ประเทศกาตาร์

ประเทศในตะวันออกกลาง
(เปลี่ยนทางจาก กาตาร์)

25°30′N 51°15′E / 25.500°N 51.250°E / 25.500; 51.250

รัฐกาตาร์

دولة قطر (อาหรับ)
Dawlat Qaṭar
สถานที่ตั้งและขอบเขตของประเทศกาตาร์ (สีเขียวเข้ม) ในคาบสมุทรอาหรับ
สถานที่ตั้งและขอบเขตของประเทศกาตาร์ (สีเขียวเข้ม) ในคาบสมุทรอาหรับ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
โดฮา
25°18′N 51°31′E / 25.300°N 51.517°E / 25.300; 51.517
ภาษาราชการอาหรับ[1]
ภาษาทั่วไปอังกฤษ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2015)[2]
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[3]
เดมะนิมชาวกาตาร์
การปกครองรัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์[4]
ตะมีม บิน ฮะมัด
โมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน บิน จัสซิม อัล ธานี
สภานิติบัญญัติสภาที่ปรึกษา
ก่อตั้ง
• วันชาติกาตาร์
18 ธันวาคม ค.ศ. 1878
• ประกาศเอกราช

1 กันยายน ค.ศ. 1971
• เป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร

3 กันยายน ค.ศ. 1971
พื้นที่
• รวม
11,581 ตารางกิโลเมตร (4,471 ตารางไมล์) (อันดับที่ 158)
0.8
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
2,795,484[5] (อันดับที่ 139)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2010
1,699,435[6]
176 ต่อตารางกิโลเมตร (455.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 76)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
357.338 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 51)
138,910 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 4)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2018 (ประมาณ)
• รวม
183.807 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 56)
66,202 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 6)
จีนี (ค.ศ. 2007)41.1[8]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)Steady 0.848[9]
สูงมาก · อันดับที่ 45
สกุลเงินริยาลกาตาร์ (QAR)
เขตเวลาUTC+3 (เวลามาตรฐานอาหรับ)
ขับรถด้านขวา[10]
รหัสโทรศัพท์+974
โดเมนบนสุด

กาตาร์ (อาหรับ: قطر‎ [ˈqɑtˁɑr]; สำเนียงพื้นเมือง: [ˈɡɪtˤɑr])[11][12] หรือชื่อทางการคือ รัฐกาตาร์ (อาหรับ: دولة قطر) เป็นประเทศที่ปกครองโดยเจ้าผู้ครองรัฐในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนคาบสมุทรขนาดเล็กที่แตกมาจากคาบสมุทรอาหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้[13][14][15][16][17] มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และมีชายฝั่งริมอ่าวเปอร์เซีย

ใน ค.ศ. 2017 ประชากรทั้งหมดของกาตาร์อยู่ที่ประมาณ 2.6 ล้านคน โดยเป็นพลเมืองกาตาร์เพียง 313,000 คน และเป็นชาวต่างชาติ มากถึง 2.3 ล้านคน[18] ศาสนาประจำชาติของกาตาร์คือศาสนาอิสลาม กาตาร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก[19][20] โดยในแง่ของรายได้ กาตาร์มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อหัวสูงที่สุดเป็นอันดับสามของโลก[21] และมีรายได้ประชาชาติ (GNI) ต่อหัวสูงที่สุดเป็นอันดับหก[22] องค์การสหประชาชาติจัดอันดับให้กาตาร์เป็นประเทศที่มีอัตราการพัฒนาคุณภาพประชากรในระดับสูง[23] โดยมี ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) สูงเป็นอันดับสามในบรรดากลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดีอาระเบีย กาตาร์เป็นประเทศเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงและเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก โดยมีแหล่งสำรองแก๊สธรรมชาติและปริมาณน้ำมันสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และยังเป็นประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดชาติหนึ่งในโลก[24]

กาตาร์ถูกปกครองโดยราชวงศ์อัษษานีนับตั้งแต่มุฮัมมัด บิน อัษษานี ลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษใน ค.ศ. 1868 ภายหลังการปกครองของตุรกีโดยจักรวรรดิออตโตมัน กาตาร์อยู่ภายใต้ความคุ้มครองอังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1971 ประมุขของกาตาร์เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากการปกครองระบอบเผด็จการ (ปัจจุบันคือตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี) และมีอำนาจบริหารและนิติบัญญัติทั้งหมด รวมทั้งควบคุมระบบตุลาการ เขายังทำการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีด้วยตนเอง การเลือกตั้งและสิทธิทางการเมืองรวมถึงเสรีภาพของสื่อภายในประเทศยังถูกจำกัดสิทธิ์[25][26][27]

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 กาตาร์กลายเป็นชาติมหาอำนาจที่สำคัญในโลกอาหรับในด้านทรัพยากรและความมั่งคั่ง เช่นเดียวกับการมีอิทธิพลทางสื่อที่ขยายตัวไปทั่วโลก โดยเครือข่ายที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคืออัลญะซีเราะฮ์หรือแอลจาซีรา ซึ่งมีรายงานว่าให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มกบฏหลายกลุ่ม กาตาร์ถูกมองว่าเป็นชาติมหาอำนาจระดับกลาง กาตาร์จะได้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกสองรายการในอนาคตได้แก่ ฟุตบอลโลก 2022 โดยพวกเขาจะถือเป็นประเทศมุสลิมและประเทศตะวันออกกลางชาติแรกที่ได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลก[28] และการแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2030 จะจัดขึ้นที่กาตาร์เช่นกัน[29]

ประวัติศาสตร์

ป้อมปราการซูบารา

กาตาร์เคยอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลโดยได้ทำสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) กับกาตาร์มีผลทำให้กาตาร์อยู่ภายใต้การคุ้มครองของอังกฤษ โดยอังกฤษดูแลกิจการระหว่างประเทศของกาตาร์และต้องป้องกันกาตาร์จากการถูกรุกรานจากภายนอก และต่อมาสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) ได้ขยายการคุ้มครองของอังกฤษออกไปทุก ๆ ด้าน

ในปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) รัฐบาลอังกฤษประกาศจะถอนตัวออกจากภูมิภาค อ่าวเปอร์เซียภายในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กาตาร์จึงพยายามรวมตัวเป็นสหพันธรัฐกับบาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ กาตาร์เป็นเอกราชเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) โดยอังกฤษได้ยกเลิกสนธิสัญญาปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) และได้มีการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างกันแทน

ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) Shaikh Khalifa Bin Hamad Al – Thani ได้ทำรัฐประหารสำเร็จโดยปราศจากการนองเลือด และต่อมา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) Shaikh Hamad Bin Khalifa Al – Thani พระโอรส ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารของกาตาร์ ก็ได้ยึดอำนาจการปกครองและตั้งตนขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองรัฐองค์ใหม่

การเมือง

ระบบการเมืองของกาตาร์เป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่มีประมุขของกาตาร์เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ภายใต้การลงประชามติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2003 กลายเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 Emir Hamad bin Khalifa Al Thani ประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาที่ปรึกษาแห่งกาตาร์เป็นครั้งแรก โดยมีแผนจะเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2013 แต่ภายหลังเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด[30]

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงเทศบาลของประเทศกาตาร์นับตั้งแต่ ค.ศ. 2014

นับตั้งแต่ ค.ศ. 2014 กาตาร์ถูกแบ่งออกเป็น 8 เทศบาล (บะละดียะฮ์)[31]

  1. อัชชะมาล
  2. อัลเคาร์
  3. อัชชะฮานียะฮ์
  4. อุมม์เศาะลาล
  5. อัฎเฎาะอายิน
  6. โดฮา
  7. อัรร็อยยาน
  8. อัลวักเราะฮ์

ในด้านสถิติ เทศบาลแบ่งออกเป็น 98 เขต (ใน ค.ศ. 2015)[32] ซึ่งแบ่งออกเป็นแขวงและบล็อก[33]

อดีตเทศบาล

  • อัลญุมัยลียะฮ์ (จนถึง ค.ศ. 2004)[34]
  • อัลฆุวัยรียะฮ์ (จนถึง ค.ศ. 2004)[34]
  • ญะเราะยานุลบาฏินะฮ์ (จนถึง ค.ศ. 2004)[34]
  • มิซัยอีด (จนถึง ค.ศ. 2006)[35]

ภูมิศาสตร์

ทะเลทรายในประเทศกาตาร์

กาตาร์มีภูมิประเทศแบบแหลมที่ยื่นออกไปในอ่าวเปอร์เซีย เรียกกันว่า ไข่มุกแห่งเปอร์เซีย ด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยทะเล ด้านทิศใต้ ติดประเทศซาอุดีอาระเบีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย อยู่ระหว่างเส้นรุ้ง 24 °และ 27 ° N, และลองจิจูด 50 °และ 52 °E จุดที่สูงที่สุดในกาตาร์เป็น Qurayn Abu al Bawl สูง 103 เมตร (338 ฟุต)[36] ใน Jebel Dukhan ทางทิศตะวันตก

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของประเทศกาตาร์
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)22
(72)
23
(73)
27
(81)
33
(91)
39
(102)
42
(108)
42
(108)
42
(108)
39
(102)
35
(95)
30
(86)
25
(77)
33.3
(91.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)14
(57)
15
(59)
17
(63)
21
(70)
27
(81)
29
(84)
31
(88)
31
(88)
29
(84)
25
(77)
21
(70)
16
(61)
23
(73.4)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)12.7
(0.5)
17.8
(0.701)
15.2
(0.598)
7.6
(0.299)
2.5
(0.098)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
2.5
(0.098)
12.7
(0.5)
71
(2.795)
แหล่งที่มา: http://us.worldweatheronline.com/doha-weather-averages/ad-dawhah/qa.aspx
ข้อมูลภูมิอากาศทะเลในโดฮา
เดือนมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคมเมษายนพฤษภาคมมิถุนายนกรกฎาคมสิงหาคมกันยายนตุลาคมพฤศจิกายนธันวาคมทั้งปี
อุณหภูมิทะเลโดยเฉลี่ย °C (°F)21.0
(69.8)
19.4
(66.9)
20.9
(69.6)
23.3
(73.9)
27.8
(82)
30.5
(86.9)
32.4
(90.3)
33.6
(92.5)
32.8
(91)
30.8
(87.4)
27.5
(81.5)
23.5
(74.3)
26.9
(80.5)
ข้อมูล:[37]

เศรษฐกิจ

โดฮา เมืองหลวงของกาตาร์
  • อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 3.64 ริยัล หรือประมาณ 9 บาท
  • GDP ประมาณ 20.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2004)
  • รายได้ต่อหัว 30,410 ดอลลาร์สหรัฐ (2003) สูงสุดในกลุ่มประเทศอาหรับ
  • ผลิตน้ำมันได้วันละ 928,055 บาร์เรลต่อวัน (2003)
  • ปริมาณน้ำมันดิบสำรอง 15.2 พันล้านบาร์เรล (2003)
  • ปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรอง 509 ล้านล้านลูกบาศ์กฟุต (2003)
  • ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และทรัพยากรประมง
  • สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ปุ๋ย เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
  • สินค้าเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารและเสื้อผ้า
  • ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้

การคมนาคม

เรือเฟอร์รี่ในกาตาร์

การคมนาคมหลักในกาตาร์คือถนน เนื่องจากราคาที่ถูกมากจากปิโตรเลียม ประเทศที่มีระบบถนนที่ทันสมัย​​ด้วยการอัพเกรดมากมายเป็นผลในการตอบสนองต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประเทศ กับทางหลวงหลายกระบวนการอัพเกรดและทางด่วนใหม่ที่กำลังทำการก่อสร้าง เครือข่ายรถบัสขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อโดฮากับเมืองอื่น ๆ ในประเทศ และยังเป็นการคมนาคมหลักในกาตาร์อีกด้วย

ขณะนี้ยังไม่มีเครือข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ลงสัญญารับจ้างสร้างทางรถไฟกับประเทศเยอรมนีแล้ว

ท่าอากศยานหลักของกาตาร์คือ ท่าอากาศยานนานาชาติโดฮา มีผู้โดยสารเกือบ 15,000,000 คน ใน ค.ศ. 2007

สิ่งก่อสร้าง

มีสิ่งก่อสร้างมากมายในกรุงโดฮา สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในในโดฮา คือ แอสไพร์ทาวเวอร์ สูง 300 เมตร

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมกาตาร์มีความคล้ายกับประเทศอื่น ๆ ในอาระเบียตะวันออก วันชาติกาตาร์ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 18 ธันวาคม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอัตลักษณ์ของชาติ[38] โดยเป็นการรำลึกการครองราชย์ของกอซิม บิน มุฮัมมัด อัษษานีและการรวมชนเผ่าต่าง ๆ ให้เป็นหนึ่ง[39][40]

ประชากร

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±%
195025,000—    
196047,000+88.0%
1970110,000+134.0%
1980224,000+103.6%
1990476,000+112.5%
2000592,000+24.4%
20101,856,000+213.5%
20192,832,000+52.6%
source:[41]

ปัจจุบัน กาตาร์มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน เชื้อชาติต่าง ๆ ในประเทศกาตาร์มีดังนี้: กาตาร์ 20%, อาหรับ 20%, อินเดีย 20%, ฟิลิปปินส์ 10%, เนปาล 13%, ปากีสถาน 7%, ศรีลังกา 5% และอื่น ๆ 5%[42]

ศาสนา

ศาสนาในกาตาร์[43]
ศาสนา%
อิสลาม
  
77.5%
คริสต์
  
8.5%
อื่น ๆ
  
14%
ไม่ระบุ
  
10%

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาหลักของกาตาร์และมีสถานะเป็นทางการ แม้ว่าจะไม่ใช่ศาสนาเดียวที่มีผู้ปฏิบัติในประเทศ[44] พลเมืองกาตาร์ส่วนใหญ่ร่วมในขบวนการมุสลิมซาลาฟีของลัทธิวะฮาบีย์[45][46][47] และระหว่าง 5–15% ของชาวมุสลิมในกาตาร์นับถือนิกายชีอะห์ สำหรับมุสลิมนิกายอื่น ๆ มีจำนวนน้อยมาก[48] ในปี 2553 ประชากรของกาตาร์เป็นมุสลิม 67.7%, คริสเตียน 13.8%, ฮินดู 13.8% และพุทธ 3.1% ที่เหลือเป็นผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ และคนที่ไม่ระบุศาสนา คิดเป็น 1.6%[49] กฎหมายชารีอะห์เป็นแหล่งที่มาหลักของการออกกฎหมายกาตาร์ตามรัฐธรรมนูญของกาตาร์[50][51]

วิสัยทัศน์ของกระทรวงศาสนสมบัติและกิจการศาสนาอิสลาม (กาตาร์) คือ "การสร้างสังคมอิสลามร่วมสมัยควบคู่ไปกับการส่งเสริมชารีอะห์ และมรดกทางวัฒนธรรม"[52]

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง