มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน

(เปลี่ยนทางจาก มนุษย์ปัจจุบัน)

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยา คำว่า มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน หรือ มนุษย์ปัจจุบัน(อังกฤษ: anatomically modern human, ตัวย่อ AMH)[1]หรือ โฮโมเซเปียนส์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (อังกฤษ: anatomically modern Homo sapiens, ตัวย่อ AMHS)[2]หมายถึงสมาชิกของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่มีรูปพรรณสัณฐานภายในพิสัยลักษณะปรากฏของมนุษย์ปัจจุบัน

Homo sapiens sapiens
Homo sapiens - ชาวอาข่าในประเทศไทย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอตา
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ:อันดับวานร
อันดับย่อย:ฉบับร่าง:Haplorhini
อันดับฐาน:Simiiformes
วงศ์:ลิงใหญ่
สกุล:โฮโม
สปีชีส์:H.  sapiens
สปีชีส์ย่อย:H.  s. sapiens
Trinomial name
Homo sapiens sapiens
ที่อยู่ของ H. s. sapiens (แดงและชมพู)

มนุษย์ปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณ (archaic humans) ยุคหินกลาง (แอฟริกา) ประมาณ 300,000 ปีก่อน[3][4]ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสปีชีส์ Homo sapiens อันมนุษย์ทุกคนที่ยังมีชีวิตเป็นสมาชิกซากดึกดำบรรพ์เก่าแก่ที่สุดอายุประมาณ 315,000 ปีก่อนมาจากโบราณสถาน Jebel Irhoud ประเทศโมร็อกโก ในแอฟริกาเหนือ ซึ่งรวมส่วนกะโหลกศีรษะ ขากรรไกร ฟัน และกระดูกยาวของแขนขา จากบุคคล 5 คนซากศพเก่าแก่อื่น ๆ ที่เคยพบรวมทั้ง

ซากศพเก่าแก่ที่สุดซึ่งสามารถตรวจจีโนมอย่างสมบูรณ์ก็คือ "Ust'-Ishim man" ผู้มีชีวิตราว 45,000 ปีก่อนในไซบีเรียตะวันตก[9]

การเปลี่ยนมามีพฤติกรรมปัจจุบัน (Behavioral modernity) ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและความคิด/ประชานรวมทั้งการคิดเป็นนามธรรม การวางแผนระยะยาว พฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์ (เช่น ศิลปะ เครื่องประดับ และดนตรี) การหากินจากสัตว์ใหญ่ และการใช้เทคโนโลยีหินแบบใบมีด ก็เริ่มชัดเจนขึ้นในช่วง 40,000-50,000 ปีก่อน[10]ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในเวลานั้น หรือค่อย ๆ เกิดเป็นระยะเวลานานแล้ว[11][12][13][14][15]ถึงกระนั้น ก็ยังสามารถกล่าวได้ว่า Homo sapiens มีสมรรถภาพในการมีพฤติกรรมปัจจุบันตั้งแต่เกิดขึ้นแล้ว[16]

ชื่อกับกายวิภาค

ชื่อทวินามโดยอนุกรมวิธานของสปีชีส์ที่รวมประชากรมนุษย์ทั้งโลกก็คือ Homo sapiensซึ่งเชื่อว่าเกิดจากบรรพบุรุษในสกุล Homo ราว ๆ 300,000 ปีก่อน[3][17][18]

รูปร่างสัณฐานทั่วไป

โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ปัจจุบันจะบอบบางกว่ามนุษย์โบราณที่เป็นบรรพบุรุษแต่มนุษย์ก็แตกต่างกันมากคือมนุษย์ปัจจุบันก็ยังอาจแข็งแรงมาก และมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ ก็จะยิ่งแข็งแรงกว่านั้นถึงกระนั้น มนุษย์ปัจจุบันก็ยังแตกต่างจากมนุษย์โบราณ (เช่น นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์กลุ่ม Denisovan) ทางกายวิภาคพอสมควร

การเปรียบเทียบทางกายวิภาคของกะโหลกมนุษย์ Homo sapiens (ซ้าย) และ Homo neanderthalensis (ขวา)
(ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์)
ส่วนที่เปรียบเทียบรวมทั้งกระดูกหุ้มสมอง หน้าผาก สันคิ้ว กระดูกจมูก การยื่นออกของใบหน้า มุมกระดูกแก้ม คาง และกระดูกท้ายทอย

กระดูกหุ้มสมอง

กระดูกหุ้มสมองไม่มีส่วนยื่นออกที่กระดูกท้ายทอย (occipital bun) ตรงคอ ซึ่งเป็นส่วนยึดกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงของนีแอนเดอร์ทาลโดยทั่วไป มนุษย์ปัจจุบันแม้ระยะต้น ๆ จะมีสมองส่วนหน้าใหญ่กว่าของมนุษย์โบราณ โดยอยู่เหนือลูกตาแทนที่จะอยู่ไปทางด้านหลังดังนั้น หน้าผากจึงมักทอดสูงกว่าแม้จะไม่เสมอไป และมีสันคิ้วที่เล็กลงถึงกระนั้น ทั้งมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ และมนุษย์บางพวกในปัจจุบันก็ยังมีสันคิ้วหนาพอสมควร แต่ต่างจากแบบโบราณเพราะมีช่องเหนือเบ้าตาเป็นร่องวิ่งผ่านสันคิ้วเหนือตาแต่ละข้าง[19]ซึ่งแบ่งสันคิ้วออกเป็นส่วนตรงกลางส่วนหนึ่งและส่วนปลายสองข้างดังนั้น มนุษย์ปัจจุบันบ่อยครั้งจะมีแค่ส่วนตรงกลาง ถ้ามีซึ่งต่างจากมนุษย์โบราณ ที่สันคิ้วทั้งใหญ่และไม่แยกออกจากกัน[20]

มนุษย์ปัจจุบันมักจะมีหน้าผากสูง บางครั้งตั้งฉาก เทียบกับของบรรพบุรุษที่มักจะเทลาดไปทางด้านหลังอย่างชัดเจน[21]ตามนักชีวสังคมวิทยาท่านหนึ่ง หน้าผากที่ตั้งฉากในมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารโดยการขยับคิ้วและย่นหน้าผาก[22]

ขากรรไกร

เทียบกับมนุษย์โบราณ มนุษย์ปัจจุบันมีฟันที่เล็กกว่าและมีรูปร่างต่างกัน[23][24]ทำให้กระดูกขากรรไกรล่างเล็กกว่าและยื่นออกน้อยกว่า มีผลให้คางดูยื่นออกมาบ่อยครั้งอย่างเด่นชัดโดยส่วนกลางของกระดูกขากรรไกรล่างที่เป็นส่วนของคาง มีบริเวณรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นส่วนสุดของคางที่เรียกว่า mental trigon ซึ่งมนุษย์โบราณไม่มี[25]มีสันนิษฐานว่า ในกลุ่มมนุษย์ที่ยังมีอยู่ การใช้ไฟและเครื่องมือทำให้จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อขากรรไกรลดลง ขากรรไกรจึงบอบบางและเล็กกว่าเมื่อเทียบกับมนุษย์โบราณ มนุษย์ปัจจุบันจะมีใบหน้าที่เล็กกว่าและยื่นออกน้อยกว่า

กระดูกร่าง

กระดูกร่างกายของมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ ที่แข็งแรงที่สุด ก็ยังแข็งแรงสู้ของนีแอนเดอร์ทาล (และของมนุษย์กลุ่ม Denisovan แม้จะยังรู้จักน้อย) ไม่ได้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับกระดูกยาวของแขนขา คือ กระดูกท่อนปลายของแขนขา (คือกระดูกเรเดียส/อัลนา) และกระดูกแข้ง/น่อง มีขนาดเกือบเท่ากับ หรือสั้นกว่ากระดูกส่วนต้น (คือกระดูกต้นแขน/ต้นขา) เพียงเล็กน้อยแต่ว่าในมนุษย์โบราณ โดยเฉพาะนีแอนเดอร์ทาล กระดูกส่วนปลายจะสั้นกว่า ซึ่งมักพิจารณาว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับอากาศหนาว[26]และการปรับตัวเช่นเดียวกันก็เห็นได้ในมนุษย์ปัจจุบันที่อยู่ในเขตขั้วโลก[27]

มนุษย์โบราณมีโครงกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งแสดงถึงชีวิตที่ต้องใช้แรงมากและอาจหมายความว่า มนุษย์ปัจจุบันที่มีโครงสร้างบอบบางกว่า ได้กลายมาพึ่งเทคโนโลยีแทนที่จะพึ่งกำลังกายล้วน ๆ เพื่อต่อสู้กับธรรมชาติ

วิวัฒนาการ

สกุล Homo

มนุษย์สกุล Homo ได้วิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษกลุ่ม australopithecine หลังจาก 3 ล้านปีก่อนเมื่อ Homo erectus ปรากฏในหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ประมาณ 1.8 ถึง 1.3 ล้านปีก่อน โดยขนาดกะโหลกศีรษะได้เพิ่มขึ้นทวีคูณเป็น 850 ซม3[28] เชื่อกันว่า Homo erectus และ Homo ergaster เป็นมนุษย์ชนิดแรก ๆ ที่ใช้ไฟและเครื่องมือที่ซับซ้อนส่วนมนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการมาจาก Homo heidelbergensis, Homo rhodesiensis หรือ Homo antecessor และเมื่อระหว่าง 100,000-50,000 ปีก่อนได้อพยพเข้าไปแทนที่กลุ่มมนุษย์ในเขตต่าง ๆ รวมกลุ่มมนุษย์ Homo erectus, Homo denisova, Homo floresiensis และ Homo neanderthalensis[29][30]

สปีชีส์ต่าง ๆ ของสายพันธุ์มนุษย์ (hominin) ตามลำดับกาลเวลาedit
H. sapiensH. heidelbergensisH. erectusH. ergasterA. garhiA. afarensisA. anamensisAr. ramidusPleistocenePlioceneMiocene
แบบจำลองกำเนิดจากแอฟริกาเร็ว ๆ นี้[31]
แบบจำลองของวิถีการอพยพของมนุษย์ปัจจุบันแสดงบนแผนที่โลก ลูกศรแสดงการอพยพออกจากทวีปแอฟริกา ผ่านทวีปยูเรเชีย ไปสู่ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา ส่วนขั้วโลกเหนืออยู่ตรงกลาง แอฟริกาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นอยู่ที่ข้างบนด้านซ้าย ส่วนอเมริกาใต้อยู่ขวาสุด ตัวเลขแสดงเป็นพันปีก่อนปัจจุบัน ดูเชิงอรรถเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

แบบจำลองกำเนิดมนุษย์หลัก ๆ

นักวิชาการปกติจะแสดงว่า มีแบบจำลองหลัก ๆ สองอย่างที่ใช้อธิบายเรื่องนี้คือ แบบจำลองกำเนิดจากแอฟริกาเร็ว ๆ นี้ (recent African origin) และวิวัฒนาการพร้อมกันหลายเขต (multiregional evolution)เรื่องอภิปรายรวมทั้งจำนวนครั้งที่มีการทดแทนประชากรหรือการผสมพันธุ์กันที่เกิดขึ้นในเขตต่าง ๆ นอกแอฟริกา เมื่อมนุษย์ หรือบรรพบุรุษมนุษย์ ได้อพยพเป็นคลื่น ๆ ออกจากแอฟริกาเพื่อตั้งถิ่นฐานในที่อื่น ๆ และความสำคัญโดยเปรียบเทียบของการอพยพครั้งหลัง ๆ เทียบกับครั้งก่อน ๆ

มุมมองกระแสหลักทางวิทยาศาสตร์ คือ แบบจำลองกำเนิดจากแอฟริกาเร็ว ๆ นี้ แสดงว่า ความหลากลายทางกรรมพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันเกือบทั้งหมดทั่วโลก สืบเชื้อสายมาจากมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันผู้อพยพออกมาจากแอฟริกาแรกสุดเป็นแบบจำลองที่มีหลักฐานต่าง ๆ และจากหลายสาขาวิชารองรับ รวมทั้งซากดึกดำบรรพ์และงานวิจัยทางพันธุกรรมตำแหน่งโดยเฉพาะที่มนุษย์ปัจจุบันได้ปรากฏเป็นครั้งแรกยังไม่ชัดเจน แต่มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์โดยปี 2557 แสดงแหล่งกำเนิดจากแอฟริกาใต้สะฮารา

กลุ่มประชากรที่มีกรรมพันธุ์แปลกกว่าคนอื่นทั้งหมด ก็คือกลุ่มนักล่า-เก็บของป่าในแอฟริกาใต้งานวิจัยปี 2557 ที่ตรวจสอบ Mitochondrial DNA (mtDNA) ของโครงกระดูกที่มีอายุกว่า 2,000 ปีซึ่งเป็นของมนุษย์ก่อนที่กลุ่มประชากรปัจจุบันผู้พเนจรเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า จะได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตนี้ได้พบว่า เป็นมนุษย์ที่สายพันธุ์ทางมารดาใกล้ชิดทาง mtDNA กับบรรพบุรุษต้นกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเพศหญิงที่เรียกว่า "Mitochondrial Eve"[32] ซึ่งสนับสนุนหลักฐานทางโบราณคดีและวิทยากระดูกที่แสดงว่า ในแอฟริกาใต้ มีกลุ่มมนุษย์หาอาหารทะเลที่มี mtDNA ของบรรพบุรุษหญิงโบราณของมนุษย์[33]และสนับสนุนมุมมองว่า มนุษย์ได้อพยพย้ายถิ่นฐานในเบื้องต้นทางทะเล[34]

ต้นไม้ Mitochondrial DNA ของมนุษย์
("Mitochondrial Eve"[32] อยู่เกือบบนสุด ติดกับลูกศรขาด ๆ ที่ชี้ไปที่ "Outgroup" โดยระยะห่างจากกลุ่มที่ไม่ใช่คนแอฟริกาเป็นตัวชี้ว่า สายพันธุ์ทางไมโทคอนเดรียของมนุษย์จะรวมตัวลงที่แอฟริกา)

โดยประวัติแล้ว นักวิชาการผู้คัดค้านแบบจำลองกระแสหลักนี้มักจะถูกกำหนดรวมประเภทว่า เป็นพวกเชื่อสมมติฐานแหล่งกำเนิดหลายเขต (Multiregional origin) ซึ่งมีการศึกษาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 จนถึงทศวรรษ 2000[35]นักวิชาการเหล่านี้อ้างว่า มีสายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ไม่ได้สืบสายมาจากแอฟริกาจำนวนสำคัญ ที่ยังสืบต่อในที่ต่าง ๆ ของโลกทุกวันนี้ ผ่านการผสมพันธุ์กับมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน[36]ตามรูปแบบต่าง ๆ ของแบบจำลองนี้ ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบันจะมีเชื้อสายทางพันธุกรรมที่มาจากมนุษย์ต้น ๆ อาจจนถึง Homo erectus

แต่ชุดข้อมูลทางมานุษยวิวัฒนาการพันธุศาสตร์[37]ให้น้ำหนักต่อแบบจำลองกำเนิดจากแอฟริกางานวิเคราะห์คนยุโรปปัจจุบันแสดงว่า ไม่มี mitochondrial DNA ตามสายของมารดาจากนีแอนเดอร์ทาล (ผู้อยู่โดยหลักในยุโรป) ที่ยังเหลืออยู่ในชาวยุโรปปัจจุบัน[38][39][40]

ส่วนงานหาลำดับจีโนมของมนุษย์กลุ่ม Denisovan เร็ว ๆ นี้ แสดงว่า มนุษย์ปัจจุบันอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์ Denisovanส่วนงานแสดงลำดับจีโนมปี 2553 ของโปรเจ็กต์จีโนมนีแอนเดอร์ทาลชี้ว่า มนุษย์ปัจจุบันหลังอพยพออกจากแอฟริกาแล้ว ได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณในบางรูปแบบ (hybridization)ดีเอ็นเอของคนยุโรปและเอเชีย (คือ คนฝรั่งเศส คนจีน และคนปาปัว) ประมาณว่า 1-4 เปอร์เซ็นต์ เป็นของโบราณ ซึ่งนีแอนเดอร์ทาลก็มี แต่คนแอฟริกาใต้สะฮารา (คือคน Yoruba และคน San ) ไม่มี[41]โดยคนเมลานีเซียมีจีโนม 1-6% เพิ่มจากมนุษย์ Denisovan[42]

ในทางปฏิบัติแล้ว ข้อโต้แย้งมักจะเป็นเรื่องช่วงเวลาที่เกิดการผสมพันธุ์กันนอกเหนือจากว่ามีการผสมพันธุ์เช่นนี้จริง ๆ หรือไม่คือ ความจริงและความสำคัญว่ามนุษย์ได้เชื้อสายยีน (gene flow) จากแอฟริกา เป็นเรื่องที่ยอมรับโดยทั่วไป และความเป็นไปได้ว่า มีการผสมพันธุ์กันเดี่ยว ๆ ระหว่าง มนุษย์ที่อพยพจากแอฟริกาใต้สะฮารา "เร็ว ๆ นี้" กับมนุษย์ที่ "ล้าสมัย" กว่าก่อนประวัติศาสตร์ช่วงต่าง ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยกมาโต้แย้งกันอย่างไรก็ดี ตามงานศึกษาทางพันธุกรรม มนุษย์ปัจจุบันอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณ "อย่างน้อยสองกลุ่ม" คือ นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์ Denisovan[43]

ส่วนงานศึกษาปี 2013 เสนอว่า ความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรมที่เห็นระหว่างมนุษย์โบราณกับมนุษย์ปัจจุบัน สามารถอธิบายได้โดยภาวะพหุสัณฐาน (polymorphism) เหตุมีบรรพบุรุษร่วมกัน แล้วตามด้วยการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์กันซึ่งเป็นการอธิบายว่า ความใกล้ชิดทางพันธุกรรมที่เห็นในกลุ่มมนุษย์ปัจจุบันต่าง ๆ น่าจะมาจากอัตราการรักษาภาวะพหุสัณฐานที่ไม่เท่ากัน[44]อย่างไรก็ดี ผู้ทำงานวิจัยกล่าวว่า งานไม่ได้กันการแพร่พันธุ์แบบ introgression จากมนุษย์โบราณ[44]ส่วนงานปี 2559 แสดงว่า มนุษย์ปัจจุบันได้ผสมพันธุ์กับสายพันธุ์มนุษย์รวมทั้งมนุษย์ Denisovan และนีแอนเดอร์ทาล หลายครั้งหลายครา[45]

มนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ

ซากดึกดำบรรพ์ Skhul V ประมาณ 120,000 ปีกอ่น ที่มีลักษณะของทั้งมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์โบราณ

ประวัติการค้นพบ

มนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ ที่พบในยุคแรก ๆ อยู่ในยุโรปและเป็นมนุษย์พวก Cro-Magnonจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้พบซากใหม่ ๆ ทั่วโลก ซึ่งขยายความรู้เกี่ยวกับกำเนิดและการขยายถิ่นฐานของมนุษย์แม้จะเคยใช้คำว่า Cro-Magnon แต่ปัจจุบันวรรณกรรมทางวิชาการก็มักจะใช้คำว่า มนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ (early modern humans) ส่วนคำว่า Cro-Magnon จะใช้จำกัดต่อซากที่คล้ายกับที่ค้นพบในเบื้องต้น[46][47]

ความแข็งแรงของมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ

ซากศพที่พบของมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ จำนวนมาก เช่นที่โบราณสถาน Omo, Herto, Skhul, และ Peștera cu Oase มีลักษณะทั้งของมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์โบราณ[48][49]ยกตัวอย่างเช่น ซาก Skhul V มีสันคิ้วที่เด่นและมีหน้ายื่นออกแต่ว่า กระดูกหุ้มสมองค่อนข้างกลม ต่างจากของนีแอนเดอร์ทาล และคล้ายกับของมนุษย์ปัจจุบันปัจจุบันรู้แล้วว่า มนุษย์ปัจจุบันเหนือสะฮาราและนอกแอฟริกามีสายพันธุ์มาจากมนุษย์โบราณด้วยแต่ว่า ความแข็งแรงที่พบในมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ เช่น Skhul V จะเป็นตัวสะท้อนสายพันธุ์ผสมหรือการรักษาลักษณะเก่าของบรรพบุรุษไว้ ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน[50][51]

ศัพท์และการจัดชั้น

คำว่า ต้น ๆ เมื่อใช้กับมนุษย์ปัจจุบันปกติจะจำกัดต่อมนุษย์ก่อนยุคหินเก่าปลาย ที่ประมาณ 10,000 ปีก่อนเท่านั้น[47]ซึ่งตรงกับการยุติของยุคน้ำแข็งสุดท้าย และเป็นช่วงที่สัตว์ใหญ่ยุคน้ำแข็งได้สูญพันธุ์เป็นครั้งใหญ่จากจุดนี้ ประชากรมนุษย์ได้เปลี่ยนจากวัฒนธรรมล่าสัตว์ใหญ่กลายไปล่าสัตว์ที่เล็ก ๆ กว่า โดยส่วนที่น้อยมากก็เริ่มหากินจากธัญพืชและพืชมีแป้งสูงที่สามารถเก็บไว้ได้ซึ่งเพิ่มการอยู่กับที่แล้วเพิ่มความหนาแน่นประชากร และในที่สุดโดยอย่างช้า 8,000 ปีก่อน ก็เกิดการปรับพืชเป็นไม้เลี้ยงและการปรับสัตว์เป็นสัตว์เลี้ยง แล้วก็เกษตรกรรมแบบเร่งผลผลิต[52][53]

เมื่อประชากรหนาแน่นขึ้น มีเครื่องมือดีขึ้น มีการใช้แรงน้อยลง คนทั่วโลกจึงแข็งแรงน้อยลง มีผลเป็นกลุ่มประชากรในปัจจุบันที่บอบบางกว่ามนุษย์รุ่นต้น ๆ[54]ดังนั้น มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันจึงสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มอย่างคร่าว ๆ คือระยะต้น (แข็งแรง คือ robust) และระยะหลังยุคน้ำแข็ง (บอบบาง คือ gracile)กระบวนการที่นำไปสู่วิวัฒนาการของมนุษย์ที่มีขนาดเล็กว่าและมีกระดูกแบบบางกว่าดูเหมือนจะเริ่มอย่างช้าก็ 50,000 - 30,000 ปีก่อน[55]

มีสปีชีส์ย่อยของมนุษย์ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น H. s. sapiens ซึ่งรวมมนุษย์ปัจจุบันที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดและ H.s. idaltu ที่พบหลักฐานซากดึกดำบรรพ์อายุ 160,000 ปีก่อน

กลุ่มสปีชีส์ย่อยประชากร
มนุษย์H. s. sapiens
(มนุษย์ปัจจุบัน)
H. sapiens
H. s. idaltu
นีแอนเดอร์ทาลH. s. neanderthalensisH. neanderthalensis
มนุษย์โบราณH. s. heidelbergensis[56][57]H. heidelbergensis
H. s. rhodesiensisH. rhodesiensis
H. s. antecessor[58]H. antecessor
Denisovan[59][60][61]

พฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน

มีข้อถกเถียงกันพอสมควรว่า มนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ สุดประพฤติคล้ายกับมนุษย์เร็ว ๆ นี้หรือที่ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่พฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์เร็ว ๆ นี้ รวมทั้งการใช้ภาษา สมรรถภาพในการคิดเป็นนามธรรม การใช้สัญลักษณ์เพื่อแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมมีสมมติฐานค้านกัน 2 อย่างเกี่ยวกับกำเนิดของพฤติกรรมปัจจุบัน

นักวิชาการบางส่วนอ้างว่า มนุษย์เปลี่ยนมามีสรีรภาพปัจจุบันก่อน เริ่มตั้งแต่ 300,000 ปีก่อน[4]ต่อมา ราว ๆ 50,000 ก่อน จึงเริ่มมีพฤติกรรมปัจจุบันสมมติฐานนี้อาศัยหลักฐานซากดึกดำบรรพ์และหลักฐานทางชีวภาพต่าง ๆ ที่มีอายุมากกว่า 50,000 ปีก่อน[62]และสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่พบหลังจาก 50,000 ปีก่อนดังนั้น มุมมองนี้จึงเท่ากับแยกมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันออกจากมนุษย์ที่มีพฤติกรรมปัจจุบัน[63]

ส่วนมุมมองตรงกันข้ามก็คือ มนุษย์ได้ทั้งกายสภาพและพฤติกรรมปัจจุบันพร้อม ๆ กัน[64]คือ มนุษย์ได้วิวัฒนาการเกิดโครงร่างกระดูกที่เล็กบอบบางกว่า[65]ซึ่งอาจเกิดจากการร่วมมือกันมากขึ้นในหมู่มนุษย์[66][67]

อีกอย่างหนึ่ง นี้อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมปัจจุบันนอกจากนั้นแล้ว มีหลักฐานว่า พัฒนาการทางสมองที่เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ โดยเฉพาะส่วน prefrontal cortex มีเหตุจาก "การเร่งวิวัฒนาการ metabolome (สารเคมีมีโมเลกุลเล็กที่พบในตัวอย่างชีวภาพ) อย่างผิดธรรมดา...ขนานกับการลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างสุดขีดการเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมในสมองและกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วตามที่เห็น พร้อมกับทักษะทางประชานของมนุษย์ที่พิเศษและกล้ามเนื้อที่มีแรงน้อย อาจสะท้อนถึงกลไกวิวัฒนาการของมนุษย์แบบขนาน"[68]

อนึ่ง หอก Schöningen และสิ่งที่พบคู่กัน เป็นหลักฐานของเทคโนโลยีซับซ้อนที่มีอยู่แล้วเมื่อ 300,000 ปีก่อนและเป็นข้อพิสูจน์ชัด ๆ ประการแรกสำหรับการล่าสัตว์ใหญ่ที่ทำเป็นปกติเพราะว่า การล่าสัตว์อยู่เป็นฝูงที่หนีได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีกลยุทธ์การล่าที่เจนโลก ไม่มีโครงสร้างทางสังคมที่ซับซ้อนและไม่มีการสื่อสารที่ก้าวหน้า (คือภาษา) เป็นเรื่องสำเร็จได้ยากดังนั้น มนุษย์ที่พบคู่กับหอกคือ H. heidelbergensis ต้องมีทักษะทางประชานและปัญญาอยู่แล้ว เพื่อการวางแผนคาดการณ์ล่วงหน้า การคิด และการกระทำ ที่นักวิชาการได้ให้เครดิตกับมนุษย์ปัจจุบันพวกเดียว[69][70]

ข้อมูลโบราณคดีปี 2555 แสดงว่า องค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น ดังที่พบในนักล่า-เก็บของป่าชาวแซน (ในทวีปแอฟริกาใต้) มีอยู่แล้วอย่างช้าก็เมื่อ 40,000 ปีก่อน รวมทั้งลูกประคำที่ทำจากเปลือกไข่นกกระจอกเทศ ไม้ขุดทำด้วยวัสดุคล้ายกับที่คนป่าปัจจุบันใช้หัวลูกธนูที่มีเครื่องหมายเจ้าของสลักแล้วระบายสีดินแดงและการแต้มพิษ[71]

ยังมีนัยอีกด้วยว่า "...การใช้แรงกดสกัดชิ้นหิน (pressure flaking) สามารถอธิบายสัณฐานของสิ่งประดิษฐ์หินที่ขุดพบในชั้น ยุคหินกลาง (MSA) เมื่อ 75,000 ปีก่อน ที่ถ้ำบลอมโบส์ในแอฟริกาใต้ได้ดีที่สุด เทคนิคนี้ใช้ในการปรับรูปร่างขั้นสุดท้ายของปลายแหลมมีหน้าสองแบบสติลเบย์ โดยทำบนซิลครีตที่เผาไฟแล้ว"[72]ทั้งการใช้แรงกดสกัดชิ้นหินและการเผาสวัสดุเคยเชื่อกันว่า เกิดขึ้นทีหลังกว่านั้นมากในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ และทั้งสองล้วนชี้ความซับซ้อนทางพฤติกรรมระดับปัจจุบันในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

รายงานต่อมาปี 2555 เกี่ยวกับถ้ำโบราณสถานต่าง ๆ ที่ชายทะเลแอฟริกาใต้ชี้ว่า "ข้อถกเถียงว่า ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมและทางประชานของมนุษย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อไร" อาจจะกำลังเข้าสู่ที่ยุติเพราะพบ "เทคโนโลยีก้าวหน้าจากกระบวนการผลิตแบบลูกโซ่ที่ซับซ้อน" ซึ่ง "บ่อยครั้งต้องมีการสืบทอดที่แม่นยำมาก และดังนั้น ต้องมีภาษา" และเทคโนโลยีก้าวหน้าดังว่าก็พบแล้วที่โบราณสถาน Pinnacle Point Site 5-6ซึ่งหาอายุได้ประมาณ 71,000 ปีก่อนนักวิจัยเสนอว่า งานของตน"...แสดงว่า เทคโนโลยีเครื่องมือหินแบบเล็ก ๆ (microlithic) เกิดขึ้นเร็วในแอฟริกาใต้ วิวัฒนาการขึ้นในช่วงระยะเวลายาว (~11,000 ปี) และปกติจะจับคู่กับการเผาไฟที่ซับซ้อน ซึ่งทำให้คงอยู่ได้เกือบ 100,000 ปีเทคโนโลยีก้าวหน้าในแอฟริกาทั้งเกิดเร็วและอยู่นานคือการชักตัวอย่างโบราณสถานแอฟริกาใต้เป็นจำนวนน้อย เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดในเรื่อง 'ความวับ ๆ แวม ๆ' ที่รู้สึก (ของนักวิชาการว่า เทคโนโลยีก้าวหน้าดูจะเกิดขึ้นแล้วก็หายไปเป็นพัก ๆ ในช่วงต้น ๆ ก่อน 50,000 ปีก่อน)"[73]

ข้อมูลล่าสุดเช่นนี้บวกกับข้อมูลจากโครงการจีโนมมนุษย์แสดงว่า มนุษย์ผู้หาอาหารในแอฟริกาใต้สะฮาราได้พัฒนาลักษณะทางประชานและพฤติกรรมแบบปัจจุบันโดยอย่างช้าก็ 50,000 ปีก่อนก่อนช่วงเกิดความหลากหลายแบบ adaptive radiation หลังออกจากแอฟริกาในยุคน้ำแข็งสุดท้ายตามที่ประเมิน[74]

แม้ว่า พัฒนาการเพื่อมีพฤติกรรมปัจจุบัน การล่าสัตว์และการหาอาหารที่ซับซ้อนในแอฟริกาใต้สะฮารา จะเชื่อว่าเริ่มอย่างช้าก็ 50,000 ปีก่อนแต่ว่า ความจริงอาจมีเหตุจากสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นก่อน คือการเปลี่ยนเป็นสภาพที่แห้งแล้งและหนาวเย็นกว่าในช่วงยุคน้ำแข็งระหว่าง 135,000-75,000 ปีก่อน[75]นี่อาจผลักดันกลุ่มมนุษย์ผู้สืบหาที่หลบภัยแล้งในผืนแผ่นดินใหญ่ ให้อพยพไปสู่ที่ลุ่มชื้นแฉะตามชายทะเลที่สมบูรณ์ไปด้วยหอยและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆเนื่องว่าระดับน้ำทะเลต่ำเพราะแข็งค้างอยู่ในธารน้ำแข็ง ที่ลุ่มชื้นแฉะเช่นนี้ก็จะมีอยู่ทั่วชายฝั่งทะเลทางใต้ของทวีปยูเรเชียการใช้แพหรือเรืออาจอำนวยการสำรวจหาเกาะนอกฝั่งและการเดินทางตามฝั่งทะเล และในที่สุดทำให้สามารถอพยพไปยังเกาะนิวกินีแล้วต่อจากนั้นออสเตรเลีย[76]

ในเวลาเดียวกัน ก็มีการอพยพขยายตัวไปยังแม่น้ำสำคัญ ๆ ในระหว่างทั้งหมด ตลอดจนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทวีปยูเรเชียด้วยเมื่อธารน้ำแข็งหดตัวลงทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น มนุษย์ปัจจุบันก็ย้ายถิ่นฐานลึกเข้าไปในแผ่นดินมีการเสนอในปัจจุบันด้วยว่า มีการผสมพันธุ์ร่วมกับมนุษย์สปีชีส์ย่อยอื่น ๆ เช่น นีแอนเดอร์ทาล[77]และมนุษย์ Denisovans[78]เมื่อไรก็ตามที่เจอกัน

ดูเพิ่ม

ซากดึกดำบรรพ์
ปฏิวัติทางพันธุกรรม
ประชากร

อ้างอิงและเชิงอรรถ

แหล่งข้อมูลอื่น

พิมพ์ก่อนและภายในคริสต์ทศวรรษที่ 20
สิ่งตีพิมพ์ในปัจจุบัน
ข้อมูลทั่วไป
พิพิทธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง