อียิปต์แอร์

สายการบินแห่งชาติของประเทศอียิปต์

อียิปต์แอร์ (อาหรับแบบอียิปต์: مصر للطيران) เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอียิปต์ โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติไคโร อียิปต์แอร์ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางกว่า 90 แห่งในแอฟริกา เอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ[3] อียิปต์แอร์เป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรทางการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ตั้งแต่วันที่ กรกฎาคม ค.ศ. 2008[4] อียิปต์แอร์เป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งขององค์การสายการบินอาหรับ

อียิปต์แอร์
مصر للطيران
IATAICAOรหัสเรียก
MSMSREGYPTAIR
ก่อตั้ง7 มิถุนายน ค.ศ. 1932 (91 ปี) (ในชื่อ สายการบินมิศร์)
เริ่มดำเนินงานกรกฎาคม ค.ศ. 1933 (90 ปี)
ท่าหลักไคโร
เมืองสำคัญ
  • อะเล็กซานเดรีย
  • ชัรมุชชัยค์
สะสมไมล์อียิปต์แอร์ พลัส[1]
พันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
บริษัทลูก
  • แอร์ไคโร
  • แอร์ไซนาย
  • อียิปต์แอร์คาร์โก
  • สมาร์ทเอวิเอชันคอมปะนี
ขนาดฝูงบิน77
จุดหมาย90
บริษัทแม่อียิปต์แอร์โฮลดิงคอมปะนี (รัฐบาลอียิปต์)
สำนักงานใหญ่อียิปต์ ไคโร, ประเทศอียิปต์
บุคลากรหลัก
  • Yehia Zakaria (ประธานและซีอีโอของอียิปต์แอร์โฮลดิงคอมปะนี)
  • Ehab El Tahtawi (ประธานและซีอีโอของอียิปต์แอร์)[2]
เว็บไซต์egyptair.com

ประวัติ

ช่วงแรก: มิศร์แอร์เวิร์ก (1932–1949)

ในการเยือยอียิปต์ของอลัน มันต์ซ ประธานเจ้าหน้าที่ของแอร์เวิร์กในปี 1931 มันต์ซได้แสดงเจตนารมณ์ในการเริ่มสายการบินใหม่ในประเทศ โดยใช้ชื่อ มิศร์แอร์เวิร์ก (Misr Airwork) โดย "มิศร์" ("مصر" ในภาษาอาหรับ) หมายถึงประเทศอียิปต์ในภาษาอาหรับ และได้รับการรับรองจากรัฐบาลในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1931[5] มิศร์แอร์เวิร์กได้ตั้งสายการบินลูกในชื่อ สายการบินมิศร์ ในวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1932[5] เป็นสายการบินที่เจ็ดของโลก[6]

มีการลงทุนเริ่มแรกด้วยเงินจำนวน 20,000 ปอนด์อียิปต์ โดยกรรมสิทธิบริษัทถูกแบ่งไประหว่างมิศร์แบงก์ (85%), แอร์เวิร์ค (10%), และนักลงทุนสัญชาติอียิปต์ (5%) สายการบินมิศร์เริ่มดำเนินงานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1933 โดยเริ่มทำการบินจากไคโรสู่อะเล็กซานเดรียและมาร์ซามาทรูห์โดยใช้เครื่องบินเดอ ฮาวิลแลนด์ ดีเอช.84 ดรากอน และได้เพิ่มความถี่ของเที่ยวบินสู่อะเล็กซานเดรียเป็นวันละ 2 เที่ยวบินในอีกหนึ่งเดือนต่อมา[5] ในช่วงปลายปี 1933[7] ได้เพิ่มเที่ยวบินไคโร-อัสยุต-ลักซอร์-อัสวานสัปดาห์ละสองครั้ง และได้เพิ่มเที่ยวบินสู่ลิดดา, ไฮฟา, และกาซาผ่านพอร์ตซาอิดในปี 1934ะหว่างปี 1935 สายการบินมิศร์ได้บรรทุกผู้โดยสาร 6,990 คน และสินค้า 21,830 กิโลกรัม (48,130 ปอนด์)[8]

สายการบินมิศร์เริ่มให้บริการเที่ยวบินฮัจญ์ในปี 1937 และได้สั่งซื้อเครื่องบินมาประจำการในฝูงบินมากมาย ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1949[9] รัฐบาลได้เข้าซื้อสายการบิน และได้เปลี่ยนชื่อสายการบินเป็นมิศร์แอร์ เอสเออี[9]

กิจการองค์กร

สำนักงานใหญ่

อียิปต์แอร์มีสำนักงานใหญ่อยู่ในบริเวณท่าอากาศยานนานาชาติไคโรในกรุงไคโร[10][11]

กรรมสิทธิ์และโครงสร้างบริษัท

อียิปต์แอร์ถือหุ้นโดยรัฐบาล 100% ผ่านอียิปต์แอร์โฮลดิงคอมปะนีที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 และมีบริษัทในเครืออีก 9 บริษัท ดังต่อไปนี้บริษัทอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้อียิปต์โฮลดิง

  • อียิปต์แอร์ บำรุงรักษาและวิศวกรรม
  • อียิปต์แอร์ กราวด์เซอร์วิส
  • อียิปต์แอร์ อินไฟล์ทเซอร์วิส
  • อียิปต์แอร์ การท่องเที่ยวและร้านค้าปลอดภาษี
  • อียิปต์แอร์ ศูนย์บริการทางการแพทย์
  • อียิปต์แอร์ ส่งเสริมอุตสาหกรรม

บริษัทลูก

สายการบินมีถือกรรมสิทธิ์ในบริษัทต่างๆ ดังนี้:

  • แอร์ไคโร (60%)
  • สมาร์ทเอวิเอชันคอมปะนี (13.33%)
  • แอร์ไซนาย (100%)
  • อียิปต์เอโรแมเนจเมนต์เซอร์วิส (50%)
  • แอลเอสจีสกายเชฟเคเตอริง อียิปต์ (70%)
  • ซีไอเอเอฟ-ลีสซิง (20%)

ผลประกอบการ

ผลประกอบการของอียิปต์แอร์ ในช่วงปี 2007-2017 มีดังนี้:

20072008200920102011201220132014201520162017
รายได้ (ล้านปอนด์อียิปต์)6,9479,2659,91710,1899,67810,97512,87713,13914,14013,59720,010
กำไร/ขาดทุน สุทธิ (ล้านบาท)161232208130−2,205−3,069−1,885−2,923−0,977−1,279−5,553
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน)5.76.76.87.36.87.27.87.17.47.37.0
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร(%)63676872686567636669
จำนวนอากาศยาน (ณ สิ้นปี)38404850636465656050
หมายเหตุ/อ้างอิง[12][13][14][14][14][15][16][14][16][17][16][17][18][19][20][21][22][23][24][25]

อัตลักษณ์องค์กร

โลโก้

ลักษณะของโลโก้อียิปต์แอร์จะเป็นรูปเทพฮอรัส เทพแห่งท้องฟ้าในตำนานอียิปต์โบราณ จากการที่ในอียิปต์โบราณฮอรัสถูกเปรียบเปรยว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ที่มีปีก" และมักจะแสดงภาพเป็นเหยี่ยวหรือชายที่มีหัวเป็นเหยี่ยว อียิปต์แอร์เริ่มใช้โลโก้ฮอรัสนี้ในต้นทศวรรษ 1970 โดยเริ่มแรกหัวฮอรัสจะมีสีแดงและขนนกสีน้ำเงินด้านหน้าพื้นหลังสีทอง[26]

ลวดลายอากาศยาน

จุดหมายปลายทาง

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 อียิปต์แอร์ให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 90 แห่งทั่วโลก[3]

ข้อตกลงการบินร่วม

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 อียิปต์แอร์ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[27][28]

ฝูงบิน

ฝูงบินปัจจุบัน

แอร์บัส เอ320นีโอของอียิปต์แอร์
โบอิง 737-800 ของอียิปต์แอร์
โบอิง 777-300อีอาร์ของอียิปต์แอร์
โบอิง 787-9 ของอียิปต์แอร์

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 อียิปต์แอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[34][35]

ฝูงบินของอียิปต์แอร์
อากาศยานประจำการคำสั่งซื้อผู้โดยสาร[36]หมายเหตุ
CYรวม
แอร์บัส เอ220-3001215122137
แอร์บัส เอ320-200216123139
แอร์บัส เอ320นีโอ816126142
แอร์บัส เอ321นีโอ6[37]1[38][39]16166182
199199
แอร์บัส เอ330-200424244268
แอร์บัส เอ330-300436265301
โบอิง 737-8002924120144
16138154
โบอิง 777-300อีอาร์649297346
โบอิง 787-962[40][38]30279309
รวม773

อียิปต์แอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.2 ปี

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

  • 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1963 ยูไนเต็ดอาหรับแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 869 เกิดตกลงกลางทะเลขณะทำการลงจอดที่ท่าอากาศยานบอมเบย์, อินเดีย ไม่มีผู้รอดชีวิต
  • 25 ธันวาคม ค.ศ. 1976 อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 864 ได้ตกบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ขณะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพฯ (ณ ขณะนั้น) ทั้ง 52 คนบนเครื่องทั้งหมดเสียชีวิต รวมถึงบนภาคพื้นอีก 19 คน[41]
  • 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 648 ถูกปล้นจี้ สู่ท่าอากาศยานนานาชาติมอลตา โดยผู้ก่อการร้าย 3 คน จากกลุ่มผู้ก่อการร้าย Abu Nidal จากนั้นจึงมีการต่อสู้กันระหว่างทหารอียิปต์กับผู้ก่อการร้าย ลูกเรือ 2 คน, ผู้โดยสาร 59 คน และผู้ก่อการร้าย 2 คนเสียชีวิต
  • 31 ตุลาคม ค.ศ. 1999 อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 990 ตกลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกขณะเดินทางไปยังกรุงไคโร ทำให้มีผู้เสียชีวิต 217 คน ทางเจ้าหน้าที่สหรัฐสงสัยว่า ผู้ช่วยนักบิน Gameel Al-Batouti เป็นผู้ต้องสงสัยในเหตุการณ์ครั้งนี้[42] แต่เจ้าหน้าที่อียิปต์ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างนี้อย่างมาก[43]
  • 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 อียิปต์แอร์ เที่ยวบิน 667, เครื่องบินโบอิง 777 ได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้บริเวณฝั่งขวาของห้องนักบิน ที่ท่าอากาศยานนานาชาติไคโร คาดว่าเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ผู้โดยสารและลูกเรือทุกคนรอดชีวิต[44]
  • 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 อียิปต์แอร์ เที่ยวบินที่ 804, เครื่องบินแอร์บัส เอ320-200 ได้ตกลงในมหาสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างเที่ยวบิน ปารีส - ไคโร ไม่มีผู้รอดชีวิต[45][46][47] ไม่มีใครทราบว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เกิดจากอะไร โดยทาง BEA เชื่อว่าเกิดจากเพลิงไหม้บนเที่ยวบิน[48]

เชิงอรรถ

  • Guttery, Ben R. (1998). Encyclopedia of African Airlines. Jefferson, North Carolina 28640: Mc Farland & Company, Inc. ISBN 978-0-7864-0495-7.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อียิปต์แอร์

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง