ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง

ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง (IATA: PEKICAO: ZBAA) เป็นสนามบินระหว่างประเทศสนามบินหลักของกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 32 km (20 mi) ในเขตเฉาหยาง และบางส่วนของ เขตซุ่นอี้[2] บริหารงานโดย บริษัทท่าอากาศยานปักกิ่งแคปิตอล ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ รหัสสนามบิน IATA ของปักกิ่งคือ PEK มาจากการถอดความชื่อของปักกิ่งเป็นอักษรโรมันแบบเดิม (Peking)[a]

ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง

北京首都国际机场

Beijing Capital International Airport
ภาพถ่ายทางอากาศของท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง
  • IATA: officially : PEK
    unofficial : BJS
  • ICAO: ZBAA
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานCivil Aviation Administration of China
พื้นที่บริการปักกิ่ง
สถานที่ตั้งเขตเฉาหยาง, ปักกิ่ง
ฐานการบิน
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล35 เมตร / 116 ฟุต
เว็บไซต์en.bcia.com.cn
แบบแปลนท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง
แบบแปลนท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง
PEK/ZBAAตั้งอยู่ในประเทศจีน
PEK/ZBAA
PEK/ZBAA
Location in China
ทางวิ่ง
ทิศทางความยาวพื้นผิว
เมตรฟุต
18L/36R3,80012,468ยางมะตอย
18R/36L3,20010,499ยางมะตอย
01/193,80012,468คอนกรีต
สถิติ (2009)
ผู้โดยสาร65,329,851
Aircraft Movements488,495
สถิติจาก Airports Council International[1]
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
อาคารเทียบเครื่องบิน 3
ภายในอาคารผู้โดยสาร 3 หลังใหม่

ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินแอร์ไชน่า สายการบินแห่งชาติของประเทศจีน ซึ่งมีเที่ยวบินจากที่นี่มากกว่า 120 เส้นทาง (ไม่รวมเที่ยวบินส่งสินค้า) ทั้งนี้ยังมี ไห่หนานแอร์ไลน์ และ ไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ที่ใช้สนามบินนี้เป็นสนามบินหลักอีกด้วย

ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เพิ่มอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ในปี พ.ศ. 2551 ในช่วงงานโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ถือเป็นอาคารผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากอาคารผู้โดยสารที่ 3 ของ ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ และถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ใช้พื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับ 6 ซึ่งกินเนื้อที่ราว 1,480 เฮกตาร์

ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เติบโตอย่างรวดเร็วโดยติดอันดับสนามบินที่คับคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และกลายมาเป็นสนามบินที่คับคั่งที่สุดในเอเซียจากจำนวนผู้โดยสารและจำนวนเที่ยวบินในปี พ.ศ. 2542 และได้ถือเป็นสนามบินที่มีผู้โดยสารคับคั่งที่สุดอันดับ 2 ของโลกในปี พ.ศ. 2553 ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง ได้บันทึกว่ามีเครื่องบินเข้าออกทั้งหมด 557,167 ครั้ง (นับจากเครื่องบินขึ้นและลง) ติดอันดับ 6 ของโลกในปี พ.ศ. 2555[1] ด้านเที่ยวบินขนส่งสินค้าก็เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2555 สนามบินถูกจัดอันดับที่ 13 ของสนามบินที่มีเที่ยวบินขนส่งสินค้าที่คับครั้งที่สุดในโลก โดยมีการขนส่งสินค้ากว่า 1,787,027 ตัน[1]

ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 เที่ยวบินของสมาชิกวันเวิลด์ และสกายทีม ทั้งหมดจะถูกถ่ายโอนจากท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งไปยังท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งต้าซิงแห่งใหม่ ยกเว้นคาเธ่ย์แปซิฟิก และ คาเธ่ย์ดรากอน

ประวัติ

ท่าอากาศยานปักกิ่งในปี พ.ศ. 2502
แอร์ฟอร์ซวัน ของประธานาธิปดีริชาร์ด นิกสัน ลงจอดที่ท่าอากาศยานปักกิ่งในปี พ.ศ. 2515

ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2501 ขณะนั้นสนามบินมีเพียงอาคารขนาดเล็กที่ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งใช้รองรับผู้โดยสารวีไอพี และ เที่ยวบินเช่าเหมาลำ วันที่ 1 มกราคม 2523 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 โดยมีท่าเทียบ และรองรับเครื่องบินได้ 10-12 ลำ อาคารใหม่นี้ ใหญ่กว่าอาคารเก่าที่สร้างในช่วงปี พ.ศ. 2500 มาก

เที่ยวบินแรกที่บินมาสู่จีน และ ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งคือเที่ยวบินของปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์จากเมืองอิสลามาบาด

ช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 เป็นช่วงครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งได้ขยายอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2 เปิดให้บริการในวันที่ 1 พศจิกายนในปีเดียวกัน โดยอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 ถูกปิดช่วงคราวเพื่อปรับปรุงหลังจากเปิดอาคาร 2 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2547 อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 1 จึงกลับมาเปิดอีกครั้ง หลังปรับปรุงเสร็จแล้ว ซึ่งในตอนนั้นเปิดให้ใช้เฉพาะเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศของสายการบินไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ เท่านั้น[3] ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศของสายการบินอื่นๆ ยังคงให้บริการจากอาคารผู้โดยสารแห่งที่ 2

ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งได้ขยายสนามบินอีกครั้งในปี พ.ศ. 2550 โดยเปิดให้บริการทางวิ่งที่ 3 ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เพื่อลดปัญหาความคับคั่งของอีกสองทางวิ่ง[4] อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 (T3) สร้างเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ในช่วงโอลิมปิกปักกิ่ง การขยายสนามบินครั้งนี้ยังได้เพิ่มทางรถไฟวิ่งเข้าไปสู่กลางกรุงปักกิ่งด้วย ในขณะที่เปิดใช้บริการนั้น อาคารผู้โดยสารแห่งที่ 3 ได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ใช้พื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถือเป็นสถานที่สำคัญที่บ่งบอกการเจริญเติบโตของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน การขยายครั้งนี้ได้ระดมทุนกว่า 3 หมื่นล้านเยนจากประเทศญี่ปุ่น และอีก 5 ร้อยล้านยูโรจาก ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรป (EIB) การกู้ครั้งนี้ถือเป็นการกู้ครั้งใหญ่ที่สุดในเอเซ๊ยของ EIB ซึ่งได้ลงนามความตกลงกันในงาน การประชุมผู้นำจีนและกลุ่มประเทศยุโรปครั้งที่ 8 เมื่อเดือนกันยายน 2558[5]

หลังจากงานโอลิมปิกฤดูร้อน 2008และเพิ่มอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่แล้ว ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งได้ยึดตำแหน่งสนามบินที่คับคั่งที่สุดในเอเชียนับจากจำนวนที่นั่ง จากท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว[6]

และเนื่องด้วยปัญหาด้านการขยายด้วยของท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง จึงได้มีแผนที่จะเปิดสนามบินใหม่ที่ต้าซิง ซึ่งผ่านการอนุมัติแล้วในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556 และเริ่มการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2558 และแล้วเสร็จในปี 2562[7] สนามบินแห่งใหม่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของสายการบินพันธมิตร สกายทีม (ยกเว้นสายการบิน ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์)[8] ส่วนสมาชิกของ สตาร์อัลไลแอนซ์ จะยังคงอยู่ที่สนามบินนานาชาติปักกิ่ง ไห่หนานแอร์ไลน์ซึ่งมีปริมาณผู้โดยสารคิดเป็น 10% ของผู้ใช้บริการสนามบินปักกิ่ง ในปี พ.ศ. 2559 แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรหลักใด ๆ จะอยู่ที่สนามบินเดิม[9]

อาคารผู้โดยสาร และสายการบิน

อาคารผู้โดยสาร 1

อาคารผู้โดยสาร 2

อาคารผู้โดยสาร 3

เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2551

สายการบินขนส่งสินค้า

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง