ภาษามอลตา

ภาษามอลตา (มอลตา: Malti) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกของชาวมอลตาที่มีที่มาจากภาษาอาหรับซิซิลีในสมัยกลางตอนปลาย ซึ่งมีอิทธิพลของกลุ่มภาษาโรมานซ์ โดยเป็นภาษาประจำชาติของประเทศมอลตา[2] และเป็นภาษาทางการภาษาเดียวในสหภาพยุโรปที่อยู่ในกลุ่มภาษาเซมิติก ภาษามอลตาเป็นภาษาอาหรับในอดีตที่พัฒนาเป็นสำเนียงภาษาอาหรับมัฆริบในเอมิเรตซิซิลีช่วง ค.ศ. 831 ถึง 1091[3] หลังการรุกรานมอลตาของนอร์มันและการทำให้เป็นคริสเตียนบนเกาะนี้อีกครั้ง ภาษามอลตาจึงพัฒนาอย่างอิสระจากภาษาอาหรับคลาสสิกผ่านกระบวนการทำให้เป็นละตินทีละน้อย[4][5] ทำให้ภาษานี้อยู่ในข้อยกเว้น เพราะรูปแบบภาษาอาหรับในอดีตไม่มีความสัมพันธ์ทางทวิภาษณ์กับภาษาอาหรับคลาสสิกหรือภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่[6] ทำให้ภาษามอลตาถูกจัดให้แยกต่างหากจากมหภาษาอาหรับสมัยใหม่ 30 รูปแบบ[7] ภาษามอลตายังมีความแตกต่างจากภาษาอาหรับและกลุ่มภาษาเซมิติกอื่น ๆ ตรงที่วิทยาหน่วยคำได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาโรมานซ์อย่างมาก โดยเฉพาะภาษาอิตาลีและภาษาซิซิลี[8]

ภาษามอลตา
Malti
ป้ายโฆษณาภาษามอลตา
ออกเสียง[ˈmɐltɪ]
ประเทศที่มีการพูดประเทศมอลตา
ชาติพันธุ์ชาวมอลตา
จำนวนผู้พูด520,000  (2012)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนละติน (ชุดตัวอักษรมอลตา)
อักษรเบรลล์มอลตา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศมอลตา มอลตา
 สหภาพยุโรป
ผู้วางระเบียบสภาภาษามอลตาแห่งชาติ
(Il-Kunsill Nazzjonali tal-Ilsien Malti)
รหัสภาษา
ISO 639-1mt
ISO 639-2mlt
ISO 639-3mlt
Linguasphere12-AAC-c
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษามอลตา บันทึกในประเทศมอลตา

ศัพท์ภาษามอลตาที่มีฐานจากภาษาอาหรับมีจำนวนประมาณหนึ่งในสามของศัพท์ทั้งหมด โดยเฉพาะคำที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดพื้นฐานและคำประกอบ (function words)[9] แต่มีศัพท์ประมาณครึ่งหนึ่งที่มาจากภาษาอิตาลีมาตรฐานและซิซิลี[10] และศัพท์ภาษาอังกฤษปรากฏอยู่ในศัพท์ภาษานี้ระหว่าง 6% ถึง 20%[11] งานวิจัยใน ค.ศ. 2016 แสดงให้เห็นว่า ในหมวดหมู่ภาษาพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ผู้พูดภาษามอลตาสามารถเข้าใจภาษาอาหรับตูนิเซีย (ซึ่งเป็นภาษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษาอาหรับซิซิลี)[12] ได้ประมาณหนึ่งในสาม[13] ในขณะที่ผู้พูดภาษาอาหรับตูนิเซียสามารถเข้าใจภาษามอลตาได้ประมาณ 40%[14] ในรายงานนี้ระบุระดับความเข้าใจกันแบบไม่สมมาตรว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความเข้าใจระหว่างกันระหว่างภาษาอาหรับรูปแบบอื่น ๆ[15]

ภาษามอลตาเขียนด้วยอักษรละติน โดยมีตัวอย่างแรกสุดที่ยังคงเหลืออยู่เขียนไว้ตั้งแต่สมัยกลางตอนปลาย[16] โดยเป็นภาษาเซมิติกมาตรฐานภาษาเดียวที่เขียนด้วยอักษรละติน[17]

ประชากร

SIL Ethnologue (2015) รายงานตามข้อมูลจากคณะกรรมาธิการยุโรป (2012) ว่ามีผู้พูดภาษามอลตา 522,000 คน แบ่งเป็นอาศัยอยู่ในมอลตา 371,000 คน (เกือบ 90% ของประชากรทั้งประเทศ)[1] นั่นทำให้มีจำนวนที่เหลือประมาณ 150,000 คนเป็นชาวมอลตาพลัดถิ่นผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่สามารถพูดได้สองภาษา โดยผู้พูดส่วนใหญ่ (345,000) ใช้ภาษาอังกฤษ และมี 66,800 คนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส[1]

ชุมชนพลัดถิ่นที่พูดภาษามอลตามากที่สุดอยู่ในประเทศออสเตรเลีย โดยมีรายงานผู้พูด 36,000 คนใน ค.ศ. 2006 (ลดลงจาก 45,000 คนใน ค.ศ. 1996 และคาดการณ์ว่าจะลดลงกว่านี้)[18]

ชุมชนภาษามอลตา (Maltese linguistic community) ในประเทศตูนิเซียที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ระบุจำนวนผู้พูดภาษานี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่พันกว่าคน ใน ค.ศ. 2017 มีรายงานว่ามีผู้พูดภาษานี้เพียง 100 ถึง 200 คน[19]

การจัดหมวดหมู่

ภาษามอลตาสืบต้นตอจากภาษาอาหรับซิซิลี ภาษาเซมิติกในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก[20] ภาษานี้มีประวัติได้รับอิทธิพลจากซิซิลี อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ปัจจุบัน คำศัพท์ที่เป็นหลัก (รวมทั้งคำที่ใช้งานทั่วไปและคำประกอบ) อยู่ในเซมิติก โดยมีคำยืมจำนวนมาก[10] เนื่องจากอิทธิพลของซิซิลีในภาษาซิกูโล-อาหรับ ทำให้ภาษามอลตามีคุณสมบัติจากหลายภาษาและมักถูกอธิบายเป็นภาษาที่มีคำยืมจำนวนมาก[21]

ภาษามอลตาเคยถูกจัดหมวดหมู่ในหลายรูปแบบ โดยบางส่วนอ้างว่ามีต้นกำเนิดเป็นภาษาพิวนิกโบราณ (ภาษาเซมิติกอีกภาษา)[22][23][24] ในขณะที่บางส่วนเชื่อว่าภาษานี้เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ (กลุ่มภาษาอีกกลุ่มในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก)[22] และในสมัยฟาสซิสต์อิตาลี ภาษานี้ถูกจัดเป็นภาษาอิตาลีระดับภูมิภาค[25]

สัทวิทยา

เสียงพยัญชนะ

หน่วยเสียงพยัญชนะ[26][27]
ริมฝีปากฟัน/
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็งเพดานอ่อนช่องคอเส้นเสียง
นาสิกmn
ระเบิดpbtdkɡʔ
กักเสียดแทรกt͡sd͡zt͡ʃd͡ʒ
เสียดแทรกfvszʃʒħ
รัวr
เปิดljw

เสียงสระ

ภาษามอลตามีสระเสียงสั้น 5 ตัว ได้แก่ /ɐ ɛ ɪ ɔ ʊ/ (เขียนแทนด้วย a e i o u) สระเสียงยาว 6 ตัว ได้แก่ /ɐː ɛː ɪː iː ɔː ʊː/ (เขียนแทนด้วย a, e, ie, i, o, u) และสระประสมอีก 7 ตัว ได้แก่ /ɐɪ ɐʊ ɛɪ ɛʊ ɪʊ ɔɪ ɔʊ/ (เขียนแทนด้วย aj หรือ għi, aw หรือ għu, ej หรือ għi, ew, iw, oj, และ ow หรือ għu)[4]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Aquilina, Joseph (1965). Teach Yourself Maltese. English University Press.
  • Azzopardi, C. (2007). Gwida għall-Ortografija. Malta: Klabb Kotba Maltin.
  • Borg, Alexander (1997). "Maltese Phonology". ใน Kaye, Alan S. (บ.ก.). Phonologies of Asia and Africa. Vol. 1. Eisenbrauns. pp. 245–285. ISBN 9781575060194.
  • Borg, Albert J.; Azzopardi-Alexander, Marie (1997). Maltese. Routledge. ISBN 978-0-415-02243-9.
  • Brincat, Joseph M. (2005). "Maltese – an unusual formula". MED Magazine (27). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2005. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.
  • Bugeja, Kaptan Pawlu, Kelmet il-Malti (Maltese—English, English—Maltese Dictionary). Associated News Group, Floriana. 1999.
  • Friggieri, Oliver (1994). "Main Trends in the History of Maltese Literature". Neohelicon. 21 (2): 59–69. doi:10.1007/BF02093244. S2CID 144795860.
  • Hume, Elizabeth (1996). "Coronal Consonant, Front Vowel Parallels in Maltese". Natural Language & Linguistic Theory. 14 (1): 163–203. doi:10.1007/bf00133405. S2CID 170703136.
  • Kossmann, Maarten (2013). The Arabic Influence on Northern Berber. Studies in Semitic Languages and Linguistics. Brill. ISBN 9789004253094.
  • Mifsud, M.; A. J. Borg (1997). Fuq l-għatba tal-Malti. Strasbourg: Council of Europe.
  • Vassalli, Michelantonio (1827). Grammatica della lingua Maltese. Stampata per l'autore.
  • Vella, Alexandra (2004). "Language contact and Maltese intonation: Some parallels with other language varieties". ใน Kurt Braunmüller and Gisella Ferraresi (บ.ก.). Aspects of Multilingualism in European Language History. Hamburg Studies on Multiculturalism. John Benjamins Publishing Company. p. 263. ISBN 978-90-272-1922-0.
  • Żammit, Martin (2000). "Arabic and Maltese Cognate Roots". ใน Mifsud, Manwel (บ.ก.). Proceedings of the Third International Conference of Aida. Malta: Association Internationale de Dialectologie Arabe. pp. 241–245. ISBN 978-99932-0-044-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง