การปฏิวัติตูนิเซีย

การปฏิวัติตูนิเซีย หรือ การปฏิวัติซีดีบูซีด หรือ การปฏิวัติดอกมะลิ เป็นการรณรงค์การต่อต้านของพลเมือง (civil resistance) อย่างเข้มข้น รวมถึงชุดการเดินขบวนตามท้องถนนซึ่งเกิดขึ้นในประเทศตูนิเซีย เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มต้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 และนำไปสู่การโค่นล้มประธานาธิบดีซึ่งครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ซีน อัลอาบิดีน บิน อะลี (Zine El Abidine Ben Ali) ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 การเดินขบวนตามท้องถนนและความไม่สงบอื่น ๆ ยังดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน

การปฏิวัติตูนิเซีย
الثورة التونسية
ส่วนหนึ่งของ อาหรับสปริง
ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในการปฏิวัติตูนิเซีย เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554
วันที่18 ธันวาคม ค.ศ. 2010 – 14 มกราคม ค.ศ. 2011
(3 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่ตูนีเซีย
สาเหตุ
วิธีการ
ผล
  • รัฐบาลของเบน อะลีถูกโค่นล้ม
  • นายกรัฐมนตรีโมฮาเหม็ด ฆ็อนนูชีลาออก[1]
  • ลบล้างตำรวจทางการเมือง[2]
  • ลบล้างพรรคปกครอง[3]
  • ปล่อยนักโทษทางการเมือง[4]
  • เลือกตั้งตามสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่[5]
  • เกิดการประท้วงตามมาหลังจากนี้[6]
  • เริ่มต้นอาหรับสปริง
ความเสียหาย
เสียชีวิต338[7]
บาดเจ็บ2,147[7]
ซีน อัลอาบิดีน บิน อะลี

การเดินขบวนประท้วงเป็นเหตุมาจากภาวะการว่างงานที่สูง ภาวะเงินเฟ้ออาหาร การฉ้อราษฎร์บังหลวง[8] การขาดเสรีภาพในการแสดงออกตลอดจนเสรีภาพทางการเมืองอื่น ๆ[9] และคุณภาพชีวิตที่เลว การประท้วงครั้งนี้เป็นคลื่นความไม่สงบทางสังคมและการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดในรอบสามทศวรรษ[10][11] และได้ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมของตำรวจและกองกำลังความมั่นคงต่อผู้ประท้วง การประท้วงเกิดขึ้นจากการจุดไฟเผาตัวเองของมุฮัมมัด อัลบูอะซีซี (Mohamed Al-Bouazizi) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม[12] และนำไปสู่การโค่นประธานาธิบดีบิน อะลีลงจากตำแหน่งในอีก 28 วันให้หลัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554 เมื่อเขาลาออกอย่างเป็นทางการหลังหลบหนีไปยังซาอุดีอาระเบีย หลังครองอำนาจยาวนานกว่า 23 ปี[13][14] มีรายงานว่า สหภาพแรงงานเป็นส่วนสำคัญในการประท้วง[15] การประท้วงดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจแก่พฤติกรรมคล้ายกันทั่วโลกอาหรับ การปฏิวัติอียิปต์เริ่มขึ้นหลังเหตุการณ์ในตูนิเซีย และยังนำไปสู่การโค่นประธานาธิบดีอียิปต์ซึ่งครองอำนาจยาวนาน ฮุสนี มุบาร็อก ยิ่งไปกว่านั้น ยังเกิดขึ้นในประเทศในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางอีกหลายประเทศ

หลังบิน อะลีออกนอกประเทศ มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐบาลผสมรักษาการยังได้ถูกจัดตั้งขึ้น ซึ่งรวมไปถึงสมาชิกพรรคของบิน อะลี ได้แก่ พรรคอาร์ซีดี ในกระทรวงสำคัญหลายกระทรวง ขณะที่มีฝ่ายค้านอยู่ในกระทรวงอื่น ๆ โดยจะมีการจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีซึ่งไม่ได้มาจากพรรคอาร์ซีดีห้าคนได้ลาออกจากตำแหน่งเกือบจะในทันที[16][17] และมีการประท้วงตามท้องถนนทุกวันในตูนิสและเมืองอื่นทั่วตูนิเซียยังดำเนินต่อไป โดยเรียกร้องให้รัฐบาลใหม่ต้องไม่มีสมาชิกที่มาจากพรรคอาร์ซีดี และให้ยุบพรรคอาร์ซีดี[17][18][19] วันที่ 27 มกราคม นายกรัฐมนตรีมุฮัมมัด อัลฆ็อนนูชี (Muhammad Al-Ghannushi) ได้สับเปลี่ยนตำแหน่งในรัฐบาล โดยปลดรัฐมนตรีที่มาจากพรรคอาร์ซีดีทั้งหมด ยกเว้นตัวเขาเพียงคนเดียว วันที่ 6 กุมภาพันธ์ รัฐมนตรีมหาดไทยคนใหม่ยุติกิจกรรมพรรคทั้งหมดของอาร์ซีดี โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง[20] พรรคถูกยุบ ตามข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554[21]

หลังมีการประท้วงสาธารณะเพิ่มเติม อัลฆ็อนนูชีลาออกเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ และอัลบาญี กออิด อัสซิบซี (Beji Caid Essebsi) เป็นนายกรัฐมนตรีแทน สมาชิกรัฐบาลเฉพาะกาลอีกสองคนลาออกในวันรุ่งขึ้น วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดีประกาศว่า การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญจะจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554 จึงคาดกันว่าการเลือกตั้งทั่วไปจะถูกเลื่อนออกไปหลังวันนั้น[22]

เบื้องหลัง

ประธานาธิบดีบิน อะลีปกครองตูนิเซียมาตั้งแต่ พ.ศ. 2530 รัฐบาลของเขา ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อและในหมู่องค์การพัฒนาเอกชน ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสเนื่องจาก "การจับกุมตัวพวกอิสลามมาลงโทษ [และ] วาระด้านเศรษฐกิจของเขาได้รับการชักชวนว่าเป็นรูปแบบที่หลักแหลมซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้ในแอฟริกาเหนือ และเขาพิสูจน์แล้วว่าเป็นพันธมิตรที่เด็ดเดี่ยวและกระตือรือร้นของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปมีส่วนพัวพันในโครงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก" ผลที่ตามมาคือ ปฏิกิริยาภายในต่อการละเมิดอำนาจของบิน อะลีจึงไม่มีการรายงานในสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส และในหลายกรณีตัวอย่างของการประท้วงทางสังคมและการเมือง เมื่อเกิดขึ้นในประเทศตูนิเซียแล้ว น้อยครั้งที่จะปรากฏเป็นพาดหัวข่าวสำคัญในสื่อ

การประท้วงในตูนิเซียเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก[23] และเป็นที่น่าสังเกตว่า โดยเฉพาะอย่างตูนิเซียมักจะถูกมองว่าเป็นประเทศที่มั่งคั่งและมีเสถียรภาพเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค[24] อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ยังได้รายงานว่า นักเคลื่อนไหวชาวตูนิเซียเป็นกลุ่มที่เปิดเผยมากที่สุดในภูมิภาคของโลก โดยมีข้อความสนับสนุนหลายข้อความถูกโพสต์ลงในทวิตเตอร์เพื่อสนับสนุนอัลบูอะซีซี[25] บทความที่ไม่เห็นด้วยกับบรรณาธิการในเครือข่ายเดียวกันยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น "การประท้วงพลีชีพด้วยความสิ้นหวังของเยาวชนตูนิเซีย" นอกจากนี้ ยังได้ชี้ว่ากองทุนเอกภาพแห่งชาติและกองทุนการจ้างงานแห่งชาติเดิมได้ให้การสนับสนุนสินค้าและบริการในประเทศ แต่ได้เริ่มต้นเปลี่ยนแปลง "ภาระการจัดการจากรัฐสู่สังคม" เพื่อให้มีการนำเงินมาชำระโดย "ชุมชนแออัด" หรือเขตชุมชนห่างไกลความเจริญ ซึ่งตั้งอยู่รอบเมืองและชานเมืองที่ร่ำรวย นอกจากนี้ยังได้มีการอ้างถึง "การทำให้พื้นที่เกษตรกรรมและแห้งแล้ง ตลอดจนพื้นที่ทางใต้ของประเทศไม่มีความสำคัญยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่ลดละ"[26] การประท้วงดังกล่าวยังได้ถูกเรียกว่าเป็น "การลุกฮือของประชาชน" เนื่องจาก "การรวมกันอย่างร้ายแรงของความยากจน ภาวะการว่างงาน และการเก็บกดทางการเมือง: คุณลักษณะสามประการที่ปรากฏในสังคมอาหรับส่วนใหญ่"[27] อีกสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะความไร้ความสามารถของรัฐบาลตูนิเซียที่จะเซ็นเซอร์ข้อมูลไม่ให้ชาวตูนิเซียเข้าถึง อย่างเช่นข้อมูลจากวิกิลีกส์ที่อธิบายถึงการคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงในรัฐบาลตูนิเซีย[28]

การประท้วงเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ในซีดีบูซีดส่วนใหญ่ไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าเว็บไซต์สื่อสังคม อย่างเช่น เฟซบุ๊กและยูทูบจะได้นำเสนอภาพของตำรวจสลายการชุมนุมของเยาวชนผู้ซึ่งทำลายกระจกของร้านค้าและรถยนต์ได้รับความเสียหาย ผู้ประท้วงคนหนึ่ง มุฮัมมัด อัลบูอะซีซี จุดไฟเผาตนเองเพื่อเป็นการประท้วงต่อการยึดแผงลอยขายผักและผลไม้ของเขา[29] ในเวลาต่อมา เขาได้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลในตูนิส ที่ซึ่งเขาได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 4 มกราคม[30]

การประท้วงในช่วงแรก

มีรายงานว่าตำรวจพยายามขัดขวางการเดินขบวนและใช้แก๊สน้ำตากับผู้ชุมนุมเยาวชนหลายร้อยคนในซีดีบูซีด เมื่อตอนกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ผู้ชุมนุมได้รวมตัวกันนอกที่ทำการรัฐบาลส่วนภูมิภาคเพื่อประท้วงต่อการปฏิบัติต่อมุฮัมมัด อัลบูอะซีซี ซึ่งจุดไฟเผาตัวเองเพื่อเป็นการประท้วงต่อการที่ตำรวจยึดแผงลอยขายผักและผลไม้ขณะที่พยายามขายสินค้าอยู่ริมถนน การรายงานข่าวในสื่อตูนิเซียมีจำกัด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจถูกเสริมกำลังตามท้องถนนของเมือง[31]

วันที่ 22 ธันวาคม ผู้ประท้วงอีกคนหนึ่ง ชื่อว่า ละฮ์ซีน นะญี ตอบสนองต่อ "ความหิวโหยและภาวะไม่มีงานทำ" ด้วยการอัตวินิบาตกรรมด้วยไฟฟ้า หลังจากปีนขึ้นไปบนเสาไฟฟ้า ร็อมซี อัลอับบูดี ก็ได้ทำอัตวินิบาตกรรมด้วยเช่นกันเนื่องจากปัญหาทางการเงินที่เกิดขึ้นจากหนี้ธุรกิจโดยโครงการเอกภาพวิสาหกิจรายย่อยของประเทศ วันที่ 24 ธันวาคม มุฮัมมัด อัลอะมารี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเข้าที่หน้าอกจนเสียชีวิต ในเมืองทางตอนกลางของประเทศ นอกจากนี้ ผู้ชุมนุมประท้วงรายอื่นก็ได้รับบาดเจ็บด้วยเช่นกัน รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตอีกหนึ่งคนในวันที่ 30 ธันวาคม[32] ตำรวจอ้างว่าพวกเขายิงผู้ประท้วงในการ "ป้องกันตนเอง" ตำรวจได้มีการประกาศ "กึ่งเคอร์ฟิว" ในเมืองในเวลาต่อมา[33]

ต่อมา ความรุนแรงได้ปะทุขึ้นมาอีกเมื่อทางการและราษฎรจังหวัดซีดีบูซีด เผชิญหน้ากันอีกครั้งหนึ่ง การประท้วงได้ลุกลามไปถึงเมืองหลวงตูนิส[34] เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม โดยมีพลเมืองราว 1,000 คน ออกมาแสดงความสามัคคี[35] ร่วมกับราษฎรในซีดีบูซีด และเรียกร้องตำแหน่งงาน การเดินขบวนดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นโดยนักเคลื่อนไหวสหภาพการค้าอิสระ ถูกหยุกยั้งโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคง การประท้วงยังได้ลุกลามไปถึงเมืองซูซะฮ์ สแฟกซ์ และอัลมิกนาซี[36] ในวันต่อมา สหพันธ์สหภาพแรงงานตูนิเซียได้จัดการเดินขบวนอีกครั้งหนึ่งในเมืองก็อฟเศาะฮ์ซึ่งถูกขัดขวางโดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอีกเช่นเดียวกัน เป็นเวลาเดียวกับที่ทนายความราว 300 คน จัดการเดินขบวนของตนใกล้กับทำเนียบรัฐบาลในตูนิส[37] การประท้วงได้ดำเนินต่อไปอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 29 ธันวาคม

วันที่ 30 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถยับยั้งการประท้วงได้อย่างสงบในเมืองอัลมุนัสตีร ขณะที่ใช้กำลังขัดขวางการเดินขบวนเพิ่มเติมในอัสซะบีเคาะฮ์และเชบบะ การประท้วงยังคงดำเนินต่อไปในวันที่ 31 ธันวาคม และมีการเดินขบวนประท้วงและการชุมนุมสาธารณะเพิ่มเติมอีกโดยทนายความในตูนิสและเมืองอื่นหลังจากมีการปลุกระดมของสภาทนายความแห่งชาติตูนิเซีย นอกจากนี้ ยังได้มีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยันว่ามีชายอีกคนหนึ่งพยายามทำอัตวินิบาตกรรมในอัลฮามมะฮ์[38]

วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554 การประท้วงในธาลาปะทุรุนแรงขึ้นจากภาวะการว่างงานและค่าครองชีพที่สูง ได้มีการเดินขบวนซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 250 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา เพื่อเป็นการสนับสนุนการประท้วงในซีดีบูซีด ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม โดยแก๊สกระป๋องหนึ่งได้ไปตกในบริเวณสุเหร่าท้องถิ่น มีรายงานว่าผู้ชุมนุมประท้วงตอบโต้จุดไฟเผายางรถยนต์และโจมตีสำนักงานของพรรคอาร์ซีดี ซึ่งเป็นพรรคของประธานาธิบดีบิน อะลี[39]

การประท้วงบางส่วนเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการตรวจพิจารณาออนไลน์ของรัฐบาล ที่ซึ่งภาพสื่อจำนวนมากได้รับการออกอากาศ ทางการตูนิเซียได้รับการกล่าวหาว่าดำเนินปฏิบัติการหลอกลวงเพื่อควบคุมรหัสผ่านของผู้ใช้และตรวจสอบการวิพากษ์วิจารณ์ออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ของรัฐและเอกชนต่างก็ถูกเจาะระบบเข้าไปเช่นเดียวกัน[40]

การได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นสูงและการประท้วงระยะต่อมา

วันที่ 6 มกราคม ทนายความร้อยละ 95 จากทนายความทั้งประเทศ 8,000 คนได้ประท้วง ตามการระบุของประธานเนติบัณฑิตยสภาแห่งชาติ เขากล่าวว่า "การประท้วงส่งสารที่ชัดเจนว่าเราจะไม่ยอมรับการโจมตีอย่างไม่เป็นธรรมต่อทนายความ เราจะทำการประท้วงอย่างแข็งขันต่อการเฆี่ยนทนายความที่ผ่านมาไม่นานนี้" นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ในวันรุ่งขึ้น ครูได้เข้าร่วมการประท้วงด้วยเช่นกัน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง