกลาง[22][23] วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระกฤษณะยังมีอิทธิพลมากต่อศิลปนาฏกรรมมากมาย เช่น ภารตนาฏยัม, กถกาลี, กูชีปูดี, โอฑิสสี และ มณีปุรีนาฏกรรม[24][25] มีการบูชาพระกฤษณะทั่วไปในทุกคติธรรมเนียมของศาสนาฮินดู และมีบูชามากเป็นพิเศษในแถบวฤนทาวัน รัฐอุตตรประเทศ,[26] ทวารกะ และ ชูนครห์ รัฐคุชราต; บูชาในรูปปางชคันนาถ ในโอริศา, มายาปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก;[22][27][28] บูชาในรูปปางวิโฐพา ในปัณฒรปุระ รัฐมหาราษฏระ, ศรีนาถจี ในนาถทวาระ รัฐราชสถาน,[22][29] อุทุปีกฤษณะในรัฐกรณาฏกะ,[30] ปรรถสารถี ในรัฐทมิฬนาฑู, อรันมุละ, รัฐเกรละ และ คุรุวยูรัปปัน ในคุรุวยูร รัฐเกรละ[31] นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960s เป็นต้นมา คติการบูชาพระกฤษณะยังเผยแผ่ไปยังโลกตะวันตกและแอฟริกา โดยเฉพาะจากกิจการของอิสก์คอน[32]

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง