ประเทศเฮติ

ประเทศในแคริบเบียน

19°00′N 72°25′W / 19.000°N 72.417°W / 19.000; -72.417

สาธารณรัฐเฮติ

République d'Haïti (ฝรั่งเศส)
Repiblik d Ayiti  (ครีโอลเฮติ)[1]
ตราแผ่นดินของเฮติ
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ
"เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ"[2]
คำขวัญในตราแผ่นดิน:
"L'union fait la force" (ฝรั่งเศส)
"Inite se fòs"  (ครีโอลเฮติ)[3]
("ความเป็นหนึ่งเดียวสร้างพลัง")
เพลงชาติ"ลาเดซาลีเนียน"
("เพลงเดซาลีน")
ที่ตั้งของเฮติ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ปอร์โตแปรงซ์
18°32′N 72°20′W / 18.533°N 72.333°W / 18.533; -72.333
ภาษาราชการ
  • ฝรั่งเศส
  • ครีโอลเฮติ
กลุ่มชาติพันธุ์
95% แอฟริกา
5% ผสมและยุโรป[4]
ศาสนา
  • 86.9% คริสต์
  • 10.6% ไม่มี
  • 2.2% ศาสนาพื้นเมือง
  • 0.3% อื่น ๆ[5]
การปกครองรัฐเดี่ยว กึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐ
• ประธานาธิบดี
ว่าง
• นายกรัฐมนตรี
Michel Patrick Boisvert (รักษาการ)
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เป็นเอกราช 
• ประกาศ
1 มกราคม ค.ศ. 1804
• ยอมรับ
17 เมษายน ค.ศ. 1825
• จักรวรรดิแรก
22 กันยายน ค.ศ. 1804
• สาธารณรัฐใต้
9 มีนาคม ค.ศ. 1806
• รัฐเหนือ
17 ตุลาคม ค.ศ. 1806
• อาณาจักร
28 มีนาคม ค.ศ. 1811
• การรวมฮิสปันโยลา
9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1822
• ยุบ
27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1844
• จักรวรรดิที่สอง
26 สิงหาคม ค.ศ. 1849
• สาธารณรัฐ
15 มกราคม ค.ศ. 1859
• สหรัฐครอบครอง
28 กรกฎาคม ค.ศ. 1915
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
29 มีนาคม ค.ศ. 1987
พื้นที่
• รวม
27,750 ตารางกิโลเมตร (10,710 ตารางไมล์) (อันดับที่ 143)
0.7
ประชากร
• พ.ศ. 2560 ประมาณ
11,439,646[6] (อันดับที่ 85)
382 ต่อตารางกิโลเมตร (989.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 32)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2021 (ประมาณ)
• รวม
34.189 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 144)
2,962 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 174)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2021 (ประมาณ)
• รวม
22.431 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 139)
1,943 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 172)
จีนี (2012)41.1[8]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.510[9]
ต่ำ · อันดับที่ 170
สกุลเงินกูร์ด (G) (HTG)
เขตเวลาUTC−5 (เขตเวลาตะวันออก)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC−4 (เขตเวลาตะวันออก)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+509
โดเมนบนสุด.ht

เฮติ (อังกฤษ: Haiti; ครีโอลเฮติ: Ayiti; ฝรั่งเศส: Haïti) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเฮติ (อังกฤษ: Republic of Haiti; ฝรั่งเศส: République d'Haïti; ครีโอลเฮติ: Repiblik d Ayiti)[10] เป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศแคริบเบียน[11] ซึ่งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะฮิสปันโยลาในทะเลแคริบเบียน โดยมีเกาะเล็ก ๆ ใกล้เคียงด้วย คือ ลากอนาฟว์, ลาตอร์ตูว์, เลแกมิต, อีลาวัช, ลากร็องด์แก และนาวัส (ซึ่งมีข้อพิพาทกับสหรัฐอเมริกา) โดยประเทศเฮติมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐโดมินิกัน มีพื้นที่ 27,750 ตารางกิโลเมตร (10,714 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงคือปอร์โตแปรงซ์

อดีตอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งนี้ประกาศเอกราชใน พ.ศ. 2347 ใช้ชื่อประเทศว่าเฮติ ซึ่งมาจากชื่อเกาะในคำอาราวักเก่าว่า อายีตี (Ayiti) โดยถือว่าเป็นประเทศเอกราชแห่งที่ 2 ในทวีปอเมริกา (รองจากสหรัฐอเมริกา) และเป็นสาธารณรัฐเอกราชของคนผิวดำแห่งแรกของโลกอีกด้วย แต่ทั้ง ๆ ที่เก่าแก่และมีอายุยาวนาน เฮติกลับเป็นชาติที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตก[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติศาสตร์

ในอดีตเฮติเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนับตั้งแต่ปี 1625 ซึ่งในขณะนั้นเฮติมีชื่อเรียกว่า แซงโดแมง (Saint Domingue)

โดยประชากรส่วนใหญ่ของเฮติในช่วงเวลานั้น ก็คือบรรดาทาสผิวสีที่ฝรั่งเศสนำมาจากแอฟริกา เพื่อนำมาใช้แรงงานทาสในเฮติ ซึ่งทาสเหล่านี้ต่างก็ถูกเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและคนผิวขาวกดขี่ทรมานอย่างแสนสาหัส

จนกระทั่งในปี 1791 ความอ่อนแอของฝรั่งเศสที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติภายใน ทำให้เหล่าทาสผิวสีในเฮติได้ก่อการปฏิวัติเพื่อปลดแอกตนเองจากฝรั่งเศส

โดยการปฏิวัติครั้งนี้ มีผู้นำคนสำคัญก็คือ ตูแซงต์ ลูแวร์ตู (Toussaint I'Overture) ซึ่งเขาก็เคยเป็นทาสผิวสีมาก่อน

กองกำลังทาสของลูแวร์ตูได้ก่อการปฏิวัติด้วยความรุนแรง ชาวฝรั่งเศสรวมไปถึงคนผิวขาวในเฮติถูกสังหารด้วยความโหดเหี้ยม จนเกิดเป็นเหตุสังหารหมู่ชาวฝรั่งเศส (French Massacre) ที่ทำให้มีคนตายหลายหมื่นคน

ในปี 1802 ลูแวร์ตูพลาดท่าถูกทหารฝรั่งเศสจับกุมตัวไว้ได้ ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในที่จองจำที่ฝรั่งเศสในปีถัดมา ด้วยเหตุนี้ กองกำลังทาสของเฮติจึงตกอยู่ภายใต้แม่ทัพคนสนิทของลูแวร์ตูซึ่งก็คือ ฌ็อง-ฌัก เดซาลีน (Jean-Jacques Dessalines)

ท้ายที่สุดในปี 1804 การปฏิวัติก็จบลงด้วยชัยชนะของกองกำลังทาสเฮติ เดซาลีนได้ประกาศเอกราชให้กับเฮติ ก่อนที่เขาจะสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ จักรวรรดิเฮติ (Empire of Haiti) จึงถูกก่อตั้งขึ้นมา

แต่จักรวรรดิเฮติของเดซาลีนก็ดำรงอยู่ได้เพียงไม่กี่ปี เพราะในปี 1806 เดซาลีนได้ถูกลอบสังหารจนเสียชีวิต

หลังการล่มสลายของจักรวรรดิเฮติ ดินแดนของเฮติก็ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน คือรัฐเฮติ (State of Haiti) ที่ตั้งอยู่ทางเหนือ กับสาธารณรัฐเฮติ (Republic of Haiti) ที่ตั้งอยู่ทางใต้

ในปี 1811 รัฐเฮติที่อยู่ทางเหนือได้สถาปนาเป็นราชอาณาจักรเฮติ (Kingdom of Haiti) ภายใต้การนำของพระเจ้าอองรีที่ 1 (Henri I of Haiti) ซึ่งพระเจ้าอองรีที่ 1 ก็คืออดีตประธานาธิบดีของรัฐเฮตินั่นเอง

เมื่อพระเจ้าอองรีที่ 1 สวรรคตในปี 1820 ราชอาณาจักรเฮติก็ได้ล่มสลายตามไปด้วย สาธารณรัฐเฮติจึงได้ผนวกรวมดินแดนของราชอาณาจักรเฮติ ทำให้เฮติรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

ทว่าในปี 1849 โฟสแต็ง ซูลุก (Faustin Soulouque) ประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเฮติได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ ทำให้มีการก่อตั้งจักรวรรดิเฮติที่ 2 (Second Empire of Haiti)

ก่อนที่ในปี 1859 จักรวรรดิเฮติที่ 2 จะล่มสลายลง และเฮติก็ได้ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐมาจนถึงปัจจุบัน (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐเฮติที่ 3) [12][13][14][15][16]

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลาท้องถิ่น 16:53:09 (หรือตรงกับเช้าวันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 04.53 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย)[17] เกิดแผ่นดินไหวในเฮติที่มีขนาด 7.0 โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร (หรือ 16 ไมล์) ซึ่งนับเป็นเหตุแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในรอบ 200 ปี ซึ่งมีผู้คนล้มตายมากกว่า 316,000 คน[18] และไร้ที่อยู่ไม่น้อยกว่า 1,300,000 คน[19] ทำให้ประเทศเฮติตกอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 200 ปี[20][21][22]

การเมือง

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตย สาธารณรัฐ

ประมุขของประเทศ ประธานาธิบดี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีปัจจุบัน นาย Rene Preval เข้ารับตำแหน่งวันที่ 14 พ.ค. 2549

รัฐธรรมนูญปัจจุบัน มีนาคม พ.ศ. 2544 แต่มีการปฏิวัติและยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญหลายครั้ง จนกระทั่งกลับมาใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้อีกครั้งเมื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2549สภานิติบัญญัติ มีระบบสองสภา ประกอบด้วยวุฒิสมาชิก 27 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 83 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของรัฐบาล (ปัจจุบัน Jacques-Edovard Alexis เข้ารับตำแหน่งวันที่ 30 พ.ค. 2549) คณะรัฐมนตรีเลือกโดยนายกรัฐมนตรีจากการหารือกับประธานาธิบดี

ฝ่ายตุลาการ ตั้งอยู่บนระบบกฎหมายโรมัน มีคณะลูกขุน

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศเฮติแบ่งออกเป็น 10 จังหวัด (departments) ได้แก่

  • จังหวัดอาร์ตีบอนิต (Artibonite)
  • จังหวัดซ็องทร์ (Centre)
  • จังหวัดกร็องด็องส์ (Grand'Anse)
  • จังหวัดนิป (Nippes)
  • จังหวัดนอร์ (Nord)
  • จังหวัดนอแร็สต์ (Nord-Est)
  • จังหวัดนอรูแอ็สต์ (Nord-Ouest)
  • จังหวัดแว็สต์ (Ouest)
  • จังหวัดซูด (Sud)
  • จังหวัดซูว์แด็สต์ (Sud-Est)

เศรษฐกิจ

ภาพรวม ระบบเศรษฐกิจพึ่งพิงอยู่กับเกษตรกรรม โดยสองในสามของประชากรยังชีพโดยการเกษตร

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 8.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2.3GDP (พ.ศ. 2546) 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐGDP per capita (พ.ศ. 2546) 400 ดอลลาร์สหรัฐ

โครงสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เกษตร ร้อยละ 28 อุตสาหกรรม ร้อยละ 20บริการ ร้อยละ 52

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 13

อัตราการว่างงาน 2 ใน 3

สินค้าส่งออกที่สำคัญ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก มะม่วง น้ำมัน โกโก้สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร อาหารเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์

ประเทศคู่ค้า เนเธอร์แลนด์ โดมินิกัน แคนาดา

ประชากร

10.85 ล้าน (พ.ศ. 2563)

ภาษา

ภาษาประจำชาติคือ ภาษาฝรั่งเศส

วันชาติ

วันที่ 1 มกราคม ของทุก ๆ ปีเป็นการที่ประชาชนเฮติระลึกถึงการเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2347

อ้างอิง

ดูเพิ่ม


แหล่งข้อมูลอื่น

  • ปรีดี หงษ์สต้น. (2562). ปฏิวัติเฮติ. กรุงเทพฯ: ยิปซี.
รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป

Wikimedia Atlas of ประเทศเฮติ

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง