สงครามเจ็ดปี

สงครามเจ็ดปี (อังกฤษ: Seven Years' War; ค.ศ. 1756 – 1763) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1756 จนถึง 1763 โดยเกี่ยวข้องกับทุกประเทศมหาอำนาจในยุโรป มีการสู้รบเกิดขึ้นในห้าทวีป สงครามเจ็ดปีเป็นสงครามระหว่างสองข้างด้วยกัน ข้างหนึ่งนำโดยบริเตนใหญ่พร้อมด้วยปรัสเซียและนครรัฐเล็กน้อยในเยอรมัน กับอีกข้างหนึ่งที่นำด้วยฝรั่งเศสพร้อมด้วยจักรวรรดิออสเตรีย, จักรวรรดิรัสเซีย, สวีเดน และซัคเซิน โดยรัสเซียเปลี่ยนข้างอยู่ระยะหนึ่งในช่วงปลายของสงคราม

สงครามเจ็ดปี
ทวนเข็มจากบนซ้าย; ยุทธการที่ปลาศี, ยุทธการที่คาริลลอน, ยุทธการที่ซอร์นดอร์ฟ และ ยุทธการที่คูเนอร์สดอฟ
วันที่ค.ศ. 1756–ค.ศ. 1763
สถานที่
ยุโรป, แอฟริกา, อินเดีย, อเมริกาเหนือ, ฟิลิปปินส์
ผลแนวร่วมอังกฤษ-ปรัสเซีย-โปรตุเกสชนะ
สนธิสัญญาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
สนธิสัญญาปารีส
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
สถานะเดิมก่อนสงครามในทวีปยุโรป บริเตนและสเปนยึดอาณานิคมเกือบทั้งหมดของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือ การควบคุมดินแดนส่วนใหญ่ของไซลีเซียโดยปรัสเซียยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม

สหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรปรัสเซีย ปรัสเซีย
สหพันธ์อิโรคว็อยซ์
โปรตุเกส โปรตุเกส
เบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
รัฐเฮ็สเซิน เฮ็สเซิน-คาสเซิล
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส[1] ฝรั่งเศส และอาณานิคม
จักรวรรดิออสเตรีย ออสเตรีย
 รัสเซีย
 สวีเดน
 สเปน และอาณานิคม
ซัคเซิน
ซาร์ดีเนีย ซาร์ดิเนีย
จักรวรรดิโมกุล
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ราชอาณาจักรปรัสเซีย พระเจ้าฟรีดริชที่ 2
ราชอาณาจักรปรัสเซีย เจ้าชายไฮน์ริช
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ฟรีดริช วิลเฮล์ม ฟอน เซย์ลิทซ์
สหราชอาณาจักร พระเจ้าจอร์จที่ 2
สหราชอาณาจักร พระเจ้าจอร์จที่ 3
สหราชอาณาจักร ดยุกแห่งเดวอนเชอร์
สหราชอาณาจักร ดยุกแห่งนิวคาสเซิล
สหราชอาณาจักร มาร์ควิสแห่งกรันบี
สหราชอาณาจักร รอเบิร์ด ไคลฟ์
สหราชอาณาจักร เจฟฟรีย์ แอมเฮิร์ส
พระเจ้าฌูเซที่ 1
จังหวัดฮันโนเฟอร์ ดยุกแฟร์ดีนันท์
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส หลุยส์ที่ 15
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส หลุยส์-โจเซฟแห่งมงต์คาล์ม  
จักรวรรดิออสเตรีย เคานท์แห่งดอน
จักรวรรดิออสเตรีย ฟรันซ์ มอริทซ์ ฟอน เลซีย์
จักรวรรดิออสเตรีย ชาร์ลส์ อเล็กซานเดอร์แห่งลอร์แรน
จักรวรรดิออสเตรีย เอิร์นสท์ ฟอน ลอดอน

จักรวรรดิรัสเซีย เอลิซาเบธแห่งรัสเซีย
จักรวรรดิรัสเซีย อะเลคซันดร์ ซูโวรอฟ
ฟรีดิช ออกัสตัสที่ 2
ชาห์ อลัมที่ 2
ชีราช อุดดอลา

ต่อมาโปรตุเกส (ข้างบริเตนใหญ่) และสเปน (ข้างฝรั่งเศส) ถูกดึงเข้าร่วมในสงคราม นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ที่วางตัวเป็นกลางก็เข้าร่วมสงครามเมื่อนิคมของตนเองในอนุทวีปอินเดียถูกโจมตี เพราะความกว้างขวางของสงครามที่กระจายไปทั่วโลกนี้เองทำให้สงครามเจ็ดปีได้รับการบรรยายว่าเป็น สงครามโลกครั้งที่ศูนย์ (World War Zero) ที่มีผลให้ผู้เสียชีวิต 9 แสนถึง 1.4 ล้านคน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อดุลอำนาจทางการเมืองอย่างมหาศาล

แม้ว่าทวีปยุโรปจะเป็นสนามรบหลักของสงครามในภาพรวม แต่ผลของสงครามก็มิได้ทำให้สถานการณ์ในยุโรปเปลี่ยนไปมากจากก่อนสงครามเท่าใดนัก กลับกลายเป็นว่า สงครามครั้งนี้สร้างผลกระทบในทวีปเอเชียและอเมริกามากกว่าและยาวนานกว่าในทวีปยุโรป สงครามครั้งนี้ยุติความเป็นมหาอำนาจอาณานิคมของชาติฝรั่งเศสในทวีปอเมริกา ประเทศฝรั่งเศสเสียดินแดนเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือและหมู่เกาะเวสต์อินดีสบางส่วน[2] ประเทศปรัสเซียยังคงเป็นมหาอำนาจและยังคงครอบครองบริเวณไซลีเซียที่เดิมเป็นของประเทศออสเตรีย ประเทศบริเตนใหญ่กลายเป็นมหาอำนาจในการเป็นเจ้าของอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ และเป็นผู้มีอำนาจมากกว่าผู้ใดในการครอบครองอาณานิคม

เบื้องหลัง

สงครามเจ็ดปีมักจะถือกันว่าเป็นสงครามที่ต่อเนื่องมาจากสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1740 – 1748 เมื่อพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียได้ดินแดนไซลีเซียมาจากออสเตรีย พระนางเจ้ามาเรีย เทเรซา แห่งออสเตรีย ทรงจำต้องลงพระนามในสนธิสัญญาเอซ์-ลา-ชาเปลเพื่อเป็นการยุติสงคราม และซื้อเวลาในการสร้างเสริมกองทัพออสเตรีย และเสาะหาพันธมิตรทางการทหารใหม่ซึ่งทรงได้รับความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง แผนที่ทางการเมืองยุโรปถูกร่างใหม่ใน 2-3 ปีหลังออสเตรียยุติการเป็นพันธมิตรกับบริเตนใหญ่ หลังจากที่เป็นมิตรสหายกันมากว่า 25 ปี

มิตรสหายหลักของปรัสเซียก็มีเพียงบริเตนใหญ่ซึ่งครองบัลลังก์ฮันโนเฟอร์ ขณะเดียวกัน บริเตนใหญ่ก็เกรงว่าฝรั่งเศสจะรุกรานฮันโนเฟอร์ เมื่อดูตามสถานการณ์แล้ว การจับคู่ผูกมิตรดังกล่าวก็เป็นคู่ที่เหมาะสมกันอย่างที่สุด บริเตนใหญ่มีราชนาวีที่ทรงแสนยานุภาพที่สุด ขณะที่ปรัสเซียมีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพที่สุด การที่ได้ปรัสเซียมาเป็นมิตรสหายทำให้บริเตนใหญ่อุ่นใจมากขึ้นและสามารถจดจ่ออยู่กับการแผ่ขยายอาณานิคมต่างทวีปได้อย่างเต็มที่

หลังจากที่ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คของออสเตรียพ่ายแพ้ในสงครามครั้งก่อนหน้า ก็ได้มีการปฏิรูปกองทัพขึ้นใหม่ตามแบบอย่างกองทัพปรัสเซีย พระนางเจ้ามาเรีย เทเรซา ผู้มีพระปรีชาสามารถทางด้านการทหารไม่น้อยกว่าผู้ใดทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความกดดันที่เป็นผลให้เกิดการปฏิรูปกองทัพครั้งนี้ จากความพ่ายแพ้หลายครั้งในสงครามก่อนหน้าประกอบกับไม่พอใจที่ก่อนหน้า บริเตนใหญ่มักช่วยเหลือออสเตรียอย่างไม่เต็มที่และไม่เต็มใจ ออสเตรียจึงตั้งความหวังใหม่ว่าฝรั่งเศสจะมาเป็นมิตรผู้สามารถช่วยกอบกู้ไซลีเซียคืนจากปรัสเซีย และยุติการขยายอำนาจของปรัสเซีย

เหตุการณ์

ฝ่ายในสงครามเจ็ดปี
น้ำเงิน: บริเตนใหญ่, ปรัสเซีย, โปรตุเกส และพันธมิตร
เขียว: ฝรั่งเศส, สเปน, ออสเตรีย, รัสเซีย, สวีเดน และพันธมิตร

สงครามเจ็ดปีปะทุขึ้นในปี 1754–1756 เมื่อบริเตนใหญ่เข้าโจมตีที่มั่นของฝรั่งเศสในทวีปอเมริกาเหนือและยึดเอาเรือพาณิชย์ของฝรั่งเศสกว่าร้อยลำ ในขณะนั้น มหาอำนาจอย่างปรัสเซียก็กำลังต่อสู้อยู่กับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คแห่งออสเตรียเพื่อแย่งชิงดินแดนทั้งในและนอกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งในปี 1756 ชาติต่างๆก็เกิดการย้ายฝ่ายครั้งใหญ่เรียกว่า "การปฏิวัติทูต" ซึ่งทำให้ดุลอำนาจในยุโรปเปลี่ยนไปอย่างมาก

เมื่อปรัสเซียรู้ดีว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามได้ จึงรีบบุกครองซัคเซินอย่างรวดเร็วและสร้างความอลหม่านไปทั่วยุโรป เนื่องจากออสเตรียซึ่งเคยเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสในการทวงคืนไซลีเซียนั้นเป็นฝ่ายแพ้ในสงครามครั้งก่อน และปรัสเซียก็หันไปจับมือกับบริเตนใหญ่ และในการประชุมสภาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งต่อมา แคว้นส่วนใหญ่ในจักรวรรดิฯได้เลือกยืนอยู่ฝ่ายเดียวกับออสเตรีย และบางแคว้นเลือกอยู่กับฝ่ายพันธมิตรบริเตนใหญ่-ปรัสเซีย (โดยเฉพาะฮันโนเฟอร์) สวีเดนซึ่งเกรงว่าภัยจากการขยายดินแดนของปรัสเซียจะมาถึงตน จึงประกาศเข้าร่วมกับฝรั่งเศสในปี 1757 ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องประเทศราชต่างๆในบอลติกของสวีเดน สเปนซึ่งปกครองด้วยราชวงศ์เดียวกับฝรั่งเศสก็เข้าร่วมสงครามด้วยในนามของฝรั่งเศส โดยเข้ารุกรานโปรตุเกสในปี 1762 แต่ไม่สำเร็จ ส่วนจักรวรรดิรัสเซียเป็นพันธมิตรกับออสเตรียอยู่ตั้งแต่ต้น ก็เกิดอาการกลัวว่าปรัสเซียจะเข้ารุกรานเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ดังนั้นในปี 1762 รัสเซียจึงล้มเลิกความคิดที่จะเอาชนะปรัสเซียและทำสนธิสัญญาสันติภาพกับปรัสเซียแทน ในขณะที่ชาติขนาดกลางและขนาดเล็กจำนวนมากในยุโรป เช่น เดนมาร์ก, ก็มีท่าทีไม่เหมือนกับสงครามครั้งก่อนๆ แม้ว่าจะมีส่วนได้ส่วนเสียกับสงครามครั้งนี้แต่ก็พยายามหลีกเลี่ยงและอยู่ห่างๆจากความขัดแย้งที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น

สงครามยุติด้วยสนธิสัญญาปารีสระหว่างสเปน-ฝรั่งเศส-บริเตนใหญ่ กับสนธิสัญญาฮูแบร์ทุสบวร์คระหว่างซัคเซิน-ออสเตรีย-ปรัสเซีย ในปี 1763

ที่มาของชื่อสงคราม

ยุทธนาวีที่อ่าวไควเบิร์น 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1759

ในแคนาดา, ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร คำว่า “สงครามเจ็ดปี” หมายถึงความขัดแย้งในทวีปอเมริกาเหนือ ที่รวมทั้งความขัดแย้งในยุโรปและเอเชียด้วย ความขัดแย้งนี้แม้ว่าจะเรียกว่า “สงครามเจ็ดปี” แต่อันที่จริงแล้วเป็นสงครามที่ยาวเก้าปีเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1754 จนถึงปี ค.ศ. 1763 ในสหรัฐอเมริกาสงครามส่วนที่เกิดขึ้นที่นั่นมักจะเป็นที่รู้จักกันว่า “สงครามฝรั่งเศส-อเมริกันอินเดียน” แต่นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์หลายท่านในสหรัฐอเมริกาเช่นเฟรด แอนเดอร์สันเรียกสงครามนี้ตามที่เรียกกันในประเทศอื่นว่า “สงครามเจ็ดปี” ไม่ว่าสงครามจะเกิดขึ้นที่ใด ในควิเบคความขัดแย้งนี้บางครั้งก็เรียกว่า “La Guerre de la Conquête” ที่แปลว่า “สงครามแห่งการพิชิต” ส่วนในอินเดียก็เรียกว่า “สงครามกรณาฏ” (Carnatic Wars) ขณะที่การต่อสู้ระหว่างปรัสเซียและออสเตรียเรียกว่า “สงครามไซลีเซียครั้งที่ 3”

วินสตัน เชอร์ชิล บรรยายสงครามนี้ว่าเป็น “สงครามโลก[3] เพราะเป็นความขัดแย้งที่นำมาซึ่งสงครามไปทั่วทุกหนทุกแห่งในโลกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ แม้ว่าผู้ที่มีความขัดแย้งกันส่วนใหญ่มาจากยุโรปและจากอาณานิคมโพ้นทะเลที่เป็นของประเทศเหล่านั้น ส่วนหนึ่งของความขัดแย้งเป็นความขัดแย้งระหว่างบริเตนใหญ่และฝรั่งเศสในการขยายจักรวรรดิ สงครามเป็นเหตุการณ์สำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ของสงครามร้อยปีครั้งที่ 2[4]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง