ประเทศจิบูตี

จิบูตี (ฝรั่งเศส: Djibouti; อาหรับ: جيبوتي; โซมาลี: Jabuuti; อาฟาร์: Yibuuti) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจิบูตี (ฝรั่งเศส: République de Djibouti; อาหรับ: جمهورية جيبوتي; โซมาลี: Jamhuuriyadda Jabuuti; อาฟาร์: Gabuutih Ummuuno) เป็นประเทศในจะงอยแอฟริกาที่มีชายแดนทางใต้ติดกับประเทศโซมาเลีย[a] ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศเอธิโอเปีย ทางเหนือติดกับประเทศเอริเทรีย และทางตะวันออกติดกับทะเลแดงและอ่าวเอเดน ประเทศนี้มีพื้นที่ 23,200 ตารางกิโลเมตร (8,958 ตารางไมล์)[1]

สาธารณรัฐจิบูตี

  • République de Djibouti (ฝรั่งเศส)
  • جمهورية جيبوتي (อาหรับ)
  • Jamhuuriyadda Jabuuti (โซมาลี)
  • Gabuutih Ummuuno (อาฟาร์)
ตราแผ่นดินของจิบูตี
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"เอกภาพ เสมอภาค สันติภาพ"
(ฝรั่งเศส: Unité, Égalité, Paix;
อาหรับ: اتحاد، مساواة، سلام;
โซมาลี: Midnimo, Sinnaan, Nabad;
อาฟาร์: Inkittiino, Qeedala, Wagari)
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
จิบูตี
11°36′N 43°10′E / 11.600°N 43.167°E / 11.600; 43.167
ภาษาราชการ
ภาษาประจำชาติ
กลุ่มชาติพันธุ์
ศาสนา
94% อิสลาม (ทางการ)
6% คริสต์
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี ภายใต้ระบอบเผด็จการสืบตระกูล[2][3]
อิสมาอีล อูมาร์ เกลเล
• นายกรัฐมนตรี
อับดุลกอดิร กะมีล มุฮัมมัด
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สถาปนา
• เฟรนช์โซมาลีแลนด์
20 พฤษภาคม ค.ศ. 1883
• ดินแดนอาฟาร์และอีเซของฝรั่งเศส
5 กรกฎาคม 1967
• เอกราชจากฝรั่งเศส
27 มิถุนายน 1977
• เป็นสมาชิกสหประชาชาติ
20 กันยายน ค.ศ. 1977
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
4 กันยายน 1992
พื้นที่
• รวม
23,200[1] ตารางกิโลเมตร (8,958 ตารางไมล์)[1] (อันดับที่ 146)
0.09 (20 ตร.กม./ 7.7 ตร. ไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 2023 ประมาณ
976,143[4] (อันดับที่ 162)
37.2 ต่อตารางกิโลเมตร (96.3 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 168)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 6.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 167)
เพิ่มขึ้น 6,514 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 137)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 172)
เพิ่มขึ้น 3,666 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 126)
จีนี (ค.ศ. 2017)Negative increase 41.6[6]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)ลดลง 0.509[7]
ต่ำ · อันดับที่ 171
สกุลเงินฟรังก์จิบูตี (DJF)
เขตเวลาUTC+3 (EAT)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+253
โดเมนบนสุด.dj

ในสมัยโบราณ ดินแดนนี้กับเอธิโอเปีย เอริเทรีย และโซมาลีแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนพุนต์ ส่วนบริเวณใกล้กับซัยลาอ์ (ปัจจุบันอยู่ในโซมาลีแลนด์) เคยเป็นศูนย์กลางของรัฐสุลต่านอาดัลและรัฐสุลต่านอีฟัต ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการจัดตั้งอาณานิคมเฟรนช์โซมาลีแลนด์หลังสุลต่านเผ่าพงศ์ดีร์แห่งชาวโซมาลีลงนามสนธิสัญญากับฝรั่งเศส[10][11][12] และรางรถไฟไปยังดีเรดาวา (และอาดดิสอาบาบาในเวลาต่อมา) ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นเมืองท่าสำหรับเอธิโอเปียตอนใต้และโอกาเดนแทนที่ซัยลาอ์อย่างรวดเร็ว[13] จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นดินแดนอาฟาร์และอีเซของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1967 ทศวรรษต่อมา ชาวจิบูตีลงคะแนนเสียงให้เป็นเอกราช นั่นเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของ สาธารณรัฐจิบูตี ซึ่งตั้งชื่อตามชื่อเมืองหลวง รัฐใหม่นี้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปีแรกที่ได้รับเอกราช[14][15] ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ความตึงเครียดในการเป็นตัวแทนของรัฐบาลนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่สิ้นสุดด้วยข้อตกลงแบ่งอำนาจใน ค.ศ. 2000 ระหว่างพรรครัฐบาลกับฝ่ายค้าน[1]

ชื่อและศัพทมูลวิทยา

ชื่อประเทศตั้งชื่อตามนครจิบูตี เมืองหลวงของประเทศ ศัพทมูลวิทยาของชื่อ จิบูตี ยังเป็นที่ขัดแย้ง โดยมีทฤษฎีและตำนานเกี่ยวกับที่มาของชื่อแตกต่างไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ ทฤษฎีหนึ่งระบุว่ามาจากคำในภาษาอาฟาร์ว่า gabouti หมายถึง "แผ่น" น่าจะสื่อถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่[16] ส่วนอีกทฤษฎีเชื่อมโยงกับคำว่า gabood แปลว่า "ที่สูง/ที่ราบสูง"[17] จิบูตี ยังอาจหมายถึง "ดินแดนของเจฮูตี" หรือ "ดินแดนของโทต" (อียิปต์: Djehuti/ Djehuty) เทพแห่งดวงจันทร์ของศาสนาอียิปต์โบราณ[18][19]

ประวัติศาสตร์

เดิมเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ในช่วง พ.ศ. 2405-2443 ทั้งโซมาเลียและเอธิโอเปียต่างอ้างกรรมสิทธิ์เหนือจิบูตี การสู้รบของกลุ่มชนเชื้อสายเอธิโอเปียกับโซมาเลียมีมาอย่างต่อเนื่องจนจิบูตีได้รับเอกราชเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2520 ปัจจุบันยังมีกองทหารฝรั่งเศสอยู่ในจิบูตี

ประชากร

ชายชาวอาฟาร์ในชุดเดินทาง
ประชากรในอดีต
ปีประชากร±% p.a.
195062,001—    
195569,589+2.34%
196083,636+3.75%
1965114,963+6.57%
1970159,659+6.79%
1977277,750+8.23%
1980358,960+8.93%
1985425,613+3.47%
1990590,398+6.76%
1995630,388+1.32%
2000717,584+2.62%
2005784,256+1.79%
2010850,146+1.63%
2015869,099+0.44%
2018884,017+0.57%
ข้อมูล: World Bank[20]

จิบูตีมีประชากรประมาณ 921,804 คน.[21] โดยเป็นประเทศที่มีหลายชาติพันธุ์ ประชากรพื้นเมืองเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากประมาณ 69,589 คนใน ค.ศ. 1955 ไปเป็นประมาณ 869,099 คนใน ค.ศ. 2015 กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรมากที่สุด 2 กลุ่มในจิบูตีคือชาวโซมาลี (60%) และชาวอาฟาร์ (35%)[1] ส่วนอีก 5% โดยหลักประกอบด้วยชาวอาหรับเยเมน ชาวเอธิโอเปีย และชาวยุโรป (ชาวฝรั่งเศสและอิตาลี) พลเมืองประมาณ 76% อาศัยอยู่ในเมือง ส่วนที่เหลือเป็นชนร่อนเร่[1]

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

  •  บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเว็บไซต์หรือเอกสารของ เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก "2016 edition"

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล
ข้อมูล
อื่น ๆ

11°30′N 43°00′E / 11.500°N 43.000°E / 11.500; 43.000

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง