มุญาฮิดีนประชาชนอิหร่าน

ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน หรือ กองกำลังเพื่อการปลดปล่อยแห่งชาติอิหร่าน (อังกฤษ: People's Mujahedin of Iran; PMOI, MEK หรือ MKO ; เปอร์เซีย: سازمان مجاهدين خلق ايران sāzmān-e mojāhedin-e khalq-e īrān) เป็นองค์กรสังคมนิยมอิสลามที่ต่อต้านรัฐบาลปัจจุบันของอิหร่าน นิยมลัทธิมากซ์และอิสลาม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2503 และถูกขับออกจากอิหร่านหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2522 เริ่มต้นกลุ่มนี้มีนโยบายต่อต้านชาติตะวันตกและโจมตีผลประโยชน์ภายใต้การปกครองระบบอิสลามในอิหร่าน ปัจจุบันเสนอให้แยกอำนาจรัฐออกจากศาสนา

ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่าน
سازمان مجاهدين خلق
ชื่อย่อMEK, MKO, PMOI
หัวหน้ามัรยัม ราญาวีกับมัสอูด มาญาวี[a]
เลขาธิการเซาะฮ์รอ เมอร์ริคี
ผู้ก่อตั้ง[3]
    • Mohammad Hanifnejad
    • Saeid Mohsen
    • Mohammad Asgarizadeh
    • Rasoul Meshkinfam
    • Ali-Asghar Badi'zadegan
    • Ahmad Rezaei
ก่อตั้ง5 กันยายน 1965; 58 ปีก่อน (1965-09-05)
ถูกแบน1981 (ในอิหร่าน)
แยกจากFreedom Movement
ที่ทำการ
หนังสือพิมพ์Mojahed[5]
ฝ่ายทหารNational Liberation Army (NLA) - ถูกปลดอาวุธโดยสหรัฐในปีค.ศ. 2003[6]
ฝ่ายการเมืองNational Council of Resistance (NCR)
จำนวนสมาชิก  (ปี 2011)5,000 ถึง 13,500 (DoD estimate)
ศาสนาชีอะฮ์
สี  แดง
เว็บไซต์
www.mojahedin.org
ธงประจำพรรค


การเมืองอิหร่าน
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

หน่วยงานทางทหารของขบวนการคือกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติอิหร่าน รัฐบาลอิหร่านกล่าวหาว่าขบวนการนี้เป็นผู้เสแสร้ง เป็นกลุ่มแรกที่ออกมาเปิดโปงกิจกรรมทางนิวเคลียร์ของอิหร่านเมื่อ พ.ศ. 2545 จนกลายเป็นความกังวลใจระดับโลกในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นเคยจัดให้ขบวนการมุญาฮิดีนประชาชนอิหร่านเป็นองค์กรก่อการร้าย[7][8][9][10] ปัจจุบันขบวนการนี้ถูกจัดเป็นองค์กรก่อการร้ายในอิหร่านและอิรัก[11]

ชื่ออื่น ๆ

ชื่ออื่น ๆ ขององค์กรนี้คือ Mojahedin-e-Khalq Organization (MEK) กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติอิหร่าน Monafiqeen-e-Khalq (MKO) และอาจจะเป็นองค์กรเดียวกับ สภาแห่งชาติเพื่อการป้องกันอิหร่าน[12][13]

ประวัติศาสตร์

ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านก่อตั้งโดยนักศึกษาที่เป็นชนชั้นกลางในมหาวิทยาลัยเตหะรานคือ โมฮัมหมัด ฮานิฟเนญาด ไซเอ็ด โมเซ็น และอาลี-อัสฆาร์ บาดิซาเดคัน เมื่อ พ.ศ. 2508 ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านต่อต้านการปกครองของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี โดยกล่าวหาว่าพระองค์คอรัปชั่นและกดขี่[14] ในช่วง 5 ปีแรก กลุ่มเน้นงานทางด้านอุดมการณ์ที่มีทั้งปรัชญาอิสลามและลัทธิมากซ์ ตำรวจลับของพระเจ้าชาห์เคยจับกุมผู้นำทั้งหมดและผู้เข้าร่วม 90% ผู้นำคนหนึ่งถูกประหารชีวิต คนอื่น ๆ ถูกคุมขังอยู่หลายปี กลุ่มสุดท้ายรวมทั้ง มัสซูด รายาวีถูกปล่อยตัวก่อนโคไมนีกลับมายังเตหะรานเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2522[15] ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านต่อต้านตะวันตกก่อนการปฏิวัติอิสลาม หลังจากนั้นได้หันมาตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาลอิงศาสนาทั้งในอิหร่านและต่างประเทศ

ก่อนและหลังการปฏิวัติอิหร่าน พ.ศ. 2522

แนวคิดของขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านต้องการให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงของสาธารณชน พวกเขากล่าวว่าโลกของพระเจ้าและอิสลามจะมีความหมายน้อยถ้าขาดเสรีภาพและการยอมรับการออกเสียงรายบุคคล เขากล่าวว่าในอัลกุรอ่านระบุว่ามนุษย์ต่างจากสัตว์เพราะมีเสรีภาพ ซึ่งมีลักษณะผสมระหว่างลัทธิมากซ์และอิสลาม[16] อิสลามมีแนวคิดแบ่งแยกเรื่องทางโลกและทางศาสนา[17] ในยุคปัจจุบันภายใต้การนำของ มาเรียม รายาวี องค์กรได้พัฒนาหลักการทางด้านสิทธิสตรีมากขึ้น ผู้หญิงได้รับตำแหน่งที่สำคัญมากขึ้น รายาวีเชื่อมั่นว่าผู้หญิงควรมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย[18]

เพื่อรวบรวมการต่อต้านรัฐบาลอิหร่านอย่างมีประสิทธิภาพ PMOI จัดตั้งองค์กรที่เรียกว่าสภาแห่งชาติเพื่อการป้องกันอิหร่าน (NCRI) ซึ่งกล่าวอ้างว่าในช่วง 25 ปีมานี้ มีสมาชิกสภาพลัดถิ่นถึง 540 คน โดยมาจากการเลือกตั้งอย่างเสรี มีความเท่าเทียมกันทางเพศ ทางเชื้อชาติและศาสนา องค์กรนี้สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีและสันติภาพในตะวันออกกลาง หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐกล่าวว่าสภาแห่งชาติเพื่อการป้องกันอิหร่านนี้ไม่ใช่องค์กรอิสระแต่เป็นหน่วยงานหนึ่งของขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านและอาจเป็นองค์กรแม่ขององค์กรอื่น ๆ เช่น พรรคประชาธิปไตยเคอร์ดิสถานแห่งอิหร่าน

แรงกดดันภายใต้รัฐบาลอิสลาม

หลังจากที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติอิหร่าน พ.ศ. 2522 ในการปลุกระดมคนงาน นักศึกษา และกองทัพรุ่นหนุ่ม PMOI กลายเป็นองค์กรที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล รัฐบาลของโคไมนีพยายามควบคุมและจับกุมสมาชิกของกลุ่ม คาดว่ามีสมาชิก PMOI ราว 100 คนถูกฆ่าระหว่าง พ.ศ. 2522–2524 และมีผู้ถูกจับกุมราว 3,000 คน[19] กลุ่ม MKO โจมตีรัฐบาลที่สำคัญสองครั้งคือเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 โจมตีที่ทำการพรรคสาธารณรัฐอิสลาม มีผู้เสียชีวิตราว 70 คน อีก 2 เดือนต่อมา กลุ่ม MKO วางระเบิดทำเนียบรัฐบาล สังหารนายกรัฐมนตรี โมฮัมหมัด ยาวาด บาโฮนาร์

กลุ่ม PMOI ย้ายฐานที่ตั้งไปอยู่ฝรั่งเศสจนถึง พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นปีที่มีปัญหาระหว่างปารีสและเตหะราน รวมทั้งฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวข้องกับวิกฤติการณ์ในเลบานอน PMOI จึงย้ายฐานที่มั่นไปอยู่ที่อิรัก โดยได้รับการสนับสนุนจากซัดดัม ฮุสเซน นักโทษการเมืองในสังกัด MEK และอื่น ๆ ถูกสังหารมากกว่า 30,000 คน ในช่วง พ.ศ. 2531

ความเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส

ใน พ.ศ. 2529 หลังจากนายกรัฐมนตรี ฌาก ชีรักทำข้อตกลงกับเตหะราน เกี่ยวกับการปล่อยตัวประกันชาวฝรั่งเศสที่ถูกฮิซบุลลอหฺจับตัวไปในเลบานอน PMOI ถูกบีบให้ออกจากฝรั่งเศสไปอยู่ที่อิรักแทน

ความเกี่ยวข้องกับอิรักในสมัยซัดดัม ฮุสเซน

MKO ได้ย้ายฐานที่มั่นมายังอิรัก ตามหลักฐานของสหรัฐอเมริกา MKO ได้รับการสนับสนุนทางทหารทั้งหมดและความช่วยเหลือทางการเงินส่วนใหญ่จากอิรัก จนถึง พ.ศ. 2546 ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามอิรัก-อิหร่านระหว่าง พ.ศ. 2523–2531 MKO ได้รับอาวุธจากแบกแดดเพื่อไปสู้รบกับอิหร่าน ทำให้ MKO ตัดสินใจย้ายฐานที่มั่นมาอยู่ในอิรักและสูญเสียผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ในอิหร่าน[20][21] อย่างไรก็ตาม MKO ประกาศว่าพวกเขาเป็นอิสระจากอิรัก เพียงแต่เลือกยืนอยู่ข้างอิรักในสงครามอิรัก-อิหร่านเท่านั้น

ตามเอกสารของสหรัฐ PMOI ยังช่วยเหลือกลุ่มพิทักษ์สาธารณรัฐของอิรักในการกดดันและต่อต้านการลุกฮือของชาวเคิร์ดและชาวชีอะห์หลังสงครามอ่าวเปอร์เซีย พ.ศ. 2534 นอกจากนั้น MKO ยังเกี่ยวข้องกับกับการลอบสังหารตัวแทนทางทหารและการเมืองของสาธารณรัฐอิสลาม เช่น การลอบสังหารนายพล อาลี ไซยาด ชิราฮี เมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2542

หลังการรุกรานอิรัก พ.ศ. 2546

หลังการรุกรานอิรัก ค่ายของ MEK ถูกระเบิดเพราะเป็นพันธมิตรของซัดดัม ฮุสเซน ในวันที่ 15 เมษายน ผู้นำ MEK ไปเจรจาสงบศึกกับรัฐบาลผสม สหรัฐรายงานว่าจับนักรบของ MEK ได้ 6,000 คนและยึดอาวุธได้มากกว่า 2,000 ชิ้น นักรบของ MEK เป็นบุคคลที่ต้องคุ้มครองตามข้อตกลงเจนีวา ได้จัดให้พักอยู่ต่างหากในค่ายผู้อพยพและควบคุมโดยทหารบัลแกเรีย

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ตำรวจฝรั่งเศสได้จับกุมสมาชิก PMOI ซึ่งต้องสงสัยว่าจะมาตั้งฐานปฏิบัติการในฝรั่งเศสได้

ปฏิบัติการ

ใช้การรณรงค์ต่อต้านรัฐบาลอิหร่านไปทั่วโลกและใช้วิธีก่อการร้าย มีการสังหารพลเรือนและทหารสหรัฐในกรุงเตหะราน สนับสนุนการบุกยึดสถานทูตสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2522 และลอบวางระเบิดสำนักงานใหญ่ของพรรคสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเมื่อ พ.ศ. 2524 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 70 คน ต่อมาใน พ.ศ. 2534 กลุ่มนี้ได้ร่วมมือกับรัฐบาลอิรักในการปราบปรามกลุ่มมุสลิมนิกายชีอะหฺและชาวเคิร์ด พ.ศ. 2535 ได้เข้าทำลายสถานทูตอิหร่านพร้อมกัน 13 ประเทศ และในระหว่าง พ.ศ. 2543–2544 ได้โจมตีหน่วยงานของรัฐบาลอิหร่านตามแนวพรมแดนอิหร่าน–อิรัก

สมาชิก

มีนักรบประมาณ 1,000 คน กระจายอยู่ในอิรัก โดยได้รับการสนับสนุนจากอิรักและชาวอิหร่านในต่างแดน ขบวนการประชาชนมุญาฮิดีนอิหร่านกล่าวอ้างว่ามีทหาร 30,000–50,000 คน ที่เป็นกองกำลังติดอาวุธ มีฐานที่มั่นในอิรัก ส่วนสมาชิกทั่วไปคาดว่ามีประมาณ 15,000–20,000 คน

เชิงอรรถ

อ้างอิง

  • ดลยา เทียนทอง. ปฐมบทการก่อการร้าย. กทม: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550 หน้า 78–79
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง