แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลเมื่อเวลา 07.58 น. ตามเวลาในประเทศไทย (00:58 UTC) ศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปในมหาสมุทรอินเดีย ใกล้ด้านตะวันตกของตอนเหนือเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้เกิดความเสียหายบนเกาะสุมาตรา และยังรับรู้ได้ในภาคใต้ของประเทศไทย

  • แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิ
  • ในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
สภาพชานเมืองทิศตะวันตกของบันดาอาเจะฮ์บนเกาะสุมาตราหลังสึนามิพัดถล่ม ถ่ายเมื่อ 2 มกราคม 2548
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547ตั้งอยู่ในเกาะสุมาตรา
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547ตั้งอยู่ในโลก
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
เวลาสากลเชิงพิกัด2004-12-26 00:58:53
รหัสเหตุการณ์ ISC7453151
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น26 ธันวาคม 2004; 19 ปีก่อน (2004-12-26)[1]
เวลาท้องถิ่น
ขนาด9.1–9.3 Mw[2]
ความลึก30 km (19 mi)[1]
ศูนย์กลาง3°18′58″N 95°51′14″E / 3.316°N 95.854°E / 3.316; 95.854[1]
ประเภทแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบเกาะและพื้นที่ชายฝั่งรอบมหาสมุทรอินเดีย
ความเสียหายทั้งหมด15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้IX (ร้ายแรง)
สึนามิ
  • 15 ถึง 30 m (50 ถึง 100 ft);[4][5]
  • สูงสุด 51 m (167 ft)[6]
ผู้ประสบภัยเสียชีวิต 227,898[7][8][9]

แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย กระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร[10] เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ใน 14 ประเทศมากกว่า 230,000 - 280,000คนหรือมากกว่า 280,000 คน นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และประเทศไทย ตามลำดับ

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างแมกนิจูด 9.1 ถึง 9.3 ตามมาตราโมเมนต์ ทำให้แผ่นดินไหวครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเป็นอันดับที่สามตามที่เคยวัดได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismometer) นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีคาบเวลายาวนานที่สุด โดยการสังเกตคาบเวลาอยู่ที่ประมาณ 8.3 ถึง 10 นาที ส่งผลให้แผ่นดินทั่วทั้งผืนโลกเคลื่อนตัวไปถึง 1 เซนติเมตร [11] และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวในจุดอื่น ๆ ของโลก[12]

ลักษณะแผ่นดินไหว

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ใกล้กับ เกาะซีเมอลูเวอ ของอินโดนีเซีย

แผ่นดินไหวถูกบันทึกครั้งแรกด้วยค่าความรุนแรงแมกนิจูด 8.8 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 จึงได้ปรับเพิ่มเป็นแมกนิจูด 9.0[13] โดยศูนย์เตือนภัยสึนามิมหาสมุทรแปซิฟิกได้ยอมรับค่าใหม่นี้ ส่วนสำนักธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey) ยังคงยึดค่าเดิมที่ประมาณการไว้ที่แมกนิจูด 9.1 ด้านผลการศึกษาล่าสุดในปี พ.ศ. 2549 บ่งชี้ว่าความรุนแรงของแผ่นดินไหวมีค่าระหว่างแมกนิจูด 9.1–9.3 อย่างไรก็ตาม ดอกเตอร์ฮิโระโอะ คะนะโมริ (Hiroo Kanamori) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียแนะนำว่าแมกนิจูด 9.2 เหมาะสมที่จะใช้เป็นค่าตัวแทนสำหรับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ครั้งนี้[14]

จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้มหาสมุทรอินเดีย ลึกลงไป 30 กม. จากระดับน้ำทะเล ห่างจากเกาะซีเมอลูเวอไปทางทิศเหนือประมาณ 160 กม. ซึ่งตัวเกาะตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยรอยเลื่อนซุนดาเมกะทรัสต์ (Sunda megathrust) ได้เลื่อนตัวแตกออกยาวกว่า 1,300 กม.[15] ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและตามด้วยคลื่นสึนามิ ประชาชนในประเทศบังคลาเทศ อินเดีย มาเลเซีย พม่า ไทย สิงคโปร์ และมัลดีฟส์รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว[16] จากนั้นรอยเลื่อนย่อย (Splay fault) จึงขยับตาม ทำให้พื้นทะเลเกิดรอยแตกยาวในเวลาไม่กี่วินาที เกิดน้ำทะเลยกตัวสูงและเพิ่มความเร็วแก่คลื่นให้มากขึ้น จากนั้นคลื่นสึนามิได้เข้าทำลายเมืองล็อกนา (Lhoknga) ใกล้กับเมืองบันดาอาเจะฮ์ จนราบเป็นหน้ากลอง[17]

ด้านธรณีสัณฐาน อินโดนีเซียตอนเหนือและตะวันออกใกล้กับนิวกินีจะตั้งอยู่บนแนววงแหวนแห่งไฟแห่งแปซิฟิก ส่วนตอนใต้พาดไปทางตะวันตกของประเทศเป็นแนวแผ่นดินไหวเรียกว่า แนวแอลไพด์ ผ่านเกาะติมอร์ โฟลเร็ซ บาหลี ชวา และเกาะสุมาตรา

แผนภูมิวงกลม แสดงขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวที่วัดได้ทั้งหมดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906–2005 เปรียบเทียบกับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แต่ละครั้ง แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียแสดงสีน้ำเงินเข้ม

แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งนี้เกิดขึ้นในเขตมุดตัวของเปลือกโลก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวขนาดเมกะทรัสต์อยู่เสมอ มีค่าโมเมนต์แผ่นดินไหวสูงในระดับศตวรรษ โดยหากรวมค่าโมเมนต์แผ่นดินไหวทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1906 - 2005 แผ่นดินไหวที่อินโดนีเซียครั้งนี้จะมีขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวถึง 1 ใน 8 ของแผ่นดินไหวทั้งหมดดังกล่าว นอกจากนี้ หากรวมกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่อะแลสกา ค.ศ. 1964 และที่ชิลี ค.ศ. 1960 จะมีขนาดโมเมนต์สูงถึงครึ่งหนึ่งของแผ่นดินไหวทั้งหมดดังกล่าว หากเทียบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในซานฟรานซิสโกปี ค.ศ. 1906 กับแผ่นดินไหวครั้งนี้ ถือว่าครั้งนั้นมีขนาดเล็กมาก (หากแต่ครั้งนั้นเกิดความเสียหายไม่แพ้กัน)

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1900 แผ่นดินไหวในครั้งนี้ถือว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากแผ่นดินไหวในชิลี ค.ศ. 1960 (แมกนิจูด 9.5) และแผ่นดินไหวในอะแลสกา ค.ศ. 1964 (แมกนิจูด 9.2) นอกจากนี้มีอีกเพียงสองครั้งที่มีขนาดแมกนิจูด 9.0 ได้แก่ แผ่นดินไหวที่คาบสมุทรคัมชัตคา ทางตะวันออกของรัสเซีย เมื่อ ค.ศ. 1952[18] และแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น ค.ศ. 2011 เหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าวล้วนก่อให้เกิดคลื่นสึนามิในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกแทบทั้งสิ้น ถึงกระนั้นกลับมีจำนวนผู้เสียชีวิตไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ โดยสาเหตุหลักคือ ชายฝั่งใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีประชากรอาศัยเบาบาง พื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวเหล่านั้นมาก รวมถึงความมีประสิทธิภาพของระบบสาธารณูปโภคและระบบเตือนภัย เช่น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ (ขนาดเมกะทรัสต์) ครั้งอื่น เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1868 ในประเทศเปรู (แผ่นเปลือกโลกนาสกาและแผ่นอเมริกาใต้) ค.ศ. 1827 ในโคลอมเบีย (แผ่นนาสกาและแผ่นอเมริกาใต้) ค.ศ. 1812 ในเวเนซูเอลา (แผ่นแคริบเบียนและแผ่นอเมริกาใต้) และแผ่นดินไหวคาสคาเดีย ค.ศ. 1700 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกา (แผ่นฮวนเดอฟูกาและแผ่นอเมริกาเหนือ) ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คาดว่ามีความรุนแรงมากกว่าแมกนิจูด 9 แต่ไม่มีตัวเลขชัดเจนถึงขนาดที่แท้จริงในขณะนั้น

ภาพเคลื่อนไหวของคลื่นสึนามิสุมาตรา (ที่มา: องค์การสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

สรุปความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิต

ประเทศที่ได้รับความเสียหายยืนยันโดยประมาณได้รับบาดเจ็บสูญหายไร้ที่อยู่อาศัย
ประเทศอินโดนีเซีย130,736167,79937,063500,000+
ประเทศศรีลังกา35,32235,32221,411516,150
ประเทศอินเดีย12,40518,0455,640647,599
ประเทศไทย5,3958,2128,4572,8177,000
ประเทศโซมาเลีย782895,000
ประเทศพม่า61400–600452003,200
ประเทศมัลดีฟส์821082615,000+
ประเทศมาเลเซีย68752996
ประเทศแทนซาเนีย1013
หมู่เกาะเซเชลส์3357200
ประเทศบังกลาเทศ22
ประเทศแอฟริกาใต้22
ประเทศเยเมน22
ประเทศเคนยา112
ประเทศมาดากัสการ์1,000+
รวม~184,167~230,273~125,000~45,752~1.69 ล้าน

ผลกระทบในประเทศไทย

ประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกผ่านทะเลอันดามันเข้ากระทบชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางประมาณ 500 กม. (310 ไมล์) ในตอนนั้นจังหวัดทางภาคใต้ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเนื่องจากเทศกาลคริสต์มาส นักท่องเที่ยวจำนวนมากเสียชีวิตจากสึนามิเพราะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า สึนามิเกิดในช่วงน้ำขึ้นพอดี จุดที่ได้รับความเสียหายสำคัญได้แก่ ชายฝั่งทางตะวันตกของเกาะภูเก็ต เขาหลัก จังหวัดพังงา ชายฝั่งจังหวัดกระบี่ จังหวัดสตูล จังหวัดระนอง และจังหวัดตรัง ความเสียหายยังกระจายไปถึงเกาะนอกชายฝั่งเช่น เกาะราชาใหญ่ เกาะพีพี หมู่เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะสิมิลัน มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดประมาณ 8,000 คน

ในประเทศไทยมีความสูงของคลื่นแต่ละพื้นที่ดังนี้ [19] [20]

  • 6–10 เมตร (20–33 ฟุต) ในเขาหลัก จังหวัดพังงา
  • 3–6 เมตร (9.8–19.7 ฟุต) ตามแนวชายฝั่งทางตะวันตกหันหน้าไปทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต
  • 3 เมตร (9.8 ฟุต) ตามแนวชายฝั่งทางใต้หันหน้าไปทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต
  • 2 เมตร (6 ฟุต 7 นิ้ว) ตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกหันหน้าไปทางอ่าวพังงา จังหวัดภูเก็ต
  • 4–6 เมตร (13–20 ฟุต) บนเกาะพีพี
  • 19.6 เมตร (64 ฟุต) ที่บ้านทุ่งดาบ จังหวัดพังงา
  • 6.8 เมตร (22 ฟุต) บ้านทะเลนอก จังหวัดระนอง
  • 5 เมตร (16 ฟุต) ที่หาดประพาส (สถานีวิจัยทรัพยากรชายฝั่งระนอง)
  • 6.3 เมตร (21 ฟุต) อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา
  • 6.8 เมตร (22 ฟุต) ที่ไร่ด่าน
แผนที่แสดงประเทศที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ
เรือบุเรศผดุงกิจ ของตำรวจน้ำ (813) ถูกคลื่นสึนามิซัด

ความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สิน

ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2548 มีจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย ในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 5,309 คน ผู้สูญหายจำนวนทั้งหมด 3,370 คน ต่อมาได้มีการรับแจ้งจากญาติพี่น้องของผู้ประสบภัยภายหลังการเกิดเหตุ จำนวนดังกล่าวนี้ลดลงเพราะได้พบผู้ที่รับแจ้งว่าสูญหายบางคนแล้ว นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการตรวจสอบเอกลักษณ์ของศพที่เก็บรักษาไว้เพื่อให้ทราบว่าเป็นผู้ใด ในรายงานของกระทรวงมหาดไทยที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548เหตุการณ์ในครั้งนี้ยังทำให้ คุณพุ่ม เจนเซน พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระโอรสใน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ถึงแก่อนิจกรรมด้วยนอกจากมีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหายเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีความเสียหายในด้านทรัพย์สิน ได้แก่ บ้านเรือนของราษฎร โรงแรม บังกะโล โฮมสเตย์ เกสต์เฮาส์ ร้านค้า ร้านอาหาร ทรัพย์สินส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ยานพาหนะ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน เป็นมูลค่ากว่าพันล้านบาท [21]

ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ

ด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ภูเก็ต,พังงาและกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเสียชีวิต และบาดเจ็บมากที่สุด มีแหล่งท่องเที่ยวได้รับความเสียหายมาก จำนวน 8 แห่ง คือ

ภาพเหตุการณ์ประชาชนกำลังวิ่งหนีคลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่อ่าวนาง จังหวัดกระบี่

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง