พยานพระยะโฮวา

พยานพระยะโฮวา (อังกฤษ: Jehovah's Witnesses) เป็นนิกายย่อยที่มีความเชื่ออตรีเอกภาพต่างจากศาสนาคริสต์สายหลัก[5] กลุ่มนี้มีสมาชิกทั่วโลกประมาณ 8.7 ล้านคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกาศข่าวดีและมีผู้เข้าร่วมพิธีรำลึกทุกปีมากกว่า 17 ล้านคน[4] พยานพระยะโฮวาถูกกำกับโดยองค์กรกำกับดูแลของพยานพระยะโฮวา กลุ่มผู้อาวุโสในวอร์วิก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐที่จัดตั้งหลักการทั้งหมด[6] ผ่านการตีความคัมภีร์ไบเบิล[7][8] พวกเขาเชื่อว่าการทำลายล้างโลกปัจจุบันที่อารมาเกดโดนอยู่ใกล้ และการก่อตั้งอาณาจักรพระเจ้าเท่านั้นที่เป็นแนวทางแก้ปัญหาทั้งหมดของมนุษยชาติ[9]

พยานพระยะโฮวา
กลุ่มRestorationist
ความโน้มเอียงPremillennialist[1]
เทววิทยาอตรีเอกภาพ
การปกครององค์กรกำกับดูแล
โครงสร้างHierarchical[2]
ภูมิภาคทั่วโลก
ศูนย์กลางวอร์วิก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
ผู้ก่อตั้งชาลส์ เทซ รัสเซลล์[3]
ต้นกำเนิดคริสต์ทศวรรษ 1870
พิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ
สาขาของขบวนการนักศึกษาพระคัมภีร์
แยกออกJehovah's Witnesses splinter groups
การชุมนุม120,387
สมาชิก8,695,808
เว็บไซต์ทางการjw.org
สถิติจาก 2020 Grand Totals[4]

กลุ่มนี้ก่อตั้งขึ้นจากขบวนการนักศึกษาพระคัมภีร์ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1870 โดยชาลส์ เทซ รัสเซลล์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Zion's Watch Tower Tract Society ใน ค.ศ. 1881 เพื่อบริหารและตีพิมพ์สิ่งตีพิมพ์ของขบวนการ[3] ข้อพิพาทในการเลือกผู้นำหลังรัสเซลล์เสียชีวิตทำให้กลุ่มแตกไปบางส่วน โดยโจเซฟ แฟรงกลิน รัทเทอร์ฟอร์ดยังควบคุม the Watch Tower Society และทรัพย์สิน[10] รัทเทอร์ฟอร์ดสร้างความเปลี่ยนแปลงองค์กรและหลักคำสอนหลายอย่าง[11] รวมไปถึงการใช้ชื่อ พยานพระยะโฮวา[note 1] ใน ค.ศ. 1931 เพื่อสร้างความแตกต่างกับกลุ่มอื่นและเป็นสัญลักษณ์แยกออกจากคำสอนของรัสเซลล์[13][14][15]

พยานพระยะโฮวาเป็นที่รู้จักจากการให้คำสอนจากบ้านถึงบ้าน จำหน่ายวรรณกรรมอย่าง The Watchtower กับ Awake! และไม่ยอมรับการรับราชการทหารและการถ่ายเลือด พวกเขาปฏิเสธความเป็นตรีเอกภาพ, ความเป็นอมตะโดยธรรมชาติของวิญญาณ และไฟนรก ซึ่งพวกเขาถือว่าผิดหลักคำสอนพระคัมภีร์ พวกเขาไม่ฉลองวันคริสต์มาส, อีสเตอร์, วันเกิด หรือวันหยุดและธรรมเนียมอื่น ๆ ที่พวกเขาถือว่ามีต้นกำเนิดจากลัทธินอกศาสนา[16] พวกเขาจะใช้ New World Translation of the Holy Scriptures เป็นคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลของตนเอง[17] ถึงแม้ว่าวรรณกรรมของตนมักมีประโยคและอ้างอิงจากคำแปลในคัมภีร์ไบเบิลฉบับอื่น[18][19] ผู้นับถือกล่าวถึงหลักความเชื่อว่า "ความจริง" และกล่าวถึงตนเองเป็น "ในความจริง"[20] พวกเขาถือว่าสังคมฆราวาสมีความชั่วร้ายทางศีลธรรมและอยู่ภายใต้อิทธิพลของซาตาน และส่วนใหญ่จำกัดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้ที่ไม่ใช่พยาน[21] การลงโทษทางวินัยของผู้นับถือได้รวมการลงโทษแบบตัดสัมพันธ์ เป็นคำที่ใช้ในการขับไล่และการหลีกเลี่ยงอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นแนวทางสุดท้ายในการลงโทษความผิดที่ร้ายแรง[22][23] ผู้ที่เข้ารับบัพติสมาที่ละทิ้งอย่างเป็นทางการก็ถูก ตัดสัมพันธ์ และถูกหลีกเลี่ยงด้วย ผู้ถูกตัดสัมพันธ์และถูกหลีกเลี่ยงสามารถเข้าร่วมใหม่อีกครั้งหลักขออภัยโทษ[24]

การคัดค้านโดยอ้างมโนธรรมของกลุ่มต่อการรับราชการทหารและไม่แสดงความเคารพสัญลักษณ์ของชาติ (เช่นเพลงชาติและธง) ก่อให้เกิดปัญหากับบางรัฐบาล[25][26][27][28] ทำให้พยานพระยะโฮวามักถูกกดขี่ละกิจกรรมของตนถูกแบนหรือห้ามในบางประเทศ การดื้อเพ่งต่อกฎหมายของพยานพระยะโฮวามีอิทธิพลต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพลเมืองในบางประเทศ[29]

ประวัติ

พยานพระยะโฮวา มีการเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1879 ในรัฐเพนซิลเวเนีย-สหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มนักศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิลอิสระ ซึ่งนำโดย ซี.ที.รัสเซลล์ ได้รวมตัวกันเพื่อศึกษาและประกาศพระนามพระเจ้า "ยะโฮวา" และทำการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อสมาคม "ว็อซเทาว์เวอร์ ไบเบิลแอนด์แทร็ค โซไซตี้" และได้ขยายงานของสมาคมไปยังประเทศและดินแดนต่าง ๆ อีกกว่า 240 แห่งทั่วโลกในเวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน [30]

เกี่ยวกับความเชื่อ

พยานพระยะโฮวายึดคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก เพราะเชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลเป็นหนังสือที่ได้รับการดลบันดาลจากพระเจ้า (2 ทิโมธี 3:16) จึงเป็น "คำของพระเจ้า" เรื่องราวเกี่ยวกับการทรงสร้างที่พระธรรมเยเนซิศ (สะกดตามพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูเล่มปัจจุบันที่ พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยใช้) ประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ สถานที่ บุคคล เวลา ฯลฯ เป็นเรื่องที่พยานฯ ถือว่าถูกต้องไว้ใจได้ รวมทั้งคำพยากรณ์เกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดจากอดีต จนถึงปัจจุบันและอนาคต เป็นเรื่องที่พยานฯ เชื่อเช่นกัน พยานฯ เชื่อว่า "ความเชื่อที่ปราศจากการประพฤติ ความเชื่อก็เป็นการไร้ประโยชน์" ยากอบ 2:26[31]

ในส่วนของคัมภีร์ไบเบิลนั้น พยานพระยะโฮวาจะไม่เรียกสองส่วนของพระคัมภีร์ว่า พันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ ตามแบบคริสตจักร เพราะพยานฯ ถือว่า พระเจ้ามีพันธสัญญาเดียว ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ดังนั้น พยานฯ จึงเรียก สองส่วนของพระคัมภีร์ว่า ภาคภาษาฮีบรู กับภาคภาษากรีก ตามภาษาที่ใช้เขียนต้นฉบับ และใช้คำภีร์ไบเบิลเป็นหลักในการประกาศแยกตัวออกจากระบบโลกและต่อต้านสงคราม

วัตรศาสนา

การปฏิเสธการถ่ายเลือด

ผู้นับถือนิกายพยานพระยะโฮวาปฏิเสธการถ่ายเลือดเนื่องจากมองว่าเป็นการขัดต่อคำสั่งของพระเจ้าดังที่ระบุไว้ในบทกิจการ15:28-29 และบทอื่นๆ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1961 เป็นต้นมา การที่ศาสนิกยอมรับการถ่ายเลือดโดยไม่สำนึกว่าเป็นบาปเป็นข้อบ่งชี้หนึ่งของการขับไล่ออกจากนิกายนี้ โดยศาสนิกจะได้รับการสอนว่าต้องปฏิเสธการถ่ายเลือดในทุกกรณี แม้แต่ในกรณีที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต นิกายพยานพระยะโฮวายอมรับการถ่ายเลือดด้วยเลือดเทียมและยอมรับหัตถการทางการแพทย์ที่ไม่ต้องถ่ายเลือด และมีบทความเกี่ยวกับหัตถการทางการแพทย์และการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่ไม่ต้องใช้เลือดเผยแพร่

การถูกโจมตี

พยานฯ ถูกโจมตีอย่างมากด้านความเชื่อที่ต่างจากศาสนาคริสต์ทั่วไป เช่น อ้างว่าพวกพยานฯ ไม่เชื่อพระเยซู บิดเบือนพระคัมภีร์ ฯลฯ

พยานพระยะโฮวาเป็นกลุ่มคริสเตียนที่ไม่รวมเข้ากับคริสตศาสนจักร เนื่องด้วยกิจปฏิบัติหลาย ๆ อย่างของคริสตศาสนจักรไม่มีปรากฏให้เห็นในคัมภีร์ไบเบิลเช่น การฉลองวันเกิด การฉลองเทศกาลต่าง ๆ และหลาย ๆ กิจปฏิบัติเป็นที่ตำหนิของพระเจ้าด้วยซ้ำเช่นการนมัสการพระเจ้าผ่านรูปเคารพ (อพยพ 20:4-5, เฉลยธรรมบัญญัติ 7:26, 1โครินทธ์ 10:14) รวมทั้งการประพฤติที่พระคัมภีร์ตำหนิ (1โครินธ์ 5:9-11, 6:9-10)การเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าสามองค์หรือตรีเอกานุภาพ (ยอห์น 17:3, มาระโก 12:29) การตัดพระนามพระเจ้าออกจากพระคัมภีร์เพื่อป้องกันความสับสนในเรื่องตรีเอกานุภาพ การสนับสนุนการทหาร (มัทธิว 26:54, สุภาษิต 22:24,25) คำสอนเกี่ยวกับวิญญาณคนตาย (ยะเอศเคล 8:4)

ปัจจุบันพยานพระยะโฮวาได้จัดทำคัมภีร์ไบเบิลฉบับแปลใหม่ขึ้นโดยนำพระนามของพระเจ้ากลับเข้ามาในที่เดิมอีกครั้งโดยใช้ชื่อว่า "พระคัมภีร์คริสเตียนฉบับแปลโลกใหม่" กิจกรรมทางด้านความเชื่อที่พยานพระยะโฮวาทำเป็นหลักคือการประกาศราชอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของคริสเตียนแท้ทุกคน ในการออกไปตามบ้านคนเพื่อเผยแพร่ความจริงต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์ไบเบิ้ล ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดไปตามคำบอกเล่าสืบปากกันมาช้านาน โดยไม่เคยลงมือศึกษาอย่างถ่องแท้เลย และในแต่ละปีงานประกาศราชอาณาจักรของพยานพระยะโฮวาคิดเป็นระยะเวลารวมกันทั่วโลกได้ถึงหลายพันล้านชั่วโมง[32]

การไม่ยอมรับเรื่องตรีเอกภาพ

การโต้แย้งถกเถียงในเรื่องตรีเอกภาพ เริ่มกันตั้งแต่ ค.ศ. 100 ยุติลงได้โดยผลจากสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งในระหว่างศตวรรษที่ 3 และที่ 4 เพื่อต่อต้านลัทธิเอเรียส ซึ่งตั้งชื่อตามเอเรียส บาทหลวงชาวอะเล็กซานเดรีย (เสียชีวิต ค.ศ. 336) การสอนของเขาได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง เอเรียสสอนว่าพระเจ้าพระบิดาองค์เดียวที่เที่ยงแท้ เป็นองค์นิรันดร์ พระบุตรเป็นผู้ถูกสร้างขึ้นมา และมีฐานะตํ่ากว่าพระบิดา[33] ปัจจุบันการสอนของพยานพระยะโฮวามีลักษณะคล้ายกับการสอนของเอเรียสนี้

หมายเหตุ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Beckford, James A. (1975). The Trumpet of Prophecy: A Sociological Study of Jehovah's Witnesses. Oxford: Basil Blackwell. ISBN 978-0-631-16310-7.
  • Botting, Gary (1993). Fundamental Freedoms and Jehovah's Witnesses. University of Calgary Press. ISBN 978-1-895176-06-3.
  • Botting, Heather and Gary (1984). The Orwellian World of Jehovah's Witnesses. University of Toronto Press. ISBN 978-0-8020-6545-2.
  • Chryssides, George D. (2008). Historical Dictionary of Jehovah's Witnesses. Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-6074-2.
  • Chryssides, George D. (2016). Jehovah's Witnesses: Continuity and Change. Routledge. ISBN 9781409456087.
  • Crompton, Robert. Counting the Days to Armageddon. James Clarke & Co, Cambridge, 1996. ISBN 0-227-67939-3
    • A detailed examination of the development of Jehovah's Witnesses' eschatology.
  • Hoekema, Anthony A. (1963). The Four Major Cults. Grand Rapids, Michigan: William B. Eerdmans. ISBN 978-0-8028-3117-0.
  • Holden, Andrew (2002). Jehovah's Witnesses: Portrait of a Contemporary Religious Movement. Routledge. ISBN 978-0-415-26610-9.
    • An academic study on the sociological aspects of Jehovah's Witnesses phenomenon.
  • Kaplan, William. State and Salvation Toronto: University of Toronto Press, 1989. ISBN 0-8020-5842-6
    • Documents the Witnesses' fight for civil rights in Canada and the US amid political persecution during World War II.
  • Knox, Zoe (2018). Jehovah's Witnesses and the Secular World: From the 1870s to the Present. London: Palgrave Macmillan. ISBN 9781137396044.
  • Penton, M. James (1997). Apocalypse Delayed: The Story of Jehovah's Witnesses. University of Toronto Press. ISBN 978-0-8020-7973-2.
    • Penton, professor emeritus of history at University of Lethbridge and a former member of the group, examines the history of Jehovah's Witnesses, and their doctrines.
  • Rogerson, Alan. Millions Now Living Will Never Die. London: Constable & Co, 1969. ISBN 978-0094559400
    • Detailed history of the Watch Tower movement, particularly its early years, a summary of Witness doctrines and the organizational and personal framework in which Witnesses conduct their lives
  • Schulz, B. W. (2014). A Separate Identity: Organizational Identity Among Readers of Zion's Watch Tower: 1870-1887. Fluttering Wings Press. ISBN 978-1304969408.
    • Detailed history of the Watch Tower movement's earliest years written to an academic standard. Based on fresh research into original documents of the era. This is volume one of a planned two volume work.
  • Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania. Jehovah's Witnesses—Proclaimers of God's Kingdom (1993)
    • Official history of Jehovah's Witnesses.
  • Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania. Faith In Action (2-DVD series), (2010–2011)
    • Official history of Jehovah's Witnesses.

แหล่งข้อมูลอื่น

[1]

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง