ศรีนิวาสะ รามานุชัน

ศรีนิวาสะ รามานุชัน ไอยังคร (อังกฤษ: Srīnivāsa Rāmānujam Aiyangār; ทมิฬ: சீனிவாச இராமானுஜன் หรือ ஸ்ரீனிவாஸ ஐயங்கார் ராமானுஜன்) (22 ธันวาคม ค.ศ. 1887 – 26 เมษายน ค.ศ. 1920) สมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน เป็นคนชาวอินเดีย ซึ่งได้สร้างงานวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ทฤษฎีบทต่างๆ ทางทฤษฎีจำนวน อนุกรมอนันต์ และเศษส่วนต่อเนื่อง โดยที่ไม่เคยรับการศึกษาด้านคณิตศาสตร์อย่างเป็นทางการเลย จี. เอช. ฮาร์ดี้ นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวถึงอัจฉริยภาพของรามานุชันว่าเทียบเท่ากับนักคณิตศาสตร์ระดับตำนาน เช่น ออยเลอร์ เกาส์ นิวตัน และอาร์คิมีดีส[1]

ศรีนิวาสะ รามานุชัน
เกิด22 ธันวาคม ค.ศ. 1887(1887-12-22)
อีโรด, บริติชอินเดีย
เสียชีวิต26 เมษายน ค.ศ. 1920(1920-04-26) (32 ปี)
Chetput, (มัทราส), บริติชอินเดีย
สัญชาติอินเดีย
ศิษย์เก่าGovernment Arts College
Pachaiyappa's College
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มีชื่อเสียงจากค่าคงตัวของลันเดา-รามานุชัน
Mock theta functions
ข้อความคาดการณ์ของรามานุชัน
Ramanujan prime
Ramanujan–Soldner constant
Ramanujan theta function
Ramanujan's sum
Rogers–Ramanujan identities
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาคณิตศาสตร์
อาจารย์ที่ปรึกษาG. H. Hardy
J. E. Littlewood

ประวัติ

รามานุชันเกิดที่เมืองอีโรด ทางใต้ของประเทศอินเดีย ได้รู้จักกับคณิตศาสตร์ครั้งแรกเมื่ออายุ 10 ปี จากทักษะโดยธรรมชาติด้านคณิตศาสตร์ รามานุชันจึงได้รับหนังสือตรีโกณมิติของ เอส. แอล. โลนีย์[2] และเขาศึกษาจนเชี่ยวชาญเมื่ออายุเพียง 12 ปี กระทั่งสามารถค้นพบทฤษฎีบทของตัวเอง ผลจากความสามารถอันโดดเด่นด้านคณิตศาสตร์ทำให้เขาได้รับทุนการศึกษา รามานุชันทำวิจัยเรื่องจำนวนแบร์นูลลีและค่าคงตัวออยเลอร์-แมสเชโรนีด้วยตนเองเมื่ออายุ 17 และได้รับทุนเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยของรัฐในเมืองคัมบาโคนัม แต่ต่อมาเขาสูญเสียทุนนี้ไปเพราะผลการเรียนด้านอื่นนอกเหนือจากคณิตศาสตร์นั้นแย่มาก เขาทำงานวิจัยของตนเองที่วิทยาลัยอื่น พร้อมกับทำงานเป็นเสมียนที่สำนักงานบัญชีแห่งหนึ่งในเมืองมัทราสเพื่อหาเลี้ยงตัว[3] ในปี ค.ศ. 1912–1913 เขาส่งตัวอย่างทฤษฎีบทจำนวนหนึ่งไปให้นักคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ 3 คน แต่มีเพียงก็อดฟรีย์ ฮาร์ดี้ ที่มองเห็นอัจฉริยภาพในงานของเขา และต่อมาได้เชิญให้รามานุชันไปร่วมงานกับเขาที่เคมบริดจ์ รามานุชันได้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนและสมาชิกวิทยาลัยทรินิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ต่อมาล้มป่วยและเดินทางกลับไปอินเดีย เขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1920 ขณะมีอายุเพียง 32 ปี

ผลงาน

ตลอดช่วงชีวิตอันแสนสั้น รามานุชันสร้างผลงานของตนเองทั้งสิ้นเกือบ 4,000 รายการ (ส่วนมากเป็นเอกลักษณ์หรือสมการ)[4] บางส่วนในจำนวนนี้ซึ่งเป็นจำนวนน้อยมาก มีบางส่วนที่ผิด และบางส่วนก็มีผู้ค้นพบไปแล้ว แต่งานส่วนใหญ่ได้รับการพิสูจน์ว่าถูกต้อง[5] ผลงานเหล่านั้นเป็นงานที่สร้างขึ้นใหม่ มีความแปลกประหลาดอย่างยิ่ง เช่น จำนวนเฉพาะรามานุชัน และ ฟังก์ชันทีตาของรามานุชัน งานเหล่านี้สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการวิจัยต่อยอดขึ้นไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล[6] อย่างไรก็ดี การค้นพบชิ้นสำคัญของเขาบางส่วนก็เข้าสู่คณิตศาสตร์กระแสหลักค่อนข้างช้า เช่นเมื่อไม่นานมานี้ เพิ่งมีการค้นพบว่าสามารถนำสมการของรามานุชันไปประยุกต์ใช้กับ ผลิกศาสตร์ และ ทฤษฎีสตริง ได้[ต้องการอ้างอิง] วารสารนานาชาติ ชื่อ Ramanujan Journal จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานคณิตศาสตร์ทุกแขนงที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเขา[7]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลในสื่อ

ประวัติ

อื่น 

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง