เขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก

เขตจีน (อังกฤษ: Sinosphere)[1] มีอีกชื่อว่า เขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก (East Asian cultural sphere)[2] หรือ โลกจีน (Sinic world)[3] ครอบคลุมหลายประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม บรรทัดฐาน และประเพณีของจีน[3][4] ตามความเห็นพ้องทางวิชาการ เขตจีนประกอบด้วยสี่ประเทศ: เกรตเตอร์ไชนา (Greater China)[a] ญี่ปุ่น เกาหลี[b] และเวียดนาม[5] คำจำกัดความอื่น ๆ อาจรวมมองโกเลีย[6][7][8] และสิงคโปร์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ของจีนที่จำกัดหรือชาวจีนพลัดถิ่นในสมัยใหม่ที่เพิ่มขึ้น[9] เขตจีนไม่ควรสับสนกับ Sinophone ซึ่งระบุประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาจีน[10]

เขตจีน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม東亞文化圈
漢字文化圈
อักษรจีนตัวย่อ东亚文化圈
汉字文化圈
ความหมายตามตัวอักษรเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
เขตวัฒนธรรมอักษรจีน
ชื่อภาษาเวียดนาม
จื๋อโกว๊กหงือVùng văn hóa Á Đông
Vùng văn hóa chữ Hán
จื๋อโนม塳文化亞東
塳文化𡨸漢
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
동아문화권
한자문화권
ฮันจา
東亞文化圈
漢字文化圈
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ東亜文化圏
漢字文化圏
ฮิรางานะとうあぶんかけん
かんじぶんかけん
การถอดเสียง
เฮ็ปเบิร์นปรับปรุงtō-a bunkaken
kanji bunkaken
คุนเรชิกิTô-A Bunkaken
Kanzi Bunkaken
มังกรเอเชียตะวันออกเป็นสิ่งมีชีวิตในตำนานในเทพปกรณัมและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
วิธีการพูดและเขียน "เขตจีน" ในภาษาหลักของเขตจีน

จีนสมัยจักรวรรดิเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและมีอิทธิพลต่อรัฐบรรณาการและรัฐเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม[c] ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ทำให้อิทธิพลทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมหยั่งรากลึกในลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาพุทธ และลัทธิเต๋า ในประวัติศาสตร์ยุคคลาสสิก วัฒนธรรมทั้งสี่มีระบบจักรวรรดิร่วมกันภายใต้จักรพรรดิแต่ละองค์ สิ่งประดิษฐ์ของจีนมีอิทธิพล และภายหลังได้รับอิทธิพลจากนวัตกรรมของวัฒนธรรมอื่นในด้านการปกครอง ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศิลปะ[13][14][15] ภาษาจีนคลาสสิกรูปเขียนกลายเป็นภาษากลางสำหรับการแลกเปลี่ยนวรรณกรรมและวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค[16] และอักษรจีน (ฮั่นจื้อ) ผ่านการดัดแปลงที่ญี่ปุ่นในฐานะ อักษรคันจิ เกาหลีในฐานะ อักษรฮันจา และเวียดนามในฐานะ chữ Hán[17][18]

ในประวัติศาสตร์สมัยคลาสสิกตอนปลาย วรรณกรรมของจีนสมัยคลาสสิกมีความสำคัญลดน้อยลง เนื่องจากญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนามต่างประดิษฐ์สำนวนโวหารของตนเองมาใช้ โดยญี่ปุ่นพัฒนาอักษรคาตากานะและฮิรางานะ เกาหลีประดิษฐ์อักษรฮันกึล และเวียดนามพัฒนาอักษรจื๋อโนม (ปัจจุบันแทบไม่มีใครใช้งาน ชุดตัวอักษรเวียดนามในปัจจุบันอิงจากชุดตัวอักษรละติน)[19][20] กระนั้น วรรณกรรมคลาสสิกที่เขียนด้วยอักษรจีนยังคงเป็นมรดกสำคัญของวัฒนธรรมญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม[21] ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 อิทธิพลทางอุดมการณ์และวัฒนธรรมของลัทธิขงจื๊อและศาสนาพุทธยังคงปรากฏให้เห็นในวัฒนธรรมระดับสูงและหลักคำสอนทางสังคม

ศัพท์บัญญัติ

จีนสมัยโบราณถือเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอารยธรรมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการอพยพของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวฮั่นดั้งเดิมจากแม่น้ำหวงโดยทั่วไปถือเป็นจุดเริ่มต้นของโลกเอเชียตะวันออก ปัจจุบัน ประชากรจีนมีประมาณ 1,402 ล้านคน[22]

นิชิจิมะ ซาดาโอะ [ja] (ค.ศ. 1919–1998) นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณจากมหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นผู้บัญญัติศัพท์ โทอะบุนกะ-เก็ง (ญี่ปุ่น: 東亜文化圏โรมาจิTōa bunka-ken) เพื่อกำเนิดขอบเขตวัฒนธรรมจีนหรือเอเชียตะวันออกที่แตกต่างจากวัฒนธรรมตะวันตก นิชิจิมะรายงานว่า เขตวัฒนธรรมนี้—ซึ่งรวมจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม—มีปรัชญาลัทธิขงจื๊อ ศาสนาพุทธร่วมกัน และโครงสร้างทางการเมืองและสังคมที่คล้ายคลึงกัน โดยเกิดจากภูมิหลังของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ภาษาจีนคลาสสิก[4]

วัฒนธรรม

พระราชวังเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม สถาปัตยกรรมจีนมีอิทธิพลอย่างมากต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมในเอเชียตะวันออกของเวียดนาม เกาหลี และญี่ปุ่น

ศิลปะ

อาหาร

อาหารของเอเชียตะวันออกใช้วัตถุดิบและเทคนิคเดียวกันร่วมกันหลายอย่าง มีการใช้ตะเกียบเป็นเครื่องมือในการรับประทานอาหารในประเทศหลักแถบเอเชียตะวันออกทั้งหมด[25] การใช้ซอสถั่วเหลืองซึ่งทำจากถั่วเหลืองหมักก็แพร่หลายในภูมิภาคนี้เช่นกัน[26]

ข้าวเป็นอาหารหลักในเอเชียตะวันออกทั้งหมดและเป็นจุดสนใจหลักของความมั่นคงทางอาหาร[27] คนไม่มีข้าวมักถูกมองว่าไม่มีอาหารกิน นอกจากนี้ ในประเทศแถบเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น (御飯; gohan) และเกาหลี (밥; bap) ศัพท์สำหรับ "ข้าวสุก" สามารถสื่อความหมายของอาหารโดยทั่วไปได้[25]

คำศัพท์ยอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับอาหารเอเชียตะวันออกได้แก่boba, กิมจิ, ซูชิ, หม้อไฟ, ชา, ติ่มซำ, ราเม็ง เช่นเดียวกันกับเฝอ, ซาชิมิ, อุด้ง กับแนมซ้าน เป็นต้น[28]

นามสกุล

เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรป (เช่น Smith และ Schmid) ประเทศในเขตวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกใช้ระบบนามสกุลร่วมกัน แต่การออกเสียงแตกต่างกัน ตารางด้านล่างแสดงชื่อสกุลทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออก

อักษรซีเจเคพินอินจีนเวียดนามเกาหลีญี่ปุ่น

หลี่

ลี้

Lee

อี-รี

Ri

รี

Chén

เฉิน

Trần

เจิ่น

Jin

จิน

Chin

ชิน

Wáng

หวัง

Vương

เวือง

Wang

หวัง

Ō

โอ

Zhāng

จาง

Trương

เจือง

Jang

จัง

Chō

โจ

Zhào

จ้าว

Triệu

เจี่ยว

Jo

โช

Chō

โช

Zhū

จู

Chu

จู

Ju

จู

Shu

ชู

Zhōu

โจว

Chu

จูChâuเจิว

Ju

จู

Shū

ชู

Yáng

หยาง

Dương

เซือง

Yang

ยัง

โย

Sūn

ซุน

Tôn

ตน

Son

ซน

Son

ซน

หม่า

หมา

Ma

หมา

Ba

บะ

เหอ

ห่า

Ha

ฮา

Ka

คะ

หู

Hồ

โห่

Ho

โห

Ko

โค

Gāo

เกา

Cao

กาว

Go

โก

โค

Xiè

เซี่ย

Tạ

ตะ

Sa

ซา

Sha

ซา

สู

Từ

ตื่

Seo

ซอ

Sho

โช

Liú

หลิว

Lưu

หลืว

Yu/Ryu

ยู-รยู

Ryū

รยู

Liáng

เหลียง

Lương

เลือง

Yang/Ryang

ยัง-รยัง

Ryō

เรียว

Luó

หลัว

La

ลา

Na/Ra

นา-รา

Ra

รา

Lín

หลิน

Lâm

เลิม

Im/Rim

อิม-ริม

Hayashi

ฮายาชิ

Guō

กัว

Quách

ไกวก์

Gwak

กวาก

Kaku

คักุ

Sòng

ซ่ง

Tống

ต๊ง

Song

ซง

โซ

Zhèng

เจิ้ง

Trịnh

จิ่ญ

Jeong

จอง

Tei

เท

Huáng

หวง

Hoàng

ฮหวั่งHuỳnhฮหวิ่ญ

Hwang

ฮวัง

โก

วู

Ngô

โง

Oh

โอ

Go

โกะ

Táng

ถัง

Đường

เดื่อง

Dang

ทัง

โท

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

  • Choi, JungBong (2010). "Of the East Asian Cultural Sphere: Theorizing Cultural Regionalization". China Review. The Chinese University of Hong Kong Press. 10 (2): 109–136.
  • Denecke, Wiebke; Nguyen, Nam (2017). "Shared Literary Heritage in the East Asian Sinographic Sphere". The Oxford Handbook of Classical Chinese Literature. pp. 510–532. doi:10.1093/oxfordhb/9780199356591.013.33.
  • Fogel, Joshua A. (2009). Articulating the Sinosphere : Sino-Japanese relations in space and time. Edwin O. Reischauer Lectures ([Online-Ausg.] ed.). Cambridge, Mass.: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-03259-0.
  • Lowe, Roy; Yasuhara, Yoshihito (2016). "Higher learning in ancient Korea, Japan and Vietnam: The East Asian cultural sphere and the Imperial Chinese". The Origins of Higher Learning. Routledge. ISBN 9781315728551.
  • Matisoff, James A. (1990). "On 'Megalocomparison'". Language. 66 (1): 106–120.
  • Wang, Edward (2015). Chopsticks: A Cultural and Culinary History. Cambridge University Press. pp. 67–92. doi:10.1017/CBO9781139161855. ISBN 9781139161855.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง