รัฐทมิฬนาฑู

ทมิฬนาฑู [ทะ-มิน-นา-ดู] (ทมิฬ: தமிழ்நாடு; อังกฤษ: Tamil Nadu) เป็นหนึ่งในรัฐของประเทศอินเดีย เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของรัฐคือเจนไน ทมิฬนาฑูตั้งอยู่ส่วนใต้สุดของอนุทวีปอินเดีย และมีอาณาเขตติดกับดินแดนสหภาพปูดูเชร์รี, รัฐเกรละ, รัฐกรณาฏกะ และรัฐอานธรประเทศ รัฐทมิฬนาฑูล้อมรอบด้วยเทือกเขาฆาฏตะวันออกทางเหนือ, เทือกเขานิลคีรี (Nilgiri Mountains), เทือกเขาเมฆมาไล (Meghamalai) ทางตะวันตก, ทะเลเบงกอล ทางตะวันออก, อ่าวมันนาร์ (Gulf of Mannar) และช่องแคบพอล์ก (Palk Strait) ทางตะวันออกเฉียงใต้, และมหาสมุทรอินเดียทางใต้ รัฐทมิฬนาฑูมีชายแดนทางทะเลติดกับประเทศศรีลังกา

รัฐทมิฬนาฑู
บนลงล่างและซ้ายไปขวา:
พริหทิสวรมนเทียร, มนเทียรริมหาดแห่งมหาพลีปุรัม, รังคนาถสวามีมนเทียร, เทือกเขานิลคีรีจากยอเขาโทฑดเภตตา, น้ำตกโหเคนักกัล และอนุสรณ์สถานหินวิเวกานันท์
โลโกอย่างเป็นทางการของรัฐทมิฬนาฑู
ตรา
คำขวัญ: 

วัยไมเย เวลลุม (Vaymaiye Vellum)
(เพียงสัจจะซึ่งอัปราชัย) (Truth alone triumphs)
เพลง: "ทมิฬตายวาฬตุ" (Tamil Thai Valthu)
(บทภาวนาถึงพระมารดาทมิฬ) (Invocation to Mother Tamil)
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
พิกัด: 13°05′N 80°16′E / 13.09°N 80.27°E / 13.09; 80.27
ประเทศ อินเดีย
ก่อตั้ง1 พฤษภาคม 1956
(วันทมิฬนาฑู)
เมืองหลวงและ
เมืองใหญ่สุด
เจนไน
อำเภอ38
การปกครอง
 • องค์กรรัฐบาลรัฐทมิฬนาฑู
 • ราชยปาลอาร์.เอน.ราวิ (R N Ravi)
 • มุขนายกเอม.แก.สตาลิน (M K Stalin) (DMK)
 • รองมุขยนายกโอ. ปันนีร์เสลวัม (O. Panneerselvam) (AIADMK)
 • นิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยว (234)[1]
 • สภานิติบัญญัติโลกสภา (39)
ราชยสภา (18)
พื้นที่
 • ทั้งหมด130,058 ตร.กม. (50,216 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 10
ประชากร
 (2011)[2]
 • ทั้งหมด72,147,030 คน
 • อันดับที่ 6
 • ความหนาแน่น550 คน/ตร.กม. (1,400 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวทมิฬ (ทมิฬร์ - Tamizhar/Tamilar)
GDP (2019–20)[3]
 • รวม₹18.54ข้อผิดพลาดนิพจน์: "lc" เป็นคำที่ไม่รู้จัก
 • ต่อประชากร₹214,236
ภาษา
 • ทางการภาษาทมิฬ[4]
 • ทางการเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ[4]
เขตเวลาUTC+05:30 (IST)
รหัส ISO 3166IN-TN
ทะเบียนพาหนะTN
เอชดีไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.708[5]
สูง · ที่ 11
การรู้หนังสือ (2011)80.33%[6]
อัตาส่วนเพศ (2019)996 /1000
เว็บไซต์www.tn.gov.in
^# ชนะ คนะ มนะเป็นเพลงชาติของอินเดีย โดยมี "บทภาวนะแด่พระมารดาทมิฬ" เป็นเพลงประจำรัฐ
^† ตั้งในปี 1773; รัฐมัทราสตั้งในปี 1950 และเปลี่ยนชื่อเป็นทมิฬนาฑูเมื่อวันที่ 14 มกราคม 1969[7]
สัญลักษณ์
ตรา
ศรีวิลลิปุฐูรอันทัลมนเทียร
ภาษา
ภาษาทมิฬ
เพลง
"บทภาวนาแก่พระมารดาทมิฬ"
การแสดง
ภารตนาฏยัม
สัตว์
Nilgiri Tahr
สัตว์ปีก
นกเขาเขียว
แมลง
Tamil Yeoman
ดอกไม้
Gloriosa lily
ผลไม้
ขนุน
ต้นไม้
ต้นตาล
กีฬา
Kabaddi

ภูมิภาคนี้ในประวัติศาสตร์ถูกปกครองภายใต้หลายจักรรวรรดิ หนึ่งในนั้นที่มีชื่อเสียงที่สุดคือมูเวนธรทั้งสาม (Three Crowned Kings) – ราชวงศ์เฌอร่า, ราชวงศ์โจฬะ และราชวงศ์ปันทยะ ซึ่งช่วยทำให้ทมิฬมีวัฒนธรรมทมิฬ อาหารทมิฬ และสถาปัตยกรรมทมิฬที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง หลังการล่มสลายของอาณาจักรไมซอร์ (Kingdom of Mysore) จักรวรรดิบริเตนได้นำไปสู่ภาวะฉุกเฉินของเจนไน หรือมัสทราสในขณะนั้น รัฐทมิฬนาฑูในปัจจุบันตั้งขึ้นเมื่อปี 1956 ตามการประกาศใช้ States Reorganisation Act, 1956 รัฐทมิฬนาฑูเป็นที่ตั้งของโบราณสถาน สถานที่แสวงบุญ และแหล่งมรดกโลกสามแห่ง[8][9][10]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง