อากาศยานลำตัวกว้าง

อากาศยานลำตัวกว้าง (อังกฤษ: Wide-body aircraft) คือ อากาศยานที่มีขนาดลำตัว (fuselage) กว้างเพียงพอสำหรับบรรทุกผู้โดยสารได้ถึงสองช่องทางเดิน (aisles) โดยถูกเรียกว่าเป็น อากาศยานที่มีสองช่องทางเดิน ซึ่งประกอบไปด้วยที่นั่งอย่างน้อยเจ็ดที่นั่งต่อหนึ่งแถว[1] ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโดยทั่วไปของลำตัวเครื่องบินนั้นมีขนาดประมาณ 5 ถึง 6 เมตร (16 ถึง 20 ฟุต)[2] ซึ่งทำให้จุผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 200 จนถึง 850 คนในหนึ่งเที่ยวบิน[3] อากาศยานที่มีขนาดลำตัวกว้างที่สุดนั้นมีขนาดความกว้างกว่า 6 เมตร (20 ฟุต) และสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 11 ที่นั่งต่อหนึ่งแถวในการจัดผังที่นั่งที่แบบใช้พื้นที่สูงสุด

เครื่องบินแอร์บัส เอ380 เป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
เปรียบเทียบขนาดระหว่างเครื่องบินแอร์บัส เอ320 ของบริติชแอร์เวย์ (ลำตัวแคบ) กับโบอิง 777-300อีอาร์ของแอร์แคนาดา (ลำตัวกว้าง)

เมื่อเปรียบเทียบกันกับอากาศยานลำตัวแคบ (Narrow-body aircraft) ซึ่งจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 3 ถึง 4 เมตร (10 ถึง 13 ฟุต) และมีช่องทางเดินเดียว[1][4] และจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 2 จนถึง 6 ที่นั่งต่อหนึ่งแถว[5]

แต่แรกนั้น อากาศยานลำตัวกว้างนั้นถูกออกแบบเพื่อจุดประสงค์ในด้านประสิทธิภาพ และความสะดวกสบายของผู้โดยสาร รวมทั้งการเพิ่มขนาดของห้องสัมภาระ อย่างไรก็ตาม สายการบินต่างๆ หันมาให้ความสนใจในด้านความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดพื้นที่สำหรับผู้โดยสารเพื่อแลกกับความสามารถในการทำรายได้และกำไรสูงสุด[6]

อากาศยานลำตัวกว้างที่มีขนาดกว้างที่สุดมักจะถูกเรียกว่า จัมโบ้เจ็ต ซึ่งได้แก่ โบอิง 747 ("จัมโบ้เจ็ต") แอร์บัส เอ380 ("ซุปเปอร์จัมโบ้เจ็ต") และรุ่นที่กำลังจะตามมา คือ โบอิง 777X ("มินิจัมโบ้เจ็ต")[7][8] คำว่า "จัมโบ้เจ็ต" นั้นมาจากชื่อ "จัมโบ้" ของช้างที่โด่งดังจากละครสัตว์ในช่วงศตวรรษที่ 19[9][10]

ประวัติ

โบอิง 747 ซึ่งเป็นอากาศยานลำตัวกว้างลำแรกที่ใช้ข่นส่งผู้โดยสาร โดยสารการบินแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์

จากความสำเร็จในการออกแบบและผลิตโบอิง 707 และดักลาส ดีซี-8 ในช่วงปลายยุค 1950 สายการบินต่างๆ ก็เริ่มต้นมองหาอากาศยานที่มีขนาดกว้างขึ้นเพื่อรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการเดินทางทางอากาศ วิศวกรผู้พัฒนาต่างก็พบกับความท้าทายหลายประการ เพราะสายการบินต่างๆ ต้องการบรรจุผู้โดยสารจำนวนมากขึ้น โดยมีพิสัยการบินที่ไกลขึ้น และต้นทุนที่ต่ำลง

เครื่องบินไอพ่นในสมัยแรก เช่น โบอิง 707 และดักลาส ดีซี-8 มีการจัดที่นั่งโดยสารแบบช่องทางเดินเดียวซึ่งมีที่นั่งไม่มากกว่าหกต่อแถว อากาศยานที่มีขนาดใหญ่กว่าจะต้องมีความยาวมากกว่า สูงกว่า (เช่น มีสองชั้น) หรือกว้างพอที่จะจุจำนวนผู้โดยสารได้มากกว่า จากนั้นวิศวกรก็ได้พบว่าการสร้างห้องโดยสารเป็นสองชั้นจะเป็นปัญหาต่อกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยในการอพยพอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ในขณะนั้น และในช่วงยุค 1960 ก็ได้เชื่อกันว่าอากาศยานความเร็วเหนือเสียงนั้นจะมาแทนที่อากาศยานแบบเดิมที่มีขนาดใหญ่ แต่ทำความเร็วได้ช้ากว่า ดังนั้น จึงมีความเชื่อที่ว่าอากาศยานที่มีความเร็วต่ำกว่าเสียงนั้นจะค่อยๆ หายไปจากธุรกิจการบิน และจะกลายเป็นอากาศยานสำหรับขนส่งสินค้าแทน จึงทำให้ผู้ผลิตอากาศยานหลายรายได้ปรับแผนโดยใช้ลำตัวเครื่องบินที่กว้างขึ้นแทนที่จะสูงขึ้น (อาทิเช่น โบอิง 747 แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และล็อกฮีด แอล-1011) โดยการเพิ่มช่องทางเดิน จะทำให้สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ถึง 10 ที่นั่งต่อหนึ่งแถว ซึ่งยังสามารถเปลี่ยนเป็นอากาศยานขนส่งสินค้าที่บรรจุสินค้าได้ถึงสองตอน[11]

ต่อมาวิศวกรได้พยายามออกแบบผลิตรุ่นที่สามารถยืดยาวออกไปได้อีกสำหรับแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-8 (รุ่นย่อย 61 62 และ 63) รวมทั้งรุ่นที่ยาวขึ้นสำหรับโบอิง 707 (รุ่นย่อย 320B และ 320C) และ โบอิง 727 (รุ่นย่อย 200) และ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9 (รุ่นย่อย 30 40 และ 50) ซึ่งทั้งหมดนั้นสามารถบรรจุจำนวนผู้โดยสารที่มากขึ้นกว่าเดิม ในสมัยทางเทคโนโลยียังไม่สามารถทำอากาศยานที่มีสองชั้นตลอดลำตัวจนกระทั่งต่อมาในศตวรรษที่ 21 (แอร์บัส เอ380)

ยุคสมัยแรกของอากาศยานลำตัวกว้างนั้นเริ่มขึ้นราวปีค.ศ. 1970 ด้วยอากาศยานลำตัวกว้างรุ่นบุกเบิก ได้แก่ โบอิง 747[12] ที่มี 4 เครื่องยนต์ และห้องโดยสารสองชั้นบริเวณช่วงต้นของอากาศยาน ต่อมาไม่นาน อากาศยานลำตัวกว้างที่มีสามเครื่องยนต์ (trijet) ก็ถือกำเนิดตามมา ได้แก่ แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10 และล็อกฮีด L-1011 ไทรสตาร์ ต่อมาอากาศยานลำตัวกว้างชนิดสองเครื่องยนต์ (twinjet) ถือกำเนิดขึ้นกับ แอร์บัส เอ300 ซึ่งเข้าประจำการในปีค.ศ. 1974 ในยุคสมัยนี้ถือเป็นช่วงที่เรียกกันว่า "สงครามอากาศยานลำตัวกว้าง"[13]

ภายหลังกว่าสองทศวรรษต่อมาหลังจากความสำเร็จของอากาศยานประเภทนี้ ได้มีอากาศยานที่พัฒนาออกมาแทนอีกหลายรุ่น รวมถึง โบอิง 767 โบอิง 777 และแอร์บัส เอ330 แอร์บัส เอ340 และแมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 ในประเภทของ "จัมโบ้เจ็ต" นั้น ความจุของ โบอิง 747 นั้นยังคงทำสถิติต่อเนื่องมาจนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ.​ 2007 เมื่อแอร์บัส เอ380 ได้เข้าประจำการพร้อมชื่อเรียกอย่างลำลองว่า "ซุปเปอร์จัมโบ้เจ็ต"

พื้นที่หน้าตัดระหว่างแอร์บัส เอ380 (สองชั้นเต็มความยาวของเครื่องบิน) กับโบอิง 747-400 (สองชั้นเฉพาะบริเวณตอนหน้าของเครื่องบิน)

ปัจจัยในการออกแบบ

ลำตัวเครื่องบิน (Fuselage)

หน้าตัดของแอร์บัส เอ300 แสดงให้เห็นถึงช่องเก็บสินค้า บริเวณผู้โดยสาร และพื้นที่เหนือศีรษะ

อากาศยานที่มีขนาดลำตัวเครื่องบินกว้าง ถึงแม้จะมีพื้นที่ที่มากกว่า (และทำให้มีแรงต้านสูงขึ้นด้วย) อากาศยานลำตัวแคบที่มีปริมาณที่นั่งใกล้เคียงกัน โดยอากาศยานลำตัวกว้างนั้นมีข้อดีดังนี้:

  • มีปริมาณพื้นที่สำหรับผู้โดยสารมากกว่า ทำให้รู้สึกสะดวกสบายในพื้นที่กว้างขวาง
  • มีอัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรที่น้อยกว่า ดังนั้นจึงมีแรงต้านต่อผู้โดยสาร/สินค้าที่น้อยกว่า โดยมีข้อยกเว้นในกรณีของโบอิง 757 ซึ่งเป็นอากาศยานลำตัวแคบที่มีความยาวมาก
  • มีช่องทางเดินคู่ (twin aisles) ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการบรรจุสินค้าเข้า ขนถ่ายสินค้าออก และการอพยพผู้โดยสาร เมื่อเปรียบเทียบกับอากาศยานที่มีทางเดินเดียว (อากาศยานลำตัวกว้างนั้นโดยปกติจะมีที่นั่งตั้งแต่ 3.5 ถึง 5 ต่อหนึ่งช่องทางเดิน กับอากาศยานลำตัวแคบที่มีปริมาณถึง 5-6 ที่นั่งต่อหนึ่งช่องทางเดิน)[14]
  • ลดปริมาณความยาวของเครื่องบินต่อผู้โดยสาร (หรือปริมาณสินค้า) ทำให้สามารถขับเคลื่อนบนพื้นดินได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะทำให้หางเครื่องบินกระแทกกับพื้น (tailstrike)
  • มีช่องเก็บสัมภาระใต้เครื่องบินมากกว่า
  • โครงสร้างโดยรวมมีประสิทธิภาพมากกว่าการออกแบบในอากาศยานลำตัวแคบ

เครื่องยนต์

กำลังของเครื่องยนต์อากาศยานได้มีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ทำให้อากาศยานลำตัวกว้างส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้มีเพียงเครื่องยนต์จำนวนสองเครื่องเท่านั้น เครื่องยนต์คู่นั้นประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่าอากาศยานขนาดเท่าๆ กันที่มีสามหรือสี่เครื่องยนต์ ความปลอดภัยของเครื่องยนต์อากาศยานในยุคปัจจุบันยังทำให้อากาศยานเป็นไปตามมาตรฐานการรับรองของ ETOP (Extended-range Twin-engine Operational Performance Standards) ซึ่งคำนวณ และกำหนดความปลอดภัยสำหรับเที่ยวบินข้ามทวีป อากาศยานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นมีเพียงสองเครื่องยนต์ เช่น(แอร์บัส เอ330 แอร์บัส เอ350 โบอิง 767 และ โบอิง 777) ยกเว้นแต่อากาศยานที่มีน้ำหนักมากซึ่งจำเป็นต้องใช้สี่เครื่องยนต์ (ได้แก่ แอร์บัส เอ340, แอร์บัส เอ380 และ โบอิง 747)[15][16]

การตกแต่งภายใน

การตกแต่งภายในของอากาศยาน หรือเรียกว่า ห้องโดยสาร (cabin) ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อากาศยานขนส่งผู้โดยสารในยุคแรก และในปัจจุบันนี้ อากาศยานลำตัวกว้างสามารถบรรจุชั้นโดยสารได้ตั้งแต่หนึ่งชั้นโดยสารถึงสี่ชั้นโดยสาร

บาร์ และเลาจน์ซึ่งเคยมีอยู่ในอากาศยานประเภทนี้เริ่มถูกตัดออกไปเกือบทั้งหมด แต่ก็ได้นำกลับเข้ามาในชั้นหนึ่ง (first class) และชั้นธุรกิจ (business class) บนเครื่องบินแอร์บัส เอ340-600[17] โบอิง 777-300ER[18] และ แอร์บัส เอ380[19] เอมิเรตส์แอร์ไลน์ได้เพิ่มห้องอาบน้ำสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งบนเครื่องบินแอร์บัส เอ380[20] โดยอนุญาตให้ผู้โดยสารใช้งานได้ท่านละยี่สิบห้านาที และฝักบัวสามารถเปิดน้ำติดต่อกันได้ครั้งละห้านาทีเท่านั้น[21][22]

การออกแบบภายในห้องโดยสาร รวมทั้งขนาด ความกว้างของที่นั่ง และระยะห่างระหว่างที่นั่ง นั้นแตกต่างกันตามแต่ละสายการบิน[23] ตัวอย่างเช่น อากาศยานที่ใช้สำหรับเที่ยวบินระยะใกล้นั้นจะถูกตกแต่งให้มีความหนาแน่นของจำนวนที่นั่งมากกว่าอากาศยานสำหรับบินระยะไกล แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินของธุรกิจสายการบิน ความหนาแน่นของที่นั่งสำหรับผู้โดยสารชั้นประหยัดนั้นยังคงมีอยู่ต่อไป[24]

ในอากาศยานลำตัวกว้างแบบชั้นเดียว อาทิ เช่น โบอิง 777 พื้นที่บริเวณด้านบนของห้องโดยสารถูกออกแบบสำหรับเป็นบริเวณพักผ่อนของลูกเรือ และบริเวณเก็บอาหาร

ข้อมูลจำเพาะ

รุ่นช่วงผลิต (ค.ศ.)จำนวนเครื่องยนต์น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น (MTOW)
(ตัน)
ความกว้างภายในความกว้างภายนอกจำนวนที่นั่งต่อแถวในชั้นประหยัด
แอร์บัส เอ300[25]1974–20072171.7528 เซนติเมตร (208 นิ้ว)564 เซนติเมตร (222 นิ้ว)8 ที่นั่ง (กว้าง 17.0") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน TG[26] หรือ LH[27]
แอร์บัส เอ310[28]1983–19982164528 เซนติเมตร (208 นิ้ว)564 เซนติเมตร (222 นิ้ว)8 ที่นั่ง (กว้าง 17.4") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน AI[29]
แอร์บัส เอ330[30]1994-2242528 เซนติเมตร (208 นิ้ว)564 เซนติเมตร (222 นิ้ว)8 ที่นั่ง (กว้าง 17.5") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน EK[31]
9 ที่นั่ง (กว้าง 16.5") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน D7[32]
แอร์บัส เอ340[33]1993–20114380528 เซนติเมตร (208 นิ้ว)564 เซนติเมตร (222 นิ้ว)8 ที่นั่ง (กว้าง 17.5") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน EY[34]
9 ที่นั่ง (กว้าง 16.5") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 D7[35]
แอร์บัส เอ350[36]2010-2268561 เซนติเมตร (221 นิ้ว)596 เซนติเมตร (235 นิ้ว)9 ที่นั่ง (กว้าง 18") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน QR[37]
8 ที่นั่ง (กว้าง 19-19.5")[38]
10 ที่นั่ง ผังที่นั่งแบบ 3-4-3 ถูกนำเสนอ[38]
แอร์บัส เอ380[39]2007-20214560654 เซนติเมตร (257 นิ้ว)
ที่นั่งชั้นบน : 580 เซนติเมตร (230 นิ้ว)
714 เซนติเมตร (281 นิ้ว)10 ที่นั่ง ผังที่นั่งแบบ 3-4-3 กว้าง 17.0" บน LH และความกว้าง 18.6" บน SQ[40]
11 ที่นั่ง (กว้าง 18") ผังที่นั่งแบบ 3-5-3 ถูกนำเสนอ[41]
โบอิง 747[42]1970-4447.7610 เซนติเมตร (240 นิ้ว)650 เซนติเมตร (260 นิ้ว)10 ที่นั่ง (กว้าง 18.5") ผังที่นั่งแบบ 3-4-3 บน LH[43]
โบอิง 767[44]1982-2186.9472 เซนติเมตร (186 นิ้ว)503 เซนติเมตร (198 นิ้ว)7 ที่นั่ง (กว้าง 18.0") ผังที่นั่งแบบ 2-3-2 บน UA[45]
8 ที่นั่ง (กว้าง 17.0") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน BY[46]
โบอิง 777[47]1995-2351.5586 เซนติเมตร (231 นิ้ว)619 เซนติเมตร (244 นิ้ว)9 ที่นั่ง (กว้าง 18.0") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน UA[48] ถึง (กว้าง 18.5") ผังที่นั่งแบบ 2-5-2 บน AA[49]
10 ที่นั่ง (กว้าง 17.5") ผังที่นั่งแบบ 3-4-3 บน EK[50]
โบอิง 787 ดรีมไลเนอร์[51]2011-2252.7549 เซนติเมตร (216 นิ้ว)591 เซนติเมตร (233 นิ้ว)8 ที่นั่ง (กว้าง 18.5") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2 บน ANA[52]
9 ที่นั่ง (กว้าง 17.3") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน UA[53]
อิลยูชิน อิล-861980–19944206[54]570 เซนติเมตร (220 นิ้ว)608 เซนติเมตร (239 นิ้ว)9 ที่นั่ง (กว้าง 18.0") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน SU[55]
อิลยูชิน อิล-96[56]1992-4216570 เซนติเมตร (220 นิ้ว)608 เซนติเมตร (239 นิ้ว)9 ที่นั่ง (กว้าง 18.0") ผังที่นั่งแบบ 3-3-3 บน SU[57]
ล็อคฮีด แอล-1011 ไตรสตาร์[58]1972–19853231.3577 เซนติเมตร (227 นิ้ว)602 เซนติเมตร (237 นิ้ว)9 ที่นั่ง (กว้าง 17.0") ผังที่นั่งแบบ 3-4-2 บน BA[59] หรือ 2-5-2 บน SV [60]
แมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10[61]1971–19893259.5569 เซนติเมตร (224 นิ้ว)602 เซนติเมตร (237 นิ้ว)8 ที่นั่ง (กว้าง 20") ผังที่นั่งแบบ 2-4-2[61]
9 ที่นั่ง (กว้าง 18") ผังที่นั่งแบบ 2-4-3[61]
10 ที่นั่ง (กว้าง 16.5") ผังที่นั่งแบบ 3-4-3[61]
แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11[62]1990–20013286569 เซนติเมตร (224 นิ้ว)602 เซนติเมตร (237 นิ้ว)9 ที่นั่ง (กว้าง 18") ผังที่นั่งแบบ 2-5-2[62]
10 ที่นั่ง (กว้าง 16.5") ผังที่นั่งแบบ 3-4-3[62]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง