ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา

สายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19

ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา หรือ สายพันธุ์ B.1.617.2 เป็นสายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 เป็นสายพันธุ์ย่อยของ B.1.617 อีกทีหนึ่ง[1]พบครั้งแรกในอินเดียช่วงปลายปี 2020[2][3]และองค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อว่า เดลตา ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2021[4]

จำนวนการถอดลำดับยีนของไวรัสโควิด-19 เชื้อสายเดลตาในประเทศต่าง ๆ ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2021 (GISAID)
  5000+
  1000-4999
  100-999
  10-99
  2-9
  1
  0 หรือไม่มีข้อมูล

ไวรัสมีการกลายพันธุ์ในยีนที่ถอดรหัสเป็นโปรตีนหนาม (spike protein) ที่เปลือกหุ้มไวรัส[5]การกลายพันธุ์เป็นการแทนที่กรดอะมิโนชนิด T478K, P681R และ L452R[6]ซึ่งอาจเพิ่มการติดต่อของโรค และอาจมีผลให้แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ที่กระตุ้นโดยวัคซีนหรือการติดโรคโควิด-19 มาก่อนสามารถกำจัดเชื้อได้ลดลงในเดือนพฤษภาคม 2021 สำนักงานสาธารณสุขอังกฤษคือพีเอชอี (Public Health England, PHE) พบว่าอัตราการติดโรคต่อภายในกลุ่ม (secondary attack rate)[A]ของเชื้อนี้สูงกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึงร้อยละ 51-67[11]ต่อมาในเดือนมิถุนายนจึงรายงานเพิ่มว่าความเสี่ยงการเข้า รพ. ก็สูงขึ้นด้วย[12]

วัคซีนโควิด-19 มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลตาที่อาการหนักจนถึงเข้า รพ. แม้จะมีหลักฐานบ้างว่า คนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีโอกาสเกิดอาการจากเชื้อนี้มากกว่าสายพันธุ์โควิด-19 อื่น [13]

ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2021 พีเอชอียกระดับสายพันธุ์นี้จากสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบ (variant under investigation, VUI) ให้เป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง (variant of concern, VOC) เพราะประเมินว่า เชื้อติดต่อได้ง่ายอย่างน้อยก็เท่ากับสายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7) ที่เบื้องต้นพบในสหราชอาณาจักร[14]ต่อมากลุ่มผู้ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของสหราชอาณาจักร (SAGE) จึงประเมินว่า เชื้อติดต่อได้ง่ายกว่าอัลฟาประมาณ 50%[15]วันที่ 11 พฤษภาคม องค์การอนามัยโลกจึงจัดเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน โดยระบุว่า มีหลักฐานว่าติดต่อได้ง่ายกว่าและภูมิต้านทาน (เนื่องกับวัคซีนและการติดโรค) ก็จัดการมันได้น้อยลงต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2021 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐก็ได้ยกระดับเดลตาว่าน่าเป็นห่วง[16]

สายพันธุ์นี้เชื่อว่าเป็นส่วนให้เกิดการระบาดระลอกที่สองในอินเดียเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021[17][18][19]เป็นส่วนให้เกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในสหราชอาณาจักร[20][21]และในแอฟริกาใต้[22]ในเดือนกรกฎาคม 2021 องค์การอนามัยโลกจึงเตือนว่า อาจเกิดผลเช่นกันในยุโรปและในแอฟริกา[23][22]ในปลายเดือนกรกฎาคม จึงพบว่าสายพันธุ์ได้เพิ่มการติดเชื้อแต่ละวันในภูมิภาคต่าง ๆ ของเอเชีย[24]ในสหรัฐ[25]และในออสเตรเลีย[26]

จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2021 มีประเทศ 163 ประเทศที่ได้พบสายพันธุ์นี้แล้ว[27]โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่าไวรัสสายพันธุ์เดลตาจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่พบในการระบาดทั่วของโควิด-19 ในอีกไม่นาน หรืออาจจะเป็นไปแล้ว ณ ตอนนี้ ก็เป็นไปได้[28][29]

การจัดหมวด

สายพันธุ์เดลตามีการกลายพันธุ์ที่ยีนซึ่งเข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัส[5]เป็นการกลายพันธุ์แบบแทนที่ชนิด D614G, T478K, P681R และ L452R[30][31]การจำแนกวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของเน็กซ์เสตน (Nextstrain) จัดสายพันธุ์ให้อยู่ในเคลด 21A[32]

ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อสายพันธุ์นี้เป็นเดลตา หลังเริ่มใช้อักษรกรีกเป็นชื่อสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงและสายพันธุ์ที่น่าสนใจ[4]

สายพันธุ์ลูกหลานอื่น ๆ ของ B.1.617

ปัจจุบันมีสายพันธุ์ลูกหลานของ B.1.617 ที่จัดหมู่ไว้ 3 หมวด

ในเดือนเมษายน 2021 พีเอชอีจัด B.1.617.1 ให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบต่อมาในเดือนเดียวกัน ก็จัด B.1.617.2 (คือเดลตา) และ B.1.617.3 ให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบเช่นกันสายพันธุ์ B.1.617.3 มีการกลายพันธุ์ L452R และ E484Q เช่นเดียวกันกับ B.1.617.1 แต่ B.1.617.2 ก็ไม่มีการกลายพันธุ์แบบ E484Qโดยยังมีการกลายพันธุ์ T478K ที่ไม่พบใน B.1.617.1 และ B.1.617.3 อีกด้วย[33][34]ในช่วงเดียวกัน ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคยุโรป (ECDC) ก็ได้ระบุสายพันธุ์ย่อยทั้งสามว่า น่าสนใจ และประเมินว่า จะต้องเพิ่มเข้าใจความเสี่ยงก่อนจะพิจารณาเปลี่ยนมาตรการจัดการโรคที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[35]

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์รูปแบบเฉพาะ
ของเดลตา
ยีนกรดอะมิโน
ORF1bP314L
P1000L
โปรตีนหนามG142D
T19R
R158G
L452R
T478K
D614G
P681R
D950N
E156del
F157del
MI82T
ND63G
R203M
D377Y
orf3aS26L
orf7aV82A
T120I
แหล่งอ้างอิง: ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ[37], Covariants.org[38]

จีโนมของสายพันธุ์เดลตา หรือ B.1.617.2 มีการกลายพันธุ์ 13 ตำแหน่ง[B]ซึ่งทำให้โปรตีนที่ผลิตเนื่องกับลำดับยีนที่เปลี่ยนไปเช่นนั้น เปลี่ยนไป[3]มีการกลายพันธุ์ 4 อย่างทั้งหมดที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษในโปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งโดด ๆ แล้วไม่เฉพาะเจาะจงต่อสายพันธุ์นี้แต่การมีการกลายพันธุ์ทั้ง 4 อย่างเป็นลักษณะพิเศษของสายพันธุ์นี้[31][39]การกลายพันธุ์รวมทั้ง

  • D614G เป็นการแทนที่กรดแอสปาร์ติกด้วยไกลซีนที่ตำแหน่ง 614 ซึ่งก็มีในสายพันธุ์ที่ติดต่อได้เร็วอื่น ๆ รวมทั้งอัลฟา เบตา และแกมมา[40]
  • T478K[40][30] เป็นการแทนที่ทรีโอนีนด้วยไลซีนที่ตำแหน่ง 478[41]
  • L452R เป็นการแทนที่ลิวซีนด้วยอาร์จินีนที่ตำแหน่ง 452 ทำให้โปรตีนหนามมีสัมพรรคภาพจับกับหน่วยรับเซลล์มนุษย์คือ ACE2 ได้แน่นขึ้น[42] และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันรู้จำโปรตีนได้น้อยลง[31][43]
  • P681R เป็นการแทนที่ proline ด้วยอาร์จินีนที่ตำแหน่ง 681 ตามนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันท่านหนึ่ง การกลายพันธุ์นี้อาจทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อเพิ่มขึ้นโดยอำนวยการตัดโปรตีนตั้งต้นของโปรตีน S ให้เป็นรูปแบบที่มีฤทธิ์คือ S1/S2[44]

ให้สังเกตว่า การกลายพันธุ์ E484Q ไม่มีอยู่ในจีโนมของสายพันธุ์เดลตา[44][45]

สายพันธุ์เดลตาพลัส

สายพันธุ์เดลตาบวกกับการกลายพันธุ์ K417N จัดอยู่ในเคลด 2 เคลดคือ AY.1 และ AY.2 ตามการจำแนกสายพันธุ์ของแพงโก (PANGOLIN)[46]และมีชื่อเล่นว่า เดลตาพลัส หรือสายพันธ์เนปาลมีการกลายพันธุ์ชนิด K417N[47]ซึ่งก็พบในสายพันธุ์เบตาด้วย[48]เป็นการแทนที่ไลซีนด้วยแอสพาราจีนที่ตำแหน่ง 417[49]

ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2021 สายพันธุ์ AY.3 เป็นตัวทำให้ติดเชื้อร้อยละ 21 ในสหรัฐ[50]

อาการ

การป้องกันสายพันธุ์เดลตาของวัคซีน
(อัปเดตขององค์การอนามัยโลก, 24 สค. 2021[27])
ติดโรคหรือติดเชื้อมีอาการรุนแรง: ยังป้องกันได้
มีอาการ: อาจป้องกันได้น้อยลง
มีอาการรุนแรง : แอสตร้าเซนเนก้า(1), โมเดอร์นา(1), ไฟเซอร์-ไบออนเทค(2)
มีอาการ ถึง : ไฟเซอร์-ไบออนเทค(3)
: โคแว็กซิน(1)
: แอสตร้าเซนเนก้า-Vaxzevria(2)
การติดเชื้อ : แอสตร้าเซนเนก้า-Vaxzevria(1), ไฟเซอร์-ไบออนเทค(1)
สัญลักษณ์แสดงอัตราที่ประสิทธิภาพของวัคซีน (VE) ลดลง ให้สังเกตว่า การลดประสิทธิภาพไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถป้องกันได้ เพราะประสิทธิภาพการป้องกันที่สูงอยู่แล้ว (เช่น 95%) เมื่อลดลงไปบ้าง (เช่น 10%) ก็ยังสามารถป้องกันได้ (เช่น 85%) ตัวเลขในวงเล็บเป็นจำนวนงานศึกษาที่สนับสนุนข้อมูล งานเหล่านี้ศึกษากลุ่มประชากรที่ต่างกัน นิยามผลที่ตรวจสอบต่างกัน และมีรูปแบบ/แบบแผนอันต่างกันเป็นต้น จึงอาจทำให้ค่า VE สำหรับวัคซีนเดียวกันต่างกันในงานศึกษาอันต่างกัน อนึ่ง ค่าที่ลดลงสะท้อนถึงค่าประเมินประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งไม่ได้รวมเอาความไม่แน่นอนเกี่ยวกับค่าเหล่านั้น โดยอาจจะต่างกันมากในงานศึกษาต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องพิจารณาค่าที่ลดลงตามข้อจำกัดเหล่านี้ด้วย

: VE ลดลง <10%, หรือ VE >90% โดยไม่มีค่าเปรียบเทียบ
: VE ลดลงระหว่าง 10 ถึง <20%
: VE ลดลงระหว่าง 20 ถึง <30%

ผลต่อการลบล้างฤทธิ์ของไวรัส (ได้วัคซีนครบ)[27]
ถึง : Anhui-ZIFIVAX(2), โคแว็กซิน(3)
: จอห์นสัน(3), โมเดอร์นา(3), Covishield(2)
ถึง : แอสตร้าเซนเนก้า(4), ไฟเซอร์-ไบออนเทค(8)
: โมเดอร์นาและไฟเซอร์(1)*
ถึง : ซิโนแวค(2)
สัญลักษณ์แสดงอัตราที่แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์สามารถกำจัดไวรัสได้น้อยลงเมื่อได้วัคซีนครบแล้ว ตัวเลขในวงเล็บเป็นจำนวนงานศึกษาที่สนับสนุนข้อมูล

: ลดลง <2 เท่า
: ลดลงระหว่าง 2 ถึง <5 เท่า
: ลดลงระหว่าง 5 ถึง <10 เท่า
: ลดลง ≥ 10 เท่า
* วัคซีนโมเดอร์นาและไฟเซอร์ได้ประเมินร่วมกัน

อาการที่สามัญสุดของการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาอาจผิดไปจากโควิด-19 ดั้งเดิมและคนที่ติดโรคอาจเข้าใจผิดว่าเป็นหวัดหนักโดยไม่รู้ว่าต้องแยกตัวอาการสามัญรวมปวดศีรษะ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และเป็นไข้[51][52]

ในสหราชอาณาจักรที่ผู้ติดโรคใหม่เกินร้อยละ 91 ติดสายพันธุ์เดลตา งานศึกษาหนึ่งพบว่า อาการสามัญสุดคือปวดศีรษะ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล[53]

การป้องกัน

องค์การอนามัยโลกยังไม่ระบุวิธีการป้องกันการติดเชื้อเดลตาโดยเฉพาะ การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วไปน่าจะยังใช้ได้ผลเหมือนเดิมวิธีการป้องกันโดยทั่วไปเหล่านี้ได้แก่ การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม ไม่แตะปาก จมูก หรือตาด้วยมือที่ยังไม่ล้าง และไม่เข้าไปในบริเวณอาคาร/บ้านที่อากาศไม่ถ่ายเทโดยเฉพาะเมื่อมีคนกำลังพูด[54]

ในอินเดีย งานศึกษาหนึ่งพบว่า เลือดของคนไข้ที่ติดโควิดมาก่อนและของผู้ที่ได้รับวัคซีนโคแว็กซินสามารถกำจัดฤทธิ์ของสายพันธุ์ B.1.617 แม้จะมีประสิทธิภาพลดลง[55]ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า เลือดของผู้ฉีดวัคซีน Covishield (แอสตร้าเซนเนก้า) สามารถป้องกันสายพันธุ์ B.1.617 ได้[56]

พีเอชอีพบว่า หลังจากฉีดโดสแรก ทั้งวัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทคและของออกซฟอร์ด-แอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพป้องกันการติดโรคแบบแสดงอาการร้อยละ 33 และ 2 สัปดาห์หลังจากฉีดโดสที่ 2 วัคซีนของไฟเซอร์มีประสิทธิภาพร้อยละ 88 และวัคซีนของแอสตร้าร้อยละ 60[57][58]

ในอังกฤษ งานศึกษาที่ศูนย์วิจัยชีวเวชคือสถาบันฟรานซิสคริกและตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Lancet พบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ทั้งสองเข็มแล้วน่าจะมีระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์สำหรับเชื้อสายพันธุ์เดลตา 5 เท่าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม[59][60]

ในเดือนมิถุนายน 2021 พีเอชอีประกาศผลงานศึกษาที่พบว่า หลังจากฉีด 2 โดส วัคซีนของไฟเซอร์และของแอสตร้ามีผลป้องกันการติดเชื้อซึ่งทำให้เข้า รพ. เนื่องจากสายพันธุ์เดลตาถึงร้อยละ 96 และ 92 ตามลำดับ[61][62]

งานศึกษาเดือนกรกฎาคม 2021 ในศรีลังกาพบว่า วัคซีนของซิโนฟาร์มก่อ seroconversion ในบุคคลที่ได้วัคซีนทั้งสองโดสร้อยละ 95อัตราในคนอายุระหว่าง 20-39 ปีสูงกว่า คือ 98.9% ส่วนอัตราในคนอายุ 60 ปีขึ้นก็ต่ำกว่าเล็กน้อยคือ 93.3%แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์พบในคนที่ฉีดวัคซีน 81.25%[63][64]

ในปลายเดือนกรกฎาคม พีเอชอีตีพิมพ์งานศึกษาที่พบว่า วัคซีนของไฟเซอร์หลังโดสที่สองมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเดลตาที่แสดงอาการ 93.7% เทียบกับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าที่ 67%[65]

การรักษา

การรักษาผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาจะเหมือนกับเมื่อรักษาโควิดสายพันธุ์อื่น 

การรักษาปัจจุบันเป็นการบำบัดประคับประคอง ซึ่งอาจรวมถึงการให้สารน้ำ การรักษาด้วยออกซิเจน และประคับประคองอวัยวะสำคัญอื่นที่ได้รับผลกระทบ[66][67][68] มีการใช้เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (ECMO) เพื่อรักษาทางเดินหายใจล้มเหลว แต่ประโยชน์ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา[69][70] การรักษาแบบประคับประคองอาจมีประโยชน์ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงในการติดเชื้อระยะต้น[71]

WHO และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจีนจัดพิมพ์ข้อแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับรักษาในโรงพยาบาล[72][73][74] แพทย์เวชบำบัดวิกฤตและแพทย์โรคระบบการหายใจในสหรัฐรวบรวมข้อแนะนำการรักษาจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าเป็นทรัพยากรเสรี คือ IBCC[75][76]

วิทยาการระบาด

ผลกระทบของเดลตา*
(อัปเดตของ WHO, 24 สค. 2021[27])
การแพร่เชื้อเพิ่มการแพร่เชื้อและการติดโรคต่อภายในกลุ่ม (secondary attack rate)[A] ส่วนทั้งผู้ฉีดวัคซีนแล้วและยังไม่ได้ฉีดแพร่โรคได้พอกัน
ศักยภาพก่อโรคเพิ่มความเสี่ยงต้องเข้า รพ.
การติดเชื้อซ้ำลดระดับแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์
การวินิจฉัยยังไม่มีรายงานว่ามีผล
*เป็นผลทั่วไปที่พบเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น อาศัยหลักฐานรวมทั้งสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน

การแพร่เชื้อ

นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้ระบุว่า เดลตาแพร่เชื้อได้ยิ่งกว่าอัลฟาซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักมาก่อนถึง 40-60%[77]เพราะอัลฟาแพร่เชื้อได้ 150% เทียบกับสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมอยู่แล้ว[77]และถ้าเดลตาแพร่เชื้อได้ 150% เทียบกับอัลฟา เดลตาอาจสามารถแพร่เชื้อได้ 225% เทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม[78]

ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน ( ) หมายถึงจำนวนคนที่ติดเชื้อจากคนเดียว ๆ ภายในกลุ่มที่ทุกคนเสี่ยงติดเชื้อ บีบีซีรายงานว่า ของสายพันธุ์อู่ฮั่นอยู่ที่ 2.4-2.6 ของอัลฟาที่ 4-5 และของเดลตาที่ 5-8[79]นี่เปรียบเทียบกับโรคเมอร์ส (0.29-0.80[80])ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (1.2-1.4[81])อีโบลา (1.4-1.8[82])หวัดธรรมดา (2-3[83])ซาร์ส (2-4[84])ฝีดาษ (3.5-6[85])และอีสุกอีใส (10-12[86])เอกสารภายในของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐที่หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้มาระบุว่า เดลตาระบาดได้เท่ากับอีสุกอีใส ระบาดได้น้อยกว่าโรคที่กล่าวมาก่อนที่เหลือ แต่ระบาดได้น้อยกว่าโรคหัด (12-18[87][88])โดยระบุว่า ของเดลตาอยู่ระหว่าง 5-9.5[89]

งานศึกษาหนึ่ง[90]ที่ตีพิมพ์ออนไลน์โดยไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันและทำโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคมณฑลกวางตุ้ง อาจจะอธิบายการเพิ่มแพร่เชื้อได้เป็นบางส่วน คือ

  1. คนที่ติดเชื้อเดลตามีจำนวนไวรัสเป็นพันเท่าในทางเดินหายใจมากกว่าคนที่ติดเชื้ออู่ฮั่น
  2. คนที่ติดเชื้อเดลตาใช้เวลาโดยเฉลี่ย 4 วันจึงจะตรวจพบไวรัสได้เทียบกับ 6 วันสำหรับสายพันธุ์อู่ฮั่น[91][92]

ข้อมูลการตรวจตราของรัฐบาลสหรัฐ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์แสดงว่า จำนวนการติดเชื้อเดลตาเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าทุก 2 สัปดาห์เทียบกับอัลฟา[93][94][95]

สายพันธุ์เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งอินเดีย สหราชอาณาจักร[96]โปรตุเกส[97]รัสเซีย[98]เม็กซิโก ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย[99]แอฟริกาใต้ เยอรมนี[100]ลักเซมเบิร์ก[101]สหรัฐ[102]เนเธอร์แลนด์[103]เดนมาร์ก[104]ฝรั่งเศส[105]และไทย[106]ปกติการรายงานสายพันธุ์โรคจะช้ากว่าการรายงานจำนวนคนติดโรคโดยช้ากว่าประมาณ 3 สัปดาห์

จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2021 มีประเทศ 163 ประเทศที่ได้พบสายพันธุ์นี้แล้ว[27]โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของโควิดในอีกไม่นาน หรืออาจจะเป็นไปแล้วก็เป็นได้[28][29]

กลุ่มอายุผู้ติดเชื้อ

ข้อมูลการตรวจตราของรัฐบาลอินเดีย (IDSP) พบว่า คนไข้ 32% ทั้งที่เข้า รพ. และไม่เข้า รพ. มีอายุน้อยกว่า 30 ปีในการระบาดระลอกที่ 2 เทียบกับ 31% ในระลอกแรก ส่วนสัดส่วนของคนอายุระหว่าง 30-40 ปีคงที่โดยอยู่ที่ 21%การเข้า รพ. ของผู้อายุ 20-39 ปีเพิ่มเป็น 25.5% จาก 23.7% และอายุ 0-19 ปีเพิ่มเป็น 5.8% จาก 4.2%ข้อมูลยังแสดงด้วยว่า มีคนไข้ที่ไม่แสดงอาการในอัตราส่วนสูงกว่าที่เข้า รพ. และมีอัตราสูงกว่าที่ระบุว่าหายใจไม่ออกดังนั้น แม้คนอายุน้อยจะติดโรคในสัดส่วนเท่ากับระลอกแรก แต่ก็ป่วยหนักกว่า[107]

ศักยภาพก่อโรค

ในวันที่ 7 มิถุนายน 2021 นักวิจัยสิงค์โปร์ได้เผยแพร่ผลงานที่แสดงนัยว่า คนไข้ที่ตรวจพบเชื้อเดลตามีโอกาสเกิดปอดบวมและ/หรือจำเป็นต้องให้ออกซิเจนยิ่งกว่าคนไข้สายพันธุ์ดั้งเดิมหรืออัลฟา[108]

วันที่ 11 มิถุนายน 2021 พีเอชอีรายงานว่ามีความเสี่ยงเข้า รพ. เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญในการติดเชื้อเดลตาเทียบกับอัลฟา[109]วันที่ 14 มิถุนายนต่อมา นักวิจัยของสำนักงานสาธารณสุขสกอตแลนด์ก็ระบุว่า ความเสี่ยงเข้า รพ. ของผู้ติดเชื้อเดลตาเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเทียบกับอัลฟา[110]

ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2021 งานศึกษาของกลุ่มนักวิทยาการระบาดในแคนาดาที่กำลังรอการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันพบว่า เดลตามีความเสี่ยงให้เข้า รพ. 120%, เข้าห้องไอซียู 287% และเสียชีวิต 137% เทียบกับสายพันธุ์โควิดที่ไม่น่าเป็นห่วงอื่น [111]

ประวัติ

ในประเทศนอกเหนือจากอินเดีย สายพันธุ์นี้ได้พบเป็นครั้งแรกในปลายเดือนกุมภาพันธ์รวมทั้งสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 22 สหรัฐเมื่อวันที่ 23 และสิงค์โปร์เมื่อวันที่ 26[112][3][2]

ในวันที่ 7 พฤษภาคม พีเอชอีได้ระบุสายพันธุ์นี้ว่า น่าเป็นห่วง (VOC-21APR-02)[113]หลังจากที่พบหลักฐานว่า มันติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมโดยเบื้องต้นคาดว่าอาจติดต่อได้ง่ายเท่ากับสายพันธุ์อัลฟาอีกเหตุผลหนึ่งก็คือพบการระบาดสายพันธุ์นี้ใน 48 คลัสเตอร์ซึ่งแสดงการติดต่อในชุมชน[114][115]ในต้นเดือนมิถุนายนต่อมา ก็ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหราชอาณาจักรเพราะกรณีติดสายพันธุ์เพิ่มขึ้นเร็วมาก[116]คือพบว่า กรณีติดโรคใหม่ร้อยละ 90 ในสหราชอาณาจักรต้นเดือนมิถุนายนเกิดจากสายพันธุ์นี้พีเอชอีระบุหลักฐานด้วยว่า สายพันธุ์นี้สัมพันธ์กับความเสี่ยงติดต่อภายในบ้านเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 เทียบกับสายพันธุ์อัลฟา[117]

กรณียืนยันแรกของแคนาดาพบที่รัฐควิเบกเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2021 แล้วในวันเดียวกันก็พบกรณี 39 กรณีในรัฐบริติชโคลัมเบีย[118]

ประเทศฟิลิปปินส์ได้ยืนยันสองกรณีแรกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2021 แม้จะได้ระงับการเดินทางจากประเทศต่าง ๆ ในอนุทวีปอินเดีย (ยกเว้นภูฏานและมัลดีฟส์)โดยคนไข้ทั้งสองคนไม่มีประวัติเดินทางไปอินเดียในช่วง 14 วันก่อน แต่มาจากโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[119]

ประเทศบางประเทศมีปัญหาตรวจสอบสายพันธุ์นี้ เพราะไม่มีชุดตรวจโดยเฉพาะ ๆ สำหรับสายพันธุ์หรือไม่มีแหล็บที่ถอดลำดับยีนได้[120][121]ยกตัวอย่างเช่น ณ วันที่ 18 พฤษภาคม ปากีสถานไม่มีรายงานผู้ติดสายพันธุ์นี้เลย แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐก็ระบุว่า ตัวอย่างเชื้อถึงร้อยละ 15 จัดอยู่ใน "สายพันธุ์ที่ไม่รู้จัก"คือจริง ๆ ไม่สามารถตรวจเพื่อระบุสายพันธุ์นี้ได้ทั้ง ๆ ที่ประเทศอื่น ๆ ก็รายงานผู้เดินทางมาจากปากีสถานที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้[120]

ในกลางเดือนมิถุนายน นักวิทยาศาสตร์อินเดียได้เน้นการมีสายพันธุ์ใหม่คือ B.1.617.2.1 หรือ AY.1 หรือเดลตาพลัส ซึ่งมีการกลายพันธุ์ K417N เพิ่ม[47]และได้พบในยุโรปตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว โดยต่อมาก็ได้พบทั้งในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกา[47]

ในวันที่ 25 มิถุนายน 2021 พีเอชอีรายงานผู้เสียชีวิต 32 รายจากผู้ติดเชื้อเดลตาในสหราชอาณาจักร 11,250 รายที่ติดตามเป็นเวลา 28 วันโดยมีอัตราป่วยตายที่ร้อยละ 0.3ซึ่งใกล้เคียงกับผู้ติดเชื้ออัลฟาในเวลาใกล้ ๆ กัน เป็นอัตราที่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.9 ซึ่งสมมุติว่าเป็นเพราะผู้ที่เสี่ยงโรคได้ฉีดวัคซีนแล้วเป็นจำนวนมาก[12][122]แต่ปัญหาหลักก็คืออัตราการเพิ่มเค้สของเดลตาเมื่อเทียบกับอัลฟา[C]ซึ่งหมายความว่า จำนวนเค้สเดลตากำลังเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 เท่า[D]เทียบกับสายพันธุ์อัลฟาดังนั้น จำนวนเค้สของเดลตาก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเปรียบเทียบจนกระทั่งถึงระดับหนึ่ง[123][124]

การตอบสนองของรัฐบาล

หลังจากเกิดระบาดระลอกที่สอง ประเทศอย่างน้อย 20 ประเทศได้ระงับหรือจำกัดการเดินทางจากอินเดียในเดือนเมษายนและพฤษภาคมนายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสัน ได้ยกเลิกการไปเยี่ยมอินเดียถึงสองครั้ง และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นโยชิฮิเดะ ซูงะก็ได้เลื่อนการเดินทางในเดือนเมษายน[125][126][127]

ในเยอรมนีเดือนพฤษภาคม 2021 คนในตึกสองตึกถูกกักตัวหลังจากตรวจพบหญิงคนหนึ่งผู้ติดโควิดสายพันธุ์นี้[128]

ในเดือนพฤษภาคม มุขยมนตรีของกรุงเดลีกล่าวว่า มีไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในสิงค์โปร์ที่เป็นอันตรายมากต่อเด็กและอาจก่อการระบาดระลอกที่สามในอินเดียแต่รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ก็โต้ว่า ไม่มีสายพันธุ์ใหม่ที่พบในสิงค์โปร์ และก็ไม่มีสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาไหน ๆ ที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเด็ก[129][130]แต่การติดโรคที่เพิ่มขึ้นในสิงค์โปร์มีเหตุจากสายพันธุ์เดลตา[130]

ในวันที่ 14 มิถุนายน นายกรัฐมนตรีอังกฤษบอริส จอห์นสันประกาศว่า วันอิสรภาพที่ประกาศไว้คือวันที่ 21 มิถุนายน อาจต้องเลื่อนไปอีก 4 สัปดาห์โดยจะเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนเพราะเป็นห่วงเรื่องสายพันธุ์เดลตา ซึ่งทำให้ติดโรคใหม่ถึงร้อยละ 90[131]นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้กล่าวว่า สายพันธุ์นี้ติตต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึง 40-60%[77]

ในวันที่ 16 มิถุนายน อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยคาดว่า สายพันธุ์เดลตาจะเป็นสายพันธุ์หลักแทนอัลฟาในประเทศไทยในไม่เกิน 2-3 เดือน[132][133]

ในวันที่ 23 มิถุนายน แอสตร้าเซนเนก้าระบุว่าวัคซีนของบริษัทสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้[132][134]ในวันเดียวกัน รัฐออนแทรีโอของแคนาดาได้เร่งฉีดวัคซีนโดสที่สองให้แก่ประชาชนผู้อยู่ในเขตซึ่งเดลตากำลังระบาดอย่างรวดเร็ว เช่น กรุงโทรอนโตเป็นต้น[135]

ในวันที่ 25 มิถุนายน ประเทศอิสราเอลได้กลับมาบังคับให้ใช้แมสก์อีกโดยอ้างความเสี่ยงการระบาดสายพันธุ์เดลตา[136]

ในวันที่ 27 มิถุนายน แอฟริกาใต้ได้ห้ามการชุมนุมกันทั้งในอาคารและนอกอาคารยกเว้นงานศพ ประกาศให้เคอร์ฟิว และห้ามไม่ให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[137]

ในวันที่ 28 มิถุนายน กรุงซิดนีย์และเมืองดาร์วินในออสเตรเลียได้กลับไปล็อกดาวน์อีกเพราะการระบาดของเดลตา[138]

ในวันที่ 3 กรกฎาคม เกาะบาหลีและเกาะชวาในอินโดนีเซียได้ประกาศล็อกดาวน์[139]

ในวันที่ 5 กรกฎาคม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยได้ระบุว่า เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดใน กทม. แล้ว[140]

ในวันที่ 8 กรกฎาคม นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินในนครโตเกียว และผู้ชมกีฬาโดยมากจะถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมชมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (เลื่อนเป็นจัดในปี 2021) ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 23 กรกฎาคม[141]

ในวันที่ 9 กรกฎาคม เกาหลีใต้ยกระดับนโยบายให้ใส่แมสก์นอกอาคารและจำกัดจำนวนผู้คนในการชุมนุม[142]

ในวันที่ 12 กรกฎาคม ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประกาศว่า เจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขทั้งหมดจะต้องฉีดวัคซีนก่อนวันที่ 15 กันยายน และฝรั่งเศสจะเริ่มใช้พาสปอร์ตสุขภาพเพื่อการเข้าบาร์ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร และศูนย์การค้าเริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคม[143]

เทศมณฑลลอสแอนเจลิสในสหรัฐประกาศว่าจะเริ่มบังคับให้ใช้แมสก์ภายในอาคารอีกเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม[144]

ในวันที่ 19 กรกฎาคม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไทยเปิดเผยว่า สายพันธุ์เดลตาได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนอัลฟาในประเทศไทยแล้ว[106]ในวันเดียวกัน สหราชอาณาจักรได้ยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 โดยมากแม้การติดโรคจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่เดลตากลายเป็นสายพันธุ์หลักโดยรัฐบาลอ้างประสิทธิภาพป้องกันและการฉีดวัคซีนอย่างกว้างขวางให้แก่ประชาชน แม้ผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุขจะได้แสดงข้อคิดที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้[145][146]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง