ข้ามไปเนื้อหา

อนุสรณ์ วงศ์วรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ถัดไปอุดมเดช รัตนเสถียร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าคุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ
ถัดไปสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสสมรศรี วงศ์วรรณ

อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน พรรคพลังประชาชน

ประวัติ

อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เกิดมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2495 ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีชื่อเล่นว่า ''โอน'' หรือที่นิยมเรียกกันว่า ''เสี่ยโอน''[1] เป็นบุตรชายของนายณรงค์ หรือพ่อเลี้ยงณรงค์ วงศ์วรรณ[2] (บุตรพ่อเจ้าแสน วงศ์วรรณ สืบเชื้อสายมาจากแสนเสมอใจ กับแม่เจ้าพิมพา พระญาติเจ้าหลวงเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย) อดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และนางอุไร หรือแม่เลี้ยงอุไร วงศ์วรรณ สำเร็จการศึกษามัธยมต้นจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากวิทยาลัยบางแสน จ.ชลบุรี ระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยไวด์เนอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโท (ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ) จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา

การเมือง

อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 4 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 4 กระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (รัฐบาล นายชวน หลีกภัย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช)

ในปี พ.ศ. 2551 อนุสรณ์ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[3]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 27[4]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 19[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร