แอร์อินเดีย

สายการบินแห่งชาติของประเทศอินเดีย

แอร์อินเดีย (ฮินดี: एअर इंडिया) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศอินเดีย โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธีในนิวเดลี และมีสำนักงานใหญ่ในคุรุคราม[1] แอร์อินเดียให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 102 แห่งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียและแอฟริกา สายการบินนับเป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของทวีปเอเชีย แอร์อินเดียเป็นสมาชิกของพันธมิตรทางสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์

แอร์อินเดีย
एअर इंडिया
IATAICAOรหัสเรียก
AIAICAIR INDIA
ก่อตั้ง15 ตุลาคม ค.ศ. 1932 (91 ปี) (ในชื่อ ทาทาแอร์ไลน์)
เริ่มดำเนินงาน29 กรกฎาคม ค.ศ. 1946 (77 ปี)
ท่าหลักเดลี
ท่ารองมุมไบ
เมืองสำคัญอัห์มดาบาด
เบงคลูรู
เจนไน
ไฮเดอราบาด
โกจจิ
โกลกาตา
ติรุวนันตปุรัม
สะสมไมล์ฟลายอิงรีเทิร์น
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
บริษัทลูกแอร์อินเดียคาร์โก
แอร์อินเดียเอ็กซ์เพรส
อัลไลแอนซ์แอร์
ขนาดฝูงบิน134 (ไม่รวมสายการบินลูก)
จุดหมาย84
บริษัทแม่แอร์อินเดียลิมิเต็ด (ทาทากรุ๊ป)
สำนักงานใหญ่อินเดีย คุรุคราม, รัฐหรยาณา, ประเทศอินเดีย
บุคลากรหลักN. Chandrasekaran (ประธาน)
Campbell Wilson (ซีอีโอและกรรมการผู้จัดการ)
ผู้ก่อตั้งเจ. อาร์. ดี. ทาทา
เว็บไซต์www.airindia.com

ประวัติ

ทาทาแอร์ไลน์

แอร์อินเดียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1932 โดยจาฮังกีร์ ราตันจี ดาดับ ทาทาภายใต้ชื่อในขณะนั้นว่า "ทาทาแอร์ไลน์" ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มบริษัททาทากรุ๊ป[2] โดยในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1932 เป็นวันเริ่มให้บริการครั้งแรก โดยการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ ระหว่างเมืองการาจีสู่เมืองมุมไบ โดยผ่านเมืองอาห์เมราบัด และบินกลับสู่เมืองมัทราส (เจนไน) ผ่านเมืองเบลลารี โดยนักบินอดีตทหารอากาศกองทัพสหราชอาณาจักร

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ธุรกิจการบินพาณิชย์ในอินเดียกลับมาให้บริการอีกครั้ง ทาทาแอร์ไลน์ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 และเปลี่ยนชื่อเป็น "แอร์อินเดีย" ในปี 1948 ภายหลังอินเดียได้รับเอกราช รัฐบาลอินเดียได้เข้ามาถือหุ้นในสายการบิน 51% ทำให้แอร์อินเดียมีสถานะเป็นสายการบินแห่งชาติอินเดีย โดยมีชื่อว่า "แอร์อินเดีย อินเตอร์แนชันแนล" และได้เริ่มเปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศขึ้น โดยในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ได้เปิดเส้นทางบินจากมุมไบสู่ลอนดอน ผ่านเมืองไคโรและเจนีวา โดยใช้เครื่องบิน ล็อกฮีด คอนสเตลเลชัน แอล-749A (VT-CQP) นับเป็นเที่ยวบินระยะไกลระหว่างประเทศเที่ยวแรก และในปี 1950 เปิดเส้นทางสู่ไนโรบี โดยผ่านเมืองเอเดน

ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1953 รัฐบาลอินเดียได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของสายการบิน ซึ่งรัฐบาลอินเดียพิจารณว่าเป็นธุรกิจที่สำคัญและต้องการที่จะเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมการบินอินเดียในขณะนั้น ขณะเดียวกันนั้นการบริการเที่ยวบินภายในประเทศของแอร์อินเดียได้ถูกโอนไปให้อินเดียนแอร์ไลน์ และในปี ค.ศ. 1954 ได้สั่งซื้อเครื่องบิน แอล-1049 ซูเปอร์คอนสเตลเลชัน และเปิดเส้นทางการบินสู่ กรุงเทพ ฮ่องกง และสิงคโปร์

ปี 1960 แอร์อินเดียอินเตอร์แนชันแนลได้เข้าสู่ยุคไอพ่นเมื่อได้รับมอบโบอิง 707-420 และเปิดเส้นทางการบินสู่เมืองนิวยอร์กผ่านเมืองลอนดอน และเปลี่ยนชื่อเป็นแอร์อินเดียดังเช่นปัจจุบัน ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1962 และในวันที่ 11 มิถุนายน ปีเดียวกัน แอร์อินเดียเป็นสายการบินแรกในโลกที่ให้บริการโดยเครื่องบินไอพ่นทั้งหมด

จุดหมายปลายทาง

  จุดหมายปลายทางปัจจุบัน
  จุดหมายปลายทางในอดีต
  อินเดีย

พันธมิตรทางการบิน

แอร์อินเดียเป็นสมาชิกของพันธมิตรทางการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ลำดับที่ 27 ในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2011[3][4]

ข้อตกลงการบินร่วม

ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 แอร์อินเดียมีข้อตกลงการทำการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[5]

ข้อตกลงระหว่างสายการบิน

ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 แอร์อินเดียมีข้อตกลงระหว่างสายการบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบิน

ฝูงบินปัจจุบัน

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2023 แอร์อินเดียมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[9]

เครื่องบินประจำการคำสั่งซื้อผู้โดยสารหมายเหตุ
FCWYรวมอ้างอิง
แอร์บัส เอ319-100108114122[10]
144144[11]
แอร์บัส เอ320-200412138150[12]
5168168
แอร์บัส เอ320นีโอ277012150162หนึ่งลำอยู่ในลวดลายสตาร์อัลไลแอนซ์
15186186
แอร์บัส เอ321-2001312170182[13]
แอร์บัส เอ321นีโอ214012180192[14]
2232232
แอร์บัส เอ350-9002182824264316เริ่มส่งมอบปลายปี 2023[15]
แอร์บัส เอ350-100020รอประกาศสั่งซื้อพร้อม 10 ตัวเลือก[16]
โบอิง 777-200แอลอาร์3835195238[17]จะถูกปลดประจำการภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024[18]
52848212288เช่าพร้อมกับที่นั่งเดลตาวันและคอมฟอร์ต+[19]
โบอิง 777-300อีอาร์13435303342[20]จะได้รับการปรับปรุงห้องโดยสารใหม่ตั้งแต่กลางปี 2024[21][22]

หนึ่งลำอยู่ในลวดลายสตาร์อัลไลแอนซ์ หนึ่งลำอยู่ในลวดลายเฉลิมฉลองอินเดีย

6840280328ทั้งหมดเคยประจำการกับสายการบินเอทิฮัด[23][24]
โบอิง 777-910รอประกาศ[25]
โบอิง 787-82718238256[26]จะได้รับการปรับปรุงห้องโดยสารใหม่ตั้งแต่กลางปี 2024[22]

หนึ่งลำอยู่ในลวดลายสตาร์อัลไลแอนซ์

โบอิง 787-920รอประกาศสั่งซื้อพร้อม 20 ตัวเลือก[25]
รวม134278

แอร์อินเดียมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.4 ปี

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง