สงครามกลางเมืองจีน

สงครามกลางเมืองในประเทศจีน ระหว่าง ค.ศ. 1927–1949

สงครามกลางเมืองจีน (อังกฤษ: Chinese Civil War; จีน: 国共内战) เป็นสงครามกลางเมืองที่สู้รบกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน[6] เพื่อแย่งชิงอำนาจเหนือประเทศจีน ส่งผลให้จีนถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ คือ สาธารณรัฐจีน ซึ่งครอบครองเกาะไต้หวัน กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งครอบครองจีนแผ่นดินใหญ่ สงครามกลางเมืองจีนเป็นสงครามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์โลก รองจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้น

สงครามกลางเมืองจีน
国共内战
Chinese Civil War
ตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: กำลังคอมมิวนิสต์ ณ ยุทธการที่ซี่ผิง, ทหารมุสลิมแห่งกองทัพปฏิวัติชาติ, เหมา เจ๋อตุงในคริสต์ทศวรรษ 1930, เจียง ไคเช็กกำลังตรวจทหาร, พลเอกซู่ ยู่แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนตรวจกำลังพลไม่นานก่อนการทัพเมิ่งเหลียงกู้
วันที่1 สิงหาคม ค.ศ. 1927[1]26 ธันวาคม ค.ศ. 1936 (ครั้งแรก)
(9 ปี 4 เดือน 3 สัปดาห์ และ 4 วัน)
10 สิงหาคม ค.ศ. 1945 – 7 ธันวาคม ค.ศ. 1949 (ครั้งที่สอง; โดยพฤตินัย)
(4 ปี 3 เดือน 3 สัปดาห์ และ 6 ปี)
7 ธันวาคม ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน (โดยนิตินัย)
(74 ปี 4 เดือน 2 สัปดาห์ 3 วัน)
สถานที่
จีน
สถานะ
  • ไม่มีการลงนามการสงบศึกหรือสนธิสัญญาสันติภาพ[2][3]
  • ชัยชนะทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในจีนแผ่นดินใหญ่
  • สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นบนจีนแผ่นดินใหญ่
  • รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายไปยังกรุงไทเป
คู่สงคราม

พรรคก๊กมินตั๋ง
สาธารณรัฐจีน
สนับสนุน
นาซีเยอรมนี


หลังปี 1949:
สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน
สนับสนุน
สหรัฐอเมริกา
ไทย


ปัจจุบัน:
 ไต้หวัน
 สหรัฐ
สนับสนุน
NATO
EU
 เกาหลีใต้
 ญี่ปุ่น

พรรคคอมมิวนิสต์จีน
จีนโซเวียต
สนับสนุน
สหภาพโซเวียต


หลัง 1949:
 จีน
สนับสนุน
สหภาพโซเวียต
พม่า


ปัจจุบัน:
 จีน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ไต้หวัน เจียง ไคเช็ค
ไต้หวัน Tsou Hong Da
ไต้หวัน Bai Chongxi
ไต้หวัน เฉิน เฉิง
ไต้หวัน Li Zongren
ไต้หวัน Yan Xishan
ไต้หวัน He Yingqin


ปัจจุบัน
ไต้หวัน ไช่ อิงเหวิน
สหรัฐ โจ ไบเดน

จีน เหมา เจ๋อตุง
จีน จอมพลจูเต๋อ
จีน เผิง เต๋อหวย
จีน หลิน เปียว
จีน He Long


ปัจจุบัน
จีน สี จิ้นผิง
กำลัง
4,300,000 (กรกฎาคม 1945)[4]
3,650,000 (มิถุนายน 1948)
1,490,000 (มิถุนายน 1949)
1,200,000 (กรกฎาคม 1945)[4]
2,800,000 (มิถุนายน 1948)
4,000,000 (มิถุนายน 1949)
ความสูญเสีย

1928–1936: ความสูญเสียทางทหาร ~2 ล้านนาย

1945–1949: เสียชีวิต ~1-3 ล้านคน[5]

สงครามเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1927 ท่ามกลางการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition)[7] และสิ้นสุดลงในช่วง ค.ศ. 1949-1950 จนถึงปัจจุบันนี้ แม้จะไม่มีการรบแล้ว แต่สงครามก็ยังคงไม่สิ้นสุดอย่างเป็นทางการ เพราะยังไม่มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพใด ๆ[8] ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไปในรูปของการขู่ใช้กำลังทหาร การกดดันทางการเมือง และการกดดันทางเศรษฐกิจ สถานะทางการเมืองของไต้หวันยังคงเป็นข้อขัดแย้งที่สำคัญในปัจจุบัน โดยความตึงเครียดที่ดำเนินต่อมานั้นถูกเรียกว่าเป็น "ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ"

สงครามนี้เป็นสัญลักษณ์ความแตกแยกทางอุดมการณ์ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งชาตินิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน สามปีสุดท้ายของสงคราม (ค.ศ. 1947-1949) เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ สงครามปลดปล่อย หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สงครามปฏิวัติภายในที่สาม (第三次國内革命戰爭) ส่วนในไต้หวัน สงครามนี้รู้จักกันในชื่อ สงครามต่อต้านการก่อการกำเริบต่อคอมมิวนิสต์ (戡亂戰爭) ก่อน ค.ศ. 1991 หรือโดยทั่วไปคือ สงครามกลางเมืองชาตินิยม-คอมมิวนิสต์ (國共內戰) สำหรับทั้งสองฝ่าย

สงครามกลางเมืองดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้รุกรานจีนอีกครั้ง ทำให้ทั้งสองพรรคต้องร่วมกันจัดตั้งแนวร่วมเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945 และสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง จึงทำให้สงครามกลางเมืองดำเนินต่อไปอีกครั้งใน ค.ศ. 1946 หลังจากผ่านไปสี่ปี การรบทางทหารก็ยุติลง โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจเหนือจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะไห่หนาน ส่วนสาธารณรัฐจีนมีอำนาจเหนือเกาะไต้หวัน เผิงหู หมู่เกาะจินเหมิน หมู่เกาะหมาจู่และหมู่เกาะห่างไกลต่าง ๆ

จวบจนทุกวันนี้ ยังไม่มีการลงนามสัญญาสงบศึกหรือลงนามสนธิสัญญาสันติภาพใด ๆ ฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีนยังคงอ้างว่าไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และยังขู่ใช้กำลังทหารต่อไต้หวัน ส่วนฝ่ายไต้หวันเองก็อ้างสิทธิ์เหนือจีนแผ่นดินใหญ่ ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความขัดแย้งกันในด้านการทูต ด้านการเมือง และด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีนยังขู่ว่าจะใช้กำลังทหารรุกรานไต้หวัน หากไต้หวันประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ โดยสถานการณ์มีความตึงเครียดขึ้นมาเป็นครั้งคราว ทั้งสองฝ่ายมีการส่งเครื่องบินรบและเรือรบผ่านช่องแคบบ่อยครั้ง[9][10]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง