เทศมณฑล (ไต้หวัน)

เทศมณฑล[หมายเหตุ 1] หรือในรัฐธรรมนูญเรียกว่า hsien (เซี่ยน)[1] เป็นหน่วยการปกครองประเภทหนึ่งในสาธารณรัฐจีน (ประเทศไต้หวัน) ตามโครงสร้างการบริหารของไต้หวัน เทศมณฑลอยู่ในระดับเดียวกับนครภายใต้มณฑล

เทศมณฑล
[หมายเหตุ 1]
เทศมณฑลแสดงด้วยพื้นที่สีเขียว
หมวดหมู่นครปกครองโดยตรง เทศมณฑล และนครภายใต้มณฑล
ที่ตั้งพื้นที่เสรีของสาธารณรัฐจีน
จำนวน13
ประชากร13,089–1,272,939 คน
พื้นที่29–4629 ตร.กม.
การปกครอง
  • องค์การบริหารเทศมณฑล
  • สภาเทศมณฑล
หน่วยการปกครองนคร/เมือง/ตำบล
เทศมณฑล
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ

เทศมณฑลเคยอยู่ภายใต้การปกครองของมณฑล แต่ในปี 1998 หน่วยงานการบริหารของมณฑลก็ได้รับการปรับปรุงให้คล่องตัวขึ้นและลดขนาดให้เป็นองค์กรที่ไม่มีอำนาจปกครองตนเอง จนปี 2018 หน่วยงานการบริหารของมณฑลทั้งหมดก็ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ[2][3] ทำให้ในปัจจุบัน เทศมณฑล และนครภายใต้มณฑล (ซึ่งเปลี่ยนชื่อเรียกให้สั้นลงเป็น "นคร") ถือเป็นเขตการปกครองระดับบนสุดที่กำกับโดยรัฐบาลกลางของไต้หวัน

ประวัติ

เขตการปกครองที่เรียกว่า เซี่ยน () ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 1661 โดยราชอาณาจักรตงหนิง ต่อมาจักรวรรดิชิงที่เข้ามาปกครองไต้หวัน ก็ได้รับเขตการปกครองประเภทนี้มาใช้ ด้วยจำนวนชาวจีนฮั่นที่เพิ่มขึ้นในไต้หวัน จำนวนเทศมณฑลก็เพิ่มขึ้นตามเวลาด้วยเช่นกัน เมื่อสิ้นสุดยุคจักรวรรดิชิง ขณะนั้นในไต้หวันมีเทศมณฑลจำนวน 11 แห่ง มิชชันนารีโปรเตสแตนต์ในจีนเริ่มใช้คำว่า hien เป็นอักษรโรมัน[4]

ไต้หวันถูกญี่ปุ่นยึดครองตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิในปี 1895 ทำให้ในช่วงที่ไต้หวันอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น ต้องเปลี่ยนระบบการแบ่งเขตการปกครองไปเป็นระบบของญี่ปุ่น เดือนกันยายน 1945 ไต้หวันแบ่งออกเป็น 8 จังหวัด ( และ )

หลังจากที่ญี่ปุ่นคืนไต้หวันให้กับจีนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1945 จังหวัดต่าง ๆ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น 8 เทศมณฑล () โดยใช้ชื่อเดิม และอยู่ภายใต้มณฑลไต้หวันของสาธารณรัฐจีน[5] การอ่านชื่อของเทศมณฑลต่าง ๆ ได้เปลี่ยนจากภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาจีนกลาง โดยยังคงตัวอักษรจีนของญี่ปุ่นไว้ อนึ่ง นครที่อยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครอง ส่วนใหญ่ได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นนครภายใต้มณฑล ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑลใด ๆ

การเปลี่ยนแปลงของเทศมณฑลระหว่างปี 1945 กับ 1950
จังหวัดของญี่ปุ่น
(ก่อนปี 1945)
เทศมณฑล
(1945–1950)
เทศมณฑลในปี 1950
คีวจิไตโรมาจิทับศัพท์อักษรจีนเวด-ไจลส์ทับศัพท์
臺北州Taihokuไทโฮกุ臺北縣Taipeiไถเป่ย์ไทเป, อี๋หลาน
新竹州Shinchikuชินจิกุ新竹縣Hsinchuซินจู๋ซินจู๋, เหมียวลี่, เถาหยวน
臺中州Taichūไทจู臺中縣Taichungไถจงจางฮว่า, หนานโถว, ไถจง
臺南州Tainanไทนัง臺南縣Tainanไถหนานเจียอี้, ไถหนาน, ยฺหวินหลิน
高雄州Takaoทากาโอะ高雄縣Kaohsiungเกาสฺยงเกาสฺยง, ผิงตง
花蓮港廳Karenkōคาเร็งโก花蓮縣Hualienฮวาเหลียนฮวาเหลียน
臺東廳Taitōไทโต臺東縣Taitungไถตงไถตง
澎湖廳Hōkoโฮโกะ澎湖縣Penghuเผิงหูเผิงหู

ปลายปี 1949 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนแพ้สงครามกลางเมืองจีนและย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปที่ไทเป ไต้หวัน ต่อมาปี 1950 เทศมณฑลในไต้หวันได้มีการจัดระเบียบใหม่ เทศมณฑลทางตะวันตกของไต้หวันที่มีประชากรหนาแน่นบางเทศมณฑลได้ถูกแบ่งออกเป็นสองถึงสามเทศมณฑล ส่งผลให้จำนวนเทศมณฑลเพิ่มขึ้นเป็น 16 แห่ง หลังจบสงคราม รัฐบาลสาธารณรัฐจีนได้ควบคุมเกาะนอกชายฝั่งของจีนแผ่นดินใหญ่เพียงไม่กี่เกาะเท่านั้น ซึ่งดินแดนเหล่านี้ได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็นสองเทศมณฑล ได้แก่ จินเหมิน และเหลียนเจียง ซึ่งขึ้นกับมณฑลฝูเจี้ยน จำนวนเทศมณฑลที่อยู่ภายใต้มณฑลไต้หวัน 16 แห่ง และมณฑลฝูเจี้ยน 2 แห่ง ยังคงมีจำนวนเท่าเดิมจนถึงต้นทศวรรษ 1990

รายชื่อเทศมณฑลตั้งแต่ปี 1955 ถึง 2010
ชื่ออักษรจีนชื่ออักษรจีนชื่ออักษรจีน
จางฮว่า彰化縣เหลียนเจียง連江縣ไถหนาน臺南縣
เจียอี้嘉義縣เหมียวลี่苗栗縣ไทเป臺北縣
ซินจู๋新竹縣หนานโถว南投縣ไถตง臺東縣
ฮวาเหลียน花蓮縣เผิงหู澎湖縣เถาหยวน桃園縣
เกาสฺยง高雄縣ผิงตง屏東縣อี๋หลาน宜蘭縣
จินเหมิน金門縣ไถจง臺中縣ยฺหวินหลิน雲林縣

หลังการปฏิรูปประชาธิปไตยในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับข้อเสนอการปฏิรูปฝ่ายบริหารมากขึ้น และทำให้เทศมณฑลที่มีประชากรหนาแน่นบางแห่งได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นนครปกครองโดยตรง (หรือเทศบาลพิเศษ) ในปี 2010 และ 2014 ซึ่งเทศมณฑลดังกล่าวมีดังนี้

  • เทศมณฑลเกาสฺยง (1945–2010) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของนครปกครองโดยตรงเกาสฺยง ที่ตั้งศาลาว่าการเทศมณฑลอยู่ที่ นครเฟิ่งชาน
  • เทศมณฑลไถจง (1945–2010) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของนครปกครองโดยตรงไถจง ที่ตั้งศาลาว่าการเทศมณฑลอยู่ที่ นครเฟิงหยวน
  • เทศมณฑลไถหนาน (1945–2010) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของนครปกครองโดยตรงไถหนาน ที่ตั้งศาลาว่าการเทศมณฑลอยู่ที่ นครซินหยิง
  • เทศมณฑลไทเป (1945–2010) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของนครปกครองโดยตรงซินเป่ย์ ที่ตั้งศาลาว่าการเทศมณฑลอยู่ที่ นครปั่นเฉียว
  • เทศมณฑลเถาหยวน (1950–2014) ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของนครปกครองโดยตรงเถาหยวน ที่ตั้งศาลาว่าการเทศมณฑลอยู่ที่ นครเถาหยวน (ขึ้นกับเทศมณฑล)

ปัจจุบัน มีการจัดตั้งเทศมณฑลตาม รัฐบัญญัติการปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทยไต้หวัน รัฐบัญญัตินี้ยังมีมาตราพิเศษที่ให้เทศมณฑลที่มีประชากรมากกว่าสองล้านคน มีสิทธิพิเศษบางประการในการปกครองท้องถิ่นที่ออกแบบมาสำหรับนครปกครองโดยตรง มักเรียกเทศมณฑลประเภทนี้ว่า กึ่งนครปกครองโดยตรง (準直轄市) โดยคำนี้ใช้กับซินเป่ย์และเถาหยวนก่อนที่จะยกฐานะเป็นนครปกครองโดยตรง

เทศมณฑลในปัจจุบัน

ปัจจุบันมี 13 เทศมณฑล ดังนี้[6]

ชื่ออักษรจีนฮั่นยฺหวี่
พินอิน
เวด-ไจลส์ทงย่ง
พินอิน
เป่อ่วยจี
ภาษาฮกเกี้ยน
พักฟ้าซื้อ
ภาษาฮากกา
ที่ตั้งศาลาว่าการมณฑล
(ในนาม)
จางฮว่า彰化縣ZhānghuàChang¹-hua⁴JhanghuàChiang-hòa หรือ
Chiong-hòa
Chông-faนครจางฮว่า彰化市มณฑลไต้หวัน
เจียอี้嘉義縣JiāyìChia¹-i⁴JiayìKa-gīKâ-ngiนครไท่เป่า太保市มณฑลไต้หวัน
ซินจู๋新竹縣XīnzhúHsin¹-chu²SinjhúSin-tekSîn-chukนครจู๋เป่ย์竹北市มณฑลไต้หวัน
ฮวาเหลียน花蓮縣HuāliánHua¹-lien²HualiánHoa-lian หรือ
Hoa-liân
Fâ-liènนครฮวาเหลียน花蓮市มณฑลไต้หวัน
จินเหมิน金門縣JīnménChin¹-mên²JinménKim-mn̂gKîm-mùnเมืองจินเฉิง金城鎮มณฑลฝูเจี้ยน
เหลียนเจียง連江縣LiánjiāngLien²-chiang¹LiánjiangLiân-kangLièn-kôngตำบลหนานกัน南竿鄉มณฑลฝูเจี้ยน
เหมียวลี่苗栗縣MiáolìMiao²-li⁴MiáolìBiâu-le̍k หรือ
Miâu-le̍k
Mèu-li̍tนครเหมียวลี่苗栗市มณฑลไต้หวัน
หนานโถว南投縣NántóuNan²-tʻou²NántóuLâm-tâuNàm-thèuนครหนานโถว南投市มณฑลไต้หวัน
เผิงหู澎湖縣PénghúPʻêng²-hu²PénghúPhîⁿ-ô͘  หรือ
Phêⁿ-ô͘
Phàng-fùนครหม่ากง馬公市มณฑลไต้หวัน
ผิงตง屏東縣PíngdōngPʻing²-tung¹PíngdongPîn-tongPhìn-tûngนครผิงตง屏東市มณฑลไต้หวัน
ไถตง臺東縣TáidōngTʻai²-tung¹TáidongTâi-tangThòi-tûngนครไถตง臺東市มณฑลไต้หวัน
อี๋หลาน宜蘭縣YílánI²-lan²YílánGî-lânNgì-lànนครอี๋หลาน宜蘭市มณฑลไต้หวัน
ยฺหวินหลิน雲林縣YúnlínYün²-lin²YúnlínHûn-lîmYùn-lìmนครโตวลิ่ว斗六市มณฑลไต้หวัน

จากมาตรา 9 ในบทบัญญัติเพิ่มเติมของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน ซึ่งวางระเบียบโดยรัฐบัญญัติการปกครองท้องถิ่น แต่ละเทศมณฑลจะมีคณะบริหารที่นำโดยผู้ว่าการเทศมณฑลที่มาจากเลือกตั้ง และสภาเทศมณฑลที่มาจากเลือกตั้งซึ่งทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ[7]

ดูเพิ่ม

ภาพรวมของเขตการปกครองของสาธารณรัฐจีน
สาธารณรัฐจีน
พื้นที่เสรี[ก]แผ่นดินใหญ่[ข]
นครปกครองโดยตรง[ค][ง]มณฑล[จ]ไม่ได้ปกครอง[ฉ]
นคร[ค][ง][ช]เทศมณฑล[ค]
เขต[ซ]เขต
ชนพื้นเมือง
ภูเขา[ค]
เขต[ซ]นคร
ภายใต้
เทศมณฑล[ค][ง]
เมือง[ค][ซ]ตำบล[ค][ซ]ตำบล
ชนพื้นเมือง
ภูเขา[ค][ซ]
หมู่บ้านในเมือง[ด]หมู่บ้านชนบท[ด]
ละแวก
หมายเหตุ

อ้างอิง

หมายเหตุ

คำในภาษาพื้นเมือง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง