ประเทศบอตสวานา

24°39.5′S 25°54.5′E / 24.6583°S 25.9083°E / -24.6583; 25.9083

สาธารณรัฐบอตสวานา

Lefatshe la Botswana (สวานา)
Republic of Botswana (อังกฤษ)
ตราแผ่นดินของบอตสวานา
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Pula" (สวานา)
"ฝน"
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
กาโบโรเน
24°39.5′S 25°54.5′E / 24.6583°S 25.9083°E / -24.6583; 25.9083
ภาษาราชการ
กลุ่มชาติพันธุ์
(2012[1])
  • 79% สวานา
  • 3% ซาน
  • 7% อื่น ๆ (รวม Kgalagadi, อินเดีย และชนผิวขาว)
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคเด่น สาธารณรัฐระบบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหาร[3][4]
มูเควตซี มาซีซี[5]
• รองประธานาธิบดี
Slumber Tsogwane
• National Assembly Speaker
Phandu Skelemani
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช 
• ก่อตั้ง (รัฐธรรมนูญ)
30 กันยายน ค.ศ. 1966
พื้นที่
• รวม
581,730 ตารางกิโลเมตร (224,610 ตารางไมล์)[6] (อันดับที่ 47)
2.7
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
2,250,260[7] (อันดับที่ 145)
• สำมะโนประชากร 2011
2,024,904
3.7 ต่อตารางกิโลเมตร (9.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 231)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
43.389 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (120)
$18,113[8] (99)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
18.726 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8] (120)
7,817 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (101)
จีนี (2015)positive decrease 53.3[10]
สูง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.735[11]
สูง · อันดับที่ 100
สกุลเงินปูลา (BWP)
เขตเวลาUTC+2 (เวลาแอฟริกากลาง[12])
รูปแบบวันที่ปปปป-ดด-วว
วว/ดด/ปปปปa
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+267
โดเมนบนสุด.bw
เว็บไซต์
www.gov.bw
  1. ปปปป-ดด-วว ในภาษาสวานา; วว/ดด/ปปปป ในภาษาอังกฤษ

บอตสวานา (อังกฤษและสวานา: Botswana) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบอตสวานา (อังกฤษ: Republic of Botswana; สวานา: Lefatshe la Botswana) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้ และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตดังนี้ ทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ ทิศตะวันตกติดกับประเทศนามิเบีย ทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศซิมบับเว

ภูมิศาสตร์

แผนที่ประเทศบอตสวานา
เลชเวในโอคาวันโกเดลตา

บอตสวานามีพื้นที่ 600,370 ตารางกิโลเมตรและใหญ่เป็นอันดับที่ 45 ของโลก (มีขนาดใกล้เคียงกับประเทศมาดากัสการ์) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และพื้นดินกว่าร้อยละ 70 ถูกครอบคลุมโดยทะเลทรายกาลาฮารี บอตสวานามีโอคาวันโกเดลตาซึ่งเป็นพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ทางตะวันตก และมัคกาดิคกาดี ซึ่งเป็นทะเลสาบเกลือที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ทางตอนเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลิมโปโป ซึ่งเป็นภูมิลักษณ์ของพื้นที่ส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้ แม่น้ำโชบีอยู่ทางเหนือของประเทศและเป็นเขตพรมแดนกั้นระหว่างบอตสวานาและนามิเบีย

ประวัติศาสตร์

ดินแดนนี้เป็นที่อยู่ของชาวบุชแมนมาก่อนที่ชาวบันตูจะเคลื่อนย้ายเข้ามา ในช่วงทศวรรษที่ 19 เกิดสงครามระหว่างชนพื้นเมือง โชนา ที่อาศัยอยู่ใน บัตสวานากับชนเผ่าเดเบเล่ที่อพยพมาจาก อาณานิคมในทะเลทรายกาลาฮารี ความตึงเครียดจากพวกบัวร์ในทรานสวาล พ.ศ. 2429 บอตสวานากลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษเพื่อป้องกันการโจมตีของพวกบัวร์และเยอรมัน ได้รับเอกราช เมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2509

การเมืองการปกครอง

มูเควตซี มาซีซี เป็นประธานาธิบดีของบอตสวานามาตั้งแต่ปี 2562

บอตสวานาเป็นสาธารณรัฐแบบรัฐสภาที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งบอตสวานา และเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ต่อเนื่องยาวนานที่สุดในแอฟริกา[13] [14] ที่ตั้งของรัฐบาลอยู่ในกาโบโรเน[15] สถาบันการปกครองของบอตสวานาก่อตั้งขึ้นหลังจากกลายเป็นประเทศเอกราชในปี 2509 โครงสร้างการปกครองของบอตสวานามีพื้นฐานอยู่บนทั้งระบบเวสต์มินสเตอร์ของสหราชอาณาจักรและรัฐบาลชนเผ่าของชาวสวานา[13] บอตสวานามีรัฐบาลรวมศูนย์ซึ่งกฎหมายของประเทศเข้ามาแทนที่กฎหมายท้องถิ่น[16] กฎหมายท้องถิ่นได้รับการพัฒนาโดยสภาท้องถิ่นและสภาเขต[17] บอตสวานาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากรัฐบาลชนเผ่า ซึ่งนำโดยหัวหน้าเผ่า[17]

รัฐสภาบอตสวานาประกอบด้วยรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่เป็นสภานิติบัญญัติอย่างเป็นทางการของประเทศ และ Ntlo ya Dikgosi ซึ่งเป็นองค์กรที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยหัวหน้าชนเผ่าและสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งอื่นๆ[18] ฝ่ายบริหารของบอตสวานานำโดยประธานาธิบดีบอตสวานา ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล.[13] สมาชิกรัฐสภาเลือกประธานาธิบดี จากนั้นประธานาธิบดีจะแต่งตั้งรองประธานาธิบดีและสมาชิกคณะรัฐมนตรี[19] ประธานาธิบดีมีอำนาจสำคัญในบอตสวานา และสภานิติบัญญัติมีอำนาจเพียงเล็กน้อยในการตรวจสอบประธานาธิบดีเมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว[20][21] ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยศาลสูงแห่งบอตสวานา ศาลอุทธรณ์ และศาลผู้พิพากษา[22]คดีต่างๆ มักจะได้รับการตัดสินโดยศาลตามธรรมเนียมซึ่งมีหัวหน้าเผ่าเป็นประธาน[17]


การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศบอตสวานาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขต (district) ได้แก่

  1. เขตเซนทรัล
  2. เขตกาฮันซี
  3. เขตคกาลากาดี
  4. เขตคกาตเลง
  5. เขตคเวเนง
  6. เขตนอร์ทอีสต์
  7. เขตนอร์ทเวสต์
  8. เขตเซาท์อีสต์
  9. เขตเซาเทิร์น
  10. เขตโชเบ

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

ตั้งแต่ได้รับเอกราช บอตสวานาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเจริญเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงที่สุดในโลก[23] และสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นจากหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกมาเป็นประเทศรายได้ระดับกลางซึ่งมีจีดีพีเฉลี่ย (PPP) 16,516 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 [24] มีการประเมินว่าบอตสวานามีรายได้มวลรวมประชาชาติโดยวัดจากความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อสูงเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา ทำให้มีมาตรฐานการครองชีพใกล้เคียงกับเม็กซิโกและตุรกี[25]

จากสถิติของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ บอตสวานามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ตั้งแต่ปี 2509 ถึง 2542 บอตสวานามีเสรีภาพทางเศรษฐกิจที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศแอฟริกาอื่น ๆ[26] เป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงที่สุดในแอฟริกา และมีเงินสำรองแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2548-2549 (ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 2 ปีครึ่ง) สภาพเศรษฐกิจที่มั่นคงของบอตสวานามีรากฐานมาจากการนำรายได้จากการทำเหมืองเพชรในประเทศมาพัฒนาประเทศผ่านนโยบายทางการเงินและนโยบายต่างประเทศที่รอบคอบ[27] อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประเทศที่มีพื้นฐานจากอุตสาหกรรมเพชรนี้ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจผิดเพี้ยนในหลายรูปแบบ เช่นรัฐบาลมีอำนาจมากจนทำให้ภาคเอกชนไม่พัฒนา อัตราว่างงานสูง[28]

รัฐบาลถือหุ้นร้อยละ 50 ของเดบสวานา ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองเพชรที่ใหญ่ที่สุดในบอตสวานา.[29] อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่สร้างรายได้ให้รัฐบาลถึงร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด[30] ในต้นพุทธทศวรรษที่ 2550 มีการค้นพบแร่ยูเรเนียมในบอตสวานา[31] และโครงการเหมืองแร่ยูเรเนียมมีกำหนดจะเริ่มในปี พ.ศ. 2553 บริษัทเหมืองแร่ข้ามชาติหลายแห่งที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำพื้นที่ในบอตสวานาโดยหวังที่จะมีโอกาสทำเหมืองเพชร ทอง ยูเรเนียม ทองแดง หรือแม้แต่น้ำมัน รัฐบาลบอตสวานาประกาศเมื่อต้นปี 2552 ว่าจะพยายามลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมเพชรให้น้อยลง เนื่องจากความกังวลจากการพยากรณ์ว่าเพชรจะหมดไปจากบอตสวานาในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า

กาโบโรเน เมืองหลวงของบอตสวานา

ประชากรศาสตร์

ประชาการใรประเทศบอตสวานา[7]
ปีประชากร
19500.4
20001.7
20202.4

ในปี 2012 ชาวสวานาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในบอตสวานา ซึ่งคิดเป็นประมาณ 79% ของประชากร รองลงมาคือ Kalanga ที่ 11% และ San (Basarwa) ที่ 3% ส่วนที่เหลืออีก 7% ประกอบด้วย White Batswana/European Batswana[32]อินเดียน,[1] และกลุ่มชาติพันธุ์แอฟริกาตอนใต้เล็กๆ อีกจำนวนหนึ่ง

กลุ่มชนพื้นเมือง ได้แก่ Bayei, Bambukushu, Basubia, Baherero และ Bakgalagadi ชนกลุ่มน้อยชาวอินเดียประกอบด้วยทั้งผู้อพยพล่าสุดและลูกหลานของผู้อพยพชาวอินเดียที่มาจากโมซัมบิก เคนยา แทนซาเนีย มอริเชียส และแอฟริกาใต้

Population pyramid 2016

ตั้งแต่ปี 2000 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในซิมบับเว จำนวนชาวซิมบับเวในบอตสวานาจึงเพิ่มขึ้นเป็นหมื่นคน[33] ชาวซานไม่ถึง 10,000 คนยังคงดำเนินชีวิตตามวิถีชีวิตนักล่าและคนเก็บอาหารแบบดั้งเดิม ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 รัฐบาลกลางของบอตสวานาพยายามย้ายชาวซานออกจากดินแดนประวัติศาสตร์ของพวกเขา[34]

เชิงอรรถ

 บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ลิขสิทธิ์ภายใต้ CC BY-SA IGO 3.0 ข้อความนำมาจาก UNESCO Science Report: Towards 2030, 546–547, UNESCO, UNESCO Publishing.

อ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Charles, Thalefang (2016). Botswana's Top50 Ultimate Experiences. Mmegi Publishing House. ISBN 9789996845413.
  • Acemoglu, Daron; Johnson, Simon; Robinson, James A. (11 July 2001). "An African Success Story: Botswana". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-02-18 – โดยทาง mit.edu.
  • Cohen, Dennis L. (1979). "The Botswana Political Elite: Evidence from the 1974 General Election". Journal of Southern African Affairs. 4, 347–370.
  • Colclough, Christopher and Stephen McCarthy. The Political Economy of Botswana: A Study of Growth and Income Distribution (Oxford University Press, 1980)
  • Denbow, James & Thebe, Phenyo C. (2006). Culture and Customs of Botswana. Westport, CT: Greenwood Press. ISBN 978-0-313-33178-7.
  • Edge, Wayne A. and Mogopodi H. Lekorwe eds. Botswana: Politics and Society (Pretoria: J.L. van Schaik, 1998)
  • Good, Kenneth. "Interpreting the Exceptionality of Botswana". Journal of Modern African Studies (1992) 30, 69–95.
  • Good, Kenneth (September 1994). "Corruption and Mismanagement in Botswana: A Best-Case Example?" (PDF). Journal of Modern African Studies. 32 (3): 499–521. doi:10.1017/S0022278X00015202. eISSN 1469-7777. ISSN 0022-278X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-03. สืบค้นเมื่อ 13 July 2018 – โดยทาง harvard.edu.
  • Cunningham, A.B.; Milton, S.J. (1987). "Effects of basket-weaving industry on mokola palm and dye plants in northwestern Botswana". Economic Botany. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  • Tlou, Thomas, and Alec C. Campbell. History of Botswana (Macmillan Botswana, 1984)

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง