ประเทศนาอูรู

นาอูรู (อังกฤษ: Nauru, ออกเสียง: /nɑːˈu:ruː/; นาอูรู: Naoero)[8] หรือชื่ออย่างเป็นทางการ สาธารณรัฐนาอูรู (อังกฤษ: Republic of Nauru; นาอูรู: Repubrikin Naoero) เป็นประเทศเกาะและจุลรัฐในภูมิภาคไมโครนีเซีย ทวีปโอเชียเนีย ตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะบานาบาของประเทศคิริบาสเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด โดยอยู่ห่างกัน 300 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก นาอูรูตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตูวาลู ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะโซโลมอน โดยอยู่ห่างกัน 1,300 กิโลเมตร[9] ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปาปัวนิวกินี ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐไมโครนีเซียและทิศใต้ของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ด้วยพื้นที่เพียง 21 ตารางกิโลเมตร ทำให้นาอูรูเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากประเทศโมนาโกและนครรัฐวาติกันและเป็นสาธารณรัฐที่มีขนาดเล็กที่สุด มากไปกว่านั้นด้วยจำนวนประชากรเพียง 10,670 คน จึงทำให้ประเทศนาอูรูเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากนครรัฐวาติกัน

สาธารณรัฐนาอูรู

Repubrikin Naoero (นาอูรู)
ตราแผ่นดินของนาอูรู
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"God's will first"
พระประสงค์ของพระเจ้ามาก่อน
เพลงชาตินาอูรูเบียมา
"นาอูรู ถิ่นฐานของเรา"
ที่ตั้งของนาอูรู
เมืองหลวงยาเรน (โดยพฤตินัย)[a]
0°32′S 166°55′E / 0.533°S 166.917°E / -0.533; 166.917 (Nauru)
เมืองใหญ่สุดเดนิโกโมดู
ภาษาราชการนาอูรู
ภาษาพูดทั่วไปอังกฤษ[b]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภาภายใต้ประชาธิปไตยแบบไม่ระบุพรรค
David Adeang
• ประธานรัฐสภา
มาร์คัส สตีเฟน
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เป็นเอกราช
31 มกราคม ค.ศ. 1968
พื้นที่
• รวม
21 ตารางกิโลเมตร (8.1 ตารางไมล์) (อันดับที่ 192)
0.57
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
11,347[4] (อันดับที่ 228)
• สำมะโนประชากร 2011
10,084[5]
480 ต่อตารางกิโลเมตร (1,243.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 12)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
132 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 192)
9,995 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 94)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
133 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[6]
10,125 ดอลลาร์สหรัฐ [6]
สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
เขตเวลาUTC+12[7]
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
ไม่ใช้
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+674
โดเมนบนสุด.nr

ชาวไมโครนีเซียและพอลินีเซียเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ปลายศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิเยอรมนีได้ผนวกดินแดนนาอูรูเป็นอาณานิคม หลังสงครามโลกครั้งที่ 1สิ้นสุด นาอูรูกลายเป็นดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติโดยมีออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้จัดการปกครอง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองนาอูรู ในการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรในแปซิฟิก ได้ข้ามการยึดครองนาอูรู ตามยุทธวิธีกบกระโดด หลังจบสงคราม นาอูรูกลายเป็นดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ และได้รับเอกราชในปี 1968 ต่อมาได้เข้าร่วมประชาคมแปซิฟิกในปี 1969

นาอูรูเป็นเกาะหินฟอสเฟตที่มี่ปริมาณเก็บไว้เป็นจำนวนมากใกล้ผิวดิน ซึ่งช่วยให้ง่ายต่อการทำเหมืองผิวดิน ส่วนทรัพยากรฟอสเฟตที่เหลือไม่คุ้มค่าในการสกัด[10] เมื่อปริมาณสำรองฟอสเฟตหมดลง ประกอบกับความเสียหายอย่างรุนแรงของระบบนิเวศจากการทำเหมือง ทรัสต์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดการความมั่งคั่งของเกาะมีมูลค่าลดน้อยลง นาอูรูจึงกลายเป็นที่หลบภาษี (tax haven) และศูนย์กลางของการฟอกเงินในช่วงสั้น ๆ เพื่อหารายได้[11] จากปี 2001 ถึง 2008 และอีกครั้งตั้งแต่ปี 2012 รัฐบาลนาอูรูได้อนุญาตให้ออสเตรเลียตั้งศูนย์ประมวลผลภูมิภาคนาอูรู (Nauru Regional Processing Centre) ซึ่งเป็นสถานกักกันคนเข้าเมืองนอกชายฝั่ง แลกกับเงินช่วยเหลือ ด้วยการพึ่งพาออสเตรเลียเป็นอย่างมาก แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุว่านาอูรูเป็นรัฐบริวารของออสเตรเลีย[12][13][14] นาอูรูในฐานะรัฐเอกราชเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ กรอบการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก เครือจักรภพแห่งชาติและองค์การรัฐแอฟริกา แคริบเบียนและแปซิฟิก

ประวัติศาสตร์

นักรบชาวนาอูรูระหว่างสงครามกลางเมืองนาอูรูประมาณปี 1880

ชาวไมโครนีเซียและชาวพอลินีเซียเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นในนาอูรูอย่างน้อย 3,000 ปีที่แล้ว[15] ตามธรรมเนียมแล้ว สามารถแบ่งผู้คนในนาอูรูได้เป็น 12 เผ่า ซึ่งแทนด้วยดาว 12 แฉกที่ปรากฏบนธงชาตินาอูรู[16] ประเพณีเดิมของชาวนาอูรูจะสืบตระกูลผ่านทางมารดา ชาวนาอูรูมีความชำนาญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ: พวกเขาจะจับปลาอีบีจา นำปลาเหล่านั้นมาปรับตัวให้ชินกับสภาพแวดล้อมน้ำจืด และเลี้ยงดูปลาเหล่านี้ในลากูนบัวดา เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่วางใจได้ นอกจากนี้มีพืชท้องถิ่นอื่นที่เป็นส่วนประกอบอาหารของพวกเขา เช่น มะพร้าวและเตยทะเล เป็นต้น[17][18] ชื่อ "นาอูรู" อาจมีที่มาจากศัพท์คำว่า Anáoero ในภาษานาอูรู อันมีความหมายว่าฉันไปชายหาด[19]

จอห์น เฟิร์น นักล่าวาฬชาวอังกฤษเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เดินทางมาถึงเกาะนาอูรูในปี ค.ศ. 1798 โดยเขาได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า "เกาะพลีแซนต์" (Pleasant Island) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1830 เป็นต้นมา ชาวนาอูรูได้ติดต่อกับเรือล่าวาฬของชาวตะวันตก ซึ่งเรือล่าวาฬเหล่านี้จะแสวงหาน้ำจืดจากนาอูรูเพื่อเก็บไว้ใช้ในเรือ[18] ในช่วงระหว่างนี้กะลาสีเรือที่เลิกทำงานให้กับเรือล่าวาฬเริ่มเข้ามาอยู่อาศัยในนาอูรู ชาวเกาะได้เริ่มการแลกเปลี่ยนค้าขายกับชาวตะวันตกมากยิ่งขึ้น โดยชาวเกาะจะนำอาหารไปแลกเปลี่ยนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาวุธสงคราม[20] อาวุธสงครามที่ได้มาจากชาวตะวันตกเหล่านี้ได้มีการนำมาใช้ในสงครามระหว่างชนเผ่าของนาอูรูในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1878 - 1888[21]

ในปี ค.ศ. 1888 เยอรมนีได้ผนวกเกาะนาอูรูเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะมาร์แชลล์ในอารักขา[22] การเข้ามาของเยอรมนีในครั้งนี้ช่วยให้สงครามกลางเมืองระหว่างชนเผ่าต่าง ๆ สิ้นสุดลง นอกจากนี้ยังมีการตั้งตำแหน่งพระมหากษัตริย์ในการปกครองเกาะแห่งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ของนาอูรูที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือพระเจ้าโอเวอีดา คณะมิชชันนารีสอนศาสนาเริ่มเข้ามาในปี ค.ศ. 1888 โดยเป็นกลุ่มมิชชันนารีที่เดินทางมาจากหมู่เกาะกิลเบิร์ต[23][24] ชาวเยอรมันที่เข้ามาอาศัยในนาอูรูจะเรียกนาอูรูว่า Nawodo หรือ Onawero[25] จักรวรรดิเยอรมันเข้าปกครองนาอูรูอยู่ราว ๆ 3 ทศวรรษ โดยโรแบร์ต รัสช์ พ่อค้าชาวเยอรมันที่แต่งงานกับผู้หญิงชาวนาอูรูเป็นผู้บริหารของนาอูรูคนแรกในปี ค.ศ. 1890[23]

ในปี ค.ศ. 1900 อัลเบิร์ต ฟูลเลอร์ เอลลิส นักสำรวจแร่ได้ค้นพบแหล่งแร่ฟอสเฟตในนาอูรู[22] จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1906 บริษัทแปซิฟิกฟอสเฟตได้ทำข้อตกลงกับรัฐบาลของเยอรมนีในการเริ่มต้นทำกิจกรรมเหมืองแร่ฟอสเฟต โดยเริ่มการส่งออกฟอสเฟตไปขายยังต่างประเทศในปี ค.ศ. 1907[26] เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1914 กองทัพออสเตรเลียได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1919 ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรได้ลงนามในข้อตกลงนาอูรู ซึ่งมีผลให้เกิดการสถาปนาคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ (British Phosphate Commission - BPC) โดยคณะกรรมาธิการนี้มีสิทธิ์ในการประกอบกิจการเหมืองฟอสเฟตในนาอูรู[27]

ในปี ค.ศ. 1920 เกิดการระบาดของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ส่งผลให้ชาวนาอูรูร้อยละ 18 ล้มตายจากการระบาดในครั้งนี้[28] หลังจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 3 ปี สันนิบาตชาติได้ให้อำนาจออสเตรเลีย สหราชอาณาจักรและนิวซีแลนด์เป็นผู้ดูแลนาอูรูในฐานะดินแดนในอาณัติ[29] ในวันที่ 6 และ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เรือเยอรมันสองลำได้จมเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร 5 ลำบริเวณใกล้กับนาอูรู นอกจากการจมเรือแล้ว เรือเยอรมันทั้งสองลำได้สร้างความเสียหายให้กับบริเวณเหมืองแร่และสายพานลำเลียงฟอสเฟตอีกด้วย[30][31]

การยอมแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเรือรบเดียมันตินา

จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังเข้ายึดครองนาอูรู ในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1942[31] หลังจากนั้นได้เกณฑ์แรงงานชาวญี่ปุ่น ชาวเกาหลี ชาวนาอูรูและชาวกิลเบิร์ตให้สร้างสนามบิน โดยในระยะเวลาต่อมา กองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดสนามบินนี้ครั้งแรกในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1943 เพื่อตัดการสนับสนุนเสบียงอาหารที่จะส่งไปยังนาอูรู การที่เสบียงอาหารมีน้อยลงเป็นผลให้กองทัพญี่ปุ่นต้องนำชาวนาอูรู 1,200 คนออกจากเกาะโดยส่งไปอยู่ที่เกาะชุกในหมู่เกาะแคโรไลน์[32] การที่นาอูรูโดนกองกำลังอเมริกาปิดล้อมมาอย่างยาวนาน นำไปสู่การยอมจำนนของผู้นำกองกำลังญี่ปุ่นบนเกาะนาอูรูคือฮิซะฮะชิ โซะเอะดะในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพออสเตรเลีย[33] การยอมจำนนของญี่ปุ่นในครั้งนี้ได้รับการยอมรับโดยพลจัตวาสตีเวนสัน ซึ่งเป็นผู้แทนของพลโทเวอร์นอน สตูร์ดี ผู้บัญชาการกองทัพออสเตรเลียที่ 1 บนเรือรบเดียมันตินา[34][35] หลังจากการยอมแพ้ของกองกำลังญี่ปุ่น ได้มีการส่งชาวนาอูรู 737 คนที่รอดชีวิตจากเกาะชุกกลับไปยังนาอูรู โดยเรือของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษที่ชื่อว่า Trienza ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946[36] ในปี ค.ศ. 1947 สหประชาชาติได้มอบหมายให้ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักรเป็นผู้ดูแลเกาะนาอูรูในฐานะดินแดนในภาวะทรัสตี[37]

นาอูรูได้สิทธิ์ในการปกครองตนเองในเดือนมกราคม ค.ศ. 1966 และเมื่อการประชุมร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านไป 2 ปีหลังจากนั้น นาอูรูจึงได้ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1968 โดยมีประธานาธิบดีแฮมเมอร์ ดีโรเบิร์ตเป็นประธานาธิบดีคนแรก[38] ในปี ค.ศ. 1967 ประชาชนชาวนาอูรูได้ร่วมกันซื้อทรัพย์สินของคณะกรรมาธิการฟอสเฟตของอังกฤษ ซึ่งนาอูรูได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการเหมืองแร่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1970 ภายใต้การบริหารของบริษัทนาอูรูฟอสเฟต[26] รายได้ของนาอูรูที่ได้จากการทำเหมืองแร่ส่งผลให้ประชาชนชาวนาอูรูมีมาตรฐานการครองชีพสูงที่สุดในกลุ่มประเทศแถบแปซิฟิก[39] ในปี ค.ศ. 1989 นาอูรูได้ฟ้องออสเตรเลียต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจากความล้มเหลวของออสเตรเลียในการแก้ไขความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟตเมื่อครั้งที่ออสเตรเลียมีอำนาจบริหารกิจการต่าง ๆ ในนาอูรู[37][40]

การเมือง

รัฐสภานาอูรู

นาอูรูเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภานาอูรูเป็นระบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิก 19 คน มาจากการเลือกตั้งทุกสามปี[41] รัฐสภาจะเลือกประธานาธิบดีจากสมาชิกรัฐสภา และประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีซึ่งมีสมาชิก 5–6 คน[42] นาอูรูไม่มีโครงสร้างพรรคการเมืองอย่างเข้มแข็งเท่าใดนัก โดยตัวแทนส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครอิสระ ซึ่งเห็นได้จากสมาชิกรัฐสภาในสมัยปัจจุบันมีสมาชิกที่มาจากผู้แทนอิสระถึง 15 คนจากสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 19 คน สำหรับพรรคการเมืองที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบันมี 4 พรรค ได้แก่ พรรคนาอูรู พรรคประชาธิปไตยแห่งนาอูรู นาอูรูเฟิร์สและพรรคกลาง แม้จะมีพรรคการเมือง แต่การร่วมรัฐบาลในนาอูรูนั้นมักขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางครอบครัวมากกว่าพรรคการเมืองที่สังกัด[43]

ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1992 - 1999 ได้มีการนำระบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เรียกว่า สภาเกาะนาอูรู (Nauru Island Council - NIC) เข้ามาใช้ โดยสภานี้จะมีสมาชิกสภาทั้งสิ้น 9 คน มีหน้าที่ให้บริการในท้องถิ่น อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1999 รัฐบาลตัดสินใจยกเลิกสภาเกาะนาอูรูและให้ทรัพย์สินและหนี้สินของสภาทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลแห่งชาติ[44] การครอบครองที่ดินในประเทศนาอูรูเป็นสิ่งที่แปลก เนื่องจากประชาชนชาวนาอูรูทุกคนมีสิทธิบางประการเหนือที่ดินทั้งหมดของเกาะ ซึ่งที่ดินเหล่านั้นมีเจ้าของเป็นบุคคลหรือกลุ่มครอบครัว รัฐบาลหรือองค์กรต่าง ๆ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หากมีความประสงค์จะใช้ที่ดินจะต้องทำสัญญากับเจ้าของที่ดินในบริเวณนั้นก่อน สำหรับประชาชนที่ไม่ใช่ชาวนาอูรูไม่มีสิทธิ์ครอบครองที่ดินบนเกาะ[15]

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศนาอูรูแบ่งเขตการปกครองระดับบนสุดออกเป็น 14 เขต ดังนี้

  • เขตเดนีโกโมดู (Denigomodu)
  • เขตนีบ็อก (Nibok)
  • เขตบูอาดา (Buada)
  • เขตโบเอ (Boe)
  • เขตบาอีตี (Baiti)
  • เขตเมเนง (Meneng)
  • เขตยาเรน (Yaren)
  • เขตอานาบาร์ (Anabar)
  • เขตอานีบาเร (Anibare)
  • เขตอาเนตัน (Anetan)
  • เขตอูอาโบเอ (Uaboe)
  • เขตอีจูว์ (Ijuw)
  • เขตเอวา (Ewa)
  • เขตอาอีโว (Aiwo)

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

นาอูรูได้เข้าร่วมเครือจักรภพแห่งชาติหลังจากที่ได้เอกราชในปี ค.ศ. 1968 ในฐานะสมาชิกพิเศษ และได้รับสถานะสมาชิกภาพโดยสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 2000[45] นาอูรูได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารพัฒนาเอเชียในปี ค.ศ. 1999 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1999[46] นอกจากนี้แล้วในระดับภูมิภาคนาอูรูเป็นสมาชิกของ Pacific Islands Forum และองค์กรในระดับภูมิภาคอื่น ๆ[47] นาอูรูได้อนุญาตให้ Atmospheric Radiation Measurement Program ของสหรัฐอเมริกาเข้ามาใช้ระบบการตรวจสอบอากาศบนเกาะได้ [48]

นาอูรูไม่มีกองทหารเป็นของตนเอง การป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้ข้อตกลงอย่างไม่เป็นทางการของทั้งสองประเทศ ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อยจะใช้กองกำลังตำรวจขนาดเล็กซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายพลเรือนเป็นผู้ดูแล[2] นอกจากการป้องกันประเทศแล้ว นาอูรูและออสเตรเลียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 โดยในบันทึกความเข้าใจนี้ออสเตรเลียจะให้เงินช่วยเหลือแก่นาอูรู รวมไปถึงการส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน การสาธารณสุขและการศึกษาเพื่อเป็นที่ปรึกษาให้แก่รัฐบาลนาอูรู ทั้งนี้ผลประโยชน์ที่นาอูรูได้รับจะต้องแลกเปลี่ยนกับการที่นาอูรูจะให้ที่อยู่อาศัยกับกลุ่มผู้ขอลี้ภัยเข้าออสเตรเลียในระหว่งที่กระบวนการพิจารณากำลังดำเนินการอยู่[49] ในปัจจุบันประเทศนาอูรูใช้สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย[3]

ภูมิศาสตร์

เกาะนาอูรู

ประเทศนาอูรูมีพื้นที่ 21 ตารางกิโลเมตร (8 ตารางไมล์)[2] โดยเป็นเกาะรูปรีตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะนาอูรูอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร 42 กิโลเมตร (26 ไมล์) ไปทางทิศใต้ มีแนวปะการังล้อมรอบซึ่งแนวปะการังเหล่านี้จะปรากฏยอดแหลมให้เห็นเมื่อเวลาน้ำลง[3] การเข้าถึงเกาะนาอูรูทางน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากการมีแนวปะการังที่ล้อมรอบเกาะมีผลทำให้ไม่สามารถสร้างท่าเรือได้ อย่างไรก็ตามมีการขุดคลองตามแนวปะการังเพื่อช่วยให้เรือเล็กสามารถเข้าถึงเกาะได้[50]

แนวหน้าผาปะการังล้อมรอบที่ราบสูงตอนกลางของเกาะ จุดที่อยู่สูงสุดในบริเวณที่ราบสูงเรียกว่าคอมมานด์ริดจ์ ซึ่งมีความสูง 71 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง[51] บริเวณที่มีความอุดมสมบุรณ์เพียงแห่งเดียวของประเทศนาอูรูอยู่ในบริเวณพื้นที่แคบ ๆ ของแถบชายฝั่งทะเล ซึ่งต้นมะพร้าวเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ดินบริเวณโดยรอบของลากูนบูอาดาสามารถปลูกกล้วย สับปะรด ผักชนิดต่าง ๆ เตยทะเล และพืชไม้เนื้อแข็งท้องถิ่นคือต้นกระทิง[3]

นาอูรูเป็นหนึ่งในสามเกาะหินฟอสเฟตใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยอีกสองแห่งคือเกาะบานาบาของประเทศคิริบาส และมากาเทียของเฟรนช์โปลินีเซีย อย่างไรก็ตามฟอสเฟตของประเทศนั้นถูกนำมาใช้เกือบหมดแล้ว การทำเหมืองฟอสเฟตในที่ราบสูงตอนกลาง ทำให้พื้นที่กลายเป็นที่ไร้พืช เต็มไปด้วยหินปูนขรุขระที่มียอดสูงสุด 15 เมตร การทำเหมืองแร่เป็นเวลาหนึ่งศตวรรษ ได้สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ถึงสี่ในห้า นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะโดยรอบ โดยประมาณการว่า 40% ของสัตว์น้ำตายจากของเหลวที่ปล่อยออกมา ซึ่งเต็มไปด้วยฟอสเฟต[3][52]

ปริมาณน้ำจืดในนาอูรูมีอยู่อย่างจำกัด โดยชาวนาอูรูจะใช้ถังเพื่อกักเก็บน้ำฝน อย่างไรก็ตามชาวนาอูรูโดยส่วนมากจะพึ่งพาน้ำจืดจากโรงงานผลิตน้ำจืดจากทะเลทั้งสิ้น 3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานสาธารณูปโภคนาอูรู (Nauru's Utilities Agency) ลักษณะภูมิอากาศของนาอูรูเป็นเขตร้อนชื้น เนื่องจากการตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรและมหาสมุทร นาอูรูได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่มักไม่พบพายุหมุนเขตร้อนเท่าไหร่นัก ปริมาณหยาดน้ำฟ้าของนาอูรูมีความผันแปรสูงมากและมักได้รับอิทธิพลจากเอลนิลโญ ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้บางครั้งนาอูรูประสบกับภาวะความแห้งแล้ง[15][53] ในส่วนของอุณหภูมิในนาอูรูนั้น ช่วงเวลากลางวันอุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 26 องศาเซลเซียส (79 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง 35 องศาเซลเซียส (95 องศาฟาเรนไฮต์) ส่วนตอนกลางคืนจะมีอุณหภูมิระหว่าง 22 องศาเซลเซียส (72 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง 34 องศาเซลเซียส (93 องศาฟาเรนไฮต์)[54]

ในปัจจุบัน นาอูรูประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น นาอูรูได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดเกาะที่ประสบปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำท่วมเกาะได้[55] ถึงแม้ว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ในนาอูรูจะเป็นที่สูง แต่พื้นที่เหล่านั้นไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ จนกว่าโครงการการฟื้นฟูแหล่งแร่ฟอสเฟตจะเริ่มดำเนินการ[52][56]

ข้อมูลภูมิอากาศของเขตยาเรน
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)34
(93)
37
(99)
35
(95)
35
(95)
32
(90)
32
(90)
35
(95)
33
(91)
35
(95)
34
(93)
36
(97)
35
(95)
37
(99)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
30
(86)
31
(88)
31
(88)
31
(88)
30.3
(86.5)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
25
(77)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)21
(70)
21
(70)
21
(70)
21
(70)
20
(68)
21
(70)
20
(68)
21
(70)
20
(68)
21
(70)
21
(70)
21
(70)
20
(68)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)280
(11.02)
250
(9.84)
190
(7.48)
190
(7.48)
120
(4.72)
110
(4.33)
150
(5.91)
130
(5.12)
120
(4.72)
100
(3.94)
120
(4.72)
280
(11.02)
2,080
(81.89)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย1614131199121411101315152
แหล่งที่มา: Weatherbase[57]

เศรษฐกิจ

นาอูรูมีแร่ฟอสเฟตอยู่มาก และรายได้แทบทั้งหมดของประเทศมาจากอุตสาหกรรมการขุดและส่งออกแร่ฟอสเฟต ซึ่งมีรายได้ดีจนทำให้ชาวนาอูรู มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นในหมู่ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกด้วยกัน

ประชากร

มิชชันนารีที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์แก่ชาวนาอูรูจนกลายป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในประเทศ

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2011 นาอูรูมีประชากร 9,378 คน ซึ่งแต่เดิมมีประชากรมากกว่านี้ โดยในปี ค.ศ. 2006 ชาวนาอูรูราว 1,500 คน ออกจากเกาะไปพร้อมกับแรงงานอพยพชาวคิริบาสและตูวาลูที่ถูกส่งกลับ[2] ภาษาราชการของที่นี่คือ ภาษานาอูรู ร้อยละ 96 ของประชากรเชื้อสายนาอูรูนิยมใช้สนทนากันในบ้าน[58] ส่วนภาษาอังกฤษถูกใช้สื่อสารกันอย่างแพร่หลายทั้งในรัฐบาลและการพาณิชย์ แม้ว่าชาวนาอูรูจะไม่ค่อยออกไปนอกประเทศก็ตาม[2][3]

ประชากรส่วนใหญ่ของนาอูรูมีเชื้อสายนาอูรู ร้อยละ 58, บุคคลที่มาจากหมู่เกาะแปซิฟิกอื่น ๆ ร้อยละ 26, ชาวยุโรป ร้อยละ 8 และชาวจีนอีกร้อยละ 8 จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2010 ประชากรนาอูรูส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ราวสองในสาม ส่วนที่เหลือนับถือนิกายโรมันคาทอลิก[3] รวมทั้งหมดร้อยละ 75, ศาสนาของชาวจีนและศาสนาพุทธ ร้อยละ 11.9, ศาสนาบาไฮ ร้อยละ 9.6 และอไญยนิยม ร้อยละ 3.5[59] อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้จำกัดสิทธิของกลุ่มมอรมอนและพยานพระยะโฮวาที่เป็นลูกจ้างต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในบริษัทฟอสเฟตซึ่งรัฐเป็นเจ้าของกิจการ[60]

อัตราการรู้หนังสือของชาวนาอูรูอยู่ที่ร้อยละ 96 มีการศึกษาภาคบังคับสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6-16 ปี และไม่บังคับอีกสองปี[61] ที่นาอูรูนี้มีวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเซาท์แปซิฟิกเปิดให้บริการ ก่อนการก่อตั้งวิทยาเขตดังกล่าวในปี ค.ศ. 1987 ผู้ศึกษาต่อจะต้องออกไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ[62]

ชาวนาอูรูมีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน มีสัดส่วนเป็นเพศชายร้อยละ 97 และเพศหญิงร้อยละ 93[63] ส่งผลให้ประเทศนาอูรูอยู่ในอันดับสูงสุดของโลกที่ประชากรมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง มีประชากรมากกว่าร้อยละ 40 ได้รับผลกระทบจากโรคดังกล่าวด้วย[64] ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคของชาวนาอูรูคือ โรคไตและโรคหัวใจ อายุขัยโดยเฉลี่ยของชาวนาอูรูคือ 60.6 ปี สำหรับเพศชาย และ 68.0 ปี สำหรับเพศหญิง[65]

วัฒนธรรม

สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง