แบกแดด

แบกแดด (อังกฤษ: Baghdad, Bagdad; อาหรับ: بغداد‎ บัฆดาด; เคิร์ด: بەغدا) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิรัก มีประชากรในเขตมหานครประมาณ 7,000,000 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในอิรัก[2][3] แบกแดดเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอาหรับ (รองจากไคโร) และใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (รองจากเตหะราน)

แบกแดด

بغداد
ܒܲܓ݂ܕܵܕ
ธงของแบกแดด
ธง
สมญา: 
เมืองแห่งสันติ (مدينة السلام)[1]
แบกแดดตั้งอยู่ในประเทศอิรัก
แบกแดด
แบกแดด
ที่ตั้งของแบกแดดในประเทศอิรัก
แบกแดดตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
แบกแดด
แบกแดด
แบกแดด (ทวีปเอเชีย)
พิกัด: 33°20′N 44°23′E / 33.333°N 44.383°E / 33.333; 44.383
(33°20′N 44°23′E / 33.333°N 44.383°E / 33.333; 44.383)
ประเทศ อิรัก
เขตผู้ว่าการแบกแดด
ก่อตั้งค.ศ. 762
ผู้ก่อตั้งอบูญะฟัร อัล-มันซูร
การปกครอง
 • ประเภทนายกเทศมนตรี-สภา
 • องค์กรBaghdad City Advisory Council
 • นายกเทศมนตรีZekra Alwach
พื้นที่
 • ทั้งหมด204.2 ตร.กม. (78.8 ตร.ไมล์)
ความสูง34 เมตร (112 ฟุต)
ประชากร
 • ประมาณ 
(2018)
6,643,000 คน
 • อันดับ1st
เดมะนิมแบกแดด
เขตเวลาUTC+3 (เวลามาตรฐานอาระเบีย)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (ไม่ใช้)
รหัสไปรษณีย์10001 ถึง 10090
เว็บไซต์Mayoralty of Baghdad
แผนที่แสดงที่ตั้งแบกแดดในอิรัก

ประวัติ

แบกแดดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1305 โดยคอลีฟะห์อัล-มันซูร์ แห่งราชวงศ์อับบาสิยะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไทกริสติดกับคลองที่เชื่อมแม่น้ำยูเฟรทีส แบกแดดมีความรุ่งเรืองมากในสมัยคอลีฟะห์ฮารูน อัล-เราะชีด เมื่อแรกสร้างนั้น เมืองนี้สร้างขึ้นที่หมู่บ้านเก่าแก่ชื่อแบกแดด อยู่ทางเหนือของเทซิฟอน ที่เคยเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซียโบราณ เมื่อสร้างแล้วได้ตั้งชื่อว่า มะดีนะห์ อัลซาเลม แปลว่าเมืองแห่งสันติ แต่คนทั่วไปยังนิยมเรียกว่าแบกแดดตามชื่อเดิม ความยิ่งใหญ่ของแบกแดดในสมับคอลีฟะห์นี้ปรากฏในวรรณคดีอาหรับที่มีชื่อเสียงคือพันหนึ่งราตรีหรืออาหรับราตรี ผู้แต้ช่งดั้งเดิมคืออัล-จาห์ชิยาร์ ในแบกแดดได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิทยาการ โดยนำวิทยาการที่เป็นภาษากรีก ภาษาละติน ภาษาเปอร์เซีย ภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอาหรับ ทำให้แบกแดดมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านโคลงกลอนจากเปอร์เซีย ทางด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์จากอินเดีย การแพทย์และวิทยาศาสตร์จากกรีก

ความเสื่อมของแบกแดดเกิดขึ้นเมื่อฮูลากูข่าน ผู้นำมองโกลยกทัพเข้าโจมตีแบกแดดเมื่อ พ.ศ. 1801 นอกจากนั้นยังมีศัตรูจากเติร์กเข้าโจมตีแบกแดดเป็นระยะ ๆ ในที่สุด แบกแดดจึงอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันใน พ.ศ. 2181 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจึงถูกอังกฤษยึดครองได้เมื่อ พ.ศ. 2460 เมื่ออิรักได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2475 แบกแดดได้เป็นเมืองหลวงของอิรัก แม้จะได้รับการบูรณะให้เป็นเมืองสมัยใหม่ แต่ในแบกแดดก็ยังมีโบราณสถานอยู่หลายแห่งเพราะเป็นเมืองเก่าที่อยู่ในเขตอารยธรรมเมโสโปเตเมีย มีความพยายามที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์ประวัติศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 แต่หลังจากที่อิรักเกิดสงครามหลายครั้ง ตั้งแต่สงครามอิรัก-อิหร่านและสงครามอ่าวเปอร์เซียสองครั้งทำให้แบกแดดถูกทำลายไปมาก

ภูมิศาสตร์

ภูมิอากาศ

ข้อมูลภูมิอากาศของแบกแดด
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)15.5
(59.9)
18.5
(65.3)
23.6
(74.5)
29.9
(85.8)
36.5
(97.7)
41.3
(106.3)
44.0
(111.2)
43.5
(110.3)
40.2
(104.4)
33.4
(92.1)
23.7
(74.7)
17.2
(63)
30.61
(87.1)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)9.7
(49.5)
12
(54)
16.6
(61.9)
22.6
(72.7)
28.3
(82.9)
32.3
(90.1)
34.8
(94.6)
34
(93)
30.5
(86.9)
24.7
(76.5)
16.5
(61.7)
11.2
(52.2)
22.77
(72.98)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)3.8
(38.8)
5.5
(41.9)
9.6
(49.3)
15.2
(59.4)
20.1
(68.2)
23.3
(73.9)
25.5
(77.9)
24.5
(76.1)
20.7
(69.3)
15.9
(60.6)
9.2
(48.6)
5.1
(41.2)
14.87
(58.76)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว)26
(1.02)
28
(1.1)
28
(1.1)
17
(0.67)
7
(0.28)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
3
(0.12)
21
(0.83)
26
(1.02)
156
(6.14)
ความชื้นร้อยละ71615343302122222634547142.3
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย55642000015634
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด192.2203.4244.9255.0300.7348.0347.2353.4315.0272.8213.0195.33,240.9
แหล่งที่มา 1: World Meteorological Organization (UN)[4]
แหล่งที่มา 2: Climate & Temperature[5][6]

เมืองพี่น้อง

อ้างอิง

  • สาคร ช่วยประสิทธิ์. แบกแดด ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กทม.ราชบัณฑิตยสถาน. 2539. หน้า 328 - 330

อ่านเพิ่ม

บทความ

หนังสือ

  • Pieri, Caecilia (2011). Baghdad Arts Deco: Architectural Brickwork, 1920–1950 (1st ed.). The American University in Cairo Press. p. 160. ISBN 978-9774163562.
  • "Travels in Asia and Africa 1325-135" by Ibn Battuta.
  • "Gertrude Bell: the Arabian diaries,1913–1914." by Bell Gertrude Lowthian, and O'Brien, Rosemary.
  • "Historic cities of the Islamic world". by Bosworth, Clifford Edmund.
  • "Ottoman administration of Iraq, 1890–1908." by Cetinsaya, Gokhan.
  • "Naked in Baghdad." by Garrels, Anne, and Lawrence, Vint.
  • "A memoir of Major-General Sir Henry Creswicke Rawlinson." by Rawlinson, George.
  • Stanek, Łukasz (2020). Architecture in global socialism : Eastern Europe, West Africa, and the Middle East in the Cold War. Princeton. ISBN 978-0-691-19455-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง