ซีเกมส์

มหกรรมการแข่งขันกีฬา

ซีเกมส์ (อังกฤษ: South-East Asian Games; ชื่อย่อ: SEA Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดแบบปีเว้นปี ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย

ซีเกมส์
สัญลักษณ์ซีเกมส์ โดยในปัจจุบันมี 11 ห่วง ซึ่งหมายถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ธงของสมาพันธ์ซีเกมส์
ชื่อย่อSEA Games
ก่อตั้งกีฬาแหลมทอง 1959
กรุงเทพฯ
จัดขึ้นทุก2 ปี (ปีเว้นปี)
ครั้งต่อไปซีเกมส์ 2025
กรุงเทพฯชลบุรีสงขลา
วัตถุประสงค์กีฬาสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สำนักงานใหญ่154 สนามกีฬาแห่งชาติ
ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ประธานจารึก อารีราชการัณย์
เว็บไซต์SEAGFoffice.org

ประเทศสมาชิกแสดงด้วยสีเขียวบนแผนที่

ซีเกมส์เป็น 1 ใน 5 กีฬาภูมิภาคของโอซีเอ โดยอีก 4 ภูมิภาคคือ กีฬาภูมิภาคเอเชียกลาง, กีฬาภูมิภาคเอเชียใต้, กีฬาภูมิภาคเอเชียตะวันตกและกีฬาเยาวชนเอเชียตะวันออก[1]

ประวัติ

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 องค์กรการกีฬา ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียวของญี่ปุ่น ร่วมกันจัดการประชุม เพื่อก่อตั้งองค์กรการกีฬาในระดับภูมิภาค โดยหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อดีตรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย และผู้ก่อตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (การกีฬาแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน) เสนอว่าควรจัดการแข่งขันกีฬา ระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสนับสนุนความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

สหพันธ์กีฬาแหลมทอง (SEAP Games Federation) จึงถือกำเนิดขึ้น โดยมีคณะกรรมการสมาชิกผู้ก่อตั้งประกอบด้วย ประเทศไทย มลายา เวียดนามใต้ ราชอาณาจักรลาว พม่า และ กัมพูชา (หลังจากนั้น สิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วย) โดยตกลงร่วมกันว่า จะจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างภูมิภาคขึ้นในทุกสองปี คือกีฬาแหลมทอง (Southeast Asian Peninsular Games) หรือ เซียปเกมส์ (SEAP Games) ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครของไทย ระหว่างวันที่ 12 – 17 ธันวาคม พ.ศ. 2502 โดยมีเจ้าหน้าที่และนักกีฬา จากประเทศไทย มลายา สิงคโปร์ เวียดนามใต้ ลาว และพม่า เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา 12 ชนิด รวมทั้งสิ้น 527 คน สำหรับกัมพูชา เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2504

จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 สมาพันธ์กีฬาแหลมทองประกาศเปลี่ยนชื่อเป็น สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ซีเกมส์ ดังที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน พร้อมทั้งมีมติให้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ บรูไน เข้าเป็นสมาชิกและกรรมการสมาพันธ์อย่างเป็นทางการ จึงได้สิทธิเข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่ 9 ที่กัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย เป็นครั้งแรกด้วย และในปี พ.ศ. 2546 สมาพันธ์ฯ มีมติให้ ติมอร์-เลสเต เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในซีเกมส์ครั้งที่ 22 ที่ฮานอยของเวียดนาม

สำนักงาน

สมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 154 กรีฑาสถานแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และประกอบพิธีเปิดเมื่อปี พ.ศ. 2552 ในวาระครบรอบ 48 ปีของซีเกมส์ โดยนับตั้งแต่การแข่งขันกีฬาแหลมทองเป็นต้นมา

ประเทศสมาชิก

ชาติตามเอ็นโอซีชื่ออย่างเป็นทางการปีที่เข้าร่วมรหัสไอโอซีรหัสในอดีต
 กัมพูชาราชอาณาจักรกัมพูชา2504CAMKHM
 ลาวสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว2504LAO
 มาเลเซียสหพันธรัฐมาเลเซีย2504MASMAL, MYS (ISO)
 พม่าสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา2504MYABIR, MMR (ISO)
 สิงคโปร์สาธารณรัฐสิงคโปร์2504SGPSIN
 ไทยราชอาณาจักรไทย2504THA
 เวียดนามสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม2504VIEVET, VNM (ISO)
 บรูไนเนอการาบรูไนดารุซซาลาม2520BRUBRN (ISO)
 อินโดนีเซียสาธารณรัฐอินโดนีเซีย2520INAIHO, IDN (ฟีฟ่า, ISO)
 ฟิลิปปินส์สาธารณรัฐฟิลิปปินส์2520PHIPHL (ISO)
 ติมอร์-เลสเตสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์–เลสเต2546TLSIOA

การจัดแข่งขัน

เมืองที่เป็นเจ้าภาพสูงสุด 3 ครั้งคือ กรุงเทพมหานครของไทย ในปี พ.ศ. 2502, 2510 และ 2518 นครหลวงที่เป็นเจ้าภาพมาแล้ว 2 ครั้งมี 2 เมืองคือ กรุงย่างกุ้งของพม่า ในปี พ.ศ. 2504 และ 2512 และกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2508 และ 2514 ส่วนกรุงพนมเปญของกัมพูชา เคยได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพเมื่อปี พ.ศ. 2506 แต่เนื่องจากปัญหาภายในประเทศ ก่อนแข่งขันจึงต้องประกาศยกเลิกไป

เมืองที่เป็นเจ้าภาพสูงสุดถึง 4 ครั้งคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2520, 2532, 2544 และ 2560 โดยนครหลวงที่เป็นเจ้าภาพมาแล้ว 1 ครั้งมีถึง 7 เมืองคือ กรุงเทพมหานครของไทย (พ.ศ. 2528), กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2522, 2530, 2540 และ 2554 ร่วมกับเมืองปาเล็มบัง), สิงคโปร์ (พ.ศ. 2526, 2536 และ 2558), กรุงฮานอยของเวียดนาม (พ.ศ. 2564 ร่วมกับเมืองนครโฮจิมินห์) และกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2524, 2534, 2548 และ 2562) ส่วนกรุงย่างกุ้งของพม่า เคยเป็นเจ้าภาพมาสองครั้ง ตั้งแต่ส่วนการแข่งขันในปี พ.ศ. 2556 เมียนมายังคงจัดที่นครหลวง แต่หลังจากประกาศย้ายไปยังกรุงเนปยีดอ และเปลี่ยนชื่อประเทศไปเมื่อปี พ.ศ. 2553

ขณะที่เวียดนามให้กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ เป็นเจ้าภาพร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2546 อนึ่ง ส่วนกรุงบันดาร์เซอรีเบอกาวันของบรูไน (พ.ศ. 2542), กรุงพนมเปญของกัมพูชา (พ.ศ. 2566) และนครหลวงเวียงจันทน์ของลาว (พ.ศ. 2552) เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วเมืองละหนึ่งครั้ง สำหรับกรณีประเทศไทย การแข่งขันในปี พ.ศ. 2538 จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นซีเกมส์ครั้งแรก ที่จัดแข่งขันนอกนครหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2550 จัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นซีเกมส์ครั้งที่สอง

ครั้ง
ที่
การแข่งขันเจ้าภาพเปิดโดยจำนวนเหรียญทองชนิด
กีฬา
นัก
กีฬา
ชาติ
เข้า
ร่วม
รอบ
แข่ง
ขัน
อ้าง
อิง
เมืองประเทศอันดับ 1อันดับ 2อันดับ 3
กีฬาแหลมทอง (SEAP Games)
1กีฬาแหลมทอง 1959กรุงเทพมหานคร  ไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ไทย (35) พม่า (11) มลายา (8)12N/A6518[2]
2กีฬาแหลมทอง 1961ย่างกุ้ง พม่าประธานาธิบดี วี่น-มอง พม่า (35)  ไทย (21) มลายา (16)13N/A7623[3]
3กีฬาแหลมทอง 1963พนมเปญ  กัมพูชาถูกยกเลิกเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองภายในของประเทศเจ้าภาพ
4กีฬาแหลมทอง 1965กัวลาลัมเปอร์  มาเลเซียสมเด็จพระราชาธิบดีอิสมาอิล นาซีรุดดิน ชาห์  ไทย (38)  มาเลเซีย (33)  สิงคโปร์ (18)14N/A6963[4]
5กีฬาแหลมทอง 1967กรุงเทพมหานคร  ไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ไทย (77)  สิงคโปร์ (28)  มาเลเซีย (23)16N/A6984[5]
6กีฬาแหลมทอง 1969ย่างกุ้ง พม่าประธานาธิบดี เนวี่น พม่า (57)  ไทย (32)  สิงคโปร์ (31)15N/A6920[6]
7กีฬาแหลมทอง 1971กัวลาลัมเปอร์  มาเลเซียสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์  ไทย (44)  มาเลเซีย (41)  สิงคโปร์ (32)15N/A7957[7]
8กีฬาแหลมทอง 1973สิงคโปร์  สิงคโปร์ประธานาธิบดี เบนจามิน เชียส์  ไทย (47)  สิงคโปร์ (45)  มาเลเซีย (30)16N/A71632[8]
9กีฬาแหลมทอง 1975กรุงเทพมหานคร  ไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ไทย (80)  สิงคโปร์ (38) พม่า (28)18N/A41142[9]
ซีเกมส์ (SEA Games)
10ซีเกมส์ 1977กัวลาลัมเปอร์  มาเลเซียสมเด็จพระราชาธิบดียะห์ยา เปตรา  อินโดนีเซีย (62)  ไทย (37) ฟิลิปปินส์ (31)18N/A7N/A[10]
11ซีเกมส์ 1979จาการ์ตา  อินโดนีเซียประธานาธิบดี ซูฮาร์โต  อินโดนีเซีย (92)  ไทย (50) พม่า (26)18N/A7N/A[11]
12ซีเกมส์ 1981มะนิลา ฟิลิปปินส์ประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส  อินโดนีเซีย (85)  ไทย (62) ฟิลิปปินส์ (55)18N/A7≈1800[12]
13ซีเกมส์ 1983สิงคโปร์  สิงคโปร์ประธานาธิบดี เทวัน นายัร  อินโดนีเซีย (64) ฟิลิปปินส์ (49)  ไทย (49)18N/A8N/A[13]
14ซีเกมส์ 1985กรุงเทพมหานคร  ไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  ไทย (92)  อินโดนีเซีย (62) ฟิลิปปินส์ (43)18N/A8N/A[14]
15ซีเกมส์ 1987จาการ์ตา  อินโดนีเซียประธานาธิบดี ซูฮาร์โต  อินโดนีเซีย (183)  ไทย (63) ฟิลิปปินส์ (59)26N/A8N/A[15]
16ซีเกมส์ 1989กัวลาลัมเปอร์  มาเลเซียสมเด็จพระราชาธิบดีอัซลัน มูฮิบบุดดิน ชาห์  อินโดนีเซีย (102)  มาเลเซีย (67)  ไทย (62)24N/A9≈2800[16]
17ซีเกมส์ 1991มะนิลา ฟิลิปปินส์ประธานาธิบดี คอราซอน อากีโน  อินโดนีเซีย (92) ฟิลิปปินส์ (90)  ไทย (72)28N/A9N/A[17]
18ซีเกมส์ 1993สิงคโปร์  สิงคโปร์ประธานาธิบดี วี คิม วี  อินโดนีเซีย (88)  ไทย (63) ฟิลิปปินส์ (57)29N/A9≈3000[18]
19ซีเกมส์ 1995เชียงใหม่[a]  ไทยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร  ไทย (157)  อินโดนีเซีย (77) ฟิลิปปินส์ (33)28N/A103262[19]
20ซีเกมส์ 1997จาการ์ตา  อินโดนีเซียประธานาธิบดี ซูฮาร์โต  อินโดนีเซีย (194)  ไทย (83)  มาเลเซีย (55)36490105179[20]
21ซีเกมส์ 1999บันดาร์เซอรีเบอกาวัน  บรูไนสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์  ไทย (65)  มาเลเซีย (57)  อินโดนีเซีย (44)2149010≈5000[21]
22ซีเกมส์ 2001กัวลาลัมเปอร์  มาเลเซียสมเด็จพระราชาธิบดีซาลาฮุดดีน อับดุล อาซิซ  มาเลเซีย (111)  ไทย (103)  อินโดนีเซีย (72)32490104165[22]
23ซีเกมส์ 2003ฮานอยและนครโฮจิมินห์[b]  เวียดนามนายกรัฐมนตรี ฟาน วัน ขาย  เวียดนาม (158)  ไทย (90)  อินโดนีเซีย (55)33N/A11≈5000[23]
24ซีเกมส์ 2005มะนิลา[c]  ฟิลิปปินส์ประธานาธิบดี กลอเรีย มาคาปากัล-อาร์โรโย  ฟิลิปปินส์ (113)  ไทย (87)  เวียดนาม (71)40393115336[24]
25ซีเกมส์ 2007นครราชสีมา[d]  ไทยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร  ไทย (183)  มาเลเซีย (68)  เวียดนาม (64)43436115282[25]
26ซีเกมส์ 2009เวียงจันทน์  ลาวประธานาธิบดี จูมมะลี ไซยะสอน  ไทย (86)  เวียดนาม (83)  อินโดนีเซีย (43)29372113100[26]
27ซีเกมส์ 2011ปาเล็มบังและจาการ์ตา  อินโดนีเซียประธานาธิบดี ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน  อินโดนีเซีย (182)  ไทย (109)  เวียดนาม (96)4454511≈5000[27]
28ซีเกมส์ 2013เนปยีดอ  พม่ารองประธานาธิบดี เนียน ตุน  ไทย (107)  พม่า (86)  เวียดนาม (73)37460114730[28]
29ซีเกมส์ 2015สิงคโปร์  สิงคโปร์ประธานาธิบดี โทนี ตัน เค็ง ยัม  ไทย (95)  สิงคโปร์ (84)  เวียดนาม (73)36402114370[29]
30ซีเกมส์ 2017กัวลาลัมเปอร์  มาเลเซียสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5  มาเลเซีย (145)  ไทย (72)  เวียดนาม (58)38404114646[30]
31ซีเกมส์ 2019หลายเมือง  ฟิลิปปินส์ประธานาธิบดี โรดรีโก ดูแตร์เต  ฟิลิปปินส์ (149)  เวียดนาม (96)  ไทย (92)569,840115630[31]
32ซีเกมส์ 2021[e]ฮานอย  เวียดนามประธานาธิบดี เหงียน ซวน ฟุก  เวียดนาม (205)  ไทย (92)  อินโดนีเซีย (69)405,464115467[32]
33ซีเกมส์ 2023พนมเปญ  กัมพูชาสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน  เวียดนาม (136)  ไทย (108)  อินโดนีเซีย (87)376,210116210
34ซีเกมส์ 2025กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สงขลา  ไทยพระมหากษัตริย์แห่งไทยยังไม่แข่งขัน
35ซีเกมส์ 2027รอการยืนยันที่แน่นอน  มาเลเซียยังดีเปอร์ตวนอากงยังไม่แข่งขัน
36ซีเกมส์ 2029รอการยืนยันที่แน่นอน  สิงคโปร์ประธานาธิบดีสิงคโปร์ยังไม่แข่งขัน
37ซีเกมส์ 2031[33]รอการยืนยันที่แน่นอน  ลาวประธานาธิบดีลาวยังไม่แข่งขัน
38ซีเกมส์ 2033รอการยืนยันที่แน่นอน  ฟิลิปปินส์ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ยังไม่แข่งขัน
หมายเหตุ

ชนิดกีฬา

รายชื่อกีฬาในซีเกมส์
หมวดหมู่ที่ 1หมวดหมู่ที่ 2หมวดหมู่ที่ 3
1A1Bกีฬาในโอลิมปิกกีฬาในเอเชียนเกมส์ /
เอเชียนอินดอร์และมาร์เชียลอาตส์เกมส์
กีฬาพื้นบ้าน[a]อื่น ๆ[b]
กรีฑายิงธนู
1977–1997, 2001–2021
บิลเลียด
ตั้งแต่ 1987
อาร์นิส
1991, 2005, 2019, 2023
ทวิกีฬาว่ายวิ่ง
2023
กระโดดน้ำ
ตั้งแต่ 1965
แบดมินตันเพาะกาย
1987–1993, 1997, 2003–2007, 2013, 2021
โบกาตอร์
2023
แฮนด์บอลชายหาด
2019–2021
ระบำใต้น้ำ
2001, 2011, 2015–2017
เบสบอล
2005–2007, 2011, 2019
โบว์ลิ่ง
1977–1979, 1983–2001, 2005–2007, 2011, 2015–2021
ชี่นโล่น
2013
บริดจ์
2011
ว่ายน้ำบาสเกตบอล
1979–2003, 2007, ตั้งแต่ 2011
หมากรุก
2003–2005, 2011–2013, ตั้งแต่ 2019
มวยไทย
2005–2009, 2013, 2019–2021
ทวิกีฬาปั่นวิ่ง
ตั้งแต่ 2019
โปโล
1965–2019, 2023
มวยสากลสมัครเล่นคริกเกต
2017, 2023
เรือประเพณี
1993, 1997–1999, 2003–2007, 2011–2015, 2023
ลอนโบวล์ส
1999, 2001, 2005, 2007, 2017–2019
เรือแคนู
1985, 1995, 2001, 2005–2007, 2011–2015, 2019–2021
ลีลาศ
2005–2009, ตั้งแต่ 2019
เคนโป
2011–2013
วิ่งฝ่าอุปสรรค
2019, 2023
จักรยาน
1959–1979, ตั้งแต่ 1983
อีสปอร์ต
ตั้งแต่ 2019
กุนเขมร
2023
โปโล
2007, 2017–2019
ขี่ม้า
1983, 1995, 2001, 2005–2007, 2011–2017
ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง
2003, 2009–2011, ตั้งแต่ 2021
สกีน้ำ
1987, 1997, 2011, 2015–2019
ฟันดาบ
2003–2007, 2011, ตั้งแต่ 2015
ฟลอร์บอล
2015, 2019, 2023
ฮอกกี้
1971–1979, 1983, 1987–1989, 1993–2001, 2007, 2013–2017, 2023
ฟุตซอล
2007, 2011–2013, 2017, 2021
ฟุตบอลฮอกกี้ในร่ม
2017–2019, 2023
กอล์ฟ
1985–1997, 2001, ตั้งแต่ 2005
ยิวยิตสู
ตั้งแต่ 2019
ยิมนาสติก
1979–1981, 1985–1997, 2001–2007, 2011, ตั้งแต่ 2015
คิกบ็อกซิง
ตั้งแต่ 2019
แฮนด์บอล
2005–2007, 2021
คูราช
2019–2021
ยูโด
1967–1997, ตั้งแต่ 2001
เนตบอล
2001, 2015–2019
คาราเต้
1985–1991, 1995–1997, 2001–2013, ตั้งแต่ 2017
ร่มร่อน
2011
ปัญจกีฬาสมัยใหม่
2019
ปันจักสีลัต
1987–1989, 1993–1997, ตั้งแต่ 2001
เรือพาย
1989–1991, 1997, 2001–2007, 2011–2015, ตั้งแต่ 2019
เปตอง
ตั้งแต่ 2001
รักบี้ 7 คน
2015–2019
กีฬาโรลเลอร์
2011
เรือใบ
1961, 1967–1971, 1975–1977, 1983–1997, 2001, 2005–2007, 2011–2019, 2023
รักบี้ยูเนียน
1969, 1977–1979, 1995, 2007
ยิงปืน
1959–2021
ซามบะ
2019
สเกตบอร์ด
2019
เซปักตะกร้อ
1967–1969, ตั้งแต่ 1973
ซอฟต์บอล
1981–1983, 1989, 2003–2005,
2011, 2015, 2019
เตะลูกขนไก่
2007–2009
ปีนผา
2011
ซอฟท์เทนนิส
2011, 2019, 2023
โต้คลื่น
2019
สควอช
1991–2001, 2005–2007, 2015–2019
เทเบิลเทนนิสโววีนัม
2011–2013, ตั้งแต่ 2021
เทควันโด
ตั้งแต่ 1985
วูซู
1991–1993, 1997, ตั้งแต่ 2001
เทนนิส
1959–2011, ตั้งแต่ 2015
หมากรุกจีน
ตั้งแต่ 2021
ไตรกีฬา
2005–2007, ตั้งแต่ 2015
วอลเลย์บอล
1959–1997, ตั้งแต่ 2001
ยกน้ำหนัก
1959–1997, 2001–2013, ตั้งแต่ 2017
มวยปล้ำ
1987, 1997, 2003–2013, ตั้งแต่ 2019
สเกตลีลา
2017–2019
ฮอกกี้น้ำแข็ง
2017–2019
สปีดสเกตลู่สั้น
2017–2019

สรุปเหรียญรางวัลตลอดกาล

เหรียญรางวัลซีเกมส์ตลอดกาล
ลำดับที่คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทองเงินทองแดงรวม
1 ไทย2453212722046784
2 อินโดนีเซีย1980187619705826
3 มาเลเซีย1376136318724611
4 เวียดนาม1269109712213587
5 ฟิลิปปินส์1180134617024228
6 สิงคโปร์1045109015003635
7 พม่า59478410952473
8 กัมพูชา159202425786
9 ลาว77122412611
10 บรูไน1757170244
11 ติมอร์-เลสเต393951
รวม (11 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ)10153100731261032836

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง