อาหารดัดแปรพันธุกรรม

อาหารดัดแปรพันธุกรรม (อังกฤษ: genetically modified foods หรือ GM foods) เป็นอาหารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตที่ดีเอ็นเอของมันมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างโดยใช้วิธีการทางพันธุวิศวกรรม เทคนิคเหล่านี้ทำให้เกิดลักษณะทางพันธุกรรมใหม่ซึ่งทำให้ต้องมีการควบคุมมากยิ่งขึ้นกว่าการสร้างทางพันธุกรรมในอาหารแบบเก่าก่อนหน้านี้โดยวิธีการเช่นการปรับปรุงพันธุ์แบบคัดเลือก (selective breeding) และการปรับปรุงพันธุ์แบบกลายพันธุ์ (mutation breeding) [1]

การนำออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ของพืชดัดแปรพันธุกรรมได้เริ่มต้นขึ้นในปี 1994 เมื่อบริษัท Calgene วางตลาด Flavr SAVR (มะเขือเทศสุกช้า) เป็นครั้งแรก[2] จนถึงปัจจุบัน การดัดแปรพันธุกรรมของอาหารส่วนใหญ่ได้เน้นหลักในพืชทำเงินที่มีความต้องการสูงโดยเกษตรกรเช่นถั่วเหลืองดัดแปลง ข้าวโพดดัดแปลง คาโนลา และน้ำมันเมล็ดฝ้าย พืชเหล่านี้ได้รับการดัดแปลงให้มีความต้านทานต่อเชื้อโรคและสารเคมีกำจัดวัชพืชและมีรูปแบบของสารอาหารที่ดีกว่า ปศุสัตว์ก็ได้รับการพัฒนาดัดแปลงแบบทดลองเช่นกัน แม้ว่า ณ เดือนพฤศจิกายน 2013 ยังไม่มีอยู่ในตลาด[3]

มีฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างว่าอาหารในตลาดที่ได้มาจากพืชจีเอ็มโอไม่ได้แสดงความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์มากไปกว่าอาหารธรรมดา[4][5][6][7][8][9] อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามได้คัดค้านอาหารจีเอ็มในหลายเหตุผลรวมทั้งปัญหาด้านความปลอดภัย ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและความกังวลทางเศรษฐกิจที่ถูกยกขึ้นมาโดยความจริงที่ว่าเมล็ดพันธุ์ (และอาจเป็นสัตว์) จีเอ็มที่เป็นแหล่งที่มาของอาหารอาจมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่หลายบริษัทเป็นเจ้าของ

ประวัติ

เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์การอาหารที่ซึ่งเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงการผลิตอาหารหรือปรับปรุงตัวอาหารเอง[10] กระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่แตกต่างกันได้ถูกใช้ในการสร้างและพัฒนาอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มใหม่รวมถึงอุตสาหกรรมการหมัก การปลูกพืชและพันธุวิศวกรรม[11]

การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการทำอาหารสามารถย้อนกลับไปหลายพันปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของชาวซูเมอร์และชาวบาบิโลเนีย กลุ่มชนเหล่านี้ใช้ยีสต์ในการทำเครื่องดื่มหมักเช่นเบียร์[12] การใช้เอนไซม์ของพืชเช่นมอลต์ถูกใช้เป็นพันปีมาแล้วก่อนที่จะมีความเข้าใจเกี่ยวกับเอนไซม์ด้วยซ้ำ[13] ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้เกิดขึ้นกับการประดิษฐ์ของกล้องจุลทรรศน์โดยอันโตนี ฟัน เลเวินฮุก ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถค้นพบจุลินทรีย์ที่จะถูกนำมาใช้ในการผลิตอาหาร[13] เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกในปี 1871 เมื่อ หลุยส์ ปาสเตอร์พบว่าน้ำร้อนที่อุณหภูมิหนึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีได้ ซึ่งจะมีผลกับไวน์และการหมัก กระบวนการนี้จะถูกนำไปใช้กับการผลิตนม การให้ความร้อนกับนมที่อุณหภูมิหนึ่งสามารถปรับปรุงสุขอนามัยด้านอาหาร[13]

วิทยาศาสตร์ด้านอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารก้าวหน้าไปรวมถึงการค้นพบของเอนไซม์ทั้งหลายและบทบาทของพวกมันในการหมักและการย่อยอาหาร การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นต่อไปของเอนไซม์ เอนไซม์ในอุตสาหกรรมทั่วไปจะใช้สารที่สกัดพืชและจากสัตว์ แต่พวกมันถูกแทนที่ในภายหลังโดยเอนไซม์จากจุลินทรีย์ ตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ chymosin (เอนไซม์ย่อยโปรตืนที่พบในกระเพาะสัตว์ทำให้นมจับต้วเป็นก้อน) ในการผลิตเนยแข็ง โดยทั่วไปเนยแข็งมักจะถูกทำขึ้นโดยการใช้เอนไซม์ที่สกัดจากเยื่อบุกระเพาะอาหารของวัว นักวิทยาศาสตร์เริ่มใช้ chymosin แบบ recombinant ที่จะทำให้เกิดการแข็งตัวของนมทำให้ได้นมข้นเนยแข็ง (อังกฤษ: cheese curd) [13] การผลิตเอนไซม์อาหารโดยการใช้เอนไซม์จุลินทรีย์เป็นการประยุกต์ครั้งแรกของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในการผลิตอาหาร[14] เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารได้เติบโตขึ้นไปรวมถึงการโคลนพืชและสัตว์เช่นเดียวกับการพัฒนาขั้นต่อไปของอาหารดัดแปรพันธุกรรมในหลายปีที่ผ่านมา

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบในปี 1946 ว่าดีเอ็นเอสามารถถ่ายโอนระหว่างสิ่งมีชีวิต[15] ครั้งแรกของพืชดัดแปรพันธุกรรมถูกผลิตขึ้นในปี 1983 โดยใช้พืชยาสูบที่ทนต่อยาปฏิชีวนะ ในปี 1994 การดัดแปรพันธุกรรมมะเขือเทศ Flavr SAVR ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสำหรับการตลาดในสหรัฐอเมริกา การดัดแปลงทำให้มะเขือเทศชะลอการสุกหลังจากเก็บเกี่ยว[2] ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 chymosin recombinant ได้รับการอนุมัติให้นำมาใช้ในหลายประเทศทดแทนกระเพาะวัวในการทำเนยแข็ง[16][14]

ในสหรัฐอเมริกาปี 1995 พืชดัดแปรพันธุกรรมต่อไปนี้ได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายในตลาดได้: คาโนลาที่มีส่วนประกอบของน้ำมันดัดแปลง (บริษัท Calgene), ข้าวโพดแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis (Bt) (บริษัท Ciba-Geigy), ฝ้ายทนต่อสารกำจัดวัชพืช bromoxynil (บริษัท Calgene), ฝ้าย Bt (บริษัท Monsanto), มันฝรั่ง Bt (บริษัท Monsanto), ถั่วเหลืองทนต่อสารกำจัดวัชพืช glyphosate (บริษัท Monsanto), สควอชทนต่อไวรัส (บริษัท Monsanto-Asgrow) และมะเขือเทศสุกล่าช้าเพิ่มเติม (บริษัท DNAP, Zeneca/Peto และ Monsanto) [2] ในปี 2000 ได้มีการผลิตข้าวสีทอง นักวิทยาศาสตร์อาหารได้ดัดแปรพันธุกรรมอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าสารอาหารของมันเป็นครั้งแรก ณ ปี 2011 สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในรายชื่อของประเทศที่ผลิตพืชจีเอ็ม และพืชจีเอ็ม 25 ชนิดได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบให้ปลูกในเชิงพาณิชย์ได้[17] ณ ปี 2013 ประมาณ 85% ของข้าวโพด 91% ของถั่วเหลือง และ 88% ของฝ้ายที่ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม[18]

กระบวนการ

พืชดัดแปรพันธุกรรมจะเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการโดยการเปลี่ยนลักษณะทางพันธุกรรมของพวกมันและจะมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ขบวนการนี้มักจะทำโดยการเพิ่มยีนหนึ่งตัวหรือมากกว่าในจีโนมของพืชโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม ส่วนใหญ่พืชดัดแปรพันธุกรรมสามารถดัดแปรได้โดยการเพิ่มยีน (การโคลน) หรือการตัดยีน (ยีนจะลบออกหรือปิดการทำงาน) ตอนนี้พืชก็จะได้รับการออกแบบให้มีความต้านทานแมลง ต้านทานต่อเชื้อรา ต้านทานต่อไวรัส ต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาทางโภชนาการ มีรสชาติที่ดีขึ้นและมีการเก็บรักษาที่ดีขึ้น

เมื่อผลิตพืชจนมีลักษณะเป็นที่น่าพอใจแล้ว เมล็ดพันธุ์จะถูกเก็บรวบรวม และบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จำเป็นต้องยื่นขอรับการอนุมัติตามกฎระเบียบเพื่อขอทดสอบเมล็ดภาคสนาม หากการทดสอบประสบความสำเร็จ บริษัทจะต้องขอความเห็นชอบตามกฎระเบียบเพื่อการวางตลาด (ดูกฎระเบียบของการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม) เมื่อได้รับการอนุมัติ เมล็ดพันธุ์จะถูกผลิตครั้งละมาก ๆ และขายให้กับเกษตรกร เกษตรกรจะผลิตพืชดัดแปรพันธุกรรมซึ่งมียีนและผลิตภัณฑ์โปรตีนของมันแทรกอยู่ จากนั้นเกษตรกรจะขายพืชผลของพวกเขาเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดแหล่งอาหารในประเทศที่การขายดังกล่าวได้รับอนุญาตแล้ว

พืชผล

ณ ปี 2014 มีพืชดัดแปรพันธุกรรมหลายชนิดที่เป็นแหล่งอาหารและไม่มีสัตว์ดัดแปรพันธุกรรมถูกใช้ในการผลิตอาหาร ในบางกรณีผลิตผลของพืชมีการบริโภคเป็นอาหารโดยตรง แต่ในกรณีส่วนใหญ่พืชที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมจะถูกขายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งจะผ่านกระบวนการต่อไปให้เป็นสารผสมอาหาร

ผักและผลไม้

3 มุมมองของมะละกอพันธุ์ซันเซ็ทซึ่งได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสร้างเป็นพันธุ์ SunUp ที่ทนต่อโรคใบด่าง[19]

มะละกอได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้ต้านไวรัสใบด่างจุดวงแหวน (อังกฤษ: Papaya ringspot virus (PRSV)) 'SunUp' เป็นมะละกอพันธุ์ซันเซ็ทเนื้อสีแดงที่ได้รับการดัดแปรพันธุกรรมที่เป็น homozygous ย​​ีน (ฮอมอไซกัสยีน, ยีนคู่ใดคู่หนึ่งที่มียีนที่แสดงลักษณะเด่นอยู่ด้วยกัน หรือยีนที่แสดงลักษณะด้อยอยู่ด้วยกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]) โปรตีนหุ้มของไวรัสใบด่างวงแหวน; 'Rainbow' คือพันธ์ F1 ไฮบริดเนื้อสีเหลืองที่พัฒนาขึ้นโดยการผสมข้ามพันธุ์ของ 'SunUp กับ 'Kapoho' เนื้อสีเหลืองไม่ดัดแปลง[19] นิวยอร์กไทม์สระบุว่า "ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 อุตสาหกรรมมะละกอของฮาวายกำลังเผชิญกับภัยพิบัติเพราะโรคมะละกอไวรัสใบด่างจุดวงแหวนร้ายแรง ผู้ช่วยให้รอดเพียงผู้เดียวของมันคือสายพันธุ์ที่ออกแบบมาเพื่อมีความต้านทานต่อไวรัส ถ้าปราศจากมัน อุตสาหกรรมมะละกอของรัฐจะพีงทะลาย วันนี้ 80% ของมะละกอของฮาวายถูกดัดแปลงพันธุกรรมและยังคงไม่มีวิธีการที่ใช้ได้ทั่วไปหรือแบบอินทรีย์ในการควบคุมไวรัสใบด่างจุดวงแหวน"[20]

มันฝรั่งพันธ์ New Leaf ที่ออกสู่ตลาดโดย Monsanto ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้รับการพัฒนาสำหรับตลาดอาหารจานด่วน แต่ถูกถอดออกจากตลาดในปี 2001 หลังจากที่ร้านค้าปลีกอาหารจานด่วนไม่ยอมรับมันและผู้ประกอบการอาหารหลายรายมีปัญหาในการส่งออก[21]

ในเดือนตุลาคม 2011, BASF ขออนุมัติจากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรปสำหรับการเพาะปลูกและการตลาดของมันฝรั่งพันธุ์ Fortuna ที่เป็นทั้งอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์ มันฝรั่งถูกทำให้ทนต่อโรคใบไหม้ (อังกฤษ: Phytophthora infestans) โดยการเพิ่มยีนต้านทานสองตัวคือ blb1 และ blb2 ที่มีต้นกำเนิดจากมันฝรั่งป่าพันธ์ Solanum bulbocastanum ของเม็กซิโก[22][23] ในเดือนมกราคม 2013 BASF ถอนการประยุกต์ใช้[24] ในเดือนพฤษภาคมปี 2013 บริษัท JR Simplot ขออนุมัติจาก USDA สำหรับมันฝรั่ง "กำเนิด" ที่มีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรม 10 จุดเพื่อป้องกันการช้ำและให้ผลิตสาร acrylamide น้อยลงกว่ามันฝรั่งเดิมเมื่อนำไปทอด สารพันธุกรรมที่ใช้แทรกเข้าไปมาจากมันฝ​​รั่งที่ปลูกหรือจากมันฝรั่งป่าแลัวนำไปผ่านขบวนการ RNA interference เพื่อป้องกันโปรตีนบางอย่างไม่ให้เกิดขึ้น[25][26][27]

ณ ปี 2005 ประมาณ 13% ของบวบ (อังกฤษ: zucchini) (รูปแบบหนึ่งของสควอช) ที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อต่อต้านไวรัสสามตัว; บวบยังมีการปลูกในแคนาดาอีกด้วย[28][29]

ในเดือนพฤศจิกายนปี 2014, USDA ได้อนุมัติมันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรมที่พัฒนาโดยบริษัท JR Simplot ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้ช้ำและผลิต acrylamide น้อยลงกว่ามันฝรั่งเดิมเมื่อทอด; การดัดแปลงไม่ก่อให้เกิดการสร้างโปรตีนใหม่ แต่ป้องกันไม่ให้มีการสร้างโปรตีนผ่านกระบวนการ RNA interference[30][31]

ในกุมภาพันธ์ 2015 'อาร์กติกแอปเปิ้ล'ได้รับอนุมัติจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา[32] ได้กลายเป็นครั้งแรกที่แอปเปิ้ลดัดแปลงทางพันธุกรรมได้รับการอนุมัติการเพื่อขายในประเทศสหรัฐอเมริกา[33] ขบวนการ Gene silencing ถูกนำมาใช้ในปิดการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมของ polyphenol oxidase (PPO) เพื่อป้องกันผลไม้ไม่ให้เกิดโรคสีน้ำตาล (อังกฤษ: browning) [34]

ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดที่ผ่านการสี

ข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้มีความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชต่าง ๆ และเพื่อการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมของโปรตีนจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ที่ฆ่าแมลงบางชนิด[35] ประมาณ 90% ของข้าวโพดที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม[36]

ข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารของมนุษย์สามารถผ่านขบวนการออกมาเป็นปลายข้าว อาหารและแป้ง

ปลายข้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่หยาบที่สุดจากขั้นตอนการสีข้าวโพดแห้ง ปลายข้าวแตกต่างกันไปตามเนื้อของมันและโดยทั่วไปจะถูกใช้ทำเกล็ดข้าวโพด ซีเรียลอาหารเช้าและขนมขบเคี้ยว ปลายข้าวจากการบ่มจะถูกนำมาใช้ในกระบวนการผลิตเบียร์

ข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารเป็นส่วนผสมหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลายอย่างรวมทั้งขนมปังข้าวโพด มัฟฟิน ฟริตเตอร์ ธัญพืช เบเกอรี่สูตรผสม แพนเค้กสูตรผสม และขนมขบเคี้ยว ข้าวโพดเกรดที่ดีที่สุดมักจะถูกใช้ในการเคลือบมัฟฟินและพิซซ่าแบบอังกฤษ ข้าวโพดยังขายเป็นแพคเกจอีกด้วย

แป้งข้าวโพดเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ข้าวโพดที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการสีแห้ง บางส่วนของผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยส่วนผสมของแป้งข้าวโพดรวมถึงสูตรสำหรับแพนเค้ก มัฟฟิน โดนัท ขนมปัง และแป้งเค้ก เช่นเดียวกับอาหารทารก ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ธัญพืช และบางผลิตภัณฑ์หมัก แป้ง Masa เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งของข้าวโพดเนื้อละเอียด มันถูกผลิตโดยใช้กระบวนการอัลคาไลน์ที่ปรุงสุก ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเช่นแป้งโดนัท Masa สามารถทำโดยใช้แป้งข้าวโพดและน้ำ แป้ง Masa และ Masa dough ถูกนำมาใช้ในการผลิต taco shells, ชิปข้าวโพดและ tortillas[37]

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ผ่านการสี

ประมาณ 90% ของพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกามีการดัดแปลงพันธุกรรม[38][36]

เมล็ดถั่วเหลืองมีน้ำมันอยู่ประมาณ 20% ในการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองจากเมล็ด ถั่วเหลืองจะถูกกระเทาะให้แตก ปรับความชื้น รีดให้เป็นเกล็ดและสกัดตัวทำละลายด้วยเฮกเซนที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ ถั่วเหลืองส่วนที่เหลือเป็นอาหารมีปริมาณโปรตีนถั่วเหลืองอยู่ 50% มันจะถูก 'ปิ้ง' (เรียกผิดเพราะการให้ความร้อนต้องทำด้วยไอน้ำชื้น) และบดในโรงสีค้อน ร้อยละเก้าสิบแปดของการปลูกถั่วเหลืองในสหรัฐจะใช้เป็นอาหารสัตว์ บางส่วนที่เหลืออีก 2% ของถั่วเหลืองจะส่งเข้าขบวนการต่อไปเพื่อทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองที่มีโปรตีนสูงที่ใช้ในอาหารหลายชนิดเช่นน้ำสลัด ซุป เนื้อเทียม ผงเครื่องดื่ม ชีส ครีมเทียม ขนมหวานแช่แข็ง วิปปิ้งราดหน้า สูตรนมผสมสำหรับทารก ขนมปัง ซีเรียลอาหารเช้า พาสต้าและอาหารสัตว์เลี้ยง[39][40] โปรตีนถั่วเหลืองแปรรูปจะปรากฏในอาหารหลายชนิด ส่วนใหญ่ในสามรูปแบบได้แก่ แป้งถั่วเหลือง, สารสกัดโปรตีนถั่วเหลืองและโปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น[40][41]

สารสกัดโปรตีนถั่วเหลือง

สารสกัดโปรตีนถั่วเหลืองที่ใช้เป็นอาหารมนุษย์เริ่มมีครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1959 ด้วยการอุทิศตัวของสารสกัดถั่วเหลืองที่กินได้ของ Central Soya Promine D ซึ่งเป็นโรงงานผลิตศูนย์อุตสาหกรรมบริษัท Glidden ในชิคาโก[42]: 227–28  สารสกัดโปรตีนถั่วเหลืองเป็น รูปแบบหนึ่งของโปรตีนจากถั่วเหลืองที่ผ่านการกลั่นหรือการฟอกให้บริสุทธ์อย่างสูงที่มีปริมาณโปรตีนต่ำสุด 90% บนพื้นฐานที่ปราศจากความชื้น มันทำจากถั่วเหลืองอาหารที่ส่วนใหญ่ของส่วนประกอบที่ไม่ใช่โปรตีน ไขมันและคาร์โบไฮเดรตถูกลบออก สารสกัดถั่วเหลืองถูกใช้เป็นหลักในการปรับปรุงองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป แต่ยังถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มปริมาณโปรตีนและเพื่อเพิ่มการเก็บรักษาความชื้นและจะถูกใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (อังกฤษ: emulsifier) (คอลลอยด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งอนุภาคที่กระจายและตัวกลางของการกระจายเป็นของเหลว เช่น น้ำนม เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]) [43][44]

โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น

โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นมีปริมาณโปรตีนจากถั่วเหลืองประมาณ 70% และโดยพื้นฐานเป็นถั่วเหลืองอาหารที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำได้ โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นยังคงเก็บส่วนใหญ่ของเส้นใยถั่วเหลืองต้นกำเนิด มันถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเป็นส่วนผสมทางโภชนาการหรือในการทำงานในหลากหลายผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนใหญ่ในอาหารอบ อาหารเช้าซีเรียล และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์บางชนิด โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นถูกใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกเพื่อเพิ่มการกักเก็บน้ำและไขมันและเพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการ (โปรตีนมากไขมันน้อย) [43][45]

แป้ง

แป้งถั่วเหลืองจะทำจากการบดถั่วเหลืองจนเป็นผงละเอียด มันมาในสามรูปแบบ: ธรรมชาติหรือไขมันเต็ม (ประกอบบด้วยน้ำมันธรรมชาติ); ไร้น้ำมัน (น้ำมันถูกลบออก) ที่มีปริมาณโปรตีน 50% และมีทั้งการละลายน้ำสูงหรือการละลายน้ำต่ำ; และ lecithinated (เลซิตินถูกเพิ่มเข้าไป) เนื่องจากแป้งถั่วเหลืองไม่มีสารกลูเตน ขนมปังแป้งถั่วเหลืองที่ทำโดยการเลี้ยงยีสต์จึงมีเนื้อแน่น ปลายถั่วเหลืองเหมือนกับแป้งถั่วเหลืองยกเว้นถั่วเหลืองที่ได้รับการคั่วและแตกเป็นชิ้นหยาบ "Kinako" เป็นแป้งถั่วเหลืองที่ใช้ในอาหารญี่ปุ่น[43][46]

ก้อนโปรตีนจากถั่วเหลือง

ก้อนโปรตีนถั่วเหลือง (อังกฤษ: Textured soy protein (TSP)) จะทำขึ้นโดยการขึ้นรูปให้เป็นแป้งโดจากกากถั่วเหลืองกับน้ำในเครื่องอัดรีดแบบเกลียวและให้ความร้อนด้วยไอน้ำหรือไม่ใช้ไอน้ำ แป้งโดจะผ่านเครื่องออกมาเป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามต้องการและถูกทำให้แห้งในเตาอบ เทคโนโลยีการอัดขึ้นรูปจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโปรตีนถั่วเหลืองส่งผลให้เป็นเส้นไฟเบอร์ เป็นรูพรุนคล้ายกับเนื้อสัตว์ TSP ถูกนำมาใช้แทนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกต้นทุนต่ำ[43][47]

อนุพันธ์

แป้งข้าวโพดและน้ำตาลแป้งรวมทั้งน้ำเชื่อม

โครงสร้างของโมเลกุลอะมิโลส
โครงสร้างของโมเลกุล amylopectin

แป้งหรือ Amylum เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยหน่วยกลูโคสจำนวนมากเชื่อมเข้าร่วมด้วยกับพันธะ glycosidic สาร polysaccharide นี้ผลิตโดยพืชสีเขียวทุกชนิดโดยเป็นที่เก็บสะสมพลังงาน แป้งบริสุทธิ์จะเป็นผงสีขาว รสจืดและไม่มีกลิ่นที่ไม่ละลายในน้ำเย็นหรือในแอลกอฮอล์ มันประกอบด้วยโมเลกุลสองประเภท: อะไมโลสเส้นเกลียวและ amylopectin แบบแยกกิ่ง แป้งโดยทั่วไปมีอะไมโลส 20 ถึง 25% และ amylopectin 75-80% โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพืช

ในการทำแป้งข้าวโพด ข้าวโพดจะถูกแช่น้ำทิ้งไว้เป็นเวลา 30 ถึง 48 ชั่วโมงซึ่งจะเป็นการหมักมันเล็กน้อย จมูกข้าวจะถูกแยกออกจาก endosperm (เนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ ต้นอ่อนในเมล็ดพืช เพื่อสร้างอาหารให้กับพืช) และส่วนประกอบทั้งสองดังกล่าวจะถูกบดแยกต่างหาก (ยังคงเปียกอยู่) ถัดไปแป้งจะถูกล้างออกจากแต่ละส่วนประกอบนั้น แป้งจะถูกแยกออกจากซ่าเหล้าข้าวโพดแช่ (อังกฤษ: corn steep liquor) จมูกข้าวธัญพืช เส้นใยและกลูเตนข้าวโพดส่วนใหญ่ด้วยเครื่องปั่น hydrocyclones และเครื่องเหวี่ยง centrifuges จากนั้นทำให้แห้ง กระบวนการนี​​้เรียกว่าโม่เปียกและให้ผลเป็นแป้งบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์จากแป้งบริสุทธิ์จะไม่มีดีเอ็นเอจีเอ็มหรือโปรตีน[48]

แป้งสามารถดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อสร้าง'แป้งดัดแปลง'เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง[49] รวมทั้งการผลิตน้ำตาลจำนวนมากในอาหารแปรรูปหลายอย่าง น้ำตาลเหล่านั้นรวมถึง:

  • Maltodextrin ผลิตภัณฑ์แป้งไฮโดรไลซ์เบา ๆ ที่ใช้เป็นสารตัวเติมรสหวานและตัวเพิ่มความข้น
  • 'น้ำเชื่อมกลูโคส'ต่าง ๆ บางทีเรียกว่า'น้ำเชื่อมข้าวโพด'ในสหรัฐ, สารละลายหนืดที่ใช้เป็นสารให้ความหวานและเพิ่มความข้นในอาหารแปรรูปหลายชนิด
  • 'Dextrose' กลูโคสในเชิงพาณิชย์ที่จัดเตรียมโดยการย่อยสลายที่สมบูรณ์ของแป้ง
  • 'น้ำเชื่อมฟรุกโตสสูง' ทำขึ้นโดยการบำบัดสารละลายเดกซ์โทรสด้วยเอนไซม์ glucose isomerase จนส่วนมากของน้ำตาลกลูโคสจะถูกแปลงให้เป็นฟรุกโตส ในประเทศสหรัฐอเมริกา น้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูงจะเป็นสารให้ความหวานหลักที่ใช้ในเครื่องดื่มที่มีรสหวานเพราะฟรุกโตสมีลักษณะที่ดีกว่าในการจัดการเช่นความมีเสถียรภาพทางจุลชีววิทยาและมีความหวาน/รสชาติแน่นอนมากกว่า อีกชนิดหนึ่งของน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูงคิอ HFCS-55 โดยทั่วไปจะมีความหวานมากกว่าน้ำตาลซูโครสปกติเพราะมันทำด้วยฟรุกโตสที่มากกว่าในขณะที่ความหวานของ HFCS-42 มีน้ำตาลซูโครสในระดับปกติ[50][51]
  • 'น้ำตาลแอลกอฮอล์' เช่น maltitol, Erythritol, ซอร์บิทอ, แมนนิทอลและไฮโดรไลแป้งเติมไฮโดรเจน (อังกฤษ: hydrogenated starch hydrolysate) เป็นสารให้ความหวานที่ทำโดยการลดน้ำตาล

เลซิติน

ตัวอย่างหนึ่งของ phosphatidylcholine ประเภทหนึ่งของ phospholipid ในเลซิติน สีแดง - กลุ่มโคลีนและฟอสเฟต; สีดำ - กลีเซอรอล; เขียว - กรดไขมันไม่อิ่มตัว; ฟ้า - กรดไขมันอิ่มตัว

น้ำมันข้าวโพดและน้ำมันถั่วเหลืองที่เป็นอิสระจากโปรตีนและดีเอ็นเออยู่แล้ว เป็นแหล่งที่มาของเลซิตินซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอาหารแปรรูปโดยทำตัวเป็นอิมัลซิฟายเออร์[52][53] เลซิตินถูกแปรรูปอย่างหนัก ดังนั้นโปรตีนหรือดีเอ็นเอที่ถูกดัดแปลงจากพืชที่มีการดัดแปลงมาแต่เดิมและนำมาทำอนุพันธ์มักจะไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีการทดสอบมาตรฐาน - พูดอีกอย่างคือ มันก็ไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากเลซิตินที่ได้มาจากพืชที่ไม่ได้ดัดแปลง[48][54] อย่างไรก็ตาม ความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรมได้ขยายไปยังอนุพันธ์บริสุทธิ์สูงจากอาหารดัดแปลงเช่นเลซิติน[55] ความกังวลนี้นำไปสู่​​การเปลี่ยนแปลงในนโยบายและกฎระเบียบในยุโรปในปี 2000 เมื่อกฎหมาย Regulation (EC) 50/2000 ผ่านออกมา[56] ซึ่งกำหนดให้ทำการติดฉลากสำหรับอาหารที่มีสารเติมแต่งที่ได้มาจากการตัดแต่งพันธุกรรมรวมทั้งเลซิติน เพราะมันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบที่มาของอนุพันธ์เช่นเลซิตินด้วยวิธีการทดสอบในปัจจุบัน กฎระเบียบของยุโรปกำหนดให้ผู้ที่ต้องการที่จะขายเลซิตินในยุโรปจะต้องใช้ระบบที่พิถีพิถันของการเก็บรักษาเอกลักษณ์ (อังกฤษ: Identity preservation (IP)) [54][57]

น้ำตาล

โครงสร้างของน้ำตาลซูโครส

สหรัฐอเมริกานำเข้า 10% ของน้ำตาลจากประเทศอื่น ในขณะที่ส่วนที่เหลืออีก 90% สกัดจากหัวผักกาดน้ำตาล (อังกฤษ: sugar beet) และอ้อยที่ปลูกภายในประเทศ ในส่วนของพืชน้ำตาลที่ปลูกในประเทศ ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลที่สกัดได้มาจากหัวผักกาดน้ำตาลและอีกครึ่งหนึ่งมาจากอ้อย

หลังจากยกเลิกกฎระเบียบในปี 2005 หัวผักกาดน้ำตาลที่ทนต่อ glyphosate ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเมริกา 95% ของเอเคอร์ที่ปลูกหัวผักกาดน้ำตาลในสหรัฐอเมริกาได้รับการปลูกด้วยเมล็ดที่ทนต่อ glyphosate ในปี 2011[17] หัวผักกาดน้ำตาลที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชได้รับการอนุมัติในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา โคลัมเบีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์รัสเซีย สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา[58]

ผลิตภัณฑ์อาหารจากหัวผักกาดน้ำตาลได้แก่น้ำตาลทรายขาวและกากน้ำตาล เยื่อที่เหลือจากกระบวนการกลั่นจะใช้เป็นอาหารสัตว์ น้ำตาลที่ผลิตจากผักกาดน้ำตาลที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมจะมีการกลั่นอย่างสูงและไม่มีดีเอ็นเอหรือโปรตีน มันเป็นแค่ซูโครสซึ่งเป็น น้ำตาลแบบเดียวกับน้ำตาลทรายที่ผลิตจากผักกาดน้ำตาลที่ไม่ดัดแปลงพันธุกรรม[48][59]

น้ำมันพืช

น้ำมันพืชที่ใช้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกาผลิตจากพืชหลายชนิดรวมถึงพืชดัดแปลงพันธุกรรมเช่นคาโนลา[60] ข้าวโพด[52][61] ฝ้าย[62] และถั่วเหลือง[63] น้ำมันพืชถูกขายโดยตรงให้กับผู้บริโภคสำหรับเป็นน้ำมันปรุงอาหาร shortening (เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของ semisolid 100% fat content product ซึ่งอาจผลิตมาจากไขมันสัตว์ (lard) หรือ น้ำมันพืชชนิดเติมไฮโดรเจน (hydrogenated vegetable oil) ก็ได้ ซึ่งจะมีสภาพเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องปฏิบัตการ, ในงานเบเกอรี่ จะถูกเรียกว่า ชอท-นิ่ง โดยตรง ยกเว้นพวกที่ทำจาก Pure hydrogenated vegetable oil จะเรียกว่า เนยขาว (White cheese) ) และมาการีน[64] และถูกนำมาใช้ในอาหารที่เตรียมไว้

น้ำมันพืชจะไม่มีโปรตีนหรือดีเอ็นเอจากพืชจีเอ็มเดิมหรือมีในปริมาณที่น้อยเต็มที[48][65] น้ำมันพืชถูกทำจากไตรกลีเซอไรด์ที่สกัดจากพืชหรือเมล็ดพืชแล้วกลั่น จากนั้นอาจผ่านกระบวนการต่อไปผ่านทาง hydrogenation เพื่อเปลี่ยนน้ำมันจากของเหลวให้เป็นของแข็ง กระบวนการกลั่น[66] ลบทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดของส่วนผสมที่ไม่ใช่ไตรกลีเซอไรด์[67]

อาหารที่แปรรูปโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม

เนยแข็ง

เยื่อบุกระเพาะอาหารของสัตว์เช่น ลูกวัว (อังกฤษ: Rennet) เป็นส่วนผสมหนึ่งของเอนไซม์ที่ใช้ในการแข็งตัวของเนยแข็ง แต่เดิมมันก็ใช้ได้เฉพาะจากกระเพาะอาหารที่สี่ของลูกวัวและเป็นสิ่งที่หายากและมีราคาแพงหรือได้จากแหล่งของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งมักจะมีปัญหาจากรสชาติที่ไม่ดี ด้วยการพัฒนาของพันธุวิศวกรรมมันก็เลยเป็นไปได้ที่จะสกัดยีนผลิตจากกระเพาะอาหารสัตว์และใส่พวกมันเข้าไปในแบคทีเรียหรือเชื้อราหรือยีสต์บางชนิดเพื่อทำให้พวกมันผลิต chymosin ที่เป็นเอนไซม์ที่สำคัญเยื่อกระเพาะลูกวัว[68][69] จุลินทรีย์ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมจะถูกฆ่าตายหลังจากการหมักและ chymosin จะถูกแยกออกจากหม้อน้ำหมักเพื่อให้ Chymosin ที่ผลิตโดยการหมัก (อังกฤษ: Fermentation-Produced Chymosin (FPC)) ที่ถูกใช้โดยผู้ผลิตเนยแข็งจะมีลำดับของกรดอะมิโนเหมือนกันกับกรดที่ได้จากสัตว์[70] ส่วนใหญ่ของ chymosin ที่นำมาใช้จะถูกเก็บไว้ในหางนม (อังกฤษ: whey) และบางส่วนอาจจะยังคงอยู่ในเนยแข็งในปริมาณที่เห็นเป็นร่องรอยและในเนยแข็งสุก ชนิดและแหล่งที่มาของ chymosin ที่ใช้ในการผลิตไม่สามารถกำหนดได้[70]

FPC เป็นเอนไซม์ที่ผลิตโดยมนุษย์ตัวแรกที่ได้รับการจดทะเบียนและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐ[16][14] ผลิตภัณฑ์ FPC ได้อยู่ในตลาดมาตั้งแต่ปี 1990 และได้รับการพิจารณาในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาว่าเป็นเอนไซม์ที่ใช้ทำให้นมจับตัวเป็นลิ่มในอุดมคติ[71] ในปี 1999 ประมาณ 60% ของเนยแบบแข็งของสหรัฐได้ถูกทำให้มี FPC[72] และมีสูงถึง 80% ของส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกสำหรับเยื่อกระเพาะลูกวัว[73] ภายในปี 2008 ประมาณ 80% ถึง 90% ของเนยแข็งที่ทำในเชิงพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรจะถูกผลิตขึ้นโดยใช้ FPC[70] วันนี้ส่วนใหญ่ของ Chymosin ที่ผลิตโดยการหมัก (FPC) ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีการผลิตทั้งจากเชื้อรา "Aspergillus niger" และใช้เชิงพาณิชย์ภายใต้เครื่องหมายการค้า CHY-Max®[74] โดย บริษัท Danish company Chr. Hansen หรือผลิตโดย Kluyveromyces lactis และในเชิงพาณิชย์ภายใต้เครื่องหมายการค้า MAXIREN® [75] โดยบริษัท Dutch company DSM

อาหารที่ทำจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยพืช GM หรือบำบัดด้วยฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโตของวัว

ปศุสัตว์และสัตว์ปีกจะถูกเลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ซึ่งส่วนมากประกอบด้วยของเหลือจากการแปรรูปพืช รวมทั้งพืชจีเอ็มด้วย ยกตัวอย่างเช่นประมาณ 43% ของเมล็ดคาโนลาเป็นน้ำมัน ส่วนที่เหลือเป็นกากคาโนลาที่ใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์และมีโปรตีนจากคาโนลา[76] ในทำนองเดียวกันกลุ่มของพืชถั่วเหลืองจะถูกปลูกเพื่อใช้สำหรับการผลิตน้ำมันและกากถั่วเหลืองที่มีโปรตีนสูงแบบไม่อ้วนและแบบปิ้งสำหรับอาหารปศุสัตว์และสุนัข 98% ของการเพาะปลูกถั่วเหลืองของสหรัฐจะใช้สำหรับทำอาหารสัตว์[77][78] สำหรับข้าวโพดในปี 2011 49% ของการเก็บเกี่ยวข้าวโพดทั้งหมดจะใช้สำหรับอาหารสัตว์ (รวมถึงอัตราร้อยละของของเสียจากการกลั่นธัญพืช)[79] "แม้จะมีหลายวิธีการที่อ่อนไหวมากขึ้นเรื่อย ๆ การทดสอบยังไม่สามารถที่จะสร้างความแตกต่างในเนื้อ นมหรือไข่ของสัตว์ที่ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่พวกมันกินเข้าไป มันเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่าสัตว์ตัวใดถูกเลี้ยงด้วยถั่วเหลือง GM หรือไม่เพียงแค่ดูจากเนื้อ นมหรือไข่. วิธีเดียวที่จะตรวจสอบการมีอยู่ของ GMOs ในอาหารสัตว์คือการวิเคราะห์ที่มาของตัวอาหารเอง"[80]

ในบางประเทศ recombinant bovine somatotropin (เรียกว่า rBST หรือฮอร์โมนช่วยการเจริญเติบโตของวัวหรือ BGH) ได้รับการอนุมัติสำหรับการบริหารจัดการกับโคนมเพื่อเพิ่มการผลิตนม rBST อาจจะอยู่ในนมจากวัวที่ได้รับการบำบัดด้วย rBST และแม้แต่มีการฉีดเข้าโดยตรงแต่มันจะถูกทำลายในระบบทางเดินอาหารซึ่งจะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์[81][82] องค์การอาหารและยา องค์การอนามัยโลก สมาคมแพทย์อเมริกัน สมาคมโภชนาการอเมริกันและสถาบันสุขภาพแห่งชาติได้ระบุไว้อย่างอิสระว่าผลิตภัณฑ์นมและเนื้อจากวัวที่ได้รับการบำบัดด้วย BST มีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์[83] อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2010 ศาลอุทธรณ์สหรัฐอเมริกา หน่วยงานวงจรที่หก ได้ทำการวิเคราะห์หลักฐานที่ส่งมาอย่างสั้น ๆ ว่าได้พบว่ามี "ความแตกต่างที่ผสมกัน" ระหว่างนมจากวัวที่มีการบำบัดด้วย rBGH และนมจากวัวที่ไม่ได้รับการบำบัด[84][85] ศาลระบุว่านมจากวัวที่ได้รับการบำบัดด้วย rBGH มี: ระดับที่เพิ่มขึ้นของฮอร์โมน'ปัจจัยการเจริญเติบโต 1 ที่เหมือนอินซูลิน' (อังกฤษ: Insulin-like growth factor 1 (IGF-1)); ปริมาณไขมันที่สูงขึ้นและปริมาณโปรตีนที่ต่ำลงเมื่อมีการผลิตในบางจุดของวงจรการให้นมของวัว; และจำนวนเซลล์ร่างกายที่เพิ่มขึ้นซึ่งอาจ "ทำให้นมเปรี้ยวเร็วขึ้น"[85]

อาหารที่ทำจากสัตว์ GM

ณ เดือนพฤศจิกายน 2013 ไม่พบว่ามีสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการอนุมัติสำหรับใช้เป็นอาหาร แต่ปลาแซลมอนจีเอ็มกำลังรอการอนุมัติกฎระเบียบในเวลานั้น[86][87][88]

สัตว์ (เช่นแพะ) มักจะใช้ในการผลิตอาหาร (เช่นนม) ได้ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมเรียบร้อยแล้วและได้รับอนุมัติจาก FDA และ EMA ในการผลิตสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (เช่น recombinant antithrombin ยาโปรตีนสารกันเลือดแข็ง)[89][90]

หนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสัตว์ GM ที่จะเข้าสู่ตลาดอาหารคือการยอมรับทางสังคมของมัน ขณะนี้ในการอภิปรายอย่างมากเกี่ยวกับสัตว์จีเอ็มขนิดแรก ได้แก่ปลาแซลมอนที่กำลังเข้าสู่ตลาดการค้า ความเป็นไปได้ของการดัดแปลงสัตว์อื่นให้เป็นอาหารยังได้รับการกล่าวถึงแต่ยังไม่ได้ทำตามวิธีการ การวิจัยและการทดลองได้ทำแล้วไปในการเพิ่มยีนส่งเสริมให้กับสัตว์เพื่อเพิ่มความเร็วในการเจริญเติบโตและเพิ่มความต้านทานโรค (เช่นการฉีดยีน a-lactalbumin ให้กับหมูเพื่อเพิ่มขนาด)

ข้อถกเถียง

 ความเสมอภาคทางด้านปัจจัยในการดำรงอยู่และรองรับอนาคต พร้อมทั้งมีผลดีนานและมีผลนานปีและผลดีพอเพียงตลอดนาน   การถกเถียงกันเรื่องอาหารดัดแปลงพันธุกรรมเป็นข้อพิพาทในเรื่องการใช้เป็นอาหารและสินค้าอื่น ๆ ที่ผลิตมาจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมแทนที่จะทำมาจากพืชทั่วไป และเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมอื่น ๆ ในการผลิตอาหาร ข้อพิพาทจะเกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพทั้งหลาย หน่วยงานของรัฐในการกำกับดูแล องค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิทยาศาสตร์ พื้นที่สำคัญของการถกเถียงที่เกี่ยวข้องกับอาหารจีเอ็มโอก็คือเรื่อง 

1. อาหารจีเอ็มควรจะระบุในฉลากหรือไม่ 2. บทบาทของการกำกับดูแลของรัฐบาล 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการตีพิมพ์ 4. ผลกระทบของพืชจีเอ็มที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 5. ผลต่อความต้านทานสารกำจัดศัตรูพืช 6. ผลกระทบของพืชจีเอ็มที่มีต่อเกษตรกร และ 7. บทบาทของพืชจีเอ็มในการเป็นอาหารของประชากรโลก

มีฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ในวงกว้างว่าอาหารในตลาดที่ได้มาจากพืชจีเอ็มโอไม่ได้ส่อว่ามีความเสี่ยงมากกว่าอาหารธรรมดา[4][91] ไม่มีรายงานของผลร้ายที่มีการบันทึกไว้ในประชากรมนุษย์อันเนื่องจากอาหารจีเอ็ม[5][7][92] จุดเริ่มต้นสำหรับการประเมินความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มคือการประเมิน'ความเท่าเทียมกันอย่างมีนัยสำคัญ' (อังกฤษ: substantial equivalence) เทียบกับอาหารที่ไม่มีการดัดแแปลง จากนั้นการทดสอบจะต้องมีการทำเพิ่มเติมบนพื้นฐานในแต่ละกรณีเพื่อให้แน่ใจว่าความกังวลเกี่ยวกับศักยภาพในความเป็นพิษและภูมิแพ้ได้ถูกแก้ไขก่อนที่อาหารจีเอ็มจะออกสู่ตลาด แม้ว่าการติดฉลากของผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ในตลาดเป็นข้อกำหนดใน 64 ประเทศก็ตาม[93] ในสหรัฐอเมริกาไม่มีข้อกำหนดเป็นการทั่วไปที่อาหารจีเอ็มโอต้องมีการติดป้ายดังกล่าว นโยบายขององค์การอาหารและยาของสหรัฐก็คือฉลากจำเป็นต้องใช้เฉพาะถ้ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในองค์ประกอบหรือความแตกต่างที่มีสาระสำคัญต่อสุขภาพ แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่พบความแตกต่างดังกล่าวในอาหารจีเอ็มโอใด ๆ ที่ได้รับการอนุมัติให้ขายในตลาด[94]

ฝ่ายตรงข้ามของอาหารดัดแปลงพันธุกรรมเช่นกลุ่มผู้สนับสนุนสมาคมผู้บริโภคสารอินทรีย์ สหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และกรีนพีซ การเรียกร้องความเสี่ยงยังไม่ได้รับการระบุและมีการจัดการอย่างเพียงพอ และพวกเขาได้ถามถึงวัตถุประสงค์ของหน่วยงานกำกับดูแล บางกลุ่มที่เกี่ยวกับสุขภาพกล่าวว่ามีคำถามที่ยังไม่มีคำตอบเกี่ยวกับผลกระทบในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพของมนุษย์จากอาหารที่ได้มาจากการตัดแต่งพันธุกรรมและเสนอให้มีการบังคับติดฉลาก[95][96] หรือการประกาศพักชำระหนี้ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว[97][98][99] รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการปนเปื้อนของอุปทานของอาหารที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม[100] ผลกระทบจากการตัดแต่งพันธุกรรมที่มีต่อสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ[97][99] ความจริงจังของกระบวนการกำกับดูแล[98][101] และการรวมเป็นหนึ่งเดียวของการควบคุมอุปทานอาหารในบริษัทที่ทำและขาย GMOs[97]

ระเบียบ

ดูเพิ่มเติม: กฎระเบียบของการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและกฎระเบียบของพันธุวิศวกรรม

รัฐบาลในแต่ละประเทศได้นำวิธีการที่แตกต่างกันในการประเมินและการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมและการพัฒนาและการเปิดตัวของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) รวมทั้งพืชดัดแปลงพันธุกรรมและปลาดัดแปลงพันธุกรรม มีความแตกต่างในกฎระเบียบของ GMOs ระหว่างประเทศที่มีบางส่วนของความแตกต่างเกิดขึ้นระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป กฎระเบียบมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ผลิตภัณฑ์พันธุวิศวกรรม ยกตัวอย่างเช่นพืชที่ไม่ใช่อาหารโดยทั่วไปจะไม่ถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยอาหาร[21]

หนึ่งในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานกำกับดูแลคือว่าผลิตภัณฑ์จีเอ็มควรจะมีการระบุหรือไม่ การติดฉลากสามารถเป็นการบังคับให้สูงถึงเกณฑ์ระดับเนื้อหาของจีเอ็ม (ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ) หรือเป็นแบบสมัครใจ การศึกษาโดยการตรวจสอบการติดฉลากโดยสมัครใจในแอฟริกาใต้พบว่า 31% ของผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากว่าเป็นปราศจากจีเอ็มโอมีเนื้อหาจีเอ็มมากกว่า 1.0%[102] ในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาการติดฉลากอาหารจีเอ็มเป็นแบบสมัครใจ[103] ในขณะที่ในยุโรปอาหารทั้งหมด (รวมทั้งอาหารแปรรูป) และอาหารสัตว์ซึ่งมีมากกว่า 0.9% ของ GMOs ที่ได้รับการอนุมัติแล้วจะต้องติดฉลาก[104]

ณ ปี 2013, 64 ประเทศจำเป็นต้องมีการติดฉลากจีเอ็มโอ มากกว่าหนึ่งในสามของประเทศเหล่านี้อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพยุโรป[105]

การตรวจจับ

บทความหลัก: การตรวจจับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

การทดสอบสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในอาหารและอาหารสัตว์จะทำเป็นประจำโดยใช้เทคนิคโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอ microarrays หรือ quantitative PCR การทดสอบเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับการตรวจคัดกรององค์ประกอบทางพันธุกรรม (เช่น p35S, tNos, pat หรือ bar) หรือเครื่องหมายที่เป็นเหตุการณ์เฉพาะสำหรับ GMO อย่างเป็นทางการ (เช่น Mon810, Bt11 หรือ GT73)

วิธีการแบบอาร์เรย์จะรวม multiplex PCR และเทคโนโลยีอาร์เรย์เพื่อคัดกรองตัวอย่างสำหรับ GMO ที่มีศักยภาพแตกต่างกัน[106] เป็นการรวมวิธีการที่แตกต่างกัน (ได้แก่การตรวจคัดกรององค์ประกอบ เครื่องหมายพืชเฉพาะ และเครื่องหมายเหตุการณ์เฉพาะ)

qPCR ถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของจีเอ็มโอที่เฉพาะเจาะจงโดยการใช้ไพรเมอร์ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการคัดกรององค์ประกอบหรือเครื่องหมายเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง การควบคุมมีความจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ปลอมหรือเป็นเท็จ ยกตัวอย่างเช่นการทดสอบ CaMV ถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์เท็จในกรณีที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสบนตัวอย่าง

ในเอกสารเดือนมกราคม 2010[107] การสกัดและการตรวจสอบดีเอ็นเอไปตามห่วงโซ่การผลิตน้ำมันถั่วเหลืองอุตสาหกรรมที่สมบูรณ์ได้รับการอธิบายในการตรวจสอบการปรากฏตัวของถั่วเหลือง Roundup Ready (RR) "การขยายของยีนเลคตินถั่วเหลืองโดยปฏิกิริยา Polymerase chain แบจุดสิ้นสุด (อังกฤษ: end-point polymerase chain reaction (PCR)) ก็ประสบความสำเร็จในทุกขั้นตอนของกระบวนการสกัดและการกลั่นจนกระทั่งได้น้ำมันถั่วเหลืองกลั่นอย่างเต็มที่ การขยายของถั่วเหลือง RR โดยการตรวจ PCR โดยใช้ไพรเมอร์แบบเฉพาะเหตุการณ์ก็ประสบความสำเร็จสำหรับทุกขั้นตอนการสกัดและการกลั่น ยกเว้นขั้นตอนช่วงกลางของการกลั่น (การทำให้เป็นกลาง การซักล้างและการฟอก) อาจจะเป็นเพราะความไม่แน่นอนของตัวอย่าง การตรวจ PCR แบบเรียลไทม์โดยใช้หัววัดที่เฉพาะได้ยืนยันผลลัพธ์ทั้งหมดและได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามันเป็นไปได้ที่จะตรวจสอบและหาปริมาณสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในน้ำมันถั่วเหลืองที่ผ่านการกลั่นอย่างเต็มที่ ตามความรู้ของเรา สิ่งนี้ไม่เคยมีการรายงานมาก่อนและมันเป็นตัวแทนของความสำเร็จที่สำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบย้อนกลับของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในน้ำมันที่ผ่านการกลั่น"

อ้างอิง


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง