สนธิสัญญาทรียานง

สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างราชอาณาจักรฮังการี กับชาติฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อสิ้นสุดสงครามโล

สนธิสัญญาทรียานง (ฝรั่งเศส: Traité de Trianon; ฮังการี: Trianoni békeszerződés; อิตาลี: Trattato del Trianon; โรมาเนีย: Tratatul de la Trianon; อังกฤษ: Treaty of Trianon) บางครั้งมีการเรียกว่า คำสั่งสันติภาพทรียานง (อังกฤษ: Peace Dictate of Trianon)[1][2][3][4][5] หรือที่ในฮังการีเรียกว่า คำสั่งแห่งทรียานง (อังกฤษ: Dictate of Trianon)[6][7] เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นในการประชุมสันติภาพปารีสและลงนาม ณ พระราชวังกร็องทรียานง ที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ซึ่งถือเป็นการยุติสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเป็นทางการ ระหว่างประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่[a] และราชอาณาจักรฮังการี[8][9][10][11] นักการทูตฝ่ายฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญในการร่างสนธิสัญญา โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดตั้งพันธมิตรของฝรั่งเศสในรัฐที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ สนธิสัญญาทรียานงควบคุมสถานะของราชอาณาจักรฮังการี และได้กำหนดพรมแดนโดยรวมของประเทศตามแนวสงบศึกที่สร้างขึ้นในเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม ค.ศ. 1918 ทั้งยังทำให้ฮังการีกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีพื้นที่ 93,073 ตารางกิโลเมตร (35,936 ตารางไมล์) เป็นปริมาณเพียง 28% ของพื้นที่เดิมของราชอาณาจักรฮังการีก่อนสงคราม ซึ่งเคยมีพื้นที่อยู่ 325,411 ตารางกิโลเมตร (125,642 ตารางไมล์) ราชอาณาจักรที่ถูกแบ่งแยกนี้มีประชากรเพียง 7.6 ล้านคน คิดเป็น 36% ของจำนวนประชากรในฮังการีก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่มีประชากรอยู่ 20.9 ล้านคน[12] แม้ว่าพื้นที่ที่จัดสรรให้กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่แล้ว ประชากรจะไม่ใช่ชาวฮังการี แต่ในชาวฮังการีราว 3.3 ล้านคน (31%) ถูกทอดทิ้งอยู่นอกเขตแดนของฮังการีและกลายเป็นชนกลุ่มน้อย[13][14][15][16] นอกจากนี้ สนธิสัญญายังได้จำกัดขนาดกองทัพฮังการีไว้ที่ 35,000 นาย และยุติบทบาทของกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีลง ซึ่งการตัดสินใจและผลลัพธ์ภายหลังเหล่านี้เป็นสาเหตุของความขุ่นเคืองอย่างสุดซึ้งในฮังการีตั้งแต่นั้นมา[17]

สนธิสัญญาทรียานง
สนธิสัญญาสันติภาพระหว่างมหาพันธมิตรและประเทศที่เข้าร่วมกับฮังการี
การมาถึงของผู้ลงนามทั้งสองบุคคล อาโกชต์ แบนาร์ด (Ágost Benárd) และอ็อลเฟรด ดร็อชแช-ลาซาร์ (Alfréd Drasche-Lázár) เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ณ พระราชวังกร็องทรียานง เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส
วันลงนาม4 มิถุนายน ค.ศ. 1920
ที่ลงนามแวร์ซาย ฝรั่งเศส
วันมีผล26 กรกฎาคม ค.ศ. 1921
ภาคี1. ฝ่ายสัมพันธมิตรและประเทศที่เกี่ยวข้อง
 ฝรั่งเศส
 สหราชอาณาจักร
 อิตาลี
 ญี่ปุ่น
ฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม
 จีน
คิวบา คิวบา
 เชโกสโลวาเกีย
 กรีซ
 ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
ธงของประเทศนิการากัว นิการากัว
ธงของประเทศปานามา ปานามา
 โปแลนด์
โปรตุเกส โปรตุเกส
 โรมาเนีย
 สยาม
2. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง
 ราชอาณาจักรฮังการี
ผู้เก็บรักษารัฐบาลฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลี
Treaty of Trianon ที่ วิกิซอร์ซ
ประธานาธิบดีมิฮาย กาโรยี กล่าวสุนทรพจน์หลังจากการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนฮังการีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ภาพยนตร์: การกล่าวปราศรัยอย่างสันติของเบ-ลอ ลินแดร์ ต่อนายทหาร และการประกาศปลดอาวุธตนเองของฮังการีเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918
ภาพยนตร์ข่าวเกี่ยวกับการลงนามสนธิสัญญาทรียานง ค.ศ. 1920
สถิติประชากรของดินแดนฮังการีใน ค.ศ. 1910

ประเทศผู้ได้รับผลประโยชน์หลัก ได้แก่ ราชอาณาจักรโรมาเนีย, สาธารณรัฐเชโกสโลวัก, ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน (ยูโกสลาเวียในภายหลัง), และสาธารณรัฐออสเตรีย หนึ่งในองค์ประกอบหลักของสนธิสัญญาฉบับนี้ คือ เรื่องแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้คนที่ไม่ใช่ชาวฮังการี มีรัฐชาติและความเป็นอิสรภาพของตนเอง[18] อีกทั้งฮังการียังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านด้วย สนธิสัญญาดังกล่าวมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้กำหนดมากกว่าการเจรจาร่วมกับฮังการี และฮังการีก็ไม่มีทางเลือกอันใด นอกเสียจากยอมรับเงื่อนไขสนธิสัญญา[18] คณะผู้แทนฮังการีได้ลงนามในสนธิสัญญาทรียานง (พร้อมกับการเขียนประท้วงสนธิสัญญาแนบร่วม) และไม่นานหลังจากการลงนาม ความโกลาหลเพื่อการแก้ไขสนธิสัญญาจึงเริ่มต้นทันที[14][19]

สำหรับพรมแดนของฮังการีในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เหมือนกับพรมแดนที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญาทรียานง แต่มีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยระหว่างพรมแดนฮังการี-ออสเตรีย ใน ค.ศ. 1924 และการโอนย้ายหมู่บ้านสามแห่งไปยังเชโกสโลวาเกียใน ค.ศ. 1947[20][21]

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จะมีแนวคิด "การกำหนดการปกครองด้วยตนเองของประชากร" โดยฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ก็อนุญาตให้มีการลงประชามติเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (ภายหลังรู้จักกันในชื่อการลงประชามติโชโปรน) เพื่อยุติพรมแดนที่มีข้อพิพาทบนดินแดนเดิมของราชอาณาจักรฮังการี[22] ซึ่งเป็นการพิพาทดินแดนขนาดเล็กระหว่างสาธารณรัฐออสเตรียที่ 1 และราชอาณาจักรฮังการี เนื่องจากเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ กองกำลัง Rongyos Gárda กระทำการโจมตีอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับไล่กองกำลังออสเตรียที่เข้ามาในพื้นที่ ระหว่างการลงประชามติเมื่อปลาย ค.ศ. 1921 หน่วยคะแนนเสียงได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่กองทัพอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร[23]

หมายเหตุ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง