ตระกูลภาษาขร้า–ไท

ตระกูลภาษา

ตระกูลภาษาขร้า–ไท (อังกฤษ: Kra–Dai languages) หรือรู้จักกันในนาม ไท–กะได (Tai–Kadai) และ ไดอิก (Daic) เป็นตระกูลภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป จีนตอนใต้ และอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาทั้งหมดในตระกูลนี้เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ เช่น ภาษาไทยและภาษาลาว ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของประเทศไทยและประเทศลาว ตามลำดับ[2] ประชากรประมาณ 93 ล้านคนพูดภาษาตระกูลขร้า–ไท โดยร้อยละ 60 พูดภาษาไทย[3] เอทโนล็อก จัดให้ 95 ภาษาอยู่ในตระกูลนี้ โดย 62 ภาษาอยู่ในสาขาไท[4]

ตระกูลภาษาขร้า–ไท
ไท–กะได, ไดอิก
กลุ่มเชื้อชาติ:Daic people
ภูมิภาค:ภาคใต้ของจีน, ไหหลำ,
อินโดจีน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
หนึ่งในตระกูลภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก
ภาษาดั้งเดิม:ขร้า–ไทดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
กลอตโตลอก:taik1256[1]
{{{mapalt}}}
แผนที่แสดงการกระจายของภาษาตระกูลขร้า–ไท

ภาษาในตระกูล

ตระกูลภาษาขร้า–ไทประกอบด้วยกลุ่มภาษาที่จัดแบ่งไว้ 5 สาขา ดังนี้

  • กลุ่มภาษาขร้า (อาจเรียกว่า กะได หรือ เก-ยัง)
  • กลุ่มภาษากัม-ฉุ่ย (จีนแผ่นดินใหญ่ เรียกว่า ต้ง-ฉุ่ย)
  • กลุ่มภาษาไหล (เกาะไหหลำ)
  • กลุ่มภาษาไท (จีนตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
  • ภาษาอังเบ (เกาะไหหลำ เรียกว่า ภาษาเบ)

กลุ่มภาษาไหล

กลุ่มภาษาขร้า

  • Yerong (จีนแผ่นดินใหญ่)
  • ภาษาเก้อหล่าว (Gelao) (เวียดนาม)
  • ภาษาลาติ (Lachi หรือ Lati) (เวียดนาม)
  • ภาษาลาติขาว (White Lachi) (เวียดนาม)
  • ภาษาปู้ยัง (Buyang) (จีนแผ่นดินใหญ่)
  • ภาษาจุน (Cun) (ไหหลำ)
  • ภาษาเอน (En) (เวียดนาม)
  • ภาษากวาเบียว (Qabiao) (เวียดนาม)
  • ภาษาลาคัว (Laqua) (เวียดนาม)
  • ภาษาลาฮา (Laha) (เวียดนาม)

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษากัม-ฉุ่ย

  • กลุ่มภาษาลักเกีย-เบียว (จีนแผ่นดินใหญ่)
    • ภาษาลักเกีย (Lakkia)
    • ภาษาเบียว
  • ภาษากัม-ฉุ่ย (จีนแผ่นดินใหญ่)
    • ภาษาอ้ายจาม (Ai-Cham)
    • Cao Miao
    • ภาษาต้งเหนือ (Northern Dong)
    • ภาษาต้งใต้ (Southern Dong)
    • ภาษาคัง (Kang)
    • Mak
    • ภาษามู่หลาม (Mulam)
    • ภาษาเมาหนาน (Maonan)
    • ภาษาฉุ่ย (Sui)
    • T’en

สาขากัม-ฉุ่ย, เบ และไทมักถูกจัดให้อยู่รวมกันเนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันจำนวนมาก (ดูเพิ่มที่กลุ่มภาษากัม-ไท) อย่างไรก็ตามการจัดแบ่งเช่นนี้มีความเห็นที่โต้แย้ง ซึ่งอาจเป็นเพราะมีการแทนที่ศัพท์เข้าไปในสาขาอื่น ความคล้ายกันของระบบหน่วยคำทำให้มีนักภาษาศาสตร์จัดสาขาขร้ากับกัม-ฉุ่ย เป็นกลุ่มขร้า–ไทเหนือทางหนึ่ง และสาขาไหลกับไท เป็นกลุ่มขร้า–ไทใต้อีกทางหนึ่งแทนดังภาพ ตำแหน่งของภาษาอังเบในข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้ถูกพิจารณาไปด้วย

ขร้า–ไท
ขร้า–ไทเหนือ

-ขร้า



กัม-ฉุ่ย



ขร้า–ไทใต้

ไหล



ไท


?

อังเบ





เปรียบเทียบคำศัพท์[5]

ไทยไทเก้อหล่าวจ้วงใต้ไหล
หมาหมามเปาหมาปา
ไฟไฟไปไฟเฝ่ยฺ
หนาหนานเต้าหนาหนา
เมฆฝ้าเป๊าฝ้าฝ้า
หิมะนาย (ไทใหญ่)นไต๊นาย(น้ำค้าง)-
น้ำค้างแข็งเหมือย (ลาว)มไปล้เหมือย-

หมายเหตุ

อ้างอิง

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

  • Chamberlain, James R. (2016). Kra-Dai and the Proto-History of South China and Vietnam. Journal of the Siam Society, 104, 27-76.
  • Diller, A., J. Edmondson, & Yongxian Luo, ed., (2005). The Tai–Kadai languages. London [etc.]: Routledge. ISBN 0-7007-1457-X
  • Edmondson, J. A. (1986). Kam tone splits and the variation of breathiness.
  • Edmondson, J. A., & Solnit, D. B. (eds.) (1988). Comparative Kadai: linguistic studies beyond Tai. Summer Institute of Linguistics publications in linguistics, no. 86. Arlington, TX: Summer Institute of Linguistics. ISBN 0-88312-066-6
  • Mann, Noel, Wendy Smith and Eva Ujlakyova. 2009. Linguistic clusters of Mainland Southeast Asia: an overview of the language families. เก็บถาวร 2019-03-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Chiang Mai: Payap University.
  • Norquest, Peter (2021). "Classification of (Tai-)Kadai/Kra-Dai languages". The Languages and Linguistics of Mainland Southeast Asia. De Gruyter. pp. 225–246. doi:10.1515/9783110558142-013. ISBN 9783110558142. S2CID 238672319.
  • Ostapirat, Weera. (2000). "Proto-Kra." Linguistics of the Tibeto-Burman Area 23 (1): 1-251.
  • Somsonge Burusphat, & Sinnott, M. (1998). Kam–Tai oral literatures: collaborative research project between. Salaya Nakhon Pathom, Thailand: Institute of Language and Culture for Rural Development, Mahidol University. ISBN 974-661-450-9

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง