ภาษาคุชราต

ภาษาคุชราต (คุชราต: ગુજરાતી, อักษรโรมัน: Gujarātī, คุชราตี, ออกเสียง: [ɡudʒˈɾɑːtiː]) เป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันในรัฐคุชราต ประเทศอินเดีย โดยหลักพูดโดยชาวคุชราต ภาษาคุชราตสืบต้นตอจากภาษาคุชราตเก่า (ป. ค.ศ. 1100–1500) โดยมีสถานะเป็นภาษาราชการในรัฐคุชราตและดินแดนสหภาพดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู ณ ค.ศ. 2011 ภาษาคุชราตเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากเป็นอันดับที่ 6 ของประเทศอินเดียตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ (55.5 ล้านคน ซึ่งเท่ากับประมาณ 4.5% ของประชากรทั้งประเทศ)[2] ณ ค.ศ. 2007 ภาษานี้เป็นภาษาที่มีผู้พูดมากในอันดับที่ 26 ของโลกตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่[5]

ภาษาคุชราต
ગુજરાતી
ศัพท์ "คุชราต" ในอักษรคุชราต
ออกเสียง[ɡudʒəˈɾɑːtiː]
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย
ภูมิภาครัฐคุชราต
ชาติพันธุ์ชาวคุชราต
จำนวนผู้พูด56 ล้านคน  (2011)[1][2]
ผู้พูดภาษาที่สอง: 4 ล้านคน[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
Shauraseni Prakrit
  • Gurjar Apabhraṃśa
    • คุชราตเก่า
      • คุชราตกลาง
        • ภาษาคุชราต
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน แอฟริกาใต้ (ภาษาที่ได้รับการป้องกัน)[4]
ผู้วางระเบียบGujarat Sahitya Akademi, รัฐบาลรัฐคุชราต
รหัสภาษา
ISO 639-1gu
ISO 639-2guj
ISO 639-3guj
Linguasphere59-AAF-h
แผนที่ขอบเขตภาษาคุชราต สีแดงอ่อนคือบริเวณที่เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อย และสีแดงเข้มมีประชากรที่ผู้ภาษานี้จำนวนมาก

ภาษาคุชราตมีอายุมากกว่า 1,000 ปี และมีผู้พูดมากกว่า 55 ล้านคนทั่วโลก[6] มีผู้อพยพชาวคุชราตที่ใช้ภาษานี้ในเอเชียใต้ส่วนอื่น โดยเฉพาะในมุมไบและปากีสถาน (ส่วนใหญ่อยู่ในการาจี)[7] และยังมีหลายประเทศนอกเอเชียใต้ที่ผู้พลัดถิ่นชาวคุชราตใช้ภาษานี้ ในทวีปอเมริกาเหนือ ภาษาคุชราตถือเป็นหนึ่งในภาษากลุ่มอินเดียที่เติบโตเร็วที่สุดและใช้พูดมากที่สุดในสหรัฐและแคนาดา[8][9] ในทวีปยุโรป ภาษาคุชราตเป็นภาษาที่มีจำนวนผู้พูดมากเป้นอันดับ 2 ในชาวอังกฤษเอเชียใต้ และเป็นภาษาที่มีผู้พูดในลอนดอนมากเป้นอันดับที่ 4[10] นอกจากนี้ยังมีผู้พูดในแอริกาตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเคนยา, ยูกันดา, แทนซาเนีย, แซมเบีย และแอฟริกาใต้[11][12][13] ส่วนทที่เหลือ มีจำนวนผู้พูดน้อยในฮ่องกง, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ออสเตรเลีย และประเทศแถบตะวันออกกลางอย่างบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[11][14][15]

ประวัติ

เอกสารตัวเขียนใน ค.ศ. 1666 ที่มีข้อความภาษาปรากฤตไชนะในคริสต์ศตวรรษที่ 6 กับคำอธิบายภาษาคุชราตเก่าใน ค.ศ. 1487

ภาษาคุชราตเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากภาษาสันสกฤตโดยทั่วไปแบ่งภาษาในกลุ่มนี้ออกเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลาคือ:[16]

  1. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันโบราณ ได้แก่ภาษาพระเวทและภาษาสันสกฤตคลาสสิก
  2. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางได้แก่ภาษาปรากฤตสำเนียงต่างๆ และภาษาอปพราหมศัส
  3. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่ เช่น ภาษาฮินดี ภาษาปัญจาบ ภาษาเบงกอล

จากทั้งสามกลุ่มที่กล่าวมา ภาษาคุชราตมีพัฒนาการแยกจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่นๆเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกันคือ:[17]

  1. ภาษากลุ่มอินโด-อารยันแยกเป็นกลุ่มเหนือ กลุ่มตะวันออกและตะวันตกขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะ เช่นเปลี่ยนเสียงกักเป็นเสียงก้องในกลุ่มเหนือ (ภาษาสันสกฤต ทันตะ เป็นภาษาปัญจาบ ทานต์) และเสียงจากฟันและเสียงม้วนลิ้นรวมกับเสียงเพดานแข็ง (เช่น ภาษาสันสกฤต สันธยา เป็น ภาษาเบงกอล สาฌ)[18]
  2. กลุ่มตะวันตกแยกเป็นกลุ่มกลางและกลุ่มใต้
  3. กลุ่มกลางแยกเป็นภาษาคุชราต/ราชสถาน ภาษาฮินดีตะวันตก และภาษาปัญจาบ/ลหันทะ/สินธี ตามลักษณะการเปลี่ยนกริยาช่วยและปรบทในภาษาคุชราต/ราชสถาน[16]
  4. ภาษาคุชราต/ราชสถาน แยกเป็นภาษาคุชราตและภาษาราชสถานโดยการพัฒนาของลักษณะบางอย่าง เช่นเครื่องหมายความเป็นเจ้าของ -n- ในพุทธศตวรรษที่ 20[19]

การเปลี่ยนแปลงจากภาษาสันสกฤตที่สำคัญที่พบในภาษาคุชราตได้แก่:[17]

  • สัทวิทยา ได้แก่ ตัดเสียงสระที่ตัวสุดท้ายออก เปลี่ยนกลุ่มพยัญชนะเป็นพยัญชนะตัวเดียวที่มีเสียงสระยาวขึ้น
สันสกฤตปรากฤตคุชราตไทยอ้างอิง
hastahatthahāthมือ[20]
saptasattasātเจ็ด[21]
aṣṭāaṭṭhaāṭhแปด[22]
sarpasappasāpงู[23]
  • ด้านลักษณะคำ ได้แก่ ลดจำนวนคำประสม รวมทวิพจน์ เข้ากับพหูพจน์ เปลี่ยนปัจจัยแบบการกเป็นแบบปรบท พัฒนาโครงสร้างของกาล การกระทำ มาลาที่อ้อมค้อม
  • การเรียงประโยค ได้แก่ตัดสัมพันธการก มีระบบการตกลงที่ซับซ้อน

ภาษาคุชราตเองแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้:[16]

คุชราตเก่า

  • ภาษาคุชราตเก่า (જૂની ગુજરાતી; พ.ศ. 1643 - 2043) บรรพบุรุษของภาษาคุชราตและภาษาราชสถาน[24] ใช้พูดโดยคุรชารส์ที่อาศัยและปกครองในรัฐคุชราต, ปัญจาบ, ราชปุตนะ และอินเดียตอนกลาง[25][26] เอกสารในยุคนี้แสดงลักษณะของภาษาคุชราต เช่นรูปแบบของนามแบบกรรมตรง ปรบท[27]และกริยาช่วย มี 3 เพศ เช่นเดียวกับภาษาคุชราตในปัจจุบัน และในราว พ.ศ. 1843 มีการจัดมาตรฐานภาษาขึ้น ในขณะที่ภาษานี้เป็นที่รู้จักในชื่อภาษาคุชราตโบราณ แต่มีนักวิชาการบางคนเรียกภาษาราชสถานตะวันตกโบราณ โดยถือว่าภาษาคุชราตและภาษาราชสถานไม่แยกออกจากกันในเวลานั้น ไวยากรณ์ที่เป็นทางการของภาษาเริ่มต้นของภาษานี้เขียนโดยนักบวชในศาสนาเชนและนักวิชาการ เหมาจันทระ สุรี ในสมัยกษัตริย์ราชบุตร สิทธราช ชยสิญแห่งฮัญ อญิลลวธะ (ปาตาน) งานเขียนที่สำคัญในยุคนี้ได้แก่
    • ราสะ เป็นเรื่องเล่าที่เป็นคำสอน
    • ผาคุ
    • พัรมาสี อธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติทั้ง 12 เดือน
    • อาขยานะ เป็นบทร้อยกรอง
  • ภาษาคุชราตยุคกลาง (พุทธศตวรรษ 20 -23)แยกออกจากภาษาราชสถาน ปรากฏเสียง ɛ และ ɔ ตัวช่วย -ch และเครื่องหมายความเป็นเจ้าของ -h- ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างภาษาคุชราตยุคโบราณกับยุคปัจจุบันได้แก่
    • u เป็น ə ในพยางค์เปิด
    • เสียงกล้ำ əi, əu เปลี่ยนเป็น ɛ และ ɔ ในพยางค์แรกและเป็น e และ o ในที่อื่น
    • əũ เป็น ɔ̃ ในพยางค์แรกและเป็น ű ในพยางค์สุดท้าย

การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อไวยากรณ์ในลำดับต่อมา ตัวอย่างเช่น ภาคุชราตโบราณมีรูปการกเครื่องมือ-สถานที่ เอกพจน์เป็น -i กลายมาซ้ำกับ การกประธาน-กรรมตรง เอกพจน์ ซึ่งเป็น -ə

คุชราตใหม่

  • ภาษาคุชราตสมัยใหม่ (ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา) ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสัทวิทยาที่สำคัญตัดเสียงท้าย ə's มีคำที่ลงท้ายด้วยเสียงพยัญชนะ มีเครื่องหมายพหูพจน์ใหม่ ลงท้ายด้วย -o[28]

การแพร่กระจาย

ทั้งมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์และมหาตมา คานธีพูดภาษาคุชราตเป็นภาษาแม่ ถึงแม้ว่าจินนาห์ไม่ได้มาจากรัฐคุชราตก็ตาม[29][30] และสนับสนุนให้ใช้ภาษาอูรดู

ในจำนวนผู้พูดภาษาคุชราตประมาณ 46 ล้านคนใน ค.ศ. 1997 เกือบ 45.5 ล้านคนอาศัยอยู่ในอินเดีย 150,000 คนอยู่ในยูกันดา 50,000 อยู่ในแทนซาเนีย 50,000 คนในเคนยา และเกือบ 100,000 คนในการาจี ประเทศปากีสถาน ซึ่งไม่รวมชาวเมโมนแสนกว่าคนที่ไม่ได้ระบุตนเองเป็นชาวคุชราต แต่อาศัยอยู่ในรัฐคุชราต[31] อย่างไรก็ตาม ผู้นำชุมชนคุชราตในปากีสถานอ้างว่ามีผู้พูดภาษาคุชราตในการาจี 3 ล้านคน[32] และยังพบผู้พูดในแคว้นปัญจาบตอนล่าง[33] ภาษาคุชราตปากีสถานน่าจะเป็นภาษาย่อยของ Gamadia[33]

มหาตมา คานธีใช้ภาษาคุชราตเป็นสื่อกลางในการแสดงออกทางวรรณกรรม เขาช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการขยายวรรณกรรมภาษานี้[34] และใน ค.ศ. 1936 เขาเสนอแบบการสะกดคำในการประชุมครั้งที่ 12 ของ Gujarati Literary Society[35][36]

ชาวมอริเชียสและเรอูว์นียงหลายคนเป็นลูกหลานชาวคุชราต และมีบางส่วนสามารถพูดภาษานี้ได้[37]

สหราชอาณาจักรมีผู้พูดมากกว่า 200,000 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลอนดอน โดยเฉพาะในนอร์ธเวสต์ลอนดอน มีชาวคุชราตจำนวนหนึ่งที่มาจากแอฟริกาตะวันออกที่มีการเลือกปฏิบัติและนโยบายการทำให้เป็นแอฟริกาในประเทศที่กลายเป็นเอกราช (โดยเฉพาะในยูกันดาที่อีดี อามินขับไล่ชาวเอเชีย 50,000 คน) ถูกขับออกไปโดยที่มีอนาคตและสิทธิพลเมืองไม่แน่นอน คนที่มีพาสพอร์ตอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานในสหราชอาณาจักร[34][38]

นอกจากชาวคุชราตแล้ว พลเมืองที่ไม่ใช่ชาวคุชราตในรัฐคุชราตสามารถพูดภาษานี้ได้ ส่วนใหญ่เป็นชาว Kutch (ในฐานะภาษาวรรณกรรม)[34] ปาร์ซิส (รับเป็นภาษาแม่) และผู้อพยพชาวสินธ์ที่นับถือศาสนาฮินดูจากปากีสถาน[39]

สถานะทางการ

ภาษาคุชราตเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาทางการและ 14 ภาษาประจำภูมิภาคของอินเดีย และหนึ่งในภาษาชนกลุ่มน้อยในปากีสถาน[40] ภาษานี้มีสถานะทางการในรัฐคุชราตและดินแดนสหภาพดาดราและนครหเวลี และดามันและดีอู

ภาษาคุชราตได้รับการยอมรับและการสอนในฐานะภาษาชนกลุ่มน้อยในรัฐราชสถาน, รัฐมัธยประเทศ, รัฐมหาราษฏระ และรัฐทมิฬนาฑู และดินแดนสหภาพเดลี[41]

สถานะการเป็นภาษาทางการ

ภาษาคุชราตเป็นภาษาทางการหนึ่งใน 22 ภาษาของอินเดีย และเป็น 1 ใน 14 ภาษาประจำถิ่นของอินเดีย และเป็นภาษาทางการของรัฐคุชราต

สำเนียง

หนังสือพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยภาษาคุชราตสำเนียงปาร์ซี เมื่อราว พ.ศ. 2435 [42]

สำเนียงที่ถือเป็นมาตรฐานของภาษาคุชราตคือสำเนียงที่ใช้พูดในบริเวณพโรทะจนถึงอะห์เมดาบัดและทางเหนือ.[43] สำเนียงอื่นๆของภาษาคุชราตได้แก่

  • สำเนียงมาตรฐาน แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงมาตรฐานเสารัตตระ สำเนียงนครี สำเนียงคุชราตบอมเบย์ สำเนียงปัตนุลี
  • สำเนียงกะมะเดีย แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงครัมยะ สำเนียงสุรตี สำเนียงอนาละ สำเนียงพรเดละ สำเนียงคุชราตพรอชตะวันออก สำเนียงจโรตรี สำเนียงปติทรี สำเนียงวโททรี สำเนียงอะห์เมดาบัด สำเนียงปตนี
  • สำเนียงปาร์ซี
  • สำเนียงกถิยวดี แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงฌลวดี สำเนียงโสรถี สำเนียงโหลดี สำเนียงโคหัลวดี สำเนียงภัพนครี
  • สำเนียงบัรวา
  • สำเนียงบกรี
  • สำเนียงตริมุขี แบ่งได้อีกเป็น สำเนียงฆิสดี

ภาษาใกล้เคียง

ภาษากุจจิหรือภาษากัจฉิหรือภาษาโขชกีเป็นภาษาที่มักจะถูกกล่าวถึงว่าเป็นสำเนียงของภาษาคุชราต แต่นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่กล่าวว่าภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษาสินธี

ระบบการเขียน

เขียนด้วยอักษรคุชราตซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรเทวนาครี ต่างกันแต่อักษรคุชราตไม่มีเส้นขีดด้านบนของอักษร ภาษากัจฉิเขียนด้วยอักษรคุชราตด้วยเช่นกัน และทั้งสองภาษานี้เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับแบบเปอร์เซียด้วย

คำศัพท์

โดยทั่วไป ภาษากลุ่มอินโด-อารยันสมัยใหม่แบ่งคำศัพท์โดยทั่วไปเป็น 3 กลุ่มคือ ตัตสัม ตัคภัพ และคำยืม[44]

ตัคภัพ

ภาษาคุชราตเป็นภาษากลุ่มอินโดอารยันสมัยใหม่ที่เป็นลูกหลานของภาษาศัพท์ในหมวดนี้เกี่ยวข้องกับภาษาสันสกฤต เป็นศัพท์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และศัพท์ทางศาสนา

อินโด-อารยันเก่าคุชราตอ้างอิง
ข้าahám[45]
ตก, ลื่นkhasatikhasvũเคลื่อนตัว[46]
ทำให้เคลื่อนarpáyatiāpvũให้[47]
รับ, ได้รับprāpnotipāmvũ[48]
เสือvyāghrávāgh[49]
เท่ากัน, คล้ายกัน, ระดับsamásamũขวา, เสียง[50]
ทั้งหมดsárvasau/sav[51]

ตัตสัม

เมื่อเลิกใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาพูด และเปลี่ยนมาสู่ยุคของภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง มีการจัดมาตรฐานให้เป็นภาษาเขียนและภาษาสำหรับศาสนาในยุคนั้น ศัพท์ในหมวดนี้จึงเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤตในรูปแบบที่เป็นทางการ ศัพท์เทคนิค มีการผันคำและใช้เครื่องหมายตามแบบภาษาสันสกฤต ตัตสัมโบราณบางคำมีการเปลี่ยนความหมายไปในภาษาสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น ปรสาระหมายถึงการแพร่ ทำให้กระจาย แต่ในปัจจุบันหมายถึงการออกอากาศ คำบางคำเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่เช่น โทรศัพท์ ในภาษาคุชราตใช้ว่าทุรภาษ หมายถึงการพูดในระยะไกล แต่ชาวคุชราตมักใช้ว่า โฟนมากกว่า

ตัตสัมไทยคุชราต
lekhakนักเขียนlakhnār
vijetāผู้ชนะjītnār
vikǎsitได้รับการพัฒนาvikǎselũ
jāgǎraṇการทำให้ตื่นjāgvānũ

คำยืมจากภาษาอื่น

นอกจากศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตแล้ว ยังมีศัพท์ที่มาจากภาษาอื่นๆที่มาเป็นคำยืมในภาษาคุชราต ได้แก่ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ และมีบางส่วนมาจากภาษาโปรตุเกสและภาษาคำยืมจากภาษาอังกฤษจัดว่าใหม่ที่สุด ส่วนคำยืมจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า คำศัพท์จากทั้งสามภาษานี้จัดว่ามีความสำคัญและใช้เป็นศัพท์ทั่วไป ควบคู่กับตัตสัม

ภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ

ประเทศอินเดียเคยถูกปกครองด้วยมุสลิมที่พูดภาษาเปอร์เซียเป็นเวลานาน ทำให้ภาษาในประเทศอินเดียมีการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งภาษาคุชราต โดยรับคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเข้ามามาก ตัวอย่างเช่น การใช้คำสันธาน ke ที่มาจากภาษาเปอร์เซีย เมื่อเวลาผ่านไป คำเหล่านี้ถูกทำให้มีลักษณะของภาษาคุชราตมากขึ้น โดยทุกคำมีเครื่องหมายเพศตามแบบภาษาคุชราต

ในขณะที่ภาษากลุ่มอินโด-อารยัน เช่น ภาษามราฐี ภาษาเนปาลีและภาษาเบงกอลพยายามรักษารากศัพท์ของตนเองไว้ แต่ภาษากลุ่มอินโด-อารยันทางตะวันตก ตอนกลางและตะวันตกเฉียงเหนือเช่นภาษาปัญจาบ ภาษาฮินดูสตานี ภาษาสินธีและภาษาคุชราตกลับรับเอาลักษณะของภาษาเปอร์เซียไว้มาก ภาษาฮินดูสตานีสำเนียงที่ใช้พูดในเดลฮีเคยถูกทำให้เป็นเปอร์เซีย แล้วต่อมาจึงถูกตัดลักษณะของภาษาเปอร์เซียออกแล้วทำให้เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งแยกอินเดียและปากีสถาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นภาษาฮินดีและภาษาอูรดูแม้ว่าภาษาคุชราตจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะดังกล่าว แต่ก็มีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียมากเช่นกัน การออกเสียงคำยืมเหล่านี้หากเทียบกับภาษาเปอร์เซียใหม่แล้ว จะมีพัฒนาการเป็นเช่นเดียวกับผู้พูดภาษาเปอร์เซียในอัฟกานิสถานและเอเชียกลางเมื่อ 500 ปีก่อน ผู้อพยพชาวเปอร์เซียที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ หรือที่เรียกว่าชาวปาร์ซี พูดภาษาคุชราตในรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียมาก

ภาษาอังกฤษ

อังกฤษเป็นประเทศที่เข้ามามีอิทธิพลในอินเดียเมื่อสิ้นสุดอิทธิพลของเปอร์เซียและอาหรับ ภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในอินเดียในฐานะภาษาเพื่อการศึกษา การนำศัพท์ภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาคุชราตมีการเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย ที่เห็นได้ชัดคือภาษาคุชราตมี 3 เพศ แต่ในภาษาอังกฤษไม่มี เมื่อนำมาใช้จึงต้องกำหนดเพศให้ศัพท์นั้น ตามแบบของภาษาคุชราต โดยดูจากความหมายของคำ

ภาษาโปรตุเกส

มีอิทธิพลต่อภาษาคุชราตเล็กน้อย ต่างจากบริเวณอื่นที่มีภาษาลูกผสมของภาษาโปรตุเกส โดยมาก ภาษาโปรตุเกสมีอิทธิพลต่อภาษาตามแนวชายฝั่งมากกว่า

ไวยากรณ์

ลักษณะการเรียงคำในภาษาคุชราต คำขยายอยู่หน้าคำนาม กรรมตรงมาก่อนกริยา มีปรบท การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา มี 3 เพศ และ 2 พจน์ ไม่มีคำนำหน้านาม กริยาใช้ในรูปรากศัพท์ตามด้วยปัจจัยที่แสดงความมุ่งหมายและข้อตกลงซึ่งถือเป็นรูปแบบหลัก และอาจตามด้วยรูปช่วยที่แสดงกาลและมาลา

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง