อิบน์ อัลฮัยษัม

อะบู อะลี, อัลฮะซัน อิบน์ อัลฮะซัน อิบน์ อัลฮัยษัม (อาหรับ: أبو علي، الحسن بن الحسن بن الهيثم) หรือแผลงด้วยอักษรละตินเป็น แอลแฮซัน (อักษรโรมัน: Alhazen,[10](/ælˈhæzən/;[11] ประมาณ 965 –  1040) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักฟิสิกส์สมัยกลางในยุคทองของอิสลามจากบริเวณที่เป็นประเทศอิรักในปัจจุบัน[12][13] ได้รับการกล่าวถึงเป็น "บิดาแห่งทัศนศาสตร์สมัยใหม่"[14][15] เขามีส่วนสำคัญต่อหลักการทัศนศาสตร์และการรับรู้ทางสายตาเป็นการเฉพาะ ผลงานที่มีอิทธิพลมากที่สุดของเขามีชื่อว่า กิตาบุลมะนาซิร (كتاب المناظر, "หนังสือทัศนศาสตร์") ที่เขียนขึ้นในช่วง ค.ศ. 1011–1021 ซึ่งยังคงเหลือเพียงฉบับภาษาละติน[16] ผลงานของอิบน์ อัลฮัยษัมได้รับการอ้างอิงอย่างมากในช่วงการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ของไอแซก นิวตัน, โยฮันเนิส เค็พเพลอร์, คริสตียาน เฮยเคินส์ และกาลิเลโอ กาลิเลอี

อิบน์ อัลฮัยษัม
แอลแฮซัน
ابن الهيثم
เกิดป. ค.ศ. 965 (ป. ฮ.ศ. 354)[1]
บัสรา เอมิเรตบูยิด
เสียชีวิตป. ค.ศ. 1040 (ป. ฮ.ศ. 430)[1] (ประมาณ 75 ปี)
ไคโร รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์
มีชื่อเสียงจากกิตาบุลมะนาซิร, Doubts Concerning Ptolemy, Alhazen's problem, การวิเคราะห์,[2] Catoptrics,[3] horopter, ความคลาดทรงกลม, ทฤษฎีการเปล่งของการรับรู้ทางสายตา, ภาพลวงตาดวงจันทร์, วิทยาศาสตร์เชิงทดลอง, ระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์,[4] จิตวิทยาสัตว์[5]
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์
มีอิทธิพลต่อโอมาร์ คัยยาม, ตะกิยุดดีน มุฮัมมัด อิบน์ มะอ์รูฟ, แคมอล แอล-ดีน ฟอรีซี, อิบน์ รุชด์, แอล-ฆอซีนี, จอห์น เพ็กคัม, วิเตลโล, รอเจอร์ เบคอน,[6] โยฮันเนิส เค็พเพลอร์
ได้รับอิทธิพลจากแอริสตอเติล,[7] ยูคลิด,[8] ทอเลมี,[9] เกเลน, บะนู มูซา, ษาบิต อิบน์ กุรเราะฮ์, อัลกินดี, อิบน์ ซะฮล์, แอบูแซฮล์ แอลกูฮี

อิบน์ อัลฮัยษัมเป็นบุคคลแรกที่อธิบายทฤษฎีการมองเห็นได้ถูกต้อง[17] และโต้แย้งว่าการมองเห็นเกิดขึ้นในสมอง ชี้ให้เห็นถึงข้อสังเกตที่เป็นอัตวิสัยและได้รับผลกระทบจากประสบการณ์ส่วนตัว[18] เขายังกล่าวถึงหลักการใช้เวลาสำหรับการหักเหน้อยที่สุด ซึ่งภายหลังมีชื่อเรียกว่า หลักการของแฟร์มา[19] เขามีส่วนสำคัญในเรื่องแสงสะท้อนหรือกระจก (catoptric) และการหักเหของแสง (dioptric) โดยศึกษาการสะท้อน การหักเห และธรรมชาติของภาพที่เกิดจากลำแสง[20][21] อิบน์ อัลฮัยษัมเป็นผู้สนับสนุนแนวคิดเบื้องต้นที่ว่า สมมติฐานจะต้องได้รับการสนับสนุนจากการทดลองตามขั้นตอนที่ยืนยันได้ หรือการใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ซึ่งทำให้เขาเป็นผู้บุกเบิกระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ยุคแรกประมาณ 5 ศตวรรษก่อนหน้านักวิทยาศาสตร์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[22][23][24][25] ด้วยเหตุผล ทำให้บางครั้งมีการเรียกเขาเป็น "นักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงคนแรก"ของโลก[15] เขาก็ยังเป็นผู้รู้รอบด้านที่เขียนเนื้อหาในด้านปรัชญา, เทววิทยา และแพทยศาสตร์[26]

เขาเกิดที่บัสรา และใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ไคโร เมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ และหาเลี้ยงชีพด้วยการประพันธ์ตำราต่าง ๆ และสั่งสอนสมาชิกขุนนาง[27] บางครั้งมีการเรียกอิบน์ อัลฮัยษัมตามชื่อรอง อัลบัศรี ตามสถานที่ที่เขาเกิด[28] หรือ อัลมิศรี ("ชาวอียิปต์")[29][30] แอบูล-แฮแซน แบย์แฮกีขนานนามอัลฮัยษัมเป็น "ทอเลมีที่สอง"[31] และจอห์น เพ็กคัมเรียกเขาเป็น "นักฟิสิกส์"[32] อิบน์ อัลฮัยษัมได้ปูทางสู่ศาสตร์ของทัศนศาสตร์เชิงฟิสิกส์สมัยใหม่[33]

ประวัติ

อิบน์ อัลฮัยษัม (แอลแฮซัน) เกิดเมื่อประมาณ ค.ศ. 965 จากครอบครัวชาวอาหรับ[13][34][35][36] หรือเปอร์เซีย[37][38][39][40][41] ที่บัสรา อิรักในสมัยเอมิเรตบูยิด อิทธิพลช่วงแรกของเขาคือการศึกษาศาสนาและการให้บริการแก่ชุมชน ในเวลานั้นสังคมมีมุมมองศาสนาที่ขัดแย้งกันหลายประการ จนทำใหเเขาก็พยายามที่จะก้าวออกจากศาสนา สิ่งนี้นำไปสู่การเจาะลึกการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์[42] เขาดำรงตำแหน่งวิเซียร์ที่บัสรา และสร้างชื่อให้ตัวเองในด้านความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ประยุกต์ เนื่องจากเขาอ้างว่าสามารถควบคุมอุทกภัยของแม่น้ำไนล์ ทำให้เขาได้ัรบเชิญให้พบกับเคาะลีฟะฮ์ อัลฮากิมแห่งฟาฏิมียะฮ์ เพื่อทำโครงการชลศาสตร์ที่อัสวาน อย่างไรก็ตาม อิบน์ อัลฮัยษัมถูกบังคับให้ยอมรับว่าไม่สามารถทำโครงการนั้นได้[43]

เมื่อกลับมาที่ไคโร เขาได้รับตำแหน่งฝ่ายบริหาร หลังจากที่พิสูจน์แล้วว่าตนไม่สามารถทำภารกิจนี้ได้เช่นกัน เขาก็ทำสัญญาความโกรธแค้นต่อเคาะลีฟะฮ์อัลฮากิม[44] และกล่าวกันว่าเขาถูกบังคับให้ซ่อนตัวจนกระทั่งเคาะลีฟะฮ์สวรรคตใน ค.ศ. 1021 หลังจากนั้นก็คืนทรัพย์สินของเขาที่ถูกยึด[45]ตำนานระบุว่าอิบน์ อัลฮัยษัมแสร้งทำเป็นบ้า และซ่อนตัวในบ้าน[46] โดยในช่วงนั้น เขาเขียนหนังสือเรื่อง กิตาบุลมะนาซิร เขายังคงอาศัยอยู่ที่ไคโรในย่านของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร และดำรงชีวิตจากรายได้ในการผลิตวรรณกรรมของเขา[47] จนกระทั่งเขาเสียชีวิตประมาณ ค.ศ. 1040[43]

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง