เทือกเขาฮินดูกูช

เทือกเขาฮินดูกูช (อังกฤษ: Hindu Kush; ฮินดี: हिन्दु कुश; เปอร์เซีย: هندوکش, อักษรโรมัน: hindū-kuš) เป็นเทือกเขาในเอเชียกลางและเอเชียใต้ที่มีความยาว 800 กิโลเมตร (500 ไมล์) ทางตะวันตกของเทิอกเขาหิมาลัย กินพื้นที่จากอัฟกานิสถานกลางและตะวันออก[2][3]ถึงปากีสถานตะวันตกเฉียงเหนือกับทาจิกิสถานตะวันออกเฉียงใต้ เทือกเขานี้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคหิมาลัยฮินดูกูช (Hindu Kush Himalayan Region, HKH) ส่วนตะวันตก;[4][5][6] ส่วนบริเวณตอนเหนือที่ปลายด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เทือกเขาฮินดูกูชค้ำยันเทือกเขาปามีร์ใกล้จุดที่เป็นชายแดนระหว่างจีน ปากีสถาน และอัฟกานิสถาน จากนั้นเทือกเขาอยู่ในแนวตะวันออกเฉียงใต้ผ่านปากีสถานและอัฟกานิสถาน[2] จุดปลายตะวันออกของฮินดูกูชทางตอนเหนือเชื่อมเข้ากับเทือกเขาการาโกรัม[7][8] ส่วนทางใต้เชื่อมเข้ากับเทือกเขาขาวใกล้แม่น้ำคาบูล[9][10] เทือกเขานี้แยกหุบเขาแม่น้ำอามูดาร์ยา (สมัยโบราณเรียก Oxus) ทางตอนเหนือจากหุบเขาแม่น้ำสินธุทางตอนใต้ เทือกเขานี้มียอดเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะหลายแห่ง โดยยอดเขาที่สูงสุดคือยอดเขาตีริชมีร์ที่มีความสูง 7,708 เมตร (25,289 ฟุต) ในอำเภอจิตราล แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน

เทือกเขาฮินดูกูช
เทือกเขาฮินดูกูชที่ชายแดนอัฟกานิสถาน-ปากีสถาน
จุดสูงสุด
ยอดยอดเขาตีริชมีร์ (ปากีสถาน)
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
7,708 เมตร (25,289 ฟุต)
พิกัด36°14′45″N 71°50′38″E / 36.24583°N 71.84389°E / 36.24583; 71.84389
ข้อมูลเชิงขนาด
ยาว800 กม. (497 ไมล์)
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ภูมิประเทศของเทือกเขาฮินดูกูช[1]
ประเทศอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และ ทาจิกิสถาน
เทือกเขาเทือกเขาหิมาลัย
แผนที่

เทือกเขาฮินดูกูชเคยเป็นจุดศูนย์กลางของศาสนาพุทธ โดยเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปแห่งบามียาน[11][12] พื้นที่และชุมชนที่มีผู้ตั้งรกรากอยู่ในนั้น เป็นที่ตั้งของอารามโบราณ เครือข่ายการค้าที่สำคัญ และนักเดินทางจากเอเชียกลางกับเอเชียใต้[13][14] แม้ว่าภูมิภาคส่วนใหญ่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมมาหลายศตวรรษ แต่ยังคงมีบางพื้นที่ที่พึ่งเข้ารับอิสลามเมื่อไม่นาน เช่น กาฟีริสถาน[15] ที่ยังคงความเชื่อแบบพหุเทวนิยมโบราณจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยจักรวรรดิดูร์รานีที่พื้นที่นี้หันมาเข้ารีตเป็นอิสลามและเปลี่ยนชื่อเป็นนูริสถาน[16] เทือกเขาฮินดูกูชยังเป็นทางผ่านสำหรับการรุกรานในอนุทวีปอินเดีย[17][18] และยังคงเป็นเส้นทางสำคัญในสงครามร่วมสมัยในอัฟกานิสถาน[19][20]

ชื่อ

ชื่อ Hindu Kush แบบเปอร์เซียอันแรกสุดเท่าที่ค้นพบ ปรากฏในแผนที่เผยแพร่เมื่อประมาณ ค.ศ. 1000[21] นักวิชาการสมัยใหม่บางส่วนลบช่องว่างและเรียกเทือกเขานี้เป็น Hindukush[22][23]

ศัพทมูลวิทยา

ศัพท์ Hindu Kush หมายถึง 'ผู้สังหารฮินดู' โดยคำว่า Kush เป็นตัวแปรอ่อน (soft variant) ของภาษาอเวสตะว่า 'Kaush'[24] หมายถึง ฆ่าหรือนักฆ่า Nigel Allan รายงานว่า คำว่า Hindu Kush มีความหมายสองแบบ คือ 'หิมะระยิบระยับของอินเดีย 'เทือกเขาของอินเดีย' โดยคำว่า Kush น่าจะเป็นตัวแปรอ่อนของภาษาเปอร์เซียว่า Kuh ('ภูเขา') Allan ระบุว่าฮินดูกูชเป็นแนวพรมแดนสำหรับนักภูมิศาสตร์ชาวอาหรับ[25] ในขณะที่อีกส่วนเสนอแนะว่า ชื่อนี้อาจมาจากภาษาอเวสตะโบราณที่แปลว่า 'ภูเขาน้ำ'[26]

บางครั้งคำนี้สามารถตีความเป็นดินแดนของ Hindkowans (Hindki ในภาษาปาทาน) ในภูมิภาตนี้[27]

Hobson-Jobson พจนานุกรมบริติชในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รายงานว่า Hindukush อาจเป็นรูปแผลงจากภาษาละตินโบราณว่า Indicus (คอเคซัส) รายการกล่าวถึงการตีความครั้งแรกโดยอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ในฐานะทฤษฎีที่ได้รับความนิยมในเวลานั้น แม้ว่าจะมีข้อกังขาก็ตาม[28]

ชื่ออื่น

ในภาษาพระเวท เทือกเขานี้มีชื่อว่า upariśyena และในภาษาอเวสตะเป็น upāirisaēna (จากภาษาอิเรเนียนดั้งเดิม *upārisaina- 'ปกคลุมด้วยจูนิเปอร์')[29][30] โดยสามารถตีความได้อีกแบบเป็น "เกินเอื้อมนกอินทรี"[31] ในสมัยอเล็กซานเดอร์มหาราช เทือกเขานี้มีชื่อว่า Caucasus Indicus (ตรงข้ามกับเทือกเขา Greater Caucasus ที่อยู่ระหว่างทะเลแคสเปียนกับทะเลดำ) และชาวกรีกสมัยเฮลเลนิสต์ในปลายสหัสวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราชเรียกเทือกเขานี้ว่า Paropamisos (ดู Paropamisadae)[32]

สารานุกรมและอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บางเล่มระบุว่า คำว่า Hindu Kush เดิมทีใช้เรียกเฉพาะส่วนยอดของพื้นที่ทางผ่านกุษาณะ ซึ่งหลายเป้นศูนย์กลางของจักรวรรดิกุษาณะในคริสต์ศตวรรษที่ 1[33]

ชาติพันธุ์วรรณนา

ประชากรในฮินดูกูชก่อนการเข้ามาของอิสลามได้แก่ Shins, Yeshkuns,[34][35] Chiliss, Neemchas[36] Koli,[37] Palus,[37] Gaware,[38] และ Krammins[34]

อ้างอิง

ข้อมูล

ผลงานที่อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


35°N 71°E / 35°N 71°E / 35; 71

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง