รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน (อาหรับ: اَلْخِلَافَةُ ٱلرَّاشِدَةُ, อักษรโรมัน: al-Khilāfah ar-Rāšidah; อังกฤษ: Rashidun Caliphate) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐแรกที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัด ปกครองโดยเคาะลีฟะฮ์ 4 พระองค์แรกของมุฮัมมัดหลังเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 (ฮ.ศ. 11) ในช่วงที่มีตัวตน จักรวรรดินี้มีกำลังทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการทหารที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเอเชียตะวันตก

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน

الخلافة الراشدة
632–661
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนในช่วงสูงสุดในรัชสมัยเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน เมื่อ ป. ค.ศ. 654
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนในช่วงสูงสุดในรัชสมัยเคาะลีฟะฮ์ อุษมาน เมื่อ ป. ค.ศ. 654
เมืองหลวงมะดีนะฮ์ (632–656)
กูฟะฮ์ (656–661)
ภาษาทั่วไปภาษาอาหรับคลาสสิก
ศาสนา
อิสลาม
การปกครองรัฐเคาะลีฟะฮ์
เคาะลีฟะฮ์ 
• 632–634
อะบูบักร์ (องค์แรก)
• 634–644
อุมัร
• 644–656
อุษมาน
• 656–661
อะลี (องค์สุดท้าย)
ประวัติศาสตร์ 
• การสืบทอดตำแหน่งของมุฮัมมัด
632
633
• อุมัรขึ้นครองราชย์
634
• การลอบสังหารอุมัรและอุษมานขึ้นครองราชย์
644
• การลอบสังหารอุษมานและอะลีขึ้นครองราชย์
656
661
• ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง (ความขัดแย้งภายใน) สิ้นสุดหลังฮะซันสละราชสมบัติ
661
พื้นที่
655[1]6,400,000 ตารางกิโลเมตร (2,500,000 ตารางไมล์)
สกุลเงิน
  • ดิรฮัม (เหรียญเงิน)
  • ฟัลส์ (เหรัยญทองแดง)
  • ดีนาร (เหรียญทอง)
ก่อนหน้า
ถัดไป
มะดีนะฮ์ของอิสลาม
จักรวรรดิไบแซนไทน์
จักรวรรดิซาเซเนียน
อัลฆ็อสซาซินะฮ์
รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์จัดตั้งขึ้นหลังมุฮัมมัดเสียชีวิตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 632 และการอภิปรายเรื่องการสืบทอดตำแหน่งผู้นำ อะบูบักร์ (ค. 632 – 634) เพื่อนในวัยเด็กและผู้ติดตามที่ใกล้ชิดของมุฮัมมัดจากตระกูลบะนูตัยม์ ได้รับเลือกเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์แรกที่มะดีนะฮ์และเริ่มต้นการพิชิตาบสมุทรอาหรับ รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดเมื่อพระองค์สวรรคตในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 634 และอุมัร (ค. 634 – 644) บุคคลที่อะบูบักร์เลือกจากบะนูอะดี ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อ ในรัชสมัยอุมัร รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้ขยายตัวในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยปกครองเหนือพื้นที่จักรวรรดิไบแซนไทน์มากกว่าสองในสาม และจักรวรรดิซาเซเนียนเกือบทั้งหมด อุมัรถูกลอบสังหารในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 644 และคณะกรรมการหกคนของอุมัรได้เลือกอุษมาน (ค. 644 – 656) สมาชิกตระกูลบะนูอุมัยยะฮ์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งต่อ ในรัชสมัยอุษมาน รัฐเคาะลีฟะฮ์พิชิตเปอร์เซียทั้งหมดใน ค.ศ. 651 และขยายไปในดินแดนไบแซนไทน์ต่อ นโยบายที่เห็นแก่ญาติของอุษมานทำให้พระองค์ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นนำมุสลิม และในที่สุดก็ถูกกลุ่มกบฏลอบสังหารในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 656

อะลี (ค. 656 – 661) สมาชิกตระกูลบะนูฮาชิมของมุฮัมมัด ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อ พระองค์ย้ายเมืองหลวงไปที่กูฟะฮ์ อะลีเป็นผู้นำในสงครามกลางเมืองที่มีชื่อว่า ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากอำนาจอธิปไตยของพระองค์ไม่ได้รับการยอมรับจากมุอาวิยะฮ์ที่ 1 (ค. 661 – 680) ญาติของอุษมานและผู้ว่าการซีเรีย ผู้เชื่อว่าอุษมานถูกฆาตกรรมโดยมิชอบด้วยกฎหมายและคนที่ลงมือฆ่าควรได้รับโทษ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มที่สามที่รู้จักกันในชื่อ เคาะวาริจญ์ ที่เคยเป็นผู้สนับสนุนอะลี ก่อกบฏต่อทั้งฝ่ายอะลีกับมุอาวิยะฮ์หลังปฏิเสธที่จะยอมรับอนุญาโตตุลาการในยุทธการที่ศิฟฟีน สงครามนี้นำไปสู่การโค่นล้มรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนและจัดตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ของมุอาวิยะฮ์ใน ค.ศ. 661 สงครามกลางเมืองนี้นำไปสู่ความแตกแยกระหว่างมุสลิมนิกายซุนนีกับชีอะฮ์อย่างถาวร โดยชีอะฮ์เชื่อว่าอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรมคนแรก และเป็นอิหม่ามถัดจากมุฮัมมัด พวกเขาโปรดปรานความสัมพันธ์ทางสายเลือดของอะลีกับมุฮัมมัด[2]

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนมีช่วงระยะเวลาการขยายทางทหารอย่างรวดเร็ว 25 ปี ตามมาด้วยความขัดแย้งภายใน 5 ปี กองทัพรอชิดูนในช่วงสูงสุดมีทหารมากกว่า 100,000 นาย ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 650 นอกจากคาบสมุทรอาหรับแล้ว รัฐเคาะลีฟะฮ์ได้พิชิตลิแวนต์ถึงทรานส์คอเคซัสทางเหนือ แอฟริกาเหนือจากอียิปต์ถึงตูนิเซียในปัจจุบันทางตะวันตก และที่ราบสูงอิหร่านถึงพื้นที่บางส่วนของเอเชียกลางและเอเชียใต้ทางตะวันออก เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนทั้ง 4 พระองค์ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งขนาดเล็กประกอบด้วยสมาชิกที่โดดเด่นของสมาพันธ์ชนเผ่ากุร็อยช์ที่มีชื่อว่า ชูรอ (อาหรับ: شُـوْرَى, แปลว่า การปรึกษาหารือ)[3]

ที่มา

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนในช่วงสูงสุด

หลังการเสียชีวิตของมุฮัมมัดใน ค.ศ. 632 ผู้ติดตามของท่านในมะดีนะฮ์ถกเถียงกันว่าใครควรสืบทอดกิจการของมุสลิม ในขณะที่ครอบครัวของมุฮัมมัดกำลังยุ่งอยู่กับพิธีฝังศพ อุมัรและอะบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรรอห์ถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่ออะบูบักร์ ภายหลังฝ่ายอันศอรกับกุร็อยช์จึงเริ่มปฏิบัติตาม อะบูบักร์จัดตั้งตำแหน่ง เคาะลีฟะฮ์ เราะซูลุลลอฮ์ (خَـلِـيْـفَـةُ رَسُـوْلِ اللهِ, "ผู้สืบทอดจากศาสนทูตของอัลลอฮ์") หรือสั้น ๆ ว่า เคาะลีฟะฮ์[4] อะบูบักร์เริ่มดำเนินการรบเพื่อเผยแผ่อิสลาม ตอนแรกพระองค์จะต้องปราบชนเผ่าอาหรับที่อ้างว่าแม้ว่าพวกตนจะให้คำมั่นว่าจะจงรักภักดีต่อมุฮัมมัดและเข้ารับอิสลาม แต่พวกเขาก็ไม่ได้มีความเกี่ยวดองอะไรกับอะบูบักร์ ในฐานะเคาะลีฟะฮ์ อะบูบักร์และผู้สืบทอดทั้งสามพระองค์ไม่ได้เป็นกษัตริย์และไม่ได้อ้างตำแหน่งนั้น แต่การเลือกตั้งและความเป็นผู้นำของพวกเขาขึ้นอยู่กับคุณธรรม[5][6][7][8]

ฝ่ายซุนนีเชื่อว่า เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนทั้ง 4 พระองค์มีความเชื่อมโยงกับศาสดามุฮัมมัดผ่านการแต่งงาน เป็นคนกลุ่มแรกที่เข้ารับอิสลาม[9] เป็นสิบคนที่ได้รับสัญญาว่าจะได้เข้าสวรรค์ เป็นผู้ติดตามที่ใกล้ชิดของท่านผ่านความสัมพันธ์และการสนับสนุน และมักได้รับการยกย่องอย่างสูงจากมุฮัมมัดและได้รับมอบหมายให้มีบทบาทเป็นผู้นำในชุมชนมุสลิมช่วงแรก เคาะลีฟะฮ์เหล่านี้เป็นที่รู้จักในมุสลิมนิกายซุนนีว่า รอชิดูน หรือเคาะลีฟะฮ์ที่ได้รับ"แนวทางที่ถูกต้อง" (اَلْخُلَفَاءُ ٱلرَّاشِدُونَ, al-Khulafāʾ ar-Rāšidūn) มุสลิมนิกายซุนนีรายงานว่า ชื่อรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนมาจากฮะดีษที่มีชื่อเสียง[10]ของมุฮัมมัดที่กล่าวไว้ล่วงหน้าว่า จะมีรัฐเคาะลีฟะฮ์หลังจากท่าน 30 ปี[11] (ระยะเวลาของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน) และจะตามมาด้วยการปกครองโดยกษัตริย์ (รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยแบบสืบสันตติวงศ์)[12][13] นอกจากนี้ ฮะดีษอื่น ๆ ในซุนัน อะบูดาวูดกับมุสนัด อะห์มัด อิบน์ ฮันบัลระบุว่า พระเจ้าจะฟื้นฟูเคาะลีฟะฮ์ที่ได้รับแนวทางที่ถูกต้องอีกครั้งจนกระทั่งวาระสุดท้าย[14] อย่างไรก็ตาม มุสลิมนิกายชีอะฮ์ไม่ใช้ศัพท์นี้ เนื่องจากพวกเขาไม่ถือว่าเคาะลีฟะฮ์สามพระองค์แรกปกครองโดยชอบธรรม[15] ถึงกระนั้น มุสลิมนิกายชีอะฮ์ซัยดียะฮ์เชื่อว่าเคาะลีฟะฮ์สามองค์แรกเป็นผู้นำที่มีความชอบธรรม[16]

สิ่งสืบทอด

นักวิชาการฆราวาสบางส่วนตั้งคำถามต่อมุมมองรอชิดูนของซุนนี รอเบิร์ต จี. ฮอยแลนด์กล่าวว่า "นักเขียนที่มีชีวิตในช่วงเวลาเดียวกันกับเคาะลีฟะฮ์ 4 องค์แรก ... ไม่ได้บันทึกเกี่ยวกับพวกเขาน้อยมาก และชื่อของพวกเขาไม่ได้ปรากฏบนเหรียญ จารึก หรือเอกสาร จนกระทั่งเคาะลีฟฮ์งอค์ที่ 5" มุอาวิยะฮ์ที่ 1 (661–680) "ที่มีหลักฐานเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาลอาหรับthat เนื่องจากปรากฏชื่อพระองค์บนสื่อทางการของรัฐทั้งหมด"[17] อย่างไรก็ตาม ก็มีจารึกที่เขียนขึ้นในสมัยนั้น หนึ่งในนั้นระบุชื่อและวันเสียชีวิตของอุมัร และมีเหรียญที่ปรากฏในรัชสมัยนั้นด้วย (ถึงแม้ว่าวัตถุเหล่านั้นจะไม่ปรากฏชื่อ แต่ปรากฏเพียง "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์" ตามที่ฮอยแลนด์กล่าวไว้)[18]

ฮอยแลนด์ยังตั้งคำถามถึงข้อกล่าวหาว่ารอชิดูนมีศีลธรรมเหนือกว่าอุมัยยะฮ์ โดยระบุว่าอะลีมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองครั้งแรก (ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง) และอุษมานได้ "ใช้รูปแบบการปกครองแบบเห็นแก่ญาติแล้ว"[19] ซึงเคาะลีฟะฮ์องค์หลังถูกประณาม และสงสัยว่าแนวคิด “ยุคทอง” ของอิสลามในยุคแรกเริ่มมาจากความต้องการของนักวิชาการศาสนาสมัยอุมัยยะฮ์ตอนปลายถึงอับบาซียะฮ์ เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเคาะลีฟะฮ์กลุ่มแรก (ซึ่งมีอำนาจในการออกกฎหมายมากกว่า) และเคาะลีฟะฮ์ร่วมสมัยที่พวกเขาต้องการติดตามในเรื่องศาสนาของพวกเขา (อุละมาอ์) ทำให้ในภายหลัง กลุ่มผู้ติดตาม "ได้รับการปรับปรุง" เป็น "แบบอย่างของความกตัญญูกตเวทิตาธรรม"[20]

ข้อความเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับมุมมองผู้ติดตาม (รวมเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน) ของชีอะฮ์ ชีอะฮ์หลายคนไม่มีมุมมองเดียวกันกับซุนนีที่เชื่อว่าผู้ติดตามล้วนเป็นแบบอย่างของความกตัญญู แต่กล่าาวหาหลายคนว่าสมรู้ร่วมคิดหลังจากท่านศาสดาเสียชีวิต เพื่อลิดรอนอะลีกับลูกหลานของเขาจากการเป็นผู้นำ ในมุมมองของชีอะฮ์ ผู้ติดตามหลายคนและผู้สืบทอดเป็นผู้แย่งชิง แม้แต่คนหน้าซื่อใจคด ที่ไม่เคยหยุดที่จะล้มล้างศาสนาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง[21]

การทหาร

กองทัพรอชิดูนเป็นหน่วยรบหลักของกองกำลังติดอาวุธอิสลามในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยร่วมรบกับกองทัพเรือรอชิดูน กองทัพรักษาระเบียบวินัย ความกล้าหาญเชิงกลยุทธ์ และองค์กรในระดับสูงมาก พร้อมกับแรงจูงใจและความคิดริเริ่มของกองกำลังทหาร ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ กองทัพนี้เป็นหนึ่งในกองกำลังทางทหารที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพที่สุดทั่วทั้งภูมิภาค โดยในช่วงสูงสุดของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน ขนาดสูงสุดของกองทัพคือประมาณ 100,000 นาย[22]

กองทัพรอชิดูน

ทหารรอชิดูนที่สวมหมวกเหล็ก-สัมฤทธิ์ เสื้อเกราะหนังยาวถึงเข่าและเป็นแผ่น เขาแขวนดาบที่สายสะพายบ่าและถือโล่หนัง

กองทัพรอชิดูนแบ่งออกเป็นทหารราบและทหารม้าเบา การสร้างยุทโธปกรณ์ทางทหารของกองทัพมุสลิมยุคแรกขึ้นมาใหม่นั้นเป็นปัญหา เมื่อเทียบกับกองทัพโรมันกับกองทัพมุสลิมสมัยกลางยุคหลัง ขอบเขตภาพลักษณ์มีขนาดเล็กมาก ส่วนใหญ่ไม่ชัดเจน หลักฐานทางกายภาพมีเหลืออยู่น้อยมาก และหลักฐานส่วนใหญ่ก็ยากที่จะระบุวันที่ได้[23] ทหารสวมหมวกเหล็กและสัมฤทธิ์แบบเอเชียกลางจากอิรัก[24]

กองทัพเรือรอชิดูน

รายพระนาม

ช่วงเวลาเคาะลีฟะฮ์อักษรวิจิตรความสัมพันธ์กับมุฮัมมัดพระราชบิดามารดาตระกูลหมายเหตุ
8 มิถุนายน 632 – 22 สิงหาคม 634อะบูบักร์
(أبو بكر)
  • อะบูกุฮาฟะฮ์
  • อุมมุลค็อยร์
บะนูตัยม์
  • ในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 634 อะบูบักร์ล้มป่วยและมีไข้สูง
23 สิงหาคม 634 – 3 พฤศจิกายน 644อุมัร
(عمر)
  • พ่อของฮัฟเศาะฮ์ ภรรยามุฮัมมัด
  • อัลค็อฏฏอบ อิบน์ นุฟัยล์
  • ฮันตะมะฮ์ บินต์ ฮิชาม
บะนูอะดี
11 พฤศจิกายน 644 – 20 มิถุนายน 656อุษมาน
(عثمان)
  • สามีของรุก็อยยะฮ์กับอุมม์ กัลษูม ลูกสาวขอมุฮัมมัด
  • หลานชายของอุมม์ ฮะกีม บินต์ อับดุลมุฏฏอลิบ ป้าฝ่ายพ่อของมุฮัมมัด
  • อัฟฟาน อิบน์ อะบี อัลอาศ
  • อัรวา บินต์ กุร็อยซ์
บะนูอุมัยยะฮ์
20 มิถุนายน 656 – 29 มกราคม 661อะลี
(علي)
  • ลูกพี่ลูกน้องของมุฮัมมัด
  • สามีของฟาฏิมะฮ์ ลูกสาวของมุฮัมมัด
  • สามีของอุมามะฮ์ บินต์ อะบี อัลอาศ หลานสาวของมุฮัมมัด
บะนูฮาชิม

อ้างอิง

ข้อมูล

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง