อาอิชะฮ์

อาอิชะฮ์ บินต์ อะบีบักร์ (อาหรับ: عائشة بنت أبي بكر[a]; ป. ค.ศ. 613/614 – กรกฎาคม ค.ศ. 678) เป็นภรรยาคนที่ 3 และภรรยาที่เด็กที่สุดของศาสดามุฮัมมัด[4][5]

عائشة
เกิดป. ค.ศ. 613/614
มักกะฮ์ ฮิญาซ อาระเบีย (ปัจจุบันคือประเทศซาอุดีอาระเบีย)
เสียชีวิตป. กรกฎาคม ค.ศ. 678 (63–65 ปี)
มะดีนะฮ์ ฮิญาซ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ (ปัจจุบันคือประเทศซาอุดีอาระเบีย)
สุสานญันนะตุลบะกีอ์ มะดีนะฮ์
คู่สมรสมุฮัมมัด (m. ค.ศ. 620; เสียชีวิต ค.ศ. 632)
บิดามารดาอะบูบักร์ (พ่อ)
อุมมุรูมาน (แม่)
ครอบครัว

ข้อมูลเกี่ยวกับวัยเด้กของเธอมีน้อย แหล่งข้อมูลสมัยคลาสสิกส่วนใหญ่กล่าวครอบคลุมที่อาอิชะฮ์แต่งงานตอนอายุ 6 หรือ 7 ขวบ และทำให้สมบูรณ์ตอนอายุ 9 ขวบ อายุของเธอเป็นที่มาของความขัดแย้งทางอุดมการณ์[6] อาอิชะฮ์มีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์อิสลามช่วงต้น ทั้งในตอนที่มุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตแล้ว ในธรรมเนียมซุนนี อาอิชะฮ์ดูมีความเป็นนักวิชาการ ฉลาด และอยากรู้อยากเห็น เธอมีส่วนร่วมในการเผยแผ่หลักคำสอนของมุฮัมมัดและบริการสังคมมุสลิมหลังท่านศาสดาเสียชีวิตเป็นเวลา 44 ปี[7] เธอยังเป็นผู้รายงานฮะดีษ 2,210 สายรายงาน[8] ไม่เพียงแต่ชีวิตส่วนตัวกับมุฮัมมัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหัวข้อต่าง ๆ เช่น มรดก, ฮัจญ์ และอวสานวิทยา[9] สติปัญญาและความรู้ของเธอในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงบทกวีและการแพทย์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิในยุคแรก ๆ เช่น อัซซุฮรี และอุรวะฮ์ อิบน์ อัซซุบัยร์ ลูกศิษย์ของเธอ[9]

อะบูบักร์ (ค. 632 – 634) พ่อของเธอ กลายเป็นเคาะลีฟะฮ์คนแรกต่อจากมุฮัมมัด สองปีต่อมา อุมัร (ค. 634 – 644) สืบทอดหน้าที่ต่อ อาอิชะฮ์มีบทบาทสำคัญในฐานะฝ่ายค้านต่อเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน (ค. 644 – 656) แม้ว่าเธอก็ต่อต้านผู้ที่รับผิดชอบต่อการลอบสังหารตัวเขาด้วย[10] เธอไม่ยอมรับอะลี (ค. 656 – 661) เป็นผู้สืบทอดของอุษมาน และเข้าร่วมกับอัซซุบัยร์ อิบน์ อัลเอาวามกับฏ็อลฮะฮ์ อิบน์ อุบัยดุลลอฮ์ เธอพ่ายแพ้ในสงครามอูฐ และหลังจากนั้นจึงเกษียณตนเองในมะดีนะฮ์ คืนดีกับอะลี และไม่ต่อต้านเคาะลีฟะฮ์ มุอาวิยะฮ์ (ค. 661 – 680)[10] เธอเข้าร่วมสงครมด้วยการกล่าวสุนทรพจน์และนำทัพบนหลังอูฐของเธอ ท้ายที่สุดเธอก็พ่ายแพ้ในการต่อสู้ แต่การมีส่วนร่วมและความมุ่งมั่นของเธอทำให้เกิดความประทับใจไม่รู้ลืม[3] เนื่องจากการมีส่วนร่วมในสงคราม ทำให้มุสลิมนิกายชีอะฮ์โดยทั่วไปมองอาอิชะฮ์ในแง่ลบ ส่วนในซุนนี อาอิชะฮ์ถูกมองเป็นนักวิชาการอิสลามชั้นนำและครูของผู้ติดตามและตาบิอีนหลายคน

ชีวิตช่วงต้น

อาอิชะฮ์เกิดที่มักกะฮ์เมื่อ ป. ค.ศ. 613–614[11][12] โดยเป็นลูกสาวของอะบูบักร์กับอะบูบักร์ ผู้ติดตาม 2 คนจากผู้ติดตามที่มุฮัมมัดเชื่อมั่นที่สุด[4] ไม่มีข้อมูลใดกล่าวถึงชีวิตวัยเด็กของเธอไว้มาก[13][14]

แต่งงานกับมุฮัมมัด

แนวคิดการจับคู่อาอิชะฮ์กับมุฮัมมัดได้รับการแนะนำจากเคาละฮ์ บินต์ ฮะกีม หลังเคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิด ภรรยาคนแรกของมุฮัมมัด เสียชีวิต[15][16] หลังจากนี้ ข้อตกลงก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างอาอิชะฮ์กับญุบัยร์ อิบน์ มุฏอิมจึงยุติชั่วครู่ด้วยความยินยอมร่วมกัน ในตอนแรก อะบูบักร์ไม่แน่ใจ "เนื่องจากเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือแม้แต่ถูกต้องตามกฎหมายในการแต่งงานระหว่างลูกสาวของเขากับ 'พี่ชาย' " มุฮัมมัดจึงตอบว่า พวกเขาเป็นพี่น้องกันในทางศาสนาเท่านั้น[16] ดับเบิลยู. มอนต์โกเมอรี วัตต์ นักบูรพาคดีศึกษา เสนอแนะว่า มุฮัมมัดหวังที่จะกระชับความสัมพันธ์ของเขากับอะบูบักร์[10] การกระชับความสัมพันธ์โดยทั่วไปถือเป็นพื้นฐานในการแต่งงานตามวัฒนธรรมอาหรับ[17]

ฮะดีษที่มีอยู่ทั้งหมดยอมรับว่าอาอิชะฮ์แต่งงานกับมุฮัมมัดที่มักกะฮ์ แต่การแต่งงานทำให้สมบูรณ์ในเดือนเชาวาลหลังการฮิจเราะห์ไปยังมะดีนะฮ์ (เมษายน ค.ศ. 623)[18] ข้อมูลสมัยคลาสสิกบางส่วนระบุให้อาอิชะฮ์พูดถึงการแต่งงานว่าให้จัดขึ้นในมะดีนะฮ์โดยไม่กล่าวถึงความล่าช้าใด ๆ[18]

อายุตอนแต่งงาน

ข้อมูลอิสลามสมัยคลาสสิกระบุอายุอาอิชะฮ์ตอนแต่งงานไว้ที่ 6 หรือ 7 ขวบ และทำให้สมบูรณ์ตอน 9 หรือ 10 ขวบ ในฮะดีษจากเศาะฮีฮ อัลบุคอรีระบุว่าอาอิชะฮ์เล่าถึงการแต่งงานเมื่ออายุได้หกขวบ[19] ชีวประวัติของอิบน์ ซะอด์ถือว่าอายุของเธอตอนแต่งงานอยู่ระหว่าง 6 ถึง 7 ขวบ และระบุช่วงที่การแต่งงานมบูรณ์ที่อายุ 9 ขวบ ส่วนหนังสือชีวประวัติมุฮัมมัดของอิบน์ ฮิชามเสนอแนะว่าตอนที่การแต่งงานสมบูรณ์ เธออาจมีอายุสิบขวบ[20] อัฏเฏาะบะรีระบุว่า หลังแต่งงาน อาอิชะฮ์ยังคงอยู่กับพ่อแม่ และบรรลุความสัมพันธ์เมื่ออายุเก้าขวบ ตั้งแต่เธอยังเยาว์วัยและยังไม่บรรลุนิติภาวะในเวลาแต่งงาน อย่างไรก็ตาม ในบริเวณอื่น อัฏเฏาะบะรีดูเหมือนเสนอแนะว่าเธอเกิดในช่วงญาฮิลียะฮ์ (ก่อน ค.ศ. 610) ซึ่งจะแปลงอายุของเธอตอนแต่งงานไว้ที่ประมาณ 12 ขวบหรือมากกว่านั้น[21][22]

ในวรรณกรรมอิสลาม การแต่งงานของเธอช่วงอายุน้อยไม่ได้ดึงดูดความสำคัญทางวาทกรรมใด ๆ ถึงกระนั้น Spellberg และ Ali พบถึงการระบุอายุของเธอนั้นผิดไปจากนักเขียนชีวประวัติมุสลิมยุคแรก และตั้งสมมติฐานถึงความหมายโดยนัยของความเป็นพรหมจารี และยิ่งกว่านั้นคือความบริสุทธิ์ทางศาสนาของเธอ[20][23][b] นักวิชาการมุสลิมรุ่นหลังไม่สนใจอายุของเธอเช่นกัน และไม่มีใครสนใจแม้แต่นักโต้เถียงชาวคริสต์ในสมัยกลางถึงสมัยใหม่ตอนต้น[24]

ตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อโลกตะวันออกกับการผิดศีลธรรมถูกกล่าวหาว่าเป็นเรื่องที่น่ารังเกียจมากขึ้น[c] เจ้าอำนาจอาณานิคมพยายามที่จะควบคุมอายุที่รับรู้ยินยอม เนื่องจากความพยายามดังกล่าวทำให้เกิดความขัดแย้งกับรูปแบบท้องถิ่นของชะรีอะฮ์ ทำให้อายุของอาอิชะฮ์ตอนแต่งงาน — และแบบอย่างที่เกี่ยวข้องของศาสดา — กลายเป็นคำอธิบายที่โดดเด่นถึงความล้าหลังของสังคมมุสลิมและการไม่ปฏิรูปของพวกเขา[26] เพื่อตอบสนองต่อสิ่งนี้ มุสลิมบางคน[d]เลือกที่จะปรับตัวเองให้สอดคล้องกับโครงการในการทำให้ถูกต้องตามสมัย และคำนวณอายุของเธอใหม่ โดยใช้กลยุทธ์ในการละเลยและมอบหมายหน้าที่อันชาญฉลาด เพื่อแก้ไขไปที่ช่วงวัยรุ่นตอนต้น แต่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่ยอมรับการตีความเช่นนี้ เนื่องจากคัดค้านกับอิลมุลฮะดีษ[27]

ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับลัทธิอิสลามหัวรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่สังคมมุสลิมและศาสนาอิสลามเองก็ถูกตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวัยแต่งงานของอาอิชะฮ์เมื่ออายุยังน้อยจึงเริ่มมีมากมาย สิ่งนี้กระตุ้นให้นักวิชาการมุสลิมหลายคน[e]ปรับบริบทอายุของอาอิชะฮ์ที่ยอมรับกันตามประเพณี โดยเน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ยุคสมัย มิติทางการเมืองของการแต่งงาน ร่างกายที่ไม่ธรรมดาของอาอิชะฮ์ เป็นต้น[29][f] นับตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักโต้เถียงใช้อายุของอาอิชะฮ์ในการกล่าวหามุฮัมมัดถึงการเป็นพวกใคร่เด็กและอธิบายการแต่งงานกับเด็กในสังคมมุสลิมที่มีรายงานพบในความถี่ที่สูงขึ้น[31]

ชีวิตส่วนตัว

ความสัมพันธ์กับมุฮัมมัด

มุฮัมมัดกับอาอิชะฮ์ปลดปล่อยลูกสาวของหัวหน้าเผ่า

ในธรรมเนียมมุสลิมส่วนใหญ่ เคาะดีญะฮ์ บินต์ คุวัยลิดถูกจัดให้เป็นภรรยาที่เป็นที่รักมากที่สุดและเป็นคนโปรดของมุฮัมมัด ธรรมเนียมซุนนีจัดให้อาอิชะฮ์เป็นคนโปรดรองลงมาจากเคาะดีญะฮ์[32][33][34][35][36] มีฮะดีษบางส่วนที่สนับสนุนความเชื่อนี้ โดยมีเรื่องหนึ่งระบุว่า เมื่อผู้ติดตามคนหนึ่งถามมุฮัมมัดว่า "ใครคือบุคคลที่ท่านรักมากที่สุดในโลก?" ท่านตอบว่า "อาอิชะฮ์"[37] ส่วนอีกเรื่องหนึ่งระบุว่า มุฮัมมัดสร้างบ้านอาอิชะฮ์ให้ประตูบ้านของเธอหน้าหน้าไปยังมัสยิดโดยตรง[38][39] และเธอเป็นผู้หญิงคนเดียวที่มุฮัมมัดได้รับโองการด้วย[40][41] ทั้งคู่อาบน้ำในที่เดียวกันและท่านดุอาอ์ขณะที่เธอนอนเหยียดยาวอยู่ตรงหน้า[42]

ธรรมเนียมต่าง ๆ เปิดเผยความรักซึ่งกันและกันระหว่างมุฮัมมัดกับอาอิชะฮ์ ท่านมักจะนั่งดูเธอกับเพื่อน ๆ เล่นตุ๊กตา และในบางครั้ง ท่านอาจร่วมเล่นกับพวกเธอด้วย[43][44][45] นอกจากนี้ มุฮัมมัดกับอาอิชะฮ์มีความสัมพันธ์ทางปัญญาที่แข็งแกร่ง[46] มุฮัมมัดเห็นคุณค่าด้านความทรงจำและความเฉลียวฉลาดของเธอ ท่านจึงแนะนำให้ผู้ติดตามนำเอาแนวทางปฏิบัติทางศาสนาบางส่วนจากเธอ[47][48]

การถูกกล่าวหาว่าทำชู้

มุฮัมมัดเสียชีวิต

เสียชีวิต

อาอิชะฮ์เสียชีวิตในบ้านของเธอที่มะดีนะฮ์ในวันที่ 17 เราะมะฎอน ฮ.ศ. 58 (16 กรกฎาคม ค.ศ. 678)[g] ด้วยอายุ 67 ปี[50] อะบูฮุร็อยเราะฮ์เป็นผู้นำละหมาดศพหลังละหมาดตะฮัจญุด (กลางคืน และฝังศพเธอที่ญันนะตุลบะเกียะอ์[51]

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง