ประเทศเชโกสโลวาเกีย

เชโกสโลวาเกีย หรือ เช็กโก-สโลวาเกีย [1] (/ˌɛkslˈvækiə, -kə-, -slə-, -ˈvɑː-/;[2][3] Czech and สโลวัก: Československo, Česko-Slovensko),[4][5] เป็นรัฐเอกราชในยุโรปกลาง[6] ซึ่งถูกสถาปนาขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1918 เมื่อได้ประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

เชโกสโลวาเกีย

Československo
ค.ศ. 1918ค.ศ. 1945
ค.ศ. 1945ค.ศ. 1992
คำขวัญเช็ก: Pravda vítězí
("Truth prevails"; ค.ศ. 1918–1990)
ละติน: Veritas Vincit
("Truth prevails"; ค.ศ. 1990–1992)
เพลงชาติ'Kde domov můj' (เช็ก)
'บ้านของฉันนั้นคือที่ใด?'

'Nad Tatrou sa blýska' (สโลวัก)
'สายฟ้าเหนือเขาทาทราส'
ที่ตั้งของ
สถานะสาธารณรัฐ
เมืองหลวงปราก
ภาษาทั่วไปเช็ก, สโลวัก, Rusyn, โปแลนด์
การปกครองสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 1 (1918–1938)
สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 2 (1938–1939)
สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่ 3 (1945–1948)
สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก (1948–1990)
สหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก (1990–1992)
ประธานาธิบดี 
• 1918–1935 (คนแรก)
Tomáš G. Masaryk
• 1935–1938 · 1945–1948
แอ็ดวาร์ต แบแน็ช
• 1938–1939
Emil Hácha
• 1989–1992 (คนสุดท้าย)
วาตสลัฟ ฮาแว็ล
นายกรัฐมนตรี 
• 1918–1919 (คนแรก)
Karel Kramář
• 1992 (คนสุดท้าย)
Jan Stráský
ยุคประวัติศาสตร์ศตวรรษที่ 20
• ประกาศอิสรภาพจากออสเตรีย-ฮังการี
28 ตุลาคม ค.ศ 1918
• ถูกนาซีเยอรมนียึดครอง
ค.ศ. 1939
• ได้รับอิสระ
ค.ศ. 1945
• แบ่งแยกประเทศ
31 ธันวาคม ค.ศ. 1992
พื้นที่
ค.ศ. 1993127,900 ตารางกิโลเมตร (49,400 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1993
15600000
สกุลเงินโครูนาเชโกสโลวาเกีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ราชอาณาจักรโบฮีเมีย
ประเทศเช็กเกีย
ประเทศสโลวาเกีย

ใน ค.ศ. 1938 ภายหลังจากข้อตกลงมิวนิก ซูเดเทินลันท์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนี ในขณะที่ประเทศได้สูญเสียดินแดนเพิ่มเติมให้กับฮังการีและโปแลนด์ ระหว่าง ค.ศ. 1939 และ ค.ศ. 1945 รัฐได้ยุติการดำรงอยู่ เนื่องจากสโลวาเกียได้ประกาศอิสรภาพ และต่อมาภายหลังดินแดนที่เหลือทางตะวันออกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของฮังการี ในขณะที่ส่วนที่เหลือของดินแดนเช็ก รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียของเยอรมันได้ถูกประกาศขึ้น ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1939 ภายหลังจากการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง อดีตประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกีย แอ็ดวาร์ต แบแน็ช ได้จัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นและต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากฝ่ายสัมพันธมิตร

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนปี ค.ศ. 1938 เชโกสโลวาเกียได้ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ด้วยการยกเว้นภูมิภาคคาร์เพเทียน รูเธเนีย ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน (สาธารณรัฐแห่งสหภาพโซเวียต) ตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ถึง ค.ศ. 1989 เชโกสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตะวันออกพร้อมด้วยเศรษฐกิจแบบบังคับ สถานะทางเศรษฐกิจได้ถูกทำให้เป็นทางการมในฐานะสมาชิกของคอมิคอน ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 และสถานะการป้องกันในกติกาสัญญาวอร์ซอ ตั้งแต่ ค.ศ. 1955 ช่วงเวลาของการเปิดเสรีทางการเมืองใน ค.ศ. 1968 หรือเป็นที่รู้จักกันคือ ปรากสปริง ซึ่งจบลงด้วยความรุนแรง เมื่อสหภาพโซเวียต ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากบางประเทศในกติกาสัญญาวอร์ซอในการรุกรานเชโกสโลวาเกีย ใน ค.ศ. 1989 รัฐบาลลัทธิมากซ์–เลนินและลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังจะสิ้นสุดทั่วทั้งยุโรปตะวันออก เชโกสโลวาเกียได้ขับไล่รัฐบาลสังคมนิยมอย่างสงบในการปฏิวัติกำมะหยี่ การควบคุมราคาของรัฐได้ถูกยกเลิกภายหลังจากช่วงเวลาของเตรียมการ ใน ค.ศ. 1993 เชโกสโลวาเกียได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสองรัฐเอกราช ได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกีย[7][8]

ลักษณะโดยเฉพาะ

รูปแบบของรัฐ

  • ค.ศ. 1918–1938: สาธารณรัฐประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนในการสถาปนาขึ้นโดย Tomáš Masaryk.
  • ค.ศ. 1938–1939: ภายหลังการเข้ายึดครอง ซูเดเทินลันท์โดยนาซีเยอรมนีใน ค.ศ. 1938 ภูมิภาคก็ค่อย ๆ กลายเป็นรัฐที่ความเชื่อมโยงต่อกันระหว่างภูมิภาคเช็ก สโลวัก และรูเธเนีย แถบภาคใต้ของสโลวาเกียและคาร์เพเทียน รูเธเนียได้ถูกกู้คืนโดยฮังการีและภูมิภาค Zaolzie ถูกผนวกรวมเข้ากับโปแลนด์
  • ค.ศ. 1939–1945: ส่วนที่เหลือของรัฐได้ถูกตัดขาดและแบ่งแยกออกมาเป็นรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียและสาธารณรัฐสโลวัก ในขณะที่ส่วนที่เหลือของคาร์เพเทียน รูเธเนียถูกยึดครองและผนวกรวมเข้ากับฮังการี รัฐบาลผลัดถิ่นยังคงดำรงอยู่ในกรุงลอนดอน, ได้รับการสนับสนุนโดยสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในฝ่ายสัมพันธมิตร; ภายหลังจากเยอรมันได้เข้ารุกรานสหภาพโซเวียต ยังได้รับการยอมรับจากสหภาพโซเวียตอีกด้วย เชโกสโลวาเกียได้ปฏิบัติตามปฏิญญาสหประชาชาติและเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติ
  • ค.ศ. 1946–1948: ประเทศนี้ถูกปกครองโดยรัฐบาลผสมพร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีฝ่ายคอมมิวนิสต์ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาไทย คาร์เพเทียน รูเธเนียได้ถูกส่งมอบให้กับสหภาพโซเวียต
  • ค.ศ. 1948–1989: ประเทศนี้กลายเป็นรัฐลัทธิมากซ์–เลนินภายใต้ภายใต้การปกครองของโซเวียตพร้อมด้วยเศรษฐกิจแบบบังคับ. ใน ค.ศ. 1960, ประเทศอย่างเป็นทางการได้กลายเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมมีชื่อว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก เป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต
  • ค.ศ. 1989–1990: เชโกสโลวาเกียได้กลายเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐประกอบไปด้วยสาธารณรัฐสังคมนิยมเช็กและสาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวัก ใน ค.ศ. 1989 การปกครองของคอมมิวนิสต์ได้มาถึงจุดจบในช่วงการปฏิวัติกำมะหยี่ ตามมาด้วยการสถาปนาก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
  • ค.ศ. 1990–1992: ไม่นานภายหลังการปฏิวัติกำมะหยี่ รัฐได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก ประกอบไปด้วยสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) จนกระทั่งได้ถูกยุบอย่างสันติ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993

ประเทศเพื่อนบ้าน

  • ออสเตรีย ค.ศ. 1918–1938, ค.ศ. 1945–1992
  • เยอรมนี (สองประเทศในช่วงก่อนหน้านี้, เยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออก เป็นประเทศเพื่อนบ้านกันระหว่าง ค.ศ. 1949 และ 1990)
  • ฮังการี
  • โปแลนด์
  • โรมาเนีย ค.ศ. 1918–1938
  • สหภาพโซเวียต ค.ศ. 1945–1991
  • ยูเครน ค.ศ. 1991–1992 (สมาชิกของสหภาพโซเวียตจนถึง ค.ศ. 1991)

ภูมิประเทศ

ประเทศแห่งนี้เป็นภูมิประเทศที่ไม่สม่ำเสมอโดยทั่วไป พื้นที่ทางตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบทางตอนเหนือของยุโรปกลาง พื้นที่ทางตะวันออกประกอบไปด้วยปลายสุดขอบทางเหนือของเทือกเขาคาร์เพเทียนและดินแดนของลุ่มแม่น้ำดานูบ

ภูมิอากาศ

สภาพอากาศของประเทศนี้คือฤดูหนาวที่ไม่รุนแรงและฤดูร้อนที่ไม่รุนแรงเช่นกัน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากมหาสมุทรแอตแลนติกจากตะวันตก ทะเลบอลติกจากทางเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากทางใต้ ดังนั้นจึงไม่มีสภาพอากาศแบบทวีปเลย

ชื่อทางการ

  • ค.ศ. 1918–1938: สาธารณรัฐเชโกสโลวัก (ย่อคำว่า ČSR), หรือ เชโกสโลวาเกีย, ก่อนที่จะมีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1920, ยังเป็นที่รู้จักกันคือ เช็กโก-สโลวาเกีย หรือ รัฐเช็กโก-สโลวัก [9]
  • ค.ศ. 1938–1939: สาธารณรัฐเช็กโก-สโลวาเกีย, หรือ เช็กโก-สโลวาเกีย
  • ค.ศ. 1945–1960: สาธารณรัฐเชโกสโลวัก (ČSR), หรือ เชโกสโลวาเกีย
  • ค.ศ. 1960–1990: สาธารณรัฐสังคมนิยมเชโกสโลวัก (ČSSR), หรือ เชโกสโลวาเกีย
  • ค.ศ. 1990–1992: สหพันธ์สาธารณรัฐเช็กและสโลวัก (ČSFR), หรือ เชโกสโลวาเกีย

ประวัติศาสตร์

จุดกำเนิด

Tomáš Garrigue Masaryk, ผู้ก่อตั้งและประธานาธิบดีคนแรก
ทหารเชโกสโลวักใน Vladivostok (ค.ศ. 1918)
การประกาศเอกราชของเชโกสโลวัก ชุมนุมในกรุงปรากที่จัตุรัสเวนเซสลาส เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1918

พื้นที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีมาเนิ่นนานจนกระทั่งจักรวรรดิได้ถึงแก่การล่มสลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ยุติลง รัฐแห่งใหม่ได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Tomáš Garrigue Masaryk (ค.ศ. 1850–1937) ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรก ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1918 ถึง 14 ธันวาคม ค.ศ. 1935 เขาได้ถูกรับช่วงต่อโดยคนสนิทใกล้ชิดของเขาอย่างแอ็ดวาร์ต แบแน็ช (ค.ศ. 1884–1948)

รากเหง้าของลัทธิชาตินิยมของชาวเช็กต้องย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภาษาศาสตร์และนักศึกษา ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจินตนิยม ได้ส่งเสริมภาษาเช็กและความภาคภูมิใจในชาวเช็ก ลัทธิชาตินิยมได้กลายเป็นขบวนการมวลชนในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 การใช้ประโยชน์จากโอกาศที่มีจำกัดในการมีส่วนร่วมในชีวิตทางการเมืองภายใต้การปกครองของออสเตรีย ผู้นำเช็ก เช่น นักประวัติศาสตร์นามว่า František Palacký (ค.ศ. 1798–1876) ได้จัดตั้งองค์กรให้ความช่วยเหลือตนเองที่มีใจรักชาติต่าง ๆ มากมาย ซึ่งเปิดโอกาศให้เพื่อนร่วมชาติหลายคนได้มีส่วนร่วมในชีวิตสังคมก่อนที่จะได้รับเอกราช Palacký ได้สนับสนุนลัทธิออสเตรีย-สลาฟ และทำงานในการปรับปรุงขึ้นมาใหม่และรัฐบาลกลางของจักรวรรดิออสเตรีย ซึ่งจะคอยปกป้องประชาชนที่พูดเป็นภาษาสลาฟในยุโรปกลางจากการคุกคามของรัสเซียและเยอรมัน

หนึ่งในผู้สนับสนุนการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยและการปกครองตนเองของเช็กภายในออสเตรีย-ฮังการี Masaryk ได้รับการเลือกตั้งสองครั้งในการเข้าสู่ Reichsrat (รัฐสภาออสเตรีย) ครั้งแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 1891 ถึง ค.ศ. 1893 จากพรรคยังเช็ก (พรรคเสรีนิยมแห่งชาติ) และอีกครั้ง ตั้งแต่ ค.ศ. 1907 ถึง ค.ศ. 1914 จากพรรคสัจนิยมเช็ก ซึ่งเขาเป็นผู้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1889 พร้อมกับ Karel Kramář และ Josef Kaizl

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชาวเช็กและสโลวักจำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกองทหารเชโกสโลวัก ได้ต่อสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในฝรั่งเศสและอิตาลี ในขณะที่จำนวนมากมายได้ละทิ้งหน้าที่ให้แก่รัสเซียเพื่อแลกกับการสนับสนุนในการได้รับอิสรภาพของเชโกสโลวาเกียจากจักรวรรดิออสเตรีย ด้วยการปะทุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Masaryk ได้เริ่มทำงานเพื่ออิสรภาพของเช็กในการร่วมมือกับสโลวาเกีย พร้อมด้วยกับ แอ็ดวาร์ต แบแน็ช และ Milan Rastislav Štefánik Masaryk ได้เยือนประเทศตะวันหลายประเทศและได้รับการสนับสนุนจากนักเขียนข่าวการเมืองทรงอิทธิพล สภาชาติเชโกสโลวาเกียเป็นองค์กรหลักที่ได้ดำเนินการในการอ้างสิทธิ์สำหรับรัฐเชโกสโลวัก

สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง