ไซปรัสเหนือ

สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ (อังกฤษ: Turkish Republic of Northern Cyprus; ตุรกี: Kuzey Kıbrıs Türk Cumhuriyeti, KKTC) หรือ ไซปรัสเหนือ (อังกฤษ: Northern Cyprus; ตุรกี: Kuzey Kıbrıs) เป็นรัฐ โดยพฤตินัย[5][6] ที่ครอบคลุมพื้นที่ทางตอนเหนือของเกาะไซปรัส โดยรัฐสมาชิกเดียวในสหประชาชาติที่ให้การยอมรับคือประเทศตุรกี ส่วนรัฐสมาชิกอื่นถือว่านอร์เทิร์นไซปรัสเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐไซปรัสหรือไม่ระบุคำตอบนี้

สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ

Kuzey Kıbrıs Türk Cumhuriyeti  (ตุรกี)
ธงชาตินอร์เทิร์นไซปรัส
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของนอร์เทิร์นไซปรัส
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติ
อิสติกลาล มาร์เชอ  (ตุรกี)
"มาร์ชเอกราช"
ที่ตั้งของนอร์เทิร์นไซปรัส
สถานะ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
นิโคเซีย[1]
35°11′N 33°22′E / 35.183°N 33.367°E / 35.183; 33.367
ภาษาราชการตุรกี
ภาษาพูดตุรกีไซปรัส
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี
• ประธานาธิบดี
Ersin Tatar
• นายกรัฐมนตรี
Faiz Sucuoğlu
• ประธานสมัชชา
Önder Sennaroğlu
สภานิติบัญญัติสมัชชาสาธารณรัฐ
ก่อตั้ง
20 กรกฎาคม ค.ศ. 1974
• Autonomous Turkish Cypriot Administration
1 ตุลาคม ค.ศ. 1974
• สหพันธรัฐไซปรัสของตุรกี
13 ตุลาคม ค.ศ. 1975
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983[2]
พื้นที่
• รวม
3,355 ตารางกิโลเมตร (1,295 ตารางไมล์) (ไม่จัดอันดับ)
2.7
ประชากร
• 2017 ประมาณ
326,000[3]
• สำมะโนประชากร 2011
286,257
93 ต่อตารางกิโลเมตร (240.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 117)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2018 (ประมาณ)
• รวม
4.234 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
14,942 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
สกุลเงินลีราตุรกี (₺) (TRY)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+90 392

การรัฐประหารใน ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนที่จะผนวกเกาะเข้ากับประเทศกรีซ ก่อให้เกิดการรุกรานไซปรัสของตุรกี นั่นทำให้เกิดการขับไล่ประชากรชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกจากทางเหนือ การอพยพของชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กจากทางใต้ และการแบ่งเกาะไซปรัส ทำให้ฝ่ายเหนือประกาศเอกราชฝ่ายเดียวใน ค.ศ. 1983 เนื่องจากไม่มีประเทศใดให้การยอมรับ ทำให้นอร์เทิร์นไซปรัสต้องพึ่งพาตุรกีมากในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร[7][8][9]

ประวัติศาสตร์

การแบ่งเขตการปกครอง

นอร์เทิร์นไซปรัสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 เขต: เลฟโกชา, กาซีมากูซา, คีรีเนีย, กือร์เซลยูร์ท, อิสแคแล และแลฟแค เขตแลฟอคแยกออกจากเขตกาซีมากูซาใน ค.ศ. 2016[10]

อิสแคแล
กือร์เซลยูร์ท
กาซีมากูซา
แลฟแค

การเมืองการปกครอง

Ersin Tatar ประธานาธิบดีนอร์เทิร์นไซปรัส

การเมืองในนอร์เทิร์นไซปรัสมีโครงสร้างเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนแบบกึ่งประธานาธิบดี โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล

เนื่องจากความโดดเดี่ยวและการพึ่งพาการสนับสนุนจากตุรกีอย่างมาก ทำให้การเมืองนอร์เทิร์นไซปรัสได้รับอิทธิพลจากตุรกีสูงมาก นั่นทำให้ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนกล่าวถึงรัฐนี้เป็นรัฐหุ่นเชิดที่มีประสิทธิภาพของตุรกี[11][12][13] อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญอีกกลุ่มได้กล่าวถึงธรรมชาติของการเลือกตั้งและการแต่งตั้งที่เป็นอิสระในนอร์เทิร์นไซปรัส และข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไซปรัสเชื้อสายเติร์กกับรัฐบาลตุรกี ทำให้สรุปว่า "รัฐหุ่นเชิด" ไม่ใช่คำอธิบายที่ถูกต้องสำหรับนอร์เทิร์นไซปรัส[14][15]

สถานะและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

Mustafa Akıncı กับจอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2015

ไม่มีประเทศใดให้การยอมรับนอร์เทิร์นไซปรัสเป็นรัฐเอกราชอย่างเป็นทางการนอกจากประเทศตุรกี[11][16][17][18] ทางสหประชาชาติยอมรับเป็นดินแดนของสาธารณรัฐไซปรัสที่อยู่ภายใต้การครอบครองของตุรกี[19][20][21] ประเทศปากีสถานและบังกลาเทศเคยประกาศยอมรับนอร์เทิร์นไซปรัสหลังประกาศเอกราชไม่นาน[22] แต่ทั้งสองประเทศถอนการยอมรับจากการกดดันของสหรัฐ หลังสหประชาชาติถือว่าเป็นการประกาศที่ผิดกฎหมาย[23] เพราะทางสหประชาชาติได้ประกาศไว้ในมติต่าง ๆ หลายข้อที่ถือการประกาศเอกราชของนอร์เทิร์นไซปรัสว่าเป็นโมฆะทางกฎหมาย[19][24]

ทหาร

สิทธิมนุษยชน

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์ในนอร์เทิร์นไซปรัส (สำมะโน ค.ศ. 2006)[25]

  เติร์ก (99.2%)
  กรีก (0.2%)
  มารอน (0.1%)
  อื่น ๆ (0.3%)
เด็กชาวนอร์เทิร์นไซปรัสในนอร์ทนิโคเซียฝั่งที่ล้อมก้วยกำแพง

นอร์เทิร์นไซปรัสจัดสำมะโนแรกใน ค.ศ. 1996 ซึ่งบันทึกว่ามีประชากร 200,587 คน[26] จากสำมะโนที่สองใน ค.ศ. 2006 ระบุว่าประชากรในนอร์เทิร์นไซปรัสมี 265,100 คน[27] ส่วนใหญ่เป็นชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก (รวมผู้อพยพจากไซปรัสใต้) และผู้ตั้งถิ่นฐานจากตุรกี จากพลเมืองชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก 178,000 คน ร้อยละ 82 เป็นชาวไซปรัสดั้งเดิม (145,000 คน) ส่วน 45,000 คนมีพ่อ/แม่ที่ไม่ใช่ชาวไซปรัส เกือบร้อยละ 40 (17,000 คน) เกิดในไซปรัส ในขณะที่จำนวนผู้ไม่ใช่พลเมือง เช่นนักศึกษา แรงงานต่างด้าว และพลเมืองชั่วคราว มีจำนวน 78,000 คน[27][28]

ต่อมาใน ค.ศ. 2011 มีกการจัดตั้งสำมะโนทางการครั้งที่สามของนอร์เทิร์นไซปรัส ภายใต้การสังเกตการณ์ของสหประชาชาติ ถูกจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 2011 ระบุว่ามีประชากร 294,906 คน[29] ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งในพรรคการเมือง สหภาพแรงงาน และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นบางส่วน โดยมีการกล่าวหารัฐบาลว่าจงใจนับจำนวนประชากรต่ำเกินไป หลังระบุประชากรก่อนทำสำมะโนที่ 700,000 คน เพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินจากตุรกี[30][31][32] โดยมีข้อมูลหนึ่งอ้างว่าประชากรทางเหนือมีจำนวนถึง 500,000 คน[33] แบ่งออกเป็นชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กร้อยละ 50 และผู้ตั้งถิ่นฐานชาวตุรกีหรือลูกที่เกิดจากผู้ตั้งถิ่นฐานร้อยละ 50[34]

รัฐบาลนอร์เทิร์นไซปรัสประมาณการว่าประชากรนอร์เทิร์นไซปรัสใน ค.ศ. 1983 มี 155,521 คน[35] ในขณะที่จำนวนประมาณการของรัฐบาลประเทศไซปรัสใน ค.ศ. 2001 ระบุไว้ที่ 200,000 คน ในจำนวนนี้ 80–89,000 คนเป็นชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก และ 109,000–117,000 คนเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานชาวตุรกี[36] สำมะโนทั้งเกาะใน ค.ศ. 1960 ระบุจำนวนชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กที่ 102,000 คน และชาวไซปรัสเชื้อสายกรีกที่ 450,000 คน[37] ข้อมูลเมื่อ 2005 ผู้ตั้งถิ่นฐานที่มีสิทธิเลือกตั้งในนอร์เทิร์นไซปรัสมีไม่เกินร้อยละ 25 ระดับการรวมกลุ่มระหว่างชาวเติร์กแผ่นดินใหญ่เข้ากับชุมชนชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กนั้นแตกต่างกันไป โดยบางส่วนระบุเป็นชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กที่ผ่านการบูรณาการทางวัฒนธรรมแล้ว ในขณะที่บางส่วนยอมรับเอกลักษณ์ตุรกี[38]

มีชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก 644 คนอาศัยอยู่ที่Rizokarpaso (Dipkarpaz) และชาวมารอน 364 คนที่Kormakitis[39] กองกำลังบุกรุกของกองทัพตุรกีทำให้ชาวไซปรัสเชื้อสายกรีก 162,000 คน[40] บังคับให้ทิ้งบ้านของตนจากทางเหนือ[41][42][43]

 
 
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในนอร์เทิร์นไซปรัส
อันดับชื่อเขตประชากร

นอร์ทนิโคเซีย

ฟามากุสตา
1นอร์ทนิโคเซียเลฟโกชา61,378
คีรีเนีย

มอร์โฟ
2ฟามากุสตากาซีมากูซา40,920
3คีรีเนียคีรีเนีย33,207
4มอร์โฟกือร์เซลยูร์ท18,946
5เกินเยลีเลฟโกชา17,277
6Kythreaเลฟโกชา11,895
7เลฟกาแลฟแค11,091
8ดิโกโมคีรีเนีย9,120
9ตรีโกโมอิสแคแล7,906
10ลาพิโทสคีรีเนีย7,839

ศาสนา

ศาสนาในนอร์เทิร์นไซปรัส[44]
อิสลาม
  
99%
อื่น ๆ /ไม่ทราบ
  
1%
มัสยิดอาหรับอาห์เหม็ดที่นอร์ทนิโคเซีย

ชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กส่วนใหญ่ (99%) นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[44] เนื่องจากนอร์เทิร์นไซปรัสเป็นรัฐฆราวาส[45] จึงทำให้มีการขายเครื่องดื่มมึนเมาและหญิงชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กไม่สวมผ้าคลุมหัว อย่างไรก็ตาม บุคคลสาธารณะยังคงสวมผ้าคลุมหัวในบางโอกาสไว้เป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมตุรกี หรืออาจเป็นเพียงการแต่งกายแบบอนุรักษ์นิยม[44] ชายชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์กมักทำการขริบหนังหุ้มปลายตามหลักความเชื่อทางศาสนา[46]

การศึกษา

การศึกษาในนอร์เทิร์นไซปรัสเป็นแบบภาคบังคับ และไม่เก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี

วัฒนธรรม

รากฐานทางสังคมของตุรกีมีมีลักษณะเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้ชายทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทั้งในส่วนของรัฐบาลและภาคเอกชน

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Langdale, Allan (2012). In a Contested Realm: an Illustrated Guide to the Archaeology and Historical Architecture of Northern Cyprus. Grimsay Press. ISBN 978-1845301286.
  • North Cyprus – a Pocket-Guide. Rustem Bookshop, Nicosia. 2006. ISBN 9944-968-03-X.
  • Bryant, Rebecca; Hatay, Mete (2020). Sovereignty Suspended: Political Life in a So-Called State (ภาษาอังกฤษ). University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-8122-5221-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

ทางการ
ลิงก์อื่น ๆ
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง